นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 11 (The Eleventh APEC Finance Ministers Meeting) ระหว่างวันที่ 2 - 3 กันยายน 2547 ณ กรุงซานติอาโก ประเทศชิลี ซึ่งมีผู้แทนจากกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าร่วมประชุม ผลการประชุมสรุปได้ ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาค
รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเอเปคมีความเห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกในปีนี้ยังคงมีความแข็งแกร่งแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงของประเทศในแถบเอเชีย โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยซึ่งถือเป็นหนึ่งในสองเขตเศรษฐกิจที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดในภูมิภาค โดยเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่ดี การส่งออกที่เพิ่มขึ้น และอุปสงค์ภายในประเทศที่สูงขึ้น ทั้งนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) และธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ยังกล่าวรายงานให้ที่ประชุมฯตระหนักว่า การขยายตัวของสภาพเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าในปีหน้าภาวะเศรษฐกิจจะดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง และอัตราเงินเฟ้อยังคงทรงตัว แม้ราคาสินค้าอุปโภคหลัก และราคาน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้น
2. หัวข้อหลักของการประชุม
การประชุมในครั้งนี้ มีการหารือในหัวข้อหลัก 2 เรื่อง ได้แก่ (1) นโยบายการคลังเพื่อการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืนในภูมิภาคเอเปค (Fiscal Policies for growth and stability in an open APEC region) และ (2) การเคลื่อนย้ายเงินทุนโดยเสรี (Institution building in a world of free and volatile capital flows) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค เห็นว่าการดำเนินนโยบายการคลังอย่างมีวินัย และยั่งยืน มีความสำคัญอย่างมากต่อเสถียรภาพและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว เนื่องจากจะช่วยให้สามารถเข้าถึงตลาดทุนระหว่างประเทศที่มีต้นทุนถูกกว่าได้ รวมทั้งลดความเสี่ยงจากผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ในขณะเดียวกันนโยบายดังกล่าวทำให้การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนโดยเฉพาะทางด้าน สังคมเป็นไปสม่ำเสมอแม้ในระหว่างที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รวมทั้งช่วยให้รัฐบาลสามารถรับมือกับปัญหาประชากรสูงอายุที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างเหมาะสม ในการนี้ ที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนะในการดำเนินนโยบายการคลังว่าต้องมีความโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล และมีวินัยทางการคลังที่มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือต้องได้รับการสนับสนุนทางการเมืองด้วย
สำหรับการเคลื่อนย้ายเงินทุนโดยเสรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคได้เน้นถึงความสำคัญของรวมตัวทางการเงิน (Financial Integration) ซึ่งช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การส่งเสริมการลงทุน ปรับปรุงขีดความสามารถทางการแข่งขันของตลาดเงินภายในประเทศและลดความเสี่ยงของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้นก็มีความเสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่ ดังนั้น การมีนโยบายเศรษฐกิจที่รัดกุม มีกฎระเบียบรองรับที่ดี และการเปิดเสรีอย่างเป็นขั้นตอนที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ โดยเสนอให้มีการดำเนินการดังนี้
ในระดับประเทศ ควรมีการพัฒนาระบบการเงินในเชิงลึกและกว้าง พัฒนาการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่ดี ปรับปรุงความโปร่งใสและธรรมาภิบาลในภาคการเงิน การมีวินัยทางการตลาด และ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่ดี เพื่อลดความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
ในระดับภูมิภาค สถาบันการเงินระหว่างประเทศควรมีบทบาทมากขึ้นในการให้การสนับสนุนสภาพคล่องแก่เขตเศรษฐกิจเกิดใหม่เมื่อประสบภาวะวิกฤติ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือให้เขตเศรษฐกิจดังกล่าวดำเนินนโยบายนโยบายเศรษฐกิจที่เข้มแข็งเพื่อการเจริญเติบโตต่อไป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคมีความยินดีที่เห็นความคืบหน้าของสมาชิกเอเปคในการพัฒนาตลาดทุนและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบการธนาคารซึ่งเป็นสื่อกลางในการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีและต่อเนื่อง รวมทั้งการปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนของบางเขตเศรษฐกิจที่มีความพร้อมไปสู่ระบบที่ยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อรองรับความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
3. มาตรการริเริ่มที่ประเทศไทยมีบทบาท
ประเทศไทยได้รายงานความคืบหน้าของมาตรการริเริ่มที่ประเทศไทยเป็นเจ้าของเรื่อง คือมาตรการความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินในเขตเศรษฐกิจเอเปคที่ให้การสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ซึ่งในปีนี้ ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปี เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2547 ณ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งผลการประชุมปรากฏว่ามีสถาบันการเงินจากสมาชิกเอเปคจำนวน 12 แห่งลงนามในบันทึกความเข้าใจในการให้ความสนับสนุน SME เข้าร่วมการประชุมและได้มีการตกลงที่จะดำเนินความร่วมมือในด้านการหาแหล่งเงินทุน และความร่วมมือทางวิชาการ รวมทั้งการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 12 กำหนดจัดประชุมระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน 2548 ณ เกาะเจจู สาธารณรัฐเกาหลี
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 68/2547 6 กันยายน 2547--
1. ภาวะเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาค
รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเอเปคมีความเห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกในปีนี้ยังคงมีความแข็งแกร่งแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงของประเทศในแถบเอเชีย โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยซึ่งถือเป็นหนึ่งในสองเขตเศรษฐกิจที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดในภูมิภาค โดยเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่ดี การส่งออกที่เพิ่มขึ้น และอุปสงค์ภายในประเทศที่สูงขึ้น ทั้งนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) และธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ยังกล่าวรายงานให้ที่ประชุมฯตระหนักว่า การขยายตัวของสภาพเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าในปีหน้าภาวะเศรษฐกิจจะดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง และอัตราเงินเฟ้อยังคงทรงตัว แม้ราคาสินค้าอุปโภคหลัก และราคาน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้น
2. หัวข้อหลักของการประชุม
การประชุมในครั้งนี้ มีการหารือในหัวข้อหลัก 2 เรื่อง ได้แก่ (1) นโยบายการคลังเพื่อการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืนในภูมิภาคเอเปค (Fiscal Policies for growth and stability in an open APEC region) และ (2) การเคลื่อนย้ายเงินทุนโดยเสรี (Institution building in a world of free and volatile capital flows) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค เห็นว่าการดำเนินนโยบายการคลังอย่างมีวินัย และยั่งยืน มีความสำคัญอย่างมากต่อเสถียรภาพและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว เนื่องจากจะช่วยให้สามารถเข้าถึงตลาดทุนระหว่างประเทศที่มีต้นทุนถูกกว่าได้ รวมทั้งลดความเสี่ยงจากผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ในขณะเดียวกันนโยบายดังกล่าวทำให้การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนโดยเฉพาะทางด้าน สังคมเป็นไปสม่ำเสมอแม้ในระหว่างที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รวมทั้งช่วยให้รัฐบาลสามารถรับมือกับปัญหาประชากรสูงอายุที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างเหมาะสม ในการนี้ ที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนะในการดำเนินนโยบายการคลังว่าต้องมีความโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล และมีวินัยทางการคลังที่มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือต้องได้รับการสนับสนุนทางการเมืองด้วย
สำหรับการเคลื่อนย้ายเงินทุนโดยเสรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคได้เน้นถึงความสำคัญของรวมตัวทางการเงิน (Financial Integration) ซึ่งช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การส่งเสริมการลงทุน ปรับปรุงขีดความสามารถทางการแข่งขันของตลาดเงินภายในประเทศและลดความเสี่ยงของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้นก็มีความเสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่ ดังนั้น การมีนโยบายเศรษฐกิจที่รัดกุม มีกฎระเบียบรองรับที่ดี และการเปิดเสรีอย่างเป็นขั้นตอนที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ โดยเสนอให้มีการดำเนินการดังนี้
ในระดับประเทศ ควรมีการพัฒนาระบบการเงินในเชิงลึกและกว้าง พัฒนาการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่ดี ปรับปรุงความโปร่งใสและธรรมาภิบาลในภาคการเงิน การมีวินัยทางการตลาด และ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่ดี เพื่อลดความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
ในระดับภูมิภาค สถาบันการเงินระหว่างประเทศควรมีบทบาทมากขึ้นในการให้การสนับสนุนสภาพคล่องแก่เขตเศรษฐกิจเกิดใหม่เมื่อประสบภาวะวิกฤติ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือให้เขตเศรษฐกิจดังกล่าวดำเนินนโยบายนโยบายเศรษฐกิจที่เข้มแข็งเพื่อการเจริญเติบโตต่อไป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคมีความยินดีที่เห็นความคืบหน้าของสมาชิกเอเปคในการพัฒนาตลาดทุนและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบการธนาคารซึ่งเป็นสื่อกลางในการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีและต่อเนื่อง รวมทั้งการปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนของบางเขตเศรษฐกิจที่มีความพร้อมไปสู่ระบบที่ยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อรองรับความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
3. มาตรการริเริ่มที่ประเทศไทยมีบทบาท
ประเทศไทยได้รายงานความคืบหน้าของมาตรการริเริ่มที่ประเทศไทยเป็นเจ้าของเรื่อง คือมาตรการความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินในเขตเศรษฐกิจเอเปคที่ให้การสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ซึ่งในปีนี้ ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปี เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2547 ณ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งผลการประชุมปรากฏว่ามีสถาบันการเงินจากสมาชิกเอเปคจำนวน 12 แห่งลงนามในบันทึกความเข้าใจในการให้ความสนับสนุน SME เข้าร่วมการประชุมและได้มีการตกลงที่จะดำเนินความร่วมมือในด้านการหาแหล่งเงินทุน และความร่วมมือทางวิชาการ รวมทั้งการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 12 กำหนดจัดประชุมระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน 2548 ณ เกาะเจจู สาธารณรัฐเกาหลี
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 68/2547 6 กันยายน 2547--