กระเบื้องเซรามิกเป็นสินค้าส่งออกสำคัญอันดับ 3 ของผลิตภัณฑ์เซรามิกไทยรองจากเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องสุขภัณฑ์ ในช่วงระหว่างปี 2538-2546 ไทยส่งออกกระเบื้องเซรามิกเป็นมูลค่าเฉลี่ยสูงถึงปีละเกือบ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี ทำให้ไทยเป็นผู้ส่งออกรายสำคัญอันดับ 3 ของอาเซียนรองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย โดยมีสหรัฐอเมริกา อาเซียน และสหภาพยุโรปเป็นตลาดส่งออกสำคัญ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการส่งออกกระเบื้องเซรามิกของไทยเผชิญกับภาวะที่เรียกว่า Competitive Nutcracker หรือการแข่งขันจากคู่แข่ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ผลิตกระเบื้องเซรามิกคุณภาพสูง ได้แก่ อิตาลีและสเปน ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตกระเบื้องเซรามิกขัดเงา และกลุ่มที่ผลิตกระเบื้องเซรามิกคุณภาพปานกลางถึงต่ำ ซึ่งมีราคาจำหน่ายเฉลี่ยต่อหน่วยต่ำกว่าไทย ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
การผลิตและส่งออกกระเบื้องเซรามิกของประเทศคู่แข่งสำคัญของไทย มีดังนี้
อิตาลี เป็นประเทศผู้ส่งออกกระเบื้องเซรามิกอันดับ 1 ของโลก ครองส่วนแบ่งในตลาดโลกสูงถึงร้อยละ 30 เน้นผลิตกระเบื้องเซรามิกที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีตราสินค้าเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก และเน้นจำหน่ายในตลาดระดับบนเป็นหลัก ความได้เปรียบดังกล่าวทำให้อิตาลีสามารถตั้งราคาส่งออกได้ในระดับสูง และสามารถส่งออกกระเบื้องเซรามิกซึ่งเป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมากไปยังตลาดที่มีกำลังซื้อสูง และตั้งอยู่ห่างไกล อาทิ ญี่ปุ่น เพราะราคาคุ้มกับค่าขนส่ง ทั้งนี้ ปัจจุบันกระเบื้องเซรามิกของอิตาลีมีราคาเฉลี่ยต่อหน่วยสูงที่สุดในโลก
สเปน เป็นประเทศผู้ส่งออกกระเบื้องเซรามิกอันดับ 2 ของโลกรองจากอิตาลี มีส่วนแบ่งในตลาดโลกประมาณร้อยละ 26 เน้นผลิตกระเบื้องเซรามิกที่เลียนแบบสินค้าจากอิตาลีแต่ตั้งราคาจำหน่ายถูกกว่าถึงร้อยละ 40 ขณะเดียวกันสเปนให้ความสำคัญกับการพัฒนารูปแบบการผลิตของตนเองและสร้างความชำนาญเฉพาะด้านมากขึ้น จากจุดเด่นดังกล่าวทำให้สเปนมีแนวโน้มขยายการผลิตและส่งออกกระเบื้องเซรามิกไปยังตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จีน เป็นประเทศผู้ผลิตกระเบื้องเซรามิกสำคัญอันดับ 1 ของโลก ส่วนใหญ่เป็นกระเบื้องเซรามิกคุณภาพปานกลางถึงต่ำ มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ผลิตจากโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย เป็นที่น่าสังเกตว่าแม้จีนจะผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศถึงร้อยละ 95 แต่จีนกลับเป็นผู้ส่งออกกระเบื้องเซรามิกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลกรองจากอิตาลีและสเปน โดยมีฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 1 (สัดส่วนร้อยละ 40 ของมูลค่าส่งออกกระเบื้องเซรามิกทั้งหมดของจีน) รองลงมา ได้แก่ อาเซียน (ร้อยละ 11) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 9) ซาอุดี-อาระเบีย (ร้อยละ 7) และญี่ปุ่น (ร้อยละ 5)
อินโดนีเซียและมาเลเซีย เป็นประเทศผู้ส่งออกกระเบื้องเซรามิกสำคัญอันดับ 1 และ 2 ของอาเซียนตามลำดับ แม้ผลผลิตราวร้อยละ 70-80 จะใช้ภายในประเทศเป็นสำคัญก็ตาม ทั้งนี้ กระเบื้องเซรามิกที่ทั้ง 2 ประเทศผลิตส่วนใหญ่มีคุณภาพปานกลางและต่ำ
เพื่อให้กระเบื้องเซรามิกของไทยแข่งขันได้กับคู่แข่งทั้งในตลาดระดับบนและตลาดระดับล่าง ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยควรเร่งหาจุดยืนของตัวเองด้วยการผลิตกระเบื้องเซรามิกไทยให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น การใช้ลายไทยเพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า การสร้างตราสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของตลาดโลกด้วยการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานสินค้าอยู่เสมอ และเน้นเจาะตลาดระดับกลางในอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
การเร่งปรับตัวของผู้ผลิตและผู้ส่งออกกระเบื้องเซรามิกไทยดังกล่าว คาดว่าจะทำให้การส่งออกของไทยยังคงขยายตัวได้ดีในตลาดโลกท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง ขณะเดียวกันจะมีส่วนทำให้ไทยพัฒนาไปสู่การเป็นฐานการผลิตกระเบื้องเซรามิกที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูงในเอเชียได้ในระยะต่อไป
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2547--
-พห-
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการส่งออกกระเบื้องเซรามิกของไทยเผชิญกับภาวะที่เรียกว่า Competitive Nutcracker หรือการแข่งขันจากคู่แข่ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ผลิตกระเบื้องเซรามิกคุณภาพสูง ได้แก่ อิตาลีและสเปน ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตกระเบื้องเซรามิกขัดเงา และกลุ่มที่ผลิตกระเบื้องเซรามิกคุณภาพปานกลางถึงต่ำ ซึ่งมีราคาจำหน่ายเฉลี่ยต่อหน่วยต่ำกว่าไทย ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
การผลิตและส่งออกกระเบื้องเซรามิกของประเทศคู่แข่งสำคัญของไทย มีดังนี้
อิตาลี เป็นประเทศผู้ส่งออกกระเบื้องเซรามิกอันดับ 1 ของโลก ครองส่วนแบ่งในตลาดโลกสูงถึงร้อยละ 30 เน้นผลิตกระเบื้องเซรามิกที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีตราสินค้าเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก และเน้นจำหน่ายในตลาดระดับบนเป็นหลัก ความได้เปรียบดังกล่าวทำให้อิตาลีสามารถตั้งราคาส่งออกได้ในระดับสูง และสามารถส่งออกกระเบื้องเซรามิกซึ่งเป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมากไปยังตลาดที่มีกำลังซื้อสูง และตั้งอยู่ห่างไกล อาทิ ญี่ปุ่น เพราะราคาคุ้มกับค่าขนส่ง ทั้งนี้ ปัจจุบันกระเบื้องเซรามิกของอิตาลีมีราคาเฉลี่ยต่อหน่วยสูงที่สุดในโลก
สเปน เป็นประเทศผู้ส่งออกกระเบื้องเซรามิกอันดับ 2 ของโลกรองจากอิตาลี มีส่วนแบ่งในตลาดโลกประมาณร้อยละ 26 เน้นผลิตกระเบื้องเซรามิกที่เลียนแบบสินค้าจากอิตาลีแต่ตั้งราคาจำหน่ายถูกกว่าถึงร้อยละ 40 ขณะเดียวกันสเปนให้ความสำคัญกับการพัฒนารูปแบบการผลิตของตนเองและสร้างความชำนาญเฉพาะด้านมากขึ้น จากจุดเด่นดังกล่าวทำให้สเปนมีแนวโน้มขยายการผลิตและส่งออกกระเบื้องเซรามิกไปยังตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จีน เป็นประเทศผู้ผลิตกระเบื้องเซรามิกสำคัญอันดับ 1 ของโลก ส่วนใหญ่เป็นกระเบื้องเซรามิกคุณภาพปานกลางถึงต่ำ มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ผลิตจากโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย เป็นที่น่าสังเกตว่าแม้จีนจะผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศถึงร้อยละ 95 แต่จีนกลับเป็นผู้ส่งออกกระเบื้องเซรามิกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลกรองจากอิตาลีและสเปน โดยมีฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 1 (สัดส่วนร้อยละ 40 ของมูลค่าส่งออกกระเบื้องเซรามิกทั้งหมดของจีน) รองลงมา ได้แก่ อาเซียน (ร้อยละ 11) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 9) ซาอุดี-อาระเบีย (ร้อยละ 7) และญี่ปุ่น (ร้อยละ 5)
อินโดนีเซียและมาเลเซีย เป็นประเทศผู้ส่งออกกระเบื้องเซรามิกสำคัญอันดับ 1 และ 2 ของอาเซียนตามลำดับ แม้ผลผลิตราวร้อยละ 70-80 จะใช้ภายในประเทศเป็นสำคัญก็ตาม ทั้งนี้ กระเบื้องเซรามิกที่ทั้ง 2 ประเทศผลิตส่วนใหญ่มีคุณภาพปานกลางและต่ำ
เพื่อให้กระเบื้องเซรามิกของไทยแข่งขันได้กับคู่แข่งทั้งในตลาดระดับบนและตลาดระดับล่าง ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยควรเร่งหาจุดยืนของตัวเองด้วยการผลิตกระเบื้องเซรามิกไทยให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น การใช้ลายไทยเพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า การสร้างตราสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของตลาดโลกด้วยการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานสินค้าอยู่เสมอ และเน้นเจาะตลาดระดับกลางในอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
การเร่งปรับตัวของผู้ผลิตและผู้ส่งออกกระเบื้องเซรามิกไทยดังกล่าว คาดว่าจะทำให้การส่งออกของไทยยังคงขยายตัวได้ดีในตลาดโลกท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง ขณะเดียวกันจะมีส่วนทำให้ไทยพัฒนาไปสู่การเป็นฐานการผลิตกระเบื้องเซรามิกที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูงในเอเชียได้ในระยะต่อไป
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2547--
-พห-