ดร.สรรเสริญ สมะลาภา คาดการณ์นายกฯสั่งเร่งเบิกจ่าย 5.9 หมื่นล้านบาท อาจกระทบภาวะเงินเฟ้อ ดอกเบี้ย ดุลการค้า และค่าเงินบาท จึงเรียกร้อง รบ.ทบทวนว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่
ดร.สรรเสริญ สมะลาภา เลขาคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ประกาศปรับเป้าจีดีพีใหม่วันนี้ เหลือ 6-6.5% จากเดิม 6-7%ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้วว่า ในครึ่งปีหลังของปี 2547 นี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง เนื่องจากสภาพัฒน์คาดการณ์ว่าทั้งปีจะขยายตัว โดยเฉลี่ย 6.25% ในขณะที่ครึ่งปีแรกขยายตัวไปแล้ว 6.4% ดังนั้นในช่วงครึ่งปีหลังจึงน่าจะขยายตัวเพียงแค่ 6.1% เท่านั้น
ดร.สรรเสริญ กล่าวว่า สิ่งที่ตนเป็นห่วงที่สุดคือ การที่นายกฯสั่งเลขาธิการ ครม.ออกหนังสือเวียน แจ้งส่วนราชการ เร่งเบิกจ่ายงบกระตุ้นเศรษฐกิจ 5.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีการเบิกจ่ายเพียง 580 ล้านบาท เพราะฉะนั้นยอดเงินที่ยังเหลืออยู่จึงเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก คิดเป็น 1% ของจีดีพี และที่น่าวิตกคือปัจจุบันภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจไม่ได้เป็นเรื่องปกติ เพราะมาพร้อมกับเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ดุลการค้าที่แย่ลง และค่าเงินบาทที่อ่อนลง ดังนั้นการที่นายกฯเร่งให้ใช้งบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น อาจทำให้ปัญหาทั้ง 4 ด้านหนักขึ้น ‘เรื่องของเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงอยู่แล้ว ก็จะยิ่งสูงขึ้น ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เมื่อเงินเฟ้อสูงขึ้น การดำเนินนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีความจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยให้มากขึ้น ซึ่งประชาชนที่มีหนี้ก็จะเดือดร้อน รวมไปถึงเรื่องค่าเงินบาทที่อาจจะอ่อนตัวลง นำไปสู่น้ำมันที่แพงขึ้น จึงอยากให้รัฐบาลเร่งทบทวนถึงบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจในขณะนี้ว่าเหมาะสมหรือไม่’ ดร.สรรเสริญกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 6 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-
ดร.สรรเสริญ สมะลาภา เลขาคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ประกาศปรับเป้าจีดีพีใหม่วันนี้ เหลือ 6-6.5% จากเดิม 6-7%ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้วว่า ในครึ่งปีหลังของปี 2547 นี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง เนื่องจากสภาพัฒน์คาดการณ์ว่าทั้งปีจะขยายตัว โดยเฉลี่ย 6.25% ในขณะที่ครึ่งปีแรกขยายตัวไปแล้ว 6.4% ดังนั้นในช่วงครึ่งปีหลังจึงน่าจะขยายตัวเพียงแค่ 6.1% เท่านั้น
ดร.สรรเสริญ กล่าวว่า สิ่งที่ตนเป็นห่วงที่สุดคือ การที่นายกฯสั่งเลขาธิการ ครม.ออกหนังสือเวียน แจ้งส่วนราชการ เร่งเบิกจ่ายงบกระตุ้นเศรษฐกิจ 5.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีการเบิกจ่ายเพียง 580 ล้านบาท เพราะฉะนั้นยอดเงินที่ยังเหลืออยู่จึงเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก คิดเป็น 1% ของจีดีพี และที่น่าวิตกคือปัจจุบันภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจไม่ได้เป็นเรื่องปกติ เพราะมาพร้อมกับเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ดุลการค้าที่แย่ลง และค่าเงินบาทที่อ่อนลง ดังนั้นการที่นายกฯเร่งให้ใช้งบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น อาจทำให้ปัญหาทั้ง 4 ด้านหนักขึ้น ‘เรื่องของเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงอยู่แล้ว ก็จะยิ่งสูงขึ้น ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เมื่อเงินเฟ้อสูงขึ้น การดำเนินนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีความจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยให้มากขึ้น ซึ่งประชาชนที่มีหนี้ก็จะเดือดร้อน รวมไปถึงเรื่องค่าเงินบาทที่อาจจะอ่อนตัวลง นำไปสู่น้ำมันที่แพงขึ้น จึงอยากให้รัฐบาลเร่งทบทวนถึงบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจในขณะนี้ว่าเหมาะสมหรือไม่’ ดร.สรรเสริญกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 6 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-