กรุงเทพ--7 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดสหภาพแอฟริกา สมัยวิสามัญเรื่องการจ้างงานและการต่อสู้กับความยากจนในแอฟริกา (the Extraordinary Summit of African Union on employment and fight against poverty in Africa ) ที่ประเทศบูร์กินาฟาโซ ในฐานะแขกพิเศษของประเทศเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 8 - 9 กันยายน 2547
การประชุมครั้งนี้มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของทวีปแอฟริกา โดยผู้ร่วมการประชุมเป็นระดับผู้นำของประเทศสมาชิก 52 ประเทศจากภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก แอฟริกากลาง แอฟริกาตะวันออก แอฟริกาเหนือและแอฟริกาตอนใต้ มาร่วมประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมการจ้างงานและการต่อสู้ความยากจนในแอฟริกา
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยเป็นผู้แทนคนแรกของเอเชียที่ได้เข้าร่วม การประชุมสหภาพแอฟริกาและเป็นแขกพิเศษเพียงท่านเดียวจากเอเชียที่ได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสุดยอดสหภาพแอฟริกาเกี่ยวกับแนวคิดของไทยในเรื่องการต่อสู้กับปัญหาความยากจนสำหรับประเทศกำลังพัฒนา (food security concept) ขีดความสามารถ ในการพัฒนาของไทย ความพร้อมของไทยในการให้ความช่วยเหลือประเทศในแอฟริกาและบทบาทไทยในฐานะ ตัวเชื่อมเอเชียกับแอฟริกา
การประชุมครั้งนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่ไทยจะแสดงบทบาทของผู้นำในภูมิภาคเอเชียที่จะเป็นตัวกลางเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน (South -South Cooperation) และการให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวิชาการแก่ประเทศในแอฟริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นเจ้าภาพจัด "การประชุมนานาชาติระดับรัฐมนตรีเพื่อเผยแพร่พระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างวันที่ 3 - 5 พฤศจิกายน 2547 ที่ประเทศไทย โดยจะเชิญรัฐมนตรีจากประเทศต่างๆ ในแอฟริกาเข้าร่วมประชุมดังกล่าวด้วยเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดจนการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ ใช้ในต่างประเทศ
ในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนข้อมูลเกี่ยวกับองค์การสหภาพแอฟริกา (African Union) ดังนี้
1. ภูมิหลัง
สหภาพแอฟริกา (African Union - AU) เป็นความร่วมมือระดับภูมิภาคที่สำคัญของทวีปแอฟริกา ซึ่งก่อกำเนิดมาจากองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity - OAU) เมื่อปี 2545 โดยได้ปรับปรุง กฎบัตรเดิมขององค์การเอกภาพแอฟริกาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพและสามารถแทรกแซงกิจการของประเทศสมาชิก โดยผ่านกองกำลังรักษาสันติภาพ ซึ่งมีสมาชิก 15 ประเทศ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคแอฟริกามีประสิทธิภาพมากกว่าองค์การเอกภาพแอฟริกา เดิม โดยมีกลไกสำคัญของสหภาพแอฟริกาที่เพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งคือ ธนาคารกลาง นอกจากนี้ นโยบายสำคัญที่ สหภาพแอฟริกาเน้น คือ การพัฒนาเศรษฐกิจและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน และได้ใช้โครงการ The New Partnership for Africa's Development หรือ NEPAD เป็นหลักในการดำเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคแอฟริกา
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์กรดังกล่าว เพื่อ
1. ส่งเสริมเอกภาพและความสมานฉันท์ระหว่างประเทศสมาชิก
2. ปกป้องอธิปไตย บูรณภาพแห่งแผ่นดิน และเอกราชของประเทศสมาชิก
3. ส่งเสริมการมีท่าทีร่วมกันของประเทศสมาชิก เพื่อสร้างเงื่อนไขในการเจรจาต่อรองในเวทีการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
4. ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย ธรรมรัฐ และการมีส่วนร่วมของประชาชนรวมทั้งการปกป้องสิทธิมนุษยชน
5. ส่งเสริมความร่วมมือและการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในแอฟริกา ประเทศสมาชิกสหภาพแอฟริกามีจำนวนทั้งสิ้น 52 ประเทศ และดินแดนซาฮาราตะวันตก (ยกเว้นโมร็อกโก ซึ่งขอถอนตัวจากองค์การเอกภาพแอฟริกา เมื่อปี 2527) โดยแบ่งเป็นประเทศในภูมิภาคต่างๆ ดังนี้
ภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก (16 ประเทศ)
เบนิน บูร์กินาฟาโซ เคปเวิร์ด โกตดิวัวร์ แกมเบีย กานา กินี กินีบิสเซา ไลบีเรีย มาลี มอริเตเนีย ไนจีเรีย ไนเจอร์ เซเนกัล เซียร์ราลีโอน โตโก
ภูมิภาคแอฟริกากลาง (9 ประเทศ)
บรุนดี แคเมอรูน แอฟริกากลาง ชาด คองโก สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก อิเควทอเรียลกินี กาบอง เซาโตเมและปรินซิเป
ภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก (13 ประเทศ)โคโมรอส จิบูตี เอริเทเรีย เอธิโอเปีย เคนยา มาดากัสการ์ มอริเชียส เซเชลส์ โซมาเลีย ซูดาน แทนซาเนีย ยูกันดา รวันดา
ภูมิภาคแอฟริกาเหนือ (4 ประเทศ และ 1 ดินแดน)แอลจีเรีย อียิปต์ ลิเบีย ตูนิเซีย และดินแดนซาฮาราตะวันตก
ภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ (10 ประเทศ) อังโกลา บอตสวานา เลโซโท มาลาวี โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ สวาซิแลนด์ แซมเบีย ซิมบับเว
ทั้งนี้ ประธานสหภาพแอฟริกา (Chairperson of the AU) คนปัจจุบัน คือ H.E. Olusegun Obasanjo ประธานาธิบดีแห่งไนจีเรีย (ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2547)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดสหภาพแอฟริกา สมัยวิสามัญเรื่องการจ้างงานและการต่อสู้กับความยากจนในแอฟริกา (the Extraordinary Summit of African Union on employment and fight against poverty in Africa ) ที่ประเทศบูร์กินาฟาโซ ในฐานะแขกพิเศษของประเทศเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 8 - 9 กันยายน 2547
การประชุมครั้งนี้มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของทวีปแอฟริกา โดยผู้ร่วมการประชุมเป็นระดับผู้นำของประเทศสมาชิก 52 ประเทศจากภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก แอฟริกากลาง แอฟริกาตะวันออก แอฟริกาเหนือและแอฟริกาตอนใต้ มาร่วมประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมการจ้างงานและการต่อสู้ความยากจนในแอฟริกา
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยเป็นผู้แทนคนแรกของเอเชียที่ได้เข้าร่วม การประชุมสหภาพแอฟริกาและเป็นแขกพิเศษเพียงท่านเดียวจากเอเชียที่ได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสุดยอดสหภาพแอฟริกาเกี่ยวกับแนวคิดของไทยในเรื่องการต่อสู้กับปัญหาความยากจนสำหรับประเทศกำลังพัฒนา (food security concept) ขีดความสามารถ ในการพัฒนาของไทย ความพร้อมของไทยในการให้ความช่วยเหลือประเทศในแอฟริกาและบทบาทไทยในฐานะ ตัวเชื่อมเอเชียกับแอฟริกา
การประชุมครั้งนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่ไทยจะแสดงบทบาทของผู้นำในภูมิภาคเอเชียที่จะเป็นตัวกลางเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน (South -South Cooperation) และการให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวิชาการแก่ประเทศในแอฟริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นเจ้าภาพจัด "การประชุมนานาชาติระดับรัฐมนตรีเพื่อเผยแพร่พระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างวันที่ 3 - 5 พฤศจิกายน 2547 ที่ประเทศไทย โดยจะเชิญรัฐมนตรีจากประเทศต่างๆ ในแอฟริกาเข้าร่วมประชุมดังกล่าวด้วยเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดจนการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ ใช้ในต่างประเทศ
ในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนข้อมูลเกี่ยวกับองค์การสหภาพแอฟริกา (African Union) ดังนี้
1. ภูมิหลัง
สหภาพแอฟริกา (African Union - AU) เป็นความร่วมมือระดับภูมิภาคที่สำคัญของทวีปแอฟริกา ซึ่งก่อกำเนิดมาจากองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity - OAU) เมื่อปี 2545 โดยได้ปรับปรุง กฎบัตรเดิมขององค์การเอกภาพแอฟริกาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพและสามารถแทรกแซงกิจการของประเทศสมาชิก โดยผ่านกองกำลังรักษาสันติภาพ ซึ่งมีสมาชิก 15 ประเทศ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคแอฟริกามีประสิทธิภาพมากกว่าองค์การเอกภาพแอฟริกา เดิม โดยมีกลไกสำคัญของสหภาพแอฟริกาที่เพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งคือ ธนาคารกลาง นอกจากนี้ นโยบายสำคัญที่ สหภาพแอฟริกาเน้น คือ การพัฒนาเศรษฐกิจและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน และได้ใช้โครงการ The New Partnership for Africa's Development หรือ NEPAD เป็นหลักในการดำเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคแอฟริกา
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์กรดังกล่าว เพื่อ
1. ส่งเสริมเอกภาพและความสมานฉันท์ระหว่างประเทศสมาชิก
2. ปกป้องอธิปไตย บูรณภาพแห่งแผ่นดิน และเอกราชของประเทศสมาชิก
3. ส่งเสริมการมีท่าทีร่วมกันของประเทศสมาชิก เพื่อสร้างเงื่อนไขในการเจรจาต่อรองในเวทีการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
4. ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย ธรรมรัฐ และการมีส่วนร่วมของประชาชนรวมทั้งการปกป้องสิทธิมนุษยชน
5. ส่งเสริมความร่วมมือและการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในแอฟริกา ประเทศสมาชิกสหภาพแอฟริกามีจำนวนทั้งสิ้น 52 ประเทศ และดินแดนซาฮาราตะวันตก (ยกเว้นโมร็อกโก ซึ่งขอถอนตัวจากองค์การเอกภาพแอฟริกา เมื่อปี 2527) โดยแบ่งเป็นประเทศในภูมิภาคต่างๆ ดังนี้
ภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก (16 ประเทศ)
เบนิน บูร์กินาฟาโซ เคปเวิร์ด โกตดิวัวร์ แกมเบีย กานา กินี กินีบิสเซา ไลบีเรีย มาลี มอริเตเนีย ไนจีเรีย ไนเจอร์ เซเนกัล เซียร์ราลีโอน โตโก
ภูมิภาคแอฟริกากลาง (9 ประเทศ)
บรุนดี แคเมอรูน แอฟริกากลาง ชาด คองโก สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก อิเควทอเรียลกินี กาบอง เซาโตเมและปรินซิเป
ภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก (13 ประเทศ)โคโมรอส จิบูตี เอริเทเรีย เอธิโอเปีย เคนยา มาดากัสการ์ มอริเชียส เซเชลส์ โซมาเลีย ซูดาน แทนซาเนีย ยูกันดา รวันดา
ภูมิภาคแอฟริกาเหนือ (4 ประเทศ และ 1 ดินแดน)แอลจีเรีย อียิปต์ ลิเบีย ตูนิเซีย และดินแดนซาฮาราตะวันตก
ภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ (10 ประเทศ) อังโกลา บอตสวานา เลโซโท มาลาวี โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ สวาซิแลนด์ แซมเบีย ซิมบับเว
ทั้งนี้ ประธานสหภาพแอฟริกา (Chairperson of the AU) คนปัจจุบัน คือ H.E. Olusegun Obasanjo ประธานาธิบดีแห่งไนจีเรีย (ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2547)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-