บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทน
ราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้น ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องการลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบแบ่งเขตเลือกตั้งลาออกเพิ่มอีก จำนวน ๑ คน คือ นายภิญโญ นิโรจน์ สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๗
ดังนั้น สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๑๘ (๓) ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกฯ
เหลือจำนวน ๔๕๖ ท่าน
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วย
การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์
ครั้งที่ ๑๓ ในประเทศไทย พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ ขึ้นมาพิจารณาก่อน
ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ได้แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุม
ได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ
ประกอบด้วย
๑. นายปกิต พัฒนกุล ๒. นายดิสทัต โหตระกิตย์
๓. นายชวาล ทัฬหิกรณ์ ๔. นายมนู ทองศรี
๕. นายวรเดช วีระเวคิน ๖. นายเจริญ คัมภีรภาพ
๗. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน ๘. นายชูศักดิ์ ศิรินิล
๙. นายศิริ หวังบุญเกิด ๑๐. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล
๑๑. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์ ๑๒. นายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์
๑๓. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง ๑๔. นายวิชาญ มีนชัยนันท์
๑๕. นายภาคิน สมมิตร ๑๖. นายอรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์
๑๗. นายภัทรศักดิ์ โอสถานุเคราะห์ ๑๘. นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
๑๙. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว ๒๐. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน
๒๑. นางสาวภูวนิดา คุนผลิน ๒๒. นายเอกพร รักความสุข
๒๓. นายเกษม สรศักดิ์เกษม ๒๔. นายกมล บันไดเพชร
๒๕. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ๒๖. นางผุสดี ตามไท
๒๗. นายปรีชา มุสิกุล ๒๘. นายปรีชา สุวรรณทัต
๒๙. นายจุติ ไกรฤกษ์ ๓๐. นายบุญส่ง ไข่เกษ
๓๑. ศาสตราจารย์ระพี สาคริก ๓๒. นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
๓๓. นายประเสริฐ บุญชัยสุข ๓๔. นายสมชาย สหชัยรุ่งเรือง
๓๕. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๒ วัน
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระต่อไป ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขอปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการ
การพาณิชย์ แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๒ ตำแหน่ง (ซึ่งยังไม่ได้บรรจุในระเบียบวาระ)
ขึ้นมาพิจารณาก่อน เพราะตำแหน่งที่ว่างเป็นตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการที่
พ้นสถานภาพไปด้วย ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ที่ประชุมได้ลงมติตั้ง นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร เป็นกรรมาธิการแทน
นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร และนายอลงกรณ์ พลบุตร เป็นกรรมาธิการแทน
นายเรวัต สิรินุกุล
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คือ ร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นพิจารณาตั้งแต่ชื่อร่าง
คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรทั้งสองผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม ที่ประชุมได้พิจารณาจนจบ
มาตรา ๗ กระทรวงการคลัง ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงสั่งให้เลื่อน
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณฯ ไปพิจารณาต่อในการประชุมสภา
ผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ
ในวันพฤหัสบดีที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
เลิกประชุมเวลา ๒๓.๕๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๓
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๓ ในประเทศไทย พ.ศ. ….
*******************************
ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทน
ราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้น ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องการลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบแบ่งเขตเลือกตั้งลาออกเพิ่มอีก จำนวน ๑ คน คือ นายภิญโญ นิโรจน์ สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๗
ดังนั้น สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๑๘ (๓) ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกฯ
เหลือจำนวน ๔๕๖ ท่าน
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วย
การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์
ครั้งที่ ๑๓ ในประเทศไทย พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ ขึ้นมาพิจารณาก่อน
ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ได้แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุม
ได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ
ประกอบด้วย
๑. นายปกิต พัฒนกุล ๒. นายดิสทัต โหตระกิตย์
๓. นายชวาล ทัฬหิกรณ์ ๔. นายมนู ทองศรี
๕. นายวรเดช วีระเวคิน ๖. นายเจริญ คัมภีรภาพ
๗. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน ๘. นายชูศักดิ์ ศิรินิล
๙. นายศิริ หวังบุญเกิด ๑๐. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล
๑๑. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์ ๑๒. นายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์
๑๓. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง ๑๔. นายวิชาญ มีนชัยนันท์
๑๕. นายภาคิน สมมิตร ๑๖. นายอรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์
๑๗. นายภัทรศักดิ์ โอสถานุเคราะห์ ๑๘. นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
๑๙. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว ๒๐. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน
๒๑. นางสาวภูวนิดา คุนผลิน ๒๒. นายเอกพร รักความสุข
๒๓. นายเกษม สรศักดิ์เกษม ๒๔. นายกมล บันไดเพชร
๒๕. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ๒๖. นางผุสดี ตามไท
๒๗. นายปรีชา มุสิกุล ๒๘. นายปรีชา สุวรรณทัต
๒๙. นายจุติ ไกรฤกษ์ ๓๐. นายบุญส่ง ไข่เกษ
๓๑. ศาสตราจารย์ระพี สาคริก ๓๒. นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
๓๓. นายประเสริฐ บุญชัยสุข ๓๔. นายสมชาย สหชัยรุ่งเรือง
๓๕. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๒ วัน
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระต่อไป ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขอปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการ
การพาณิชย์ แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๒ ตำแหน่ง (ซึ่งยังไม่ได้บรรจุในระเบียบวาระ)
ขึ้นมาพิจารณาก่อน เพราะตำแหน่งที่ว่างเป็นตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการที่
พ้นสถานภาพไปด้วย ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ที่ประชุมได้ลงมติตั้ง นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร เป็นกรรมาธิการแทน
นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร และนายอลงกรณ์ พลบุตร เป็นกรรมาธิการแทน
นายเรวัต สิรินุกุล
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คือ ร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นพิจารณาตั้งแต่ชื่อร่าง
คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรทั้งสองผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม ที่ประชุมได้พิจารณาจนจบ
มาตรา ๗ กระทรวงการคลัง ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงสั่งให้เลื่อน
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณฯ ไปพิจารณาต่อในการประชุมสภา
ผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ
ในวันพฤหัสบดีที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
เลิกประชุมเวลา ๒๓.๕๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๓
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๓ ในประเทศไทย พ.ศ. ….
*******************************