เศรษฐกิจภาคใต้เดือนกรกฎาคม 2547 ยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามอุปสงค์ทั้งในและ ต่างประเทศ
โดยการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวดี แต่มีอัตราชะลอลงเล็กน้อยขณะที่การส่งออกและ
การใช้จ่ายของภาครัฐบาลเร่งตัวขึ้นมากจากเดือนก่อน สำหรับภาคการผลิต รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลัก
เพิ่มขึ้นจากปัจจัยทั้งทางด้านผลผลิตและราคาขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอลง ส่วนภาคบริการปรับตัวดี
ขึ้น ตามการท่องเที่ยวฝั่งตะวันตกเป็นสำคัญด้านดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวสูงขึ้น ตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
เนื้อสัตว์และผัก อัตราการว่างงานทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่เงินให้สินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ยังขยาย
ตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน
ภาคเกษตร
ผลผลิตพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ตามผลผลิตยางพาราเป็นสำคัญ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศ
เอื้ออำนวยให้เกษตรกรกรีดยางได้มากขึ้น ในขณะที่ราคาพืชผลสำคัญเพิ่มสูงต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 25.8
โดยเฉพาะราคายางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวเปลือก ที่เพิ่มสูงขึ้นมากตามอุปสงค์จากต่างประเทศ ส่งผลให้
รายได้จากการขายพืชผลสำคัญของเกษตรกรในเดือนกรกฎาคมขยายตัวจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.9
ทางด้านประมง ผลผลิตลดลง โดย สัตว์น้ำนำขึ้น ณ ท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาในภาคใต้
ปริมาณลดลงร้อยละ 13.7 ขณะที่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 ตามราคาสินค้าที่ประมงปรับตัวสูงขึ้นจากต้นทุน
น้ำมันและอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น สำหรับภาวะกุ้งกุลาดำชะลอลงอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณเข้าสู่ตลาดลดลง ขณะ
เดียวกันราคากุ้งกุลาดำขนาด 40 ตัวต่อกิโลกรัมลดลงร้อยละ 7.3 สำหรับแนวโน้มในระยะต่อไป คาดว่า
ราคากุ้งจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจาก เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคมนี้ สหรัฐอเมริกาได้พิจารณาและประกาศอัตราภาษี
ตอบโต้การทุ่มตลาด (เบื้องต้น) ของกุ้งที่นำเข้าจากประเทศไทยที่อัตราร้อยละ 5.56-10.2 ซึ่งเป็นภาษีต่ำ
สุดในกลุ่มที่ถูกตอบโต้ และขณะนี้กำลังรอผลการตรวจสอบข้อมูล และจะประกาศอัตราภาษีจริงประมาณเดือน
กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งคาดว่าจะส่ง ผลดีต่อราคากุ้งไทยในระยะยาว
สำหรับราคาปศุสัตว์เพิ่มขึ้น ตามราคาสุกรที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ เนื่องจากประชาชนหลีกเลี่ยงการ
บริโภคไก่ (จากปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนก รอบที่ 2) หันมาบริโภคเนื้อสุกรแทน
ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในภาคใต้ชะลอตัวลงตามการลดลงของการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ ที่ผลผลิต
ลดลงร้อยละ 15.2 เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบรวมทั้งการผลิตอาหารทะเลแปรรูปและแช่แข็ง โดยเฉพาะกุ้ง
ยังชะลอตัว เนื่องจากยังอยู่ในช่วงที่สหรัฐฯ กำลังไต่สวนเพื่อพิจารณาอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด กอปรกับ
การผลิตอาหารทะเลกระป๋องที่ลดลง เนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเฉพาะปลาทูน่า อย่างไรก็
ตาม การผลิตของอุตสาหกรรมยางพาราขยายตัวเล็กน้อย ตามการผลิตเพื่อส่งออกของยางแท่งเป็นสำคัญ
ภาคบริการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวของภาคใต้แนวโน้มดีขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองใน
ภาคใต้เดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.6 ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวทางภาคใต้ฝั่งตะวัน
ตกเป็นสำคัญ โดยในช่วงนี้ตลาดการประชุมและสัมมนาของการท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งตะวันตกอยู่ในภาวะขยายตัว
มาก ขณะที่การท่องเที่ยวของภาคใต้ตอนล่างคงได้รับผลกระทบจากความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดน ส่ง
ผลให้นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียส่วนหนึ่งเปลี่ยนไปท่องเที่ยวยังภาคใต้ฝั่งตะวันตกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การ
ท่องเที่ยวของภาคใต้ตอนล่างเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น เนื่องจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมมือกันจัดกิจกรรมส่ง
เสริมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว สำหรับอัตราการเข้าพักโรงแรมของภาคใต้ในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ
56.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 47.6
การใช้จ่ายภาคเอกชน
การใช้จ่ายภาคเอกชนยังมีทิศทางขยายตัวต่อเนื่อง แม้ว่าอัตราจะชะลอลงจากเดือนก่อน โดย
เป็นผลจากการชะลอตัวของเครื่องชี้ในหมวดยานยนต์เป็นสำคัญ โดยเฉพาะรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ขยาย
ตัวร้อยละ 30.1 และ 32.8 ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 60.9 และ 34.1 ในเดือนก่อน ซึ่งส่วนหนึ่ง
เป็นผลจากมาตรการภาครัฐที่ได้อนุมัติให้มีการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ใหม่ ทำให้ราคารถยนต์ขนาดเล็กมี
ราคาต่ำลง (มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2548) ประกอบกับการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลให้ช่วงนี้ผู้
บริโภคชะลอการซื้อรถใหม่ อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ
18.1 เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นที่ยังสนับสนุนการขยายตัวอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน อาทิ รายได้
เกษตรกรที่ขยายตัวต่อเนื่อง การจ้างงานเพิ่มขึ้น และเงื่อนไขทางการเงินที่ผ่อนปรนจากอัตราดอกเบี้ยต่ำ
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวทั้งการก่อสร้างและการลงทุนเพื่อการผลิต โดยพื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับ
อนุญาตในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ส่วนการลงทุนเพื่อการผลิตมีจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริม
การลงทุน 11โครงการ เงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าสามเท่าตัว ซึ่งมีทั้งโครงการลงทุนขนาดกลางและ
ขนาดกลาง อาทิ โครงการผลิตยางแท่ง ผลิตไฟฟ้า ผลิตอาหารกึ่งสำเร็จรูป และผลิตท่อแรงดันสูง
ขณะที่มีจำนวนบริษัทจดทะเบียนตั้งใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.1 เงินทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าตัวหรือร้อยละ
232.1
การจ้างงาน
การจ้างงานปรับตัวดีขึ้น อัตราการว่างงานรวมทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ จากข้อมูลการสำรวจภาวะ
การทำงานของประชากรเดือนมิถุนายน 2547 (ข้อมูลเบื้องต้นของสำนักงานสถิติแห่งชาติ) พบว่าจำนวนผู้ว่าง
งานโดยรวมและอัตราการว่างงานลดลงจากเดือนก่อน ทั้งนี้เมื่อเทียบกับทั้งประเทศอัตราการว่างงานของ
ภาคใต้ในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ร้อยละ 2.2 และมีอัตราการจ้างงานร้อยละ 97.8 ของกำลังแรงงานรวม
ใกล้เคียงกับเดือนเดียวกันปีก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 98.0
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ในเดือนนี้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 3.8 ตามราคาในกลุ่มอาหารและพลังงาน
โดยราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.6 ตามราคาเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ
เนื่องจากราคาอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น และตามราคาไข่ไก่และผลิตภัณฑ์นมที่ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยกว่าความต้อง
การ สำหรับราคาในหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ตามการปรับราคาน้ำมันเชื้อ
เพลิง
การค้าต่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศในเดือนกรกฎาคมยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ
17.9 จากเดือนเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออกเป็นสำคัญหมวดสินค้าขยายตัวดี ได้แก่
ยางพารา ดีบุก สัตว์น้ำ อาหารบรรจุกระป๋อง ไม้ยางแปรรูป และถุงมือยางสำหรับการนำเข้าสินค้าขยาย
ตัวในอัตราเร่งมากถึงร้อยละ 78.3 ตามการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ อาหาร อุปกรณ์ก่อสร้าง และ
สัตว์น้ำ โดยเฉพาะสัตว์น้ำที่การนำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากผ่านด่านศุลกากรสงขลา และระนอง อย่างไรก็ตาม
แม้ว่าการส่งออกจะขยายตัวดี แต่การเร่งตัวของการนำเข้า ทำให้ดุลการค้าในเดือนนี้เกินดุล 374.6 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.5
ส่วนการค้าผ่านด่านชายแดนไทย — มาเลเซีย ยังขยายตัวดี มีมูลค่าการค้ารวม 508.9 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.5 ซึ่งเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกและนำเข้าที่
ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 และ 24.9 ตามลำดับ
การคลัง
การใช้จ่ายของภาครัฐในเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 25.4 โดยในช่วง
10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 มีอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณอยู่ที่ร้อยละ 83.6 สูงกว่าช่วงเดียวกัน
ปีก่อนร้อยละ 11.7 ในขณะเดียวกัน รายได้จากการเก็บภาษีขยายตัวร้อยละ 29.5 เนื่องจากกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจที่ขยายตัว และผลประกอบการที่ดีของภาคเอกชน โดยสามารถเก็บภาษีจากฐานรายได้ และจาก
ฐานการบริโภคเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 31.7 และ 31.8 ตามลำดับ และในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบ
ประมาณ 2547 สามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.5
ภาคการเงิน
ปริมาณเงินหมุนเวียนขยายตัวดี ตามรายได้เกษตรกรจากการขายพืชผลหลักที่ขยายตัวในเกณฑ์สูง
ต่อเนื่อง ภาวะการจ้างงานที่ดีขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ โดยปริมาณเงินสดรับ-จ่ายผ่านผู้แทน
ธปท. และผู้แทนธนาคารฯ รวมทั้งการโอนเงินระหว่างสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้กับสำนักงานใหญ่เพิ่ม
ขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับธุรกรรมของสาขาธนาคารพาณิชย์ในเดือนนี้ สินเชื่อขยายตัวเพิ่มในอัตราที่เร่งขึ้น
อย่างต่อเนื่องและปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าเงินฝาก โดยยอดคงค้างสินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น
จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.2 ส่วนใหญ่เป็นการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคเอกชนทั้งเพื่อการลงทุนและการ
บริโภค โดยสินเชื่อภาคอุตสาหกรรมการส่งออก การค้า การบริโภค และที่อยู่อาศัยมีการขยายตัวดี
ขณะที่ยอดเงินฝากคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 ส่งผลให้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 64.4
เทียบกับร้อยละ 62.0 เมื่อเดือนเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
โดยการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวดี แต่มีอัตราชะลอลงเล็กน้อยขณะที่การส่งออกและ
การใช้จ่ายของภาครัฐบาลเร่งตัวขึ้นมากจากเดือนก่อน สำหรับภาคการผลิต รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลัก
เพิ่มขึ้นจากปัจจัยทั้งทางด้านผลผลิตและราคาขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอลง ส่วนภาคบริการปรับตัวดี
ขึ้น ตามการท่องเที่ยวฝั่งตะวันตกเป็นสำคัญด้านดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวสูงขึ้น ตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
เนื้อสัตว์และผัก อัตราการว่างงานทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่เงินให้สินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ยังขยาย
ตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน
ภาคเกษตร
ผลผลิตพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ตามผลผลิตยางพาราเป็นสำคัญ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศ
เอื้ออำนวยให้เกษตรกรกรีดยางได้มากขึ้น ในขณะที่ราคาพืชผลสำคัญเพิ่มสูงต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 25.8
โดยเฉพาะราคายางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวเปลือก ที่เพิ่มสูงขึ้นมากตามอุปสงค์จากต่างประเทศ ส่งผลให้
รายได้จากการขายพืชผลสำคัญของเกษตรกรในเดือนกรกฎาคมขยายตัวจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.9
ทางด้านประมง ผลผลิตลดลง โดย สัตว์น้ำนำขึ้น ณ ท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาในภาคใต้
ปริมาณลดลงร้อยละ 13.7 ขณะที่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 ตามราคาสินค้าที่ประมงปรับตัวสูงขึ้นจากต้นทุน
น้ำมันและอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น สำหรับภาวะกุ้งกุลาดำชะลอลงอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณเข้าสู่ตลาดลดลง ขณะ
เดียวกันราคากุ้งกุลาดำขนาด 40 ตัวต่อกิโลกรัมลดลงร้อยละ 7.3 สำหรับแนวโน้มในระยะต่อไป คาดว่า
ราคากุ้งจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจาก เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคมนี้ สหรัฐอเมริกาได้พิจารณาและประกาศอัตราภาษี
ตอบโต้การทุ่มตลาด (เบื้องต้น) ของกุ้งที่นำเข้าจากประเทศไทยที่อัตราร้อยละ 5.56-10.2 ซึ่งเป็นภาษีต่ำ
สุดในกลุ่มที่ถูกตอบโต้ และขณะนี้กำลังรอผลการตรวจสอบข้อมูล และจะประกาศอัตราภาษีจริงประมาณเดือน
กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งคาดว่าจะส่ง ผลดีต่อราคากุ้งไทยในระยะยาว
สำหรับราคาปศุสัตว์เพิ่มขึ้น ตามราคาสุกรที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ เนื่องจากประชาชนหลีกเลี่ยงการ
บริโภคไก่ (จากปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนก รอบที่ 2) หันมาบริโภคเนื้อสุกรแทน
ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในภาคใต้ชะลอตัวลงตามการลดลงของการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ ที่ผลผลิต
ลดลงร้อยละ 15.2 เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบรวมทั้งการผลิตอาหารทะเลแปรรูปและแช่แข็ง โดยเฉพาะกุ้ง
ยังชะลอตัว เนื่องจากยังอยู่ในช่วงที่สหรัฐฯ กำลังไต่สวนเพื่อพิจารณาอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด กอปรกับ
การผลิตอาหารทะเลกระป๋องที่ลดลง เนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเฉพาะปลาทูน่า อย่างไรก็
ตาม การผลิตของอุตสาหกรรมยางพาราขยายตัวเล็กน้อย ตามการผลิตเพื่อส่งออกของยางแท่งเป็นสำคัญ
ภาคบริการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวของภาคใต้แนวโน้มดีขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองใน
ภาคใต้เดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.6 ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวทางภาคใต้ฝั่งตะวัน
ตกเป็นสำคัญ โดยในช่วงนี้ตลาดการประชุมและสัมมนาของการท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งตะวันตกอยู่ในภาวะขยายตัว
มาก ขณะที่การท่องเที่ยวของภาคใต้ตอนล่างคงได้รับผลกระทบจากความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดน ส่ง
ผลให้นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียส่วนหนึ่งเปลี่ยนไปท่องเที่ยวยังภาคใต้ฝั่งตะวันตกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การ
ท่องเที่ยวของภาคใต้ตอนล่างเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น เนื่องจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมมือกันจัดกิจกรรมส่ง
เสริมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว สำหรับอัตราการเข้าพักโรงแรมของภาคใต้ในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ
56.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 47.6
การใช้จ่ายภาคเอกชน
การใช้จ่ายภาคเอกชนยังมีทิศทางขยายตัวต่อเนื่อง แม้ว่าอัตราจะชะลอลงจากเดือนก่อน โดย
เป็นผลจากการชะลอตัวของเครื่องชี้ในหมวดยานยนต์เป็นสำคัญ โดยเฉพาะรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ขยาย
ตัวร้อยละ 30.1 และ 32.8 ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 60.9 และ 34.1 ในเดือนก่อน ซึ่งส่วนหนึ่ง
เป็นผลจากมาตรการภาครัฐที่ได้อนุมัติให้มีการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ใหม่ ทำให้ราคารถยนต์ขนาดเล็กมี
ราคาต่ำลง (มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2548) ประกอบกับการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลให้ช่วงนี้ผู้
บริโภคชะลอการซื้อรถใหม่ อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ
18.1 เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นที่ยังสนับสนุนการขยายตัวอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน อาทิ รายได้
เกษตรกรที่ขยายตัวต่อเนื่อง การจ้างงานเพิ่มขึ้น และเงื่อนไขทางการเงินที่ผ่อนปรนจากอัตราดอกเบี้ยต่ำ
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวทั้งการก่อสร้างและการลงทุนเพื่อการผลิต โดยพื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับ
อนุญาตในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ส่วนการลงทุนเพื่อการผลิตมีจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริม
การลงทุน 11โครงการ เงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าสามเท่าตัว ซึ่งมีทั้งโครงการลงทุนขนาดกลางและ
ขนาดกลาง อาทิ โครงการผลิตยางแท่ง ผลิตไฟฟ้า ผลิตอาหารกึ่งสำเร็จรูป และผลิตท่อแรงดันสูง
ขณะที่มีจำนวนบริษัทจดทะเบียนตั้งใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.1 เงินทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าตัวหรือร้อยละ
232.1
การจ้างงาน
การจ้างงานปรับตัวดีขึ้น อัตราการว่างงานรวมทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ จากข้อมูลการสำรวจภาวะ
การทำงานของประชากรเดือนมิถุนายน 2547 (ข้อมูลเบื้องต้นของสำนักงานสถิติแห่งชาติ) พบว่าจำนวนผู้ว่าง
งานโดยรวมและอัตราการว่างงานลดลงจากเดือนก่อน ทั้งนี้เมื่อเทียบกับทั้งประเทศอัตราการว่างงานของ
ภาคใต้ในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ร้อยละ 2.2 และมีอัตราการจ้างงานร้อยละ 97.8 ของกำลังแรงงานรวม
ใกล้เคียงกับเดือนเดียวกันปีก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 98.0
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ในเดือนนี้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 3.8 ตามราคาในกลุ่มอาหารและพลังงาน
โดยราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.6 ตามราคาเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ
เนื่องจากราคาอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น และตามราคาไข่ไก่และผลิตภัณฑ์นมที่ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยกว่าความต้อง
การ สำหรับราคาในหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ตามการปรับราคาน้ำมันเชื้อ
เพลิง
การค้าต่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศในเดือนกรกฎาคมยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ
17.9 จากเดือนเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออกเป็นสำคัญหมวดสินค้าขยายตัวดี ได้แก่
ยางพารา ดีบุก สัตว์น้ำ อาหารบรรจุกระป๋อง ไม้ยางแปรรูป และถุงมือยางสำหรับการนำเข้าสินค้าขยาย
ตัวในอัตราเร่งมากถึงร้อยละ 78.3 ตามการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ อาหาร อุปกรณ์ก่อสร้าง และ
สัตว์น้ำ โดยเฉพาะสัตว์น้ำที่การนำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากผ่านด่านศุลกากรสงขลา และระนอง อย่างไรก็ตาม
แม้ว่าการส่งออกจะขยายตัวดี แต่การเร่งตัวของการนำเข้า ทำให้ดุลการค้าในเดือนนี้เกินดุล 374.6 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.5
ส่วนการค้าผ่านด่านชายแดนไทย — มาเลเซีย ยังขยายตัวดี มีมูลค่าการค้ารวม 508.9 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.5 ซึ่งเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกและนำเข้าที่
ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 และ 24.9 ตามลำดับ
การคลัง
การใช้จ่ายของภาครัฐในเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 25.4 โดยในช่วง
10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 มีอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณอยู่ที่ร้อยละ 83.6 สูงกว่าช่วงเดียวกัน
ปีก่อนร้อยละ 11.7 ในขณะเดียวกัน รายได้จากการเก็บภาษีขยายตัวร้อยละ 29.5 เนื่องจากกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจที่ขยายตัว และผลประกอบการที่ดีของภาคเอกชน โดยสามารถเก็บภาษีจากฐานรายได้ และจาก
ฐานการบริโภคเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 31.7 และ 31.8 ตามลำดับ และในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบ
ประมาณ 2547 สามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.5
ภาคการเงิน
ปริมาณเงินหมุนเวียนขยายตัวดี ตามรายได้เกษตรกรจากการขายพืชผลหลักที่ขยายตัวในเกณฑ์สูง
ต่อเนื่อง ภาวะการจ้างงานที่ดีขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ โดยปริมาณเงินสดรับ-จ่ายผ่านผู้แทน
ธปท. และผู้แทนธนาคารฯ รวมทั้งการโอนเงินระหว่างสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้กับสำนักงานใหญ่เพิ่ม
ขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับธุรกรรมของสาขาธนาคารพาณิชย์ในเดือนนี้ สินเชื่อขยายตัวเพิ่มในอัตราที่เร่งขึ้น
อย่างต่อเนื่องและปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าเงินฝาก โดยยอดคงค้างสินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น
จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.2 ส่วนใหญ่เป็นการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคเอกชนทั้งเพื่อการลงทุนและการ
บริโภค โดยสินเชื่อภาคอุตสาหกรรมการส่งออก การค้า การบริโภค และที่อยู่อาศัยมีการขยายตัวดี
ขณะที่ยอดเงินฝากคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 ส่งผลให้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 64.4
เทียบกับร้อยละ 62.0 เมื่อเดือนเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-