ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ใช้นโยบายมุ่งรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและคุมเงินเฟ้อให้เป็นไปตามเป้าหมาย
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 47 ในหัวข้อ “บทบาทของ
นโยบายสาธารณะในการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ” ว่า ธปท. จะยังเน้นการทำหน้าที่นโยบายระวังหลัง แม้
ว่าในช่วงนี้เศรษฐกิจจะยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพ ส่วน
เรื่องราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นไม่กระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจมากนัก แต่อาจมีผลด้านเสถียรภาพมากกว่า
ซึ่งในช่วงที่เศรษฐกิจขาขึ้นต้องรักษาเสถียรภาพเพื่อให้เกิดความสมดุลในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น ภาครัฐจะ
ต้องดำเนินนโยบายที่จะดูแลให้ฐานะทางการเงินของครัวเรือนและธุรกิจเอกชน รวมทั้งภาคสถาบันการเงินมี
ความเข้มแข็งและมั่นคง เพราะในช่วงที่เศรษฐกิจดีคนมักจะกล้าเสี่ยงกล้าลงทุนในลักษณะที่เก็งกำไร ก่อหนี้
ภาคครัวเรือนจนเกินตัว สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อที่มีความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่ง ธปท. ต้องเข้าไปดูแลเพื่อไม่
ให้เกิดปัญหาต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว ส่วนการรักษาวินัยทางการเงินจะเน้นการรักษา
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยอัตราเงินเฟ้อต้องไม่เกินเป้าหมายที่ ธปท. ตั้งไว้ ซึ่งการฟื้นตัวของ
เศรษฐกิจในช่วงขาขึ้นปัจจุบันส่งผลให้เงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัด ทุนสำรองระหว่างประเทศ
และหนี้ต่างประเทศ ต้องอยู่ในระดับที่จะสร้างความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศได้ ซึ่งมีประเด็นที่จำเป็น
ต้องติดตามคือ หนี้ภาคครัวเรือนที่เร่งตัวมากขึ้นในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา และความเสี่ยงในตลาดอสังหาริม
ทรัพย์ที่ ธปท. ให้ความสำคัญ ทั้งนี้หากเศรษฐกิจไทยขยายตัวสูงมากขึ้นเท่าไร การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะ
ขาดดุลเร็วมากขึ้นเท่านั้น โดยชี้ว่าหากเศรษฐกิจไทยขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6.5 จะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดใน
ไตรมาสแรกของปี 50 แต่หากขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.5 จะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาส 1 ปี 49
(โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. สศช. ปรับจีดีพีสิ้นปี 47 ลงเหลือร้อยละ 6.0-6.5 นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการ สน
ง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า จีดีพีในไตรมาส 2 ปี 47 ขยาย
ตัวร้อยละ 6.3 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 6.6 ในไตรมาสที่แล้ว ขณะเดียวกัน สศช. ได้ปรับประมาณการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจตลอดปี 47 จากเดิมร้อยละ 6-7 เหลือร้อยละ 6.0-6.5 เนื่องจากปัญหาราคาน้ำมัน สินค้า
ราคาแพง แนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น การชะลอการลงทุน การบริโภคลดลง เนื่องจากประชาชน
ขาดความเชื่อมั่น รวมถึงเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง โดยจีดีพีไตรมาส 2 ที่ขยายตัวต่ำเกิดจากการผลิตขยายตัว
ชะลอลง โดยภาคการเกษตรหดตัวถึงร้อยละ 7.5 หมวดพืชผลและหมวดปศุสัตว์หดตัวลงร้อยละ 7.4 และ
19.3 ตามลำดับ รวมถึงราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหาความไม่สงบทางภาคใต้ การบริโภคภายในประเทศ
การใช้จ่ายของรัฐบาล และการลงทุนชะลอตัวลงค่อนข้างชัดเจน รวมถึงผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์ลดลงด้วย ส่วนภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.5 แต่เป็นอัตราที่ชะลอตัวลง สำหรับ
ปัจจัยที่จะช่วยให้จีดีพีเพิ่มขึ้นต้องอาศัยโครงการใหญ่ ๆ ของรัฐบาลที่จะนำเม็ดเงินเข้ามาลงทุนเป็นหลัก ราย
ได้จากการส่งออก รวมถึงการเร่งรัดการเบิกจ่าย งปม. ของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ส่วนการพึ่ง
การขยายตัวทางเศรษฐกิจด้วยวิธีกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศคงไม่จำเป็น เพราะจะทำให้เกิดปัญหาหนี้
ครัวเรือนตามมาภายหลัง ซึ่งล่าสุดหนี้ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 60 ของรายได้ ถือว่าค่อนข้างสูง แต่ยังไม่น่า
เป็นห่วง เพราะหนี้ส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สินคงทน เช่น บ้าน รถยนต์ เป็นต้น ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 48
คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.5-6.5 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง รวม
ถึงการยกเลิกการตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลของรัฐ (ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ทีดีอาร์ไอ สนับสนุนให้นำดัชนีหมวดพลังงานคำนวณดัชนีเงินเฟ้อ นายอัมมาร สยามวาลา นัก
วิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ธปท. ควรจะนำดัชนี
หมวดพลังงานมาพิจารณาเป็นเครื่องชี้วัดต่อการดำเนินนโยบายการเงินเพิ่มเติม จากปัจจุบันที่ใช้เฉพาะตัวเลข
เงินเฟ้อพื้นฐานเท่านั้น เพราะเงินเฟ้อพื้นฐานที่ใช้อยู่ไม่ได้สะท้อนถึงแรงกดดันราคาสินค้าที่แท้จริง และใน
อนาคตเมื่อน้ำมันมีผลต่อการกดดันราคาสินค้าอาจส่งผลให้ค่าเงินในมือของประชาชนลดน้อยลงตาม เพราะ
หน้าที่ของ ธปท. คือการรักษาค่าเงินของประชาชนไม่ให้ลดค่าลง และเป็นไปได้ว่าในอนาคต ธปท. อาจจะ
ดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ด้านนายพรายพล คุ้มทรัพย์ รองศาสตราจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์
ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า หาก ธปท. ยังคงใช้เงินเฟ้อพื้นฐานเป็นเป้าหมายต่อการดำเนินนโยบายการเงิน ก็
จะไม่สะท้อนให้เห็นราคาสินค้าที่แท้จริง เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลได้ตรึงราคาน้ำมันไว้ทำให้ราคาสินค้าไม่ได้
เปลี่ยนแปลง (เดลินิวส์)
4. เกณฑ์การจัดชั้นหนี้ใหม่ตามกฎบาเซิล 2 กระทบสินเชื่อที่อยู่อาศัย นางลดาวัลย์ ธนะธนิต
ผช.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงเทพ เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 ต.ค.47 ธ.พาณิชย์ทั้งหมดจะต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการคิด
คำนวณการจัดชั้นหนี้และสำรองหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสินเชื่อใหม่ทั้งหมดตามประกาศของ
ธปท. ตามกฎบาเซิล 2 จากเดิมเมื่อลูกค้าขาดส่งหรือค้างการผ่อนชำระหนี้ 3 เดือนเป็นต้นไป จะถูกจัดเป็น
เอ็นพีแอล และเมื่อลูกค้านำเงินมาชำระหนี้เพียง 1 เดือน ก็จะกลับมาเป็นหนี้ปกติ แต่กฎเกณฑ์ใหม่ลูกค้าจะ
ต้องชำระหนี้ที่ค้างเก่าให้หมดก่อนถึงจะปลดออกจากเอ็นพีแอลได้ มาตรการดังกล่าวส่งผลกระทบกับลูกค้าที่กู้
เงินซื้อที่อยู่อาศัยมาก รวมทั้งทำให้ธนาคารจะต้องตั้งสำรองหนี้เพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาธนาคาร
จะคำนวณเงินผ่อนชำระรายเดือนของลูกค้ากู้เงินซื้อที่อยู่อาศัยเผื่อร้อยละ 2-3 ด้านนายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล
ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย กล่าวว่า มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยของ ธปท. ไม่ทันสมัยและไม่
สอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นสินเชื่อพิเศษ มีระยะเวลาการกู้ยาวนาน แตกต่างจาก
สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ทั่วไป ซึ่งไม่ควรจะบังคับการจัดชั้นหนี้เหมือนกับสินเชื่อพาณิชย์ทั่วไป ควรจะดูจากความ
เสี่ยงของสินเชื่อ จึงควรให้ลูกค้าผ่อนชำระทุกงวดดีกว่าที่จะขึ้นค่างวดการผ่อนเพื่อให้ครอบคลุมดอกเบี้ยซึ่งจะ
ทำให้ลูกค้ามีปัญหาผ่อนชำระหนี้ไม่ได้หากดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การใช้จ่ายลงทุนของกิจการในญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 2 ยังคงฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง รายงานจาก
โตเกียว เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 47 ผลการสำรวจของรัฐบาลญี่ปุ่นที่เปิดเผยเมื่อวันจันทร์ชี้ว่า ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้
กิจการของญี่ปุ่นมีการใช้จ่ายลงทุนจำนวนมาก โดยมีการลงทุนสำหรับโรงงานใหม่และอุปกรณ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อ
เนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 ทั้งนี้การลงทุนดังกล่าวขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 และร้อยละ 10.7 เมื่อ
เทียบต่อเดือน และเทียบต่อปีตามลำดับ และเป็นสถิติสูงสุดในรอบปีนับตั้งแต่ที่เริ่มใช้วิธีการคำนวณแบบปัจจุบัน
ในปี 44 การขยายตัวของการลงทุนดังกล่าวทำให้นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าตัวเลขที่คาดการณ์การขยายตัวทาง
เศรษฐกิจ —GDP ของญี่ปุ่นที่ระดับร้อยละ 0.4 (ตัวเลขเบื้องต้น) เมื่อเทียบต่อไตรมาส และร้อยละ 1.7
เมื่อเทียบต่อปี นั้นต่ำเกินไป เนื่องจากมีสัญญานชี้ว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 นี้เศรษฐกิจยังคงขยายตัว นอกจาก
นั้นผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 11 คนของรอยเตอร์คาดว่าจะมีการปรับปรุงตัวเลข GDP เพิ่มขึ้น
เป็นร้อยละ 0.8 และร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบต่อไตรมาสและเมื่อเทียบต่อปีตามลำดับ ทั้งนี้รัฐบาลญี่ปุ่นมีกำหนด
ที่จะประกาศตัวเลขการใช้จ่ายลงทุนในไตรมาสที่ 2 ที่ปรับฤดูกาลแล้วในวันศุกร์นี้ ( รอยเตอร์)
2. ทุนสำรองทางการของญี่ปุ่น ณ สิ้นเดือนส.ค. 47 อยู่ที่ระดับ 827.954 พัน ล. ดอลลาร์สรอ.
รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 47 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนส.ค. ทุนสำรองทางการของ
ญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับ 827.954 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 8.751 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากเดือนก.ค. (รอยเตอร์)
3. จีนคาดว่าปลายปี 47 การนำเข้าและการส่งออกจะอยู่ในภาวะสมดุล รายงานจากเบอร์มิงแฮม
เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 47 รองรมว.การค้าของจีนกล่าวว่า จีนคาดว่าจะได้เห็นดุลการค้าของจีนอยู่ในภาวะสมดุล
ในราวปลายปีนี้ โดยหวังว่าจีนจะปรับการนำเข้าที่สูงกว่าการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกได้ โดยจีนซึ่งมีเศรษฐกิจ
ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 7 ของโลกคาดว่าจะมีมูลค่าการนำเข้าและการส่งออกประมาณ 1 ล้าน ล้านดอลลาร์
สรอ. ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว จีนเกินดุลการค้ามากกว่า 25 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. แต่เนื่องจากราคาน้ำมันและ
สินค้าอื่นๆที่สูงขึ้น ทำให้จีนขาดดุลการค้าถึง 4.89 พัน ล. ดอลลาร์สรอ. ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้ผลิตของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ในเดือน ส.ค.47 เมื่อเทียบกับปีก่อนสูงสุด
ในรอบเกือบ 6 ปี รายงานจากโซล เมื่อ 6 ก.ย.47 สนง.สถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้รายงานตัวเลขดัชนี
ราคาผู้ผลิตในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงสุดในรอบเกือบ 6 ปี จากราคาของ
สินค้าเกษตร น้ำมัน เคมีภัณฑ์และโลหะสูงขึ้นมากกว่าราคาที่ลดลงของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ โดยสินค้าเกษตรมี
ราคาสูงขึ้นตั้งแต่เดือน ก.ย.ปีที่แล้วจากความเสียหายที่เกิดจากพายุไต้ฝุ่น ในขณะที่ราคาโลหะในตลาดโลกก็
สูงขึ้นจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดในจีน ดัชนีราคาผู้ผลิตที่สูงขึ้นเป็นสัญญาณเตือนภาวะเงินเฟ้อครั้งที่ 2
หลังจากตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงกว่าที่คาดไว้
และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี การที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มน้อยกว่าราคาผู้ผลิตชี้ให้เห็นว่าผู้ผลิตมีกำไร
ลดลงจากการที่ไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าเมื่อการใช้จ่ายของในประเทศอยู่ในภาวะซบเซา นักวิเคราะห์คาดว่า
ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สูงขึ้นจะทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ระมัดระวังในการตัดสินใจลดอัตรา
ดอกเบี้ยลงอีกในการประชุมในวันที่ 9 ก.ย.47 นี้ หลังจากสร้างความประหลาดใจให้ตลาดด้วยลดอัตรา
ดอกเบี้ยเมื่อเดือนที่แล้วจนอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 3.5 (รอยเตอร์)
5. ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน ก.ค.47 ยังคงขยายตัวแต่อยู่ในอัตราที่ชะลอลง
จากเดือนก่อน รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 6 ก.ย.47 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของ
นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน ก.ค.47 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 ซึ่ง
เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงจากเดือน มิ.ย.47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 แต่ยังคงเป็นการขยายตัวใน
อัตราเลข 2 หลักเป็นเวลา 10 เดือนต่อเนื่อง ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของผลผลิตอุตสาหกรรมในอัตราที่ชะลอลงมี
สาเหตุจากการขยายตัวของการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัวเช่นกัน นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ยังเห็นว่า
การนำเข้าในเดือน ก.ค.47 ที่ขยายตัวต่ำกว่าความคาดหมายร้อยละ 25.8 เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความต้องการ
และการส่งออกที่อาจจะซบเซาในช่วงต่อไป เนื่องจากสัดส่วนการนำเข้าของมาเลเซีย 3 ใน 4 เป็นการนำ
เข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตเป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการส่งออก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 7 ก.ย. 47 6 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.611 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.4117/41.7090 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 4300-1.6500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 630.87/10.33 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.15 35.35 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. ใช้นโยบายมุ่งรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและคุมเงินเฟ้อให้เป็นไปตามเป้าหมาย
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 47 ในหัวข้อ “บทบาทของ
นโยบายสาธารณะในการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ” ว่า ธปท. จะยังเน้นการทำหน้าที่นโยบายระวังหลัง แม้
ว่าในช่วงนี้เศรษฐกิจจะยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพ ส่วน
เรื่องราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นไม่กระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจมากนัก แต่อาจมีผลด้านเสถียรภาพมากกว่า
ซึ่งในช่วงที่เศรษฐกิจขาขึ้นต้องรักษาเสถียรภาพเพื่อให้เกิดความสมดุลในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น ภาครัฐจะ
ต้องดำเนินนโยบายที่จะดูแลให้ฐานะทางการเงินของครัวเรือนและธุรกิจเอกชน รวมทั้งภาคสถาบันการเงินมี
ความเข้มแข็งและมั่นคง เพราะในช่วงที่เศรษฐกิจดีคนมักจะกล้าเสี่ยงกล้าลงทุนในลักษณะที่เก็งกำไร ก่อหนี้
ภาคครัวเรือนจนเกินตัว สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อที่มีความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่ง ธปท. ต้องเข้าไปดูแลเพื่อไม่
ให้เกิดปัญหาต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว ส่วนการรักษาวินัยทางการเงินจะเน้นการรักษา
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยอัตราเงินเฟ้อต้องไม่เกินเป้าหมายที่ ธปท. ตั้งไว้ ซึ่งการฟื้นตัวของ
เศรษฐกิจในช่วงขาขึ้นปัจจุบันส่งผลให้เงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัด ทุนสำรองระหว่างประเทศ
และหนี้ต่างประเทศ ต้องอยู่ในระดับที่จะสร้างความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศได้ ซึ่งมีประเด็นที่จำเป็น
ต้องติดตามคือ หนี้ภาคครัวเรือนที่เร่งตัวมากขึ้นในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา และความเสี่ยงในตลาดอสังหาริม
ทรัพย์ที่ ธปท. ให้ความสำคัญ ทั้งนี้หากเศรษฐกิจไทยขยายตัวสูงมากขึ้นเท่าไร การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะ
ขาดดุลเร็วมากขึ้นเท่านั้น โดยชี้ว่าหากเศรษฐกิจไทยขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6.5 จะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดใน
ไตรมาสแรกของปี 50 แต่หากขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.5 จะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาส 1 ปี 49
(โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. สศช. ปรับจีดีพีสิ้นปี 47 ลงเหลือร้อยละ 6.0-6.5 นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการ สน
ง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า จีดีพีในไตรมาส 2 ปี 47 ขยาย
ตัวร้อยละ 6.3 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 6.6 ในไตรมาสที่แล้ว ขณะเดียวกัน สศช. ได้ปรับประมาณการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจตลอดปี 47 จากเดิมร้อยละ 6-7 เหลือร้อยละ 6.0-6.5 เนื่องจากปัญหาราคาน้ำมัน สินค้า
ราคาแพง แนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น การชะลอการลงทุน การบริโภคลดลง เนื่องจากประชาชน
ขาดความเชื่อมั่น รวมถึงเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง โดยจีดีพีไตรมาส 2 ที่ขยายตัวต่ำเกิดจากการผลิตขยายตัว
ชะลอลง โดยภาคการเกษตรหดตัวถึงร้อยละ 7.5 หมวดพืชผลและหมวดปศุสัตว์หดตัวลงร้อยละ 7.4 และ
19.3 ตามลำดับ รวมถึงราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหาความไม่สงบทางภาคใต้ การบริโภคภายในประเทศ
การใช้จ่ายของรัฐบาล และการลงทุนชะลอตัวลงค่อนข้างชัดเจน รวมถึงผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์ลดลงด้วย ส่วนภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.5 แต่เป็นอัตราที่ชะลอตัวลง สำหรับ
ปัจจัยที่จะช่วยให้จีดีพีเพิ่มขึ้นต้องอาศัยโครงการใหญ่ ๆ ของรัฐบาลที่จะนำเม็ดเงินเข้ามาลงทุนเป็นหลัก ราย
ได้จากการส่งออก รวมถึงการเร่งรัดการเบิกจ่าย งปม. ของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ส่วนการพึ่ง
การขยายตัวทางเศรษฐกิจด้วยวิธีกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศคงไม่จำเป็น เพราะจะทำให้เกิดปัญหาหนี้
ครัวเรือนตามมาภายหลัง ซึ่งล่าสุดหนี้ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 60 ของรายได้ ถือว่าค่อนข้างสูง แต่ยังไม่น่า
เป็นห่วง เพราะหนี้ส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สินคงทน เช่น บ้าน รถยนต์ เป็นต้น ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 48
คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.5-6.5 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง รวม
ถึงการยกเลิกการตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลของรัฐ (ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ทีดีอาร์ไอ สนับสนุนให้นำดัชนีหมวดพลังงานคำนวณดัชนีเงินเฟ้อ นายอัมมาร สยามวาลา นัก
วิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ธปท. ควรจะนำดัชนี
หมวดพลังงานมาพิจารณาเป็นเครื่องชี้วัดต่อการดำเนินนโยบายการเงินเพิ่มเติม จากปัจจุบันที่ใช้เฉพาะตัวเลข
เงินเฟ้อพื้นฐานเท่านั้น เพราะเงินเฟ้อพื้นฐานที่ใช้อยู่ไม่ได้สะท้อนถึงแรงกดดันราคาสินค้าที่แท้จริง และใน
อนาคตเมื่อน้ำมันมีผลต่อการกดดันราคาสินค้าอาจส่งผลให้ค่าเงินในมือของประชาชนลดน้อยลงตาม เพราะ
หน้าที่ของ ธปท. คือการรักษาค่าเงินของประชาชนไม่ให้ลดค่าลง และเป็นไปได้ว่าในอนาคต ธปท. อาจจะ
ดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ด้านนายพรายพล คุ้มทรัพย์ รองศาสตราจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์
ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า หาก ธปท. ยังคงใช้เงินเฟ้อพื้นฐานเป็นเป้าหมายต่อการดำเนินนโยบายการเงิน ก็
จะไม่สะท้อนให้เห็นราคาสินค้าที่แท้จริง เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลได้ตรึงราคาน้ำมันไว้ทำให้ราคาสินค้าไม่ได้
เปลี่ยนแปลง (เดลินิวส์)
4. เกณฑ์การจัดชั้นหนี้ใหม่ตามกฎบาเซิล 2 กระทบสินเชื่อที่อยู่อาศัย นางลดาวัลย์ ธนะธนิต
ผช.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงเทพ เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 ต.ค.47 ธ.พาณิชย์ทั้งหมดจะต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการคิด
คำนวณการจัดชั้นหนี้และสำรองหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสินเชื่อใหม่ทั้งหมดตามประกาศของ
ธปท. ตามกฎบาเซิล 2 จากเดิมเมื่อลูกค้าขาดส่งหรือค้างการผ่อนชำระหนี้ 3 เดือนเป็นต้นไป จะถูกจัดเป็น
เอ็นพีแอล และเมื่อลูกค้านำเงินมาชำระหนี้เพียง 1 เดือน ก็จะกลับมาเป็นหนี้ปกติ แต่กฎเกณฑ์ใหม่ลูกค้าจะ
ต้องชำระหนี้ที่ค้างเก่าให้หมดก่อนถึงจะปลดออกจากเอ็นพีแอลได้ มาตรการดังกล่าวส่งผลกระทบกับลูกค้าที่กู้
เงินซื้อที่อยู่อาศัยมาก รวมทั้งทำให้ธนาคารจะต้องตั้งสำรองหนี้เพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาธนาคาร
จะคำนวณเงินผ่อนชำระรายเดือนของลูกค้ากู้เงินซื้อที่อยู่อาศัยเผื่อร้อยละ 2-3 ด้านนายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล
ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย กล่าวว่า มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยของ ธปท. ไม่ทันสมัยและไม่
สอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นสินเชื่อพิเศษ มีระยะเวลาการกู้ยาวนาน แตกต่างจาก
สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ทั่วไป ซึ่งไม่ควรจะบังคับการจัดชั้นหนี้เหมือนกับสินเชื่อพาณิชย์ทั่วไป ควรจะดูจากความ
เสี่ยงของสินเชื่อ จึงควรให้ลูกค้าผ่อนชำระทุกงวดดีกว่าที่จะขึ้นค่างวดการผ่อนเพื่อให้ครอบคลุมดอกเบี้ยซึ่งจะ
ทำให้ลูกค้ามีปัญหาผ่อนชำระหนี้ไม่ได้หากดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การใช้จ่ายลงทุนของกิจการในญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 2 ยังคงฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง รายงานจาก
โตเกียว เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 47 ผลการสำรวจของรัฐบาลญี่ปุ่นที่เปิดเผยเมื่อวันจันทร์ชี้ว่า ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้
กิจการของญี่ปุ่นมีการใช้จ่ายลงทุนจำนวนมาก โดยมีการลงทุนสำหรับโรงงานใหม่และอุปกรณ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อ
เนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 ทั้งนี้การลงทุนดังกล่าวขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 และร้อยละ 10.7 เมื่อ
เทียบต่อเดือน และเทียบต่อปีตามลำดับ และเป็นสถิติสูงสุดในรอบปีนับตั้งแต่ที่เริ่มใช้วิธีการคำนวณแบบปัจจุบัน
ในปี 44 การขยายตัวของการลงทุนดังกล่าวทำให้นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าตัวเลขที่คาดการณ์การขยายตัวทาง
เศรษฐกิจ —GDP ของญี่ปุ่นที่ระดับร้อยละ 0.4 (ตัวเลขเบื้องต้น) เมื่อเทียบต่อไตรมาส และร้อยละ 1.7
เมื่อเทียบต่อปี นั้นต่ำเกินไป เนื่องจากมีสัญญานชี้ว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 นี้เศรษฐกิจยังคงขยายตัว นอกจาก
นั้นผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 11 คนของรอยเตอร์คาดว่าจะมีการปรับปรุงตัวเลข GDP เพิ่มขึ้น
เป็นร้อยละ 0.8 และร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบต่อไตรมาสและเมื่อเทียบต่อปีตามลำดับ ทั้งนี้รัฐบาลญี่ปุ่นมีกำหนด
ที่จะประกาศตัวเลขการใช้จ่ายลงทุนในไตรมาสที่ 2 ที่ปรับฤดูกาลแล้วในวันศุกร์นี้ ( รอยเตอร์)
2. ทุนสำรองทางการของญี่ปุ่น ณ สิ้นเดือนส.ค. 47 อยู่ที่ระดับ 827.954 พัน ล. ดอลลาร์สรอ.
รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 47 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนส.ค. ทุนสำรองทางการของ
ญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับ 827.954 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 8.751 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากเดือนก.ค. (รอยเตอร์)
3. จีนคาดว่าปลายปี 47 การนำเข้าและการส่งออกจะอยู่ในภาวะสมดุล รายงานจากเบอร์มิงแฮม
เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 47 รองรมว.การค้าของจีนกล่าวว่า จีนคาดว่าจะได้เห็นดุลการค้าของจีนอยู่ในภาวะสมดุล
ในราวปลายปีนี้ โดยหวังว่าจีนจะปรับการนำเข้าที่สูงกว่าการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกได้ โดยจีนซึ่งมีเศรษฐกิจ
ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 7 ของโลกคาดว่าจะมีมูลค่าการนำเข้าและการส่งออกประมาณ 1 ล้าน ล้านดอลลาร์
สรอ. ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว จีนเกินดุลการค้ามากกว่า 25 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. แต่เนื่องจากราคาน้ำมันและ
สินค้าอื่นๆที่สูงขึ้น ทำให้จีนขาดดุลการค้าถึง 4.89 พัน ล. ดอลลาร์สรอ. ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้ผลิตของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ในเดือน ส.ค.47 เมื่อเทียบกับปีก่อนสูงสุด
ในรอบเกือบ 6 ปี รายงานจากโซล เมื่อ 6 ก.ย.47 สนง.สถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้รายงานตัวเลขดัชนี
ราคาผู้ผลิตในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงสุดในรอบเกือบ 6 ปี จากราคาของ
สินค้าเกษตร น้ำมัน เคมีภัณฑ์และโลหะสูงขึ้นมากกว่าราคาที่ลดลงของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ โดยสินค้าเกษตรมี
ราคาสูงขึ้นตั้งแต่เดือน ก.ย.ปีที่แล้วจากความเสียหายที่เกิดจากพายุไต้ฝุ่น ในขณะที่ราคาโลหะในตลาดโลกก็
สูงขึ้นจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดในจีน ดัชนีราคาผู้ผลิตที่สูงขึ้นเป็นสัญญาณเตือนภาวะเงินเฟ้อครั้งที่ 2
หลังจากตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงกว่าที่คาดไว้
และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี การที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มน้อยกว่าราคาผู้ผลิตชี้ให้เห็นว่าผู้ผลิตมีกำไร
ลดลงจากการที่ไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าเมื่อการใช้จ่ายของในประเทศอยู่ในภาวะซบเซา นักวิเคราะห์คาดว่า
ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สูงขึ้นจะทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ระมัดระวังในการตัดสินใจลดอัตรา
ดอกเบี้ยลงอีกในการประชุมในวันที่ 9 ก.ย.47 นี้ หลังจากสร้างความประหลาดใจให้ตลาดด้วยลดอัตรา
ดอกเบี้ยเมื่อเดือนที่แล้วจนอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 3.5 (รอยเตอร์)
5. ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน ก.ค.47 ยังคงขยายตัวแต่อยู่ในอัตราที่ชะลอลง
จากเดือนก่อน รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 6 ก.ย.47 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของ
นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน ก.ค.47 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 ซึ่ง
เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงจากเดือน มิ.ย.47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 แต่ยังคงเป็นการขยายตัวใน
อัตราเลข 2 หลักเป็นเวลา 10 เดือนต่อเนื่อง ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของผลผลิตอุตสาหกรรมในอัตราที่ชะลอลงมี
สาเหตุจากการขยายตัวของการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัวเช่นกัน นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ยังเห็นว่า
การนำเข้าในเดือน ก.ค.47 ที่ขยายตัวต่ำกว่าความคาดหมายร้อยละ 25.8 เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความต้องการ
และการส่งออกที่อาจจะซบเซาในช่วงต่อไป เนื่องจากสัดส่วนการนำเข้าของมาเลเซีย 3 ใน 4 เป็นการนำ
เข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตเป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการส่งออก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 7 ก.ย. 47 6 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.611 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.4117/41.7090 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 4300-1.6500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 630.87/10.33 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.15 35.35 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-