รองโฆษกประชาธิปัตย์‘สรรเสริญ’เตือน ‘รัฐบาล’ความล้มเหลวในการปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจเป็นของรัฐบาล แต่เศรษฐกิจชะลอตัว ราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย ไม่ใช่ความผิดรัฐบาล และรัฐบาลอย่าทำจนความผิดกลับกลายมาเป็นความผิดของรัฐบาลเอง โดยการกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
เมื่อเวลา 10.30 น. วันนี้(5 ก.ย.47) ที่พรรคประชาธิปัตย์ ดร.สรรเสริญ สมะลาภา รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงภาระเศรษฐกิจในขณะนี้ เป็นที่แน่ชัดแล้วว่ามีการขยายตัว แต่ว่าหลังจากนี้จะมีการชะลอตัวลง ทั้งในปีนี้ และปีหน้า ในเรื่องนี้แม้ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แถลงว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคม เป็นเหตุการณ์ชั่วคราว แต่สภาพเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคม อยู่ในช่วงที่สถานการณ์น้ำมันยังไม่รุนแรงเช่นขณะนี้ เพราะฉะนั้นพรรคฯคาดการว่าในเดือนสิงหาคม และเดือนกันยายน น่าจะแย่ลง ประกอบกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้มีการปรับลดการคาดการเศรษฐกิจ 2- 3 ครั้ง ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
‘ผมคิดว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจในครั้งนี้ ไม่ได้เป็นเหตุการณ์ที่ปกติ เพราะว่าการชะลอตัว ได้มาพร้อมกับเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง และดูลการค้าที่แย่ลง’
รองโฆษกประชาธิปัตย์ กล่าาว่า ด้วยเหตุนี้พรรคประชาธิปัตย์ มีความเป็นห่วงในเรื่องการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ตนขอย้ำว่ารัฐบาลไม่ควรกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ว่าทางใดก็ตาม เพียงเพื่อรองรับการเลือกตั้งปี 48 เนื่องจากการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาวะการณ์เช่นนี้ จะนำไปสู่ความเสียหายทั้งกับประชาชน และประเทศชาติ ในหลายด้าน
ด้านแรกคือภาวะเงินเฟ้อ ที่มีแน้วโนมว่าจะสูงขึ้น หากรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ เงินเฟ้อจะสูงขึ้นไปอีก แน่นอนที่สุด ค่าครองชีพจะเพิ่มขึ้นซึ่งจะกระทบกับประชาชนโดยตรง ในขณะที่รายได้เพิ่มให้กับประชาชนบางคนเท่านั้น ในเรื่องนี้ตนมีความเห็นว่าธนาคารแห่งประเทศไทย ควรจะรักษาเป้าเงินเฟ้อ 3 % ไว้ให้ได้ เพราะนอกจากจะกระทบในเรื่องค่าครองชีพ ยังจะทำให้ค่าครองชีพอ่อนตัวลง ซึ่งเห็นได้ว่าตั้งแต่ต้นปี ว่าค่าเงินบาทลดลงมา 5 % เมื่อพิจารณา ค่าเงินบาทอ่อนมาก เมื่อเทียบกับประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งให้ค่าน้ำมันแพงขึ้น
นอกจากเงินเฟ้อแล้วอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ก็ยังจะเป็นปัญหาต่อเศรษฐกิจในอนาคต เพราะเมื่อเงินเฟ้อสูงขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสะกัดเงินเฟ้อก็มีมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์บางแห่ง ได้เพิ่มขึ้น และคาดว่าเงินกู้จะเพิ่มขึ้นเหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในขณะนี้คิดตามอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังคงติดลบอยู่ อันนี้ยังไม่รวมถึงโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่รัฐจะทำ ซึ่งมีมูลค่า 1.3 ล้านล้านบาท ซึ่งรัฐบาลทำโดยใช้เงินนอกงบประมาณ หรือการกู้ ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องลดลง ความจำเป็นของดอกเบี้ยที่จะเพิ่มขึ้นก็มีมากขึ้น กระทบต่อประชาชนที่มีหนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการปล่อยกู้ของธนาคารภาครัฐ ที่จะมีผลต่อสถานะการคลังในอนาคต ดังนั้นตนคิดว่าการให้สัมภาษณ์ขอบุคคลในรัฐบาล ควรให้ข้อมูลที่ครบถ้วนทุกด้าน
‘ที่จริงการใช้เงินนอกงบประมาณ เชื่อมโยงกับการปรับความน่าเชื่อถือของ เอสแอนพี ที่ผ่านมา เปรียบเสมือนการมีข่าวร้ายแฝงอยู่ในข่าวดี ข่าวดีคือการปรับอันดับตราสารหนี้ สกุลเงินต่างประเทศ ระยะยาว ข่าวกลางๆ คือการปรับตราสารหนี้ สกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น ส่วนข่าวร้ายคืออันดับตราสารหนี้ สกุลเงินบาททั้งระยะยาว และระยะสั้น เนื่องจากความกังวลในการใช้เงินนอกงบประมาณของรัฐบาล’ รองโฆษกประชาธิปัตย์ กล่าว
และความเสียหายในเรื่องดุลการค้า ซึ่งเห็นว่าการเกินดุลน้อยลงเรื่อยๆ ในเรื่องนี้กระทรวงพาณิช ได้มีการปรับเป้าของดุลการค้าลดลงต่อเนื่อง แต่การนำเข้าพุ่งสูงขึ้นกระทบต่อรายได้สุทธิของประเทศ ซึ่งในวันพรุ่งนี้(6 ก.ย.47)ทางสภาพัฒน์ฯจะประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นหนึ่งบทพิสูจน์ว่า สภาพัฒนฯเป็นอิสระจากฝ่ายการเมืองเท่าใด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-
เมื่อเวลา 10.30 น. วันนี้(5 ก.ย.47) ที่พรรคประชาธิปัตย์ ดร.สรรเสริญ สมะลาภา รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงภาระเศรษฐกิจในขณะนี้ เป็นที่แน่ชัดแล้วว่ามีการขยายตัว แต่ว่าหลังจากนี้จะมีการชะลอตัวลง ทั้งในปีนี้ และปีหน้า ในเรื่องนี้แม้ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แถลงว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคม เป็นเหตุการณ์ชั่วคราว แต่สภาพเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคม อยู่ในช่วงที่สถานการณ์น้ำมันยังไม่รุนแรงเช่นขณะนี้ เพราะฉะนั้นพรรคฯคาดการว่าในเดือนสิงหาคม และเดือนกันยายน น่าจะแย่ลง ประกอบกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้มีการปรับลดการคาดการเศรษฐกิจ 2- 3 ครั้ง ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
‘ผมคิดว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจในครั้งนี้ ไม่ได้เป็นเหตุการณ์ที่ปกติ เพราะว่าการชะลอตัว ได้มาพร้อมกับเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง และดูลการค้าที่แย่ลง’
รองโฆษกประชาธิปัตย์ กล่าาว่า ด้วยเหตุนี้พรรคประชาธิปัตย์ มีความเป็นห่วงในเรื่องการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ตนขอย้ำว่ารัฐบาลไม่ควรกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ว่าทางใดก็ตาม เพียงเพื่อรองรับการเลือกตั้งปี 48 เนื่องจากการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาวะการณ์เช่นนี้ จะนำไปสู่ความเสียหายทั้งกับประชาชน และประเทศชาติ ในหลายด้าน
ด้านแรกคือภาวะเงินเฟ้อ ที่มีแน้วโนมว่าจะสูงขึ้น หากรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ เงินเฟ้อจะสูงขึ้นไปอีก แน่นอนที่สุด ค่าครองชีพจะเพิ่มขึ้นซึ่งจะกระทบกับประชาชนโดยตรง ในขณะที่รายได้เพิ่มให้กับประชาชนบางคนเท่านั้น ในเรื่องนี้ตนมีความเห็นว่าธนาคารแห่งประเทศไทย ควรจะรักษาเป้าเงินเฟ้อ 3 % ไว้ให้ได้ เพราะนอกจากจะกระทบในเรื่องค่าครองชีพ ยังจะทำให้ค่าครองชีพอ่อนตัวลง ซึ่งเห็นได้ว่าตั้งแต่ต้นปี ว่าค่าเงินบาทลดลงมา 5 % เมื่อพิจารณา ค่าเงินบาทอ่อนมาก เมื่อเทียบกับประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งให้ค่าน้ำมันแพงขึ้น
นอกจากเงินเฟ้อแล้วอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ก็ยังจะเป็นปัญหาต่อเศรษฐกิจในอนาคต เพราะเมื่อเงินเฟ้อสูงขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสะกัดเงินเฟ้อก็มีมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์บางแห่ง ได้เพิ่มขึ้น และคาดว่าเงินกู้จะเพิ่มขึ้นเหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในขณะนี้คิดตามอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังคงติดลบอยู่ อันนี้ยังไม่รวมถึงโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่รัฐจะทำ ซึ่งมีมูลค่า 1.3 ล้านล้านบาท ซึ่งรัฐบาลทำโดยใช้เงินนอกงบประมาณ หรือการกู้ ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องลดลง ความจำเป็นของดอกเบี้ยที่จะเพิ่มขึ้นก็มีมากขึ้น กระทบต่อประชาชนที่มีหนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการปล่อยกู้ของธนาคารภาครัฐ ที่จะมีผลต่อสถานะการคลังในอนาคต ดังนั้นตนคิดว่าการให้สัมภาษณ์ขอบุคคลในรัฐบาล ควรให้ข้อมูลที่ครบถ้วนทุกด้าน
‘ที่จริงการใช้เงินนอกงบประมาณ เชื่อมโยงกับการปรับความน่าเชื่อถือของ เอสแอนพี ที่ผ่านมา เปรียบเสมือนการมีข่าวร้ายแฝงอยู่ในข่าวดี ข่าวดีคือการปรับอันดับตราสารหนี้ สกุลเงินต่างประเทศ ระยะยาว ข่าวกลางๆ คือการปรับตราสารหนี้ สกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น ส่วนข่าวร้ายคืออันดับตราสารหนี้ สกุลเงินบาททั้งระยะยาว และระยะสั้น เนื่องจากความกังวลในการใช้เงินนอกงบประมาณของรัฐบาล’ รองโฆษกประชาธิปัตย์ กล่าว
และความเสียหายในเรื่องดุลการค้า ซึ่งเห็นว่าการเกินดุลน้อยลงเรื่อยๆ ในเรื่องนี้กระทรวงพาณิช ได้มีการปรับเป้าของดุลการค้าลดลงต่อเนื่อง แต่การนำเข้าพุ่งสูงขึ้นกระทบต่อรายได้สุทธิของประเทศ ซึ่งในวันพรุ่งนี้(6 ก.ย.47)ทางสภาพัฒน์ฯจะประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นหนึ่งบทพิสูจน์ว่า สภาพัฒนฯเป็นอิสระจากฝ่ายการเมืองเท่าใด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-