ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. จะติดบาร์โค้ดเอกสารชำระเงินต่าง ๆ ภายในต้นปี 48 นายสายัณห์ ปริวัตร
ผอ.อาวุโส สายระบบการชำระเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ความนิยมใช้บัตรเดบิตการ์ดเริ่มมีปริมาณการใช้
จ่ายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และคาดว่าในอนาคตจะไปสู่ระบบบัตรสมาร์ทการ์ด ซึ่งจะฝังข้อมูลด้วยระบบชิพ ถือเป็น
สิ่งสำคัญที่ประชาชนจะนำมาใช้แทนเงินสด โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่สามารถถือบัตรเครดิตได้แต่มีรายได้ประจำ
เนื่องจากบัตรเดบิตมีประสิทธิภาพมากกว่าบัตรที่เป็นแถบแม่เหล็ก และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทางด้านการเงิน
ภาครัฐบาล การโทรคมนาคม และการขนส่ง ไว้ในบัตรใบเดียวกันได้ ซึ่งภายในต้นปี 48 คณะอนุกรรมการว่า
ด้วยระบบการชำระเงินจะประกาศมาตรฐานบาร์โค้ดสำหรับเอกสารการชำระเงินให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่ว
ประเทศ โดยจะพิมพ์บาร์โค้ดตรงช่วงล่างมุมขวาของเอกสารชำระเงินต่าง ๆ เช่น เอกสารแจ้งชำระค่าใช้
จ่ายบัตรเครดิต บิลเรียกเก็บค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่ผู้รับสามารถนำไปจ่ายที่ ธ.พาณิชย์ หรือจุดชำระเงินที่
มีเครื่องอ่านบาร์โค้ด ทั้งนี้ ในปี 46 มีบัตรเอทีเอ็มและบัตรเครดิตประมาณ 30 ล้านบัตร วงเงินชำระผ่าน
บัตร 3 ล้านล้านบาท ส่วนบัตรเครดิตในช่วง 6 เดือนแรกของปี 47 มีจำนวน 8 ล้านบัตร แยกเป็นบัตร
เครดิตที่ออกโดย ธ.พาณิชย์ 3.7 ล้านบัตร และบัตรเครดิตที่ออกโดยนันแบงก์ 4.7 ล้านบัตร วงเงินใช้จ่าย 9
หมื่นล้านบาท (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. กรมสรรพากรคาดในปี งปม.47 จะจัดเก็บภาษีได้มากกว่า 760,000 ล้านบาท นายสาธิต
รังคสิริ ผอ.สำนักแผนภาษี กรมสรรพากร คาดว่ากรมสรรพากรจะจัดเก็บภาษีในปี งปม.47 ได้มากกว่า
760,000 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการที่ปรับใหม่ที่ 694,000 ล้านบาท ถึงร้อยละ 8.7 และสูงกว่าประมาณ
การตามเอกสาร งปม.ที่ตั้งไว้ที่ 608,000 ล้านบาท ถึงร้อยละ 20 โดยในเดือน ส.ค.47 เดือนเดียวจัด
เก็บภาษีได้เกินเป้าถึง 17,000 ล้านบาท ส่วนอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นและอาจส่งผลกระทบต่อการจัด
เก็บรายได้ของกรมสรรพากรนั้น ในขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณดังกล่าว โดยสังเกตได้จากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่า
เพิ่มที่เป็นภาษีที่จัดเก็บบนฐานการอุปโภคบริโภคและบริการ ยังคงขยายตัวในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่อง สะท้อน
ว่าธุรกิจยังมีความคล่องตัว ประชาชนยังมีการบริโภคและการลงทุนเพิ่มอย่างต่อเนื่อง และยอดรายได้ที่จัดเก็บ
จากอากรแสตมป์ยังมีสูงขึ้น (ข่าวสด, แนวหน้า)
3. ธปท. ห่วงหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น รายงานข่าวจาก ธปท. เปิดเผยว่า ในวันที่ 6-7 ก.ย.นี้
ธปท. จะจัดสัมมนาประจำปีเรื่อง Safeguarding Economic Stability: The Role of Public
Policy เพื่อเผยแพร่งานวิจัยและระดมความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการรักษาสมดุลทางเศรษฐกิจ โดยจะเสนอ
บทวิจัยเรื่อง “ภาวะหนี้ครัวเรือนไทย : ความเสี่ยงและนัยเชิงนโยบาย” โดยข้อมูลล่าสุดของ สนง.สถิติแห่ง
ชาติพบว่า ไตรมาสแรกหนี้ครัวเรือนของไทยเพิ่มขึ้นเป็น 110,566 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 62 และครัว
เรือนที่มีหนี้จะมีหนี้เฉลี่ย 167,047 บาท คิดเป็นร้อยละ 90 ของรายได้ทั้งปี ซึ่งโดยหลักการหนี้ครัวเรือนที่
เพิ่มไม่จำเป็นต้องเป็นปัญหาเสมอไป ตราบใดที่ปริมาณการกู้ยืมอยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่การที่ระดับหนี้ต่อราย
ได้เพิ่มขึ้น ทำให้ครัวเรือนมีความอ่อนไหวมากขึ้นต่อปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การลดลงของรายได้ การว่างงาน
และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ยังไม่พบว่าหนี้ภาคครัวเรือนจะก่อให้เกิดปัญหารุนแรงต่อ
ระบบเศรษฐกิจ แต่พบประเด็นเชิงนโยบายที่น่าสนใจหลายประเด็น เช่น 1) ครัวเรือนที่เป็นหนี้และมีรายได้
น้อย (ต่ำกว่า 2.5 หมื่นบาทต่อปี) มีโอกาสประสบปัญหาทางการเงินมากกว่าครัวเรือนทั่วไป 2) ครัวเรือนที่
กู้ระยะยาวเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยและจ่ายดอกเบี้ยลอยตัวจะเปราะบางเป็นพิเศษต่ออัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น โดย
เฉพาะภาวะดอกเบี้ยต่ำจูงใจให้มีการกู้ยืมในวงเงินสูงขึ้นมาก 3) ลูกหนี้บางกลุ่มมีปัญหา moral hazard
โดยคิดว่าทางการจะเข้ามาช่วยเหลือเมื่อประสบปัญหาการชำระหนี้ ซึ่งบทวิจัยได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
ที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) ด้านนโยบายการเงิน การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบายควรคำนึงถึงความเสี่ยง
ที่ภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่องเป็นเวลานานจะนำไปสู่ปัญหาการสะสมหนี้เกินควรของภาคครัวเรือน 2)
ควรเพิ่มประสิทธิภาพในนโยบายกำกับดูแลสถาบันการเงิน เพื่อให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลมีการตรวจสอบที่
รอบคอบและรัดกุมเท่าเทียมกัน และ 3) ด้านนโยบายพื้นฐาน เพื่อยกระดับตลาดสินเชื่อผู้บริโภคให้มี
ประสิทธิภาพและเสถียรภาพยิ่งขึ้น ควรให้ความสำคัญกับมาตรการส่งเสริมให้มีการจัดเก็บและร่วมกันใช้ฐาน
ข้อมูลประวัติลูกค้าระหว่างสถาบันการเงิน การเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างทางกฎหมายเพื่อรองรับการ
ปรับโครงสร้างหนี้ส่วนบุคคลที่อาจเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของหนี้ภาคครัวเรือน เป็นต้น (มติชน)
4. ปริมาณเช็คเรียกเก็บในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเดือน ก.ค.47 ลดลงร้อยละ 0.3
รายงานข่าวจาก ธปท. เปิดเผยว่า ปริมาณเช็คเรียกเก็บในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเดือน ก.ค.47 มีทั้ง
สิ้น 5,195,756 ฉบับ ลดลงร้อยละ 0.3 จากระยะเดียวกันของปีก่อน มูลค่ารวม 1.78 ล้านล้านบาท เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 7 จากการขยายตัวของการอุปโภคบริโภค การลงทุนภาคเอกชน และการเร่งใช้จ่ายของรัฐ รวม
ทั้งมูลค่าการส่งออกที่ยังขยายตัวในเกณฑ์สูงตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าส่งออก ส่วนปริมาณเช็คคืนมี
124,666 ฉบับ ลดลงร้อยละ 5.6 คิดเป็นสัดส่วนต่อเช็คเรียกเก็บร้อยละ 2.4 มูลค่า 14,203 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ซึ่งเป็นเช็คคืนด้วยเหตุผลไม่มีเงิน 77,729 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.4 จากระยะเดียว
กันของปีก่อน โดยปริมาณเช็คที่เรียกเก็บส่วนใหญ่เป็นเช็คต่ำกว่า 10 ล้านบาท ร้อยละ 99.6 มูลค่ารวม
751,190 ล้านบาท ส่วนปริมาณเช็คเรียกเก็บข้ามเขตสำนักหักบัญชีมีจำนวน 502,846 ฉบับ เพิ่มขึ้นร้อยละ
89.2 มูลค่ารวม 22,161 ล้านบาท (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การจ้างงานของ สรอ.ในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นจำนวน 144,000 คน รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อ 3 ก.ย.47 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ตลาดแรงงานของ สรอ.ในเดือน ส.ค.47 เริ่มสดใส
เนื่องจากมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจำนวน 144,000 คน หลังจากที่ 2 เดือนก่อนหน้านี้ภาวะการจ้างงานใน สรอ.
ชะลอตัว ทั้งนี้ ตลาดแรงงานที่เริ่มฟื้นตัวเป็นหัวข้อที่อยู่ในความสนใจอย่างมากในทำเนียบขาว โดยอัตราการ
ว่างงานในเดือน ส.ค.47 ลดลงร้อยละ 5.4 อันเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน ต.ค.44 หลังจากที่เมื่อเดือน
ก.ค.47 อยู่ที่ร้อยละ 5.5 นอกจากนี้ The new York-based Institute for Supply Management
ยังได้เสนอมุมมองของธุรกิจภาคบริการเพิ่มเติมว่า ดัชนี ISM ของอุตสาหกรรมนอกภาคการผลิตในเดือน
ส.ค.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 58.2 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบปี 47 จากระดับ 64.8 ในเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม
ทำเนียบขาว สรอ. ได้เน้นเกี่ยวกับรายงานตลาดแรงงานที่มองในด้านบวก โดยประธานาธิบดี สรอ.
(George W.Bush) แถลงว่า ตัวเลขเหล่านั้นแสดงถึงภาวะเศรษฐกิจ สรอ.ที่แข็งแกร่งและจะแข็งแกร่งยิ่ง
ขึ้นในอนาคต ขณะที่ นาย John Kerry ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี สรอ. จากพรรคเดโมแครต
เห็นว่า บุชเป็นประธานาธิบดี สรอ.คนแรกนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930 ที่พยายามจะชนะการเลือกตั้งในรอบใหม่
โดยไม่ได้ให้ความสนใจหรือพยายามที่จะก่อให้เกิดการสร้างงาน โดยอ้างตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนลดลง
สุทธิ 1.65 ล้านคน ตั้งแต่ประธานาธิบดีบุชรับตั้งแต่เมื่อเดือน ม.ค. 44 (รอยเตอร์)
2. รายจ่ายลงทุนของภาคธุรกิจในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้เมื่อเทียบกับปีก่อน
รายงานจากโตเกียว เมื่อ 6 ก.ย.47 รายจ่ายลงทุนในโรงงานและอุปกรณ์ใหม่ของภาคธุรกิจในญี่ปุ่นสำหรับ
ไตรมาสที่ 2 ของปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1
ในไตรมาสแรกปีนี้ ทำให้นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า ก.คลังของญี่ปุ่นจะปรับตัวเลข GDP ของไตรมาสที่ 2 ปีนี้อีก
อย่างน้อยร้อยละ 0.6 จากที่ประมาณการเบื้องต้นไว้ที่ร้อยละ 0.4 อันเป็นผลจากความต้องการสินค้าดิจิตอล
เช่น เครื่องบันทึกดีวีดีและทีวีจอแบนในตลาด สรอ. จีนและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้น ส่งผลให้
รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 5 ไตรมาส นานที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 43 ซึ่งเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 7 ไตรมาส โดย
ก.คลังของญี่ปุ่นมีกำหนดจะประกาศตัวเลข GDP สำหรับไตรมาสที่ 2 ปีนี้อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ก.ย.47 นี้(รอยเตอร์)
3. ผลสำรวจชี้ว่าธุรกิจในเกาหลีใต้มองเศรษฐกิจในทางที่ดีขึ้น รายงานจากโซล เมื่อ 5 ก.ย.47
ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของธุรกิจในเกาหลีใต้จากผลสำรวจโดยสภาอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเป็น 95.5
ในเดือน ก.ย.47 จากระดับ 86.4 ในเดือน ส.ค.47 สูงสุดในรอบ 4 เดือน ตัวเลขดัชนีที่ต่ำกว่า 100
แสดงให้เห็นว่าธุรกิจที่คาดว่าภาวะธุรกิจและเศรษฐกิจจะเลวลงมีจำนวนมากกว่าที่คาดว่าจะดีขึ้น โดยภาคการ
ก่อสร้างและสาธารณูปโภคจะมองภาวะธุรกิจและเศรษฐกิจในทางที่เลวลงมากกว่าธุรกิจค้าปลีกและคมนาคมขน
ส่งซึ่งคาดว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาล Chusok ในระหว่างวันที่ 27 ถึง 29 ก.ย.47 นี้ แต่อย่างไร
ก็ตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้ยังคงไม่ดีขึ้นจากราคาน้ำมันและวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้ แม้
ว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3 ในรอบ 1 ปีสิ้นสุดเดือน ส.ค.47 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ
36.3 ในรอบ 12 เดือนสิ้นสุดเดือน ก.ค.47 โดยดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ในเดือน ส.ค.47
เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.44 (รอยเตอร์)
4. กลุ่มสมาชิกอาเซียน 10 ชาติ รวมทั้งออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์หวังว่าจะได้ข้อสรุปการ
เจรจาทางการค้าระหว่างกันได้ในปี 50 รายงานจากจาการ์ตา เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 47 รมว.เศรษฐกิจและ
การค้าของประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์หวังว่าจะได้ข้อสรุปการตกลงทาง
การค้า (Free trade agreement — FTA) ระหว่างกันได้ในราวปี 50 หลังจากเริ่มต้นเจรจากันอย่าง
เป็นทางการในปีหน้า และอาจจะได้ข้อสรุปภายในเวลา 2 ปี ต่อจากนั้นจะเสนอขอความเห็นชอบอย่างเป็น
ทางการจากรัฐบาลเพื่ออนุมัติในการประชุมผู้นำกลุ่มอาเซียนครั้งที่ 10 ที่จะจัดให้มีขึ้นที่กรุงเวียงจันทร์ประเทศ
ลาวในเดือนพ.ย. นี้ ทั้งนี้ รมว.การค้าของออสเตรเลียแสดงความประหลาดใจในความก้าวหน้าอีกระดับหนึ่ง
ในการรวมตัวกันทางการค้าในภูมิภาคนี้ ( รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 ก.ย. 47 3 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.525 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.3356/41.6253 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 4000-1.53125 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 629.08/16.88 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,900/8,000 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.35 36.8 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. จะติดบาร์โค้ดเอกสารชำระเงินต่าง ๆ ภายในต้นปี 48 นายสายัณห์ ปริวัตร
ผอ.อาวุโส สายระบบการชำระเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ความนิยมใช้บัตรเดบิตการ์ดเริ่มมีปริมาณการใช้
จ่ายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และคาดว่าในอนาคตจะไปสู่ระบบบัตรสมาร์ทการ์ด ซึ่งจะฝังข้อมูลด้วยระบบชิพ ถือเป็น
สิ่งสำคัญที่ประชาชนจะนำมาใช้แทนเงินสด โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่สามารถถือบัตรเครดิตได้แต่มีรายได้ประจำ
เนื่องจากบัตรเดบิตมีประสิทธิภาพมากกว่าบัตรที่เป็นแถบแม่เหล็ก และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทางด้านการเงิน
ภาครัฐบาล การโทรคมนาคม และการขนส่ง ไว้ในบัตรใบเดียวกันได้ ซึ่งภายในต้นปี 48 คณะอนุกรรมการว่า
ด้วยระบบการชำระเงินจะประกาศมาตรฐานบาร์โค้ดสำหรับเอกสารการชำระเงินให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่ว
ประเทศ โดยจะพิมพ์บาร์โค้ดตรงช่วงล่างมุมขวาของเอกสารชำระเงินต่าง ๆ เช่น เอกสารแจ้งชำระค่าใช้
จ่ายบัตรเครดิต บิลเรียกเก็บค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่ผู้รับสามารถนำไปจ่ายที่ ธ.พาณิชย์ หรือจุดชำระเงินที่
มีเครื่องอ่านบาร์โค้ด ทั้งนี้ ในปี 46 มีบัตรเอทีเอ็มและบัตรเครดิตประมาณ 30 ล้านบัตร วงเงินชำระผ่าน
บัตร 3 ล้านล้านบาท ส่วนบัตรเครดิตในช่วง 6 เดือนแรกของปี 47 มีจำนวน 8 ล้านบัตร แยกเป็นบัตร
เครดิตที่ออกโดย ธ.พาณิชย์ 3.7 ล้านบัตร และบัตรเครดิตที่ออกโดยนันแบงก์ 4.7 ล้านบัตร วงเงินใช้จ่าย 9
หมื่นล้านบาท (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. กรมสรรพากรคาดในปี งปม.47 จะจัดเก็บภาษีได้มากกว่า 760,000 ล้านบาท นายสาธิต
รังคสิริ ผอ.สำนักแผนภาษี กรมสรรพากร คาดว่ากรมสรรพากรจะจัดเก็บภาษีในปี งปม.47 ได้มากกว่า
760,000 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการที่ปรับใหม่ที่ 694,000 ล้านบาท ถึงร้อยละ 8.7 และสูงกว่าประมาณ
การตามเอกสาร งปม.ที่ตั้งไว้ที่ 608,000 ล้านบาท ถึงร้อยละ 20 โดยในเดือน ส.ค.47 เดือนเดียวจัด
เก็บภาษีได้เกินเป้าถึง 17,000 ล้านบาท ส่วนอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นและอาจส่งผลกระทบต่อการจัด
เก็บรายได้ของกรมสรรพากรนั้น ในขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณดังกล่าว โดยสังเกตได้จากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่า
เพิ่มที่เป็นภาษีที่จัดเก็บบนฐานการอุปโภคบริโภคและบริการ ยังคงขยายตัวในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่อง สะท้อน
ว่าธุรกิจยังมีความคล่องตัว ประชาชนยังมีการบริโภคและการลงทุนเพิ่มอย่างต่อเนื่อง และยอดรายได้ที่จัดเก็บ
จากอากรแสตมป์ยังมีสูงขึ้น (ข่าวสด, แนวหน้า)
3. ธปท. ห่วงหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น รายงานข่าวจาก ธปท. เปิดเผยว่า ในวันที่ 6-7 ก.ย.นี้
ธปท. จะจัดสัมมนาประจำปีเรื่อง Safeguarding Economic Stability: The Role of Public
Policy เพื่อเผยแพร่งานวิจัยและระดมความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการรักษาสมดุลทางเศรษฐกิจ โดยจะเสนอ
บทวิจัยเรื่อง “ภาวะหนี้ครัวเรือนไทย : ความเสี่ยงและนัยเชิงนโยบาย” โดยข้อมูลล่าสุดของ สนง.สถิติแห่ง
ชาติพบว่า ไตรมาสแรกหนี้ครัวเรือนของไทยเพิ่มขึ้นเป็น 110,566 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 62 และครัว
เรือนที่มีหนี้จะมีหนี้เฉลี่ย 167,047 บาท คิดเป็นร้อยละ 90 ของรายได้ทั้งปี ซึ่งโดยหลักการหนี้ครัวเรือนที่
เพิ่มไม่จำเป็นต้องเป็นปัญหาเสมอไป ตราบใดที่ปริมาณการกู้ยืมอยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่การที่ระดับหนี้ต่อราย
ได้เพิ่มขึ้น ทำให้ครัวเรือนมีความอ่อนไหวมากขึ้นต่อปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การลดลงของรายได้ การว่างงาน
และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ยังไม่พบว่าหนี้ภาคครัวเรือนจะก่อให้เกิดปัญหารุนแรงต่อ
ระบบเศรษฐกิจ แต่พบประเด็นเชิงนโยบายที่น่าสนใจหลายประเด็น เช่น 1) ครัวเรือนที่เป็นหนี้และมีรายได้
น้อย (ต่ำกว่า 2.5 หมื่นบาทต่อปี) มีโอกาสประสบปัญหาทางการเงินมากกว่าครัวเรือนทั่วไป 2) ครัวเรือนที่
กู้ระยะยาวเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยและจ่ายดอกเบี้ยลอยตัวจะเปราะบางเป็นพิเศษต่ออัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น โดย
เฉพาะภาวะดอกเบี้ยต่ำจูงใจให้มีการกู้ยืมในวงเงินสูงขึ้นมาก 3) ลูกหนี้บางกลุ่มมีปัญหา moral hazard
โดยคิดว่าทางการจะเข้ามาช่วยเหลือเมื่อประสบปัญหาการชำระหนี้ ซึ่งบทวิจัยได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
ที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) ด้านนโยบายการเงิน การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบายควรคำนึงถึงความเสี่ยง
ที่ภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่องเป็นเวลานานจะนำไปสู่ปัญหาการสะสมหนี้เกินควรของภาคครัวเรือน 2)
ควรเพิ่มประสิทธิภาพในนโยบายกำกับดูแลสถาบันการเงิน เพื่อให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลมีการตรวจสอบที่
รอบคอบและรัดกุมเท่าเทียมกัน และ 3) ด้านนโยบายพื้นฐาน เพื่อยกระดับตลาดสินเชื่อผู้บริโภคให้มี
ประสิทธิภาพและเสถียรภาพยิ่งขึ้น ควรให้ความสำคัญกับมาตรการส่งเสริมให้มีการจัดเก็บและร่วมกันใช้ฐาน
ข้อมูลประวัติลูกค้าระหว่างสถาบันการเงิน การเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างทางกฎหมายเพื่อรองรับการ
ปรับโครงสร้างหนี้ส่วนบุคคลที่อาจเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของหนี้ภาคครัวเรือน เป็นต้น (มติชน)
4. ปริมาณเช็คเรียกเก็บในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเดือน ก.ค.47 ลดลงร้อยละ 0.3
รายงานข่าวจาก ธปท. เปิดเผยว่า ปริมาณเช็คเรียกเก็บในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเดือน ก.ค.47 มีทั้ง
สิ้น 5,195,756 ฉบับ ลดลงร้อยละ 0.3 จากระยะเดียวกันของปีก่อน มูลค่ารวม 1.78 ล้านล้านบาท เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 7 จากการขยายตัวของการอุปโภคบริโภค การลงทุนภาคเอกชน และการเร่งใช้จ่ายของรัฐ รวม
ทั้งมูลค่าการส่งออกที่ยังขยายตัวในเกณฑ์สูงตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าส่งออก ส่วนปริมาณเช็คคืนมี
124,666 ฉบับ ลดลงร้อยละ 5.6 คิดเป็นสัดส่วนต่อเช็คเรียกเก็บร้อยละ 2.4 มูลค่า 14,203 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ซึ่งเป็นเช็คคืนด้วยเหตุผลไม่มีเงิน 77,729 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.4 จากระยะเดียว
กันของปีก่อน โดยปริมาณเช็คที่เรียกเก็บส่วนใหญ่เป็นเช็คต่ำกว่า 10 ล้านบาท ร้อยละ 99.6 มูลค่ารวม
751,190 ล้านบาท ส่วนปริมาณเช็คเรียกเก็บข้ามเขตสำนักหักบัญชีมีจำนวน 502,846 ฉบับ เพิ่มขึ้นร้อยละ
89.2 มูลค่ารวม 22,161 ล้านบาท (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การจ้างงานของ สรอ.ในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นจำนวน 144,000 คน รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อ 3 ก.ย.47 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ตลาดแรงงานของ สรอ.ในเดือน ส.ค.47 เริ่มสดใส
เนื่องจากมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจำนวน 144,000 คน หลังจากที่ 2 เดือนก่อนหน้านี้ภาวะการจ้างงานใน สรอ.
ชะลอตัว ทั้งนี้ ตลาดแรงงานที่เริ่มฟื้นตัวเป็นหัวข้อที่อยู่ในความสนใจอย่างมากในทำเนียบขาว โดยอัตราการ
ว่างงานในเดือน ส.ค.47 ลดลงร้อยละ 5.4 อันเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน ต.ค.44 หลังจากที่เมื่อเดือน
ก.ค.47 อยู่ที่ร้อยละ 5.5 นอกจากนี้ The new York-based Institute for Supply Management
ยังได้เสนอมุมมองของธุรกิจภาคบริการเพิ่มเติมว่า ดัชนี ISM ของอุตสาหกรรมนอกภาคการผลิตในเดือน
ส.ค.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 58.2 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบปี 47 จากระดับ 64.8 ในเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม
ทำเนียบขาว สรอ. ได้เน้นเกี่ยวกับรายงานตลาดแรงงานที่มองในด้านบวก โดยประธานาธิบดี สรอ.
(George W.Bush) แถลงว่า ตัวเลขเหล่านั้นแสดงถึงภาวะเศรษฐกิจ สรอ.ที่แข็งแกร่งและจะแข็งแกร่งยิ่ง
ขึ้นในอนาคต ขณะที่ นาย John Kerry ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี สรอ. จากพรรคเดโมแครต
เห็นว่า บุชเป็นประธานาธิบดี สรอ.คนแรกนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930 ที่พยายามจะชนะการเลือกตั้งในรอบใหม่
โดยไม่ได้ให้ความสนใจหรือพยายามที่จะก่อให้เกิดการสร้างงาน โดยอ้างตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนลดลง
สุทธิ 1.65 ล้านคน ตั้งแต่ประธานาธิบดีบุชรับตั้งแต่เมื่อเดือน ม.ค. 44 (รอยเตอร์)
2. รายจ่ายลงทุนของภาคธุรกิจในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้เมื่อเทียบกับปีก่อน
รายงานจากโตเกียว เมื่อ 6 ก.ย.47 รายจ่ายลงทุนในโรงงานและอุปกรณ์ใหม่ของภาคธุรกิจในญี่ปุ่นสำหรับ
ไตรมาสที่ 2 ของปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1
ในไตรมาสแรกปีนี้ ทำให้นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า ก.คลังของญี่ปุ่นจะปรับตัวเลข GDP ของไตรมาสที่ 2 ปีนี้อีก
อย่างน้อยร้อยละ 0.6 จากที่ประมาณการเบื้องต้นไว้ที่ร้อยละ 0.4 อันเป็นผลจากความต้องการสินค้าดิจิตอล
เช่น เครื่องบันทึกดีวีดีและทีวีจอแบนในตลาด สรอ. จีนและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้น ส่งผลให้
รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 5 ไตรมาส นานที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 43 ซึ่งเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 7 ไตรมาส โดย
ก.คลังของญี่ปุ่นมีกำหนดจะประกาศตัวเลข GDP สำหรับไตรมาสที่ 2 ปีนี้อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ก.ย.47 นี้(รอยเตอร์)
3. ผลสำรวจชี้ว่าธุรกิจในเกาหลีใต้มองเศรษฐกิจในทางที่ดีขึ้น รายงานจากโซล เมื่อ 5 ก.ย.47
ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของธุรกิจในเกาหลีใต้จากผลสำรวจโดยสภาอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเป็น 95.5
ในเดือน ก.ย.47 จากระดับ 86.4 ในเดือน ส.ค.47 สูงสุดในรอบ 4 เดือน ตัวเลขดัชนีที่ต่ำกว่า 100
แสดงให้เห็นว่าธุรกิจที่คาดว่าภาวะธุรกิจและเศรษฐกิจจะเลวลงมีจำนวนมากกว่าที่คาดว่าจะดีขึ้น โดยภาคการ
ก่อสร้างและสาธารณูปโภคจะมองภาวะธุรกิจและเศรษฐกิจในทางที่เลวลงมากกว่าธุรกิจค้าปลีกและคมนาคมขน
ส่งซึ่งคาดว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาล Chusok ในระหว่างวันที่ 27 ถึง 29 ก.ย.47 นี้ แต่อย่างไร
ก็ตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้ยังคงไม่ดีขึ้นจากราคาน้ำมันและวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้ แม้
ว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3 ในรอบ 1 ปีสิ้นสุดเดือน ส.ค.47 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ
36.3 ในรอบ 12 เดือนสิ้นสุดเดือน ก.ค.47 โดยดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ในเดือน ส.ค.47
เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.44 (รอยเตอร์)
4. กลุ่มสมาชิกอาเซียน 10 ชาติ รวมทั้งออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์หวังว่าจะได้ข้อสรุปการ
เจรจาทางการค้าระหว่างกันได้ในปี 50 รายงานจากจาการ์ตา เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 47 รมว.เศรษฐกิจและ
การค้าของประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์หวังว่าจะได้ข้อสรุปการตกลงทาง
การค้า (Free trade agreement — FTA) ระหว่างกันได้ในราวปี 50 หลังจากเริ่มต้นเจรจากันอย่าง
เป็นทางการในปีหน้า และอาจจะได้ข้อสรุปภายในเวลา 2 ปี ต่อจากนั้นจะเสนอขอความเห็นชอบอย่างเป็น
ทางการจากรัฐบาลเพื่ออนุมัติในการประชุมผู้นำกลุ่มอาเซียนครั้งที่ 10 ที่จะจัดให้มีขึ้นที่กรุงเวียงจันทร์ประเทศ
ลาวในเดือนพ.ย. นี้ ทั้งนี้ รมว.การค้าของออสเตรเลียแสดงความประหลาดใจในความก้าวหน้าอีกระดับหนึ่ง
ในการรวมตัวกันทางการค้าในภูมิภาคนี้ ( รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 ก.ย. 47 3 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.525 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.3356/41.6253 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 4000-1.53125 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 629.08/16.88 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,900/8,000 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.35 36.8 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-