ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน แถลงตั้งข้อสังเกตการทำงานของกกต. 5 ประเด็นพร้อมแสดงความคิดเห็นเพื่อพิจารณาแก้ไขรธน. ทั้งนี้ ยืนยันตั้งกระทู้ถามสด’จีเอ็มโอ’ถึงแม้จะถอนออกจากครม.ก็ตาม รวมถึงหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง
วันนี้ ( 7 ก.ย. 47) ที่อาคารรัฐสภา ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน ( วิปฝ่ายค้าน ) แถลงภายหลังการประชุมวิปฝ่ายค้านว่า ทางวิปได้เชิญเลขาธิการกกต. และ คณะ มาให้ข้อมูลของการประชุม โดยวิปได้ตั้งข้อสังเกตในเรื่องการทำงานของกกต. ใน 5 ประเด็น คือ 1.การประกาศผลการเลือกตั้งและการทำงานในเรื่องของการสืบสวนมีความล่าช้า ควรปรับปรุงให้มีความรวดเร็ว 2. การลงโทษในเรื่องของการเลือกตั้ง ส่วนใหญ่มูลความผิดไม่เป็นสาระสำคัญ แต่กรณีการทุจริตซื้อเสียงยังมีการลงโทษน้อยมาก 3. ความไม่ชัดเจนในเรื่องของกฎระเบียบ ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่งที่มีการสงวนไว้เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการกกต.มากกว่า 4. การรณรงค์การป้องกันการทุจริต 5. ในส่วนของกกต.บางจังหวัด และบางพื้นที่ ยังจำเป็นต้องปรับปรุง ในเรื่องการสรรหา การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการทำหน้าที่
ทั้งนี้ วิปฝ่ายค้าน ยังได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกกต.อีกหลายประเด็น โดยประเด็นแรกเป็น เรื่องของที่มาของคณะกรรมการกกต. ในอนาคตเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ควรจะได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของคณะกรรมการสรรหา ที่ควรตัดตัวแทนพรรคการเมืองออกไปทั้งหมด เพื่อป้องกันระบบบุญคุณที่อาจจะเกิดขึ้น ประเด็นที่ 2 กรณีที่จะให้คณะกรรมการกกต. ประจำจังหวัดให้ใบเหลือง ใบแดง ทางวิปฝ่ายค้านไม่ห็นด้วยกับเรื่องนี้ เพราะระบบปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับการให้กกต.จังหวัด มีอำนาจดังกล่าว ปัจจุบันน่าจะเหมาะสมกว่า ทั้งนี้ก็เนื่องจากถ้าอย่างน้อยที่สุดก็จะมีการดุลซึ่งกันและกันอยู่ และประเด็นสุดท้าย คือ เรื่องศาลเลือกตั้ง ความจริงถ้าจะให้มีศาลเลือกตั้ง ก็คงจะเป็นกรณีที่มีการปรับเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะเดิมเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ คือต้องการให้กกต.มีอำนาจทั้งในเรื่องของการกำกับดูแลการเลือกตั้ง และอำนาจกึ่งตุลาการในการพิจารณาคดีการเลือกตั้ง แต่ถ้าสมมุติว่าจะให้มีการจัดสายเลือกตั้งให้เกิดขึ้น ก็จะต้องเปลี่ยนเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญออกไปอีก ต้องมีการศึกษา และรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายด้วยความรอบคอบว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ในส่วนของวิปยังยังไม่มีความเห็นในกรณีดังกล่าว
ปธ.วิปฝ่ายค้าน ยังได้แถลงถึงการตั้งกระทู้สดในการประชุมสภาฯ ว่า วิปจะตั้งกระทู้ในเรื่องจีเอ็มโอ แม้ว่าคณะรัฐมนตรีจะถอนเรื่องนี้ออกจากวาระการพิจารณา ซึ่งฝ่ายค้านเห็นว่า เรื่องนี้มีความสำคัญ มีผลกระทบต่อเกษตรกร และเอกราชทางเศรษฐกิจในอนาคต การถอยครั้งนี้ของรัฐบาลเป็นเพียงการถอยชั่วคราว ถ้ามีโอกาสกลับมาเป็นรัฐบาล เชื่อว่าจะมีการผลักดันเรื่องนี้อีกครั้ง ‘ เรื่องของจีเอ็มโอ แม้ว่าคณะรัฐมนตรีจะถอนเรื่องนี้ออกจากวาระการพิจารณา ฝ่ายค้านเห็นว่าเรื่องนี้มีความสำคัญ มีผลกระทบต่อเกษตรกร และเอกราชทางเศรษฐกิจในอนาคต การถอยครั้งนี้ของรัฐบาลเป็นเพียงการถอยชั่วคราว ถ้ามีโอกาสกลับมาเป็นรัฐบาล เชื่อว่าจะมีการผลักดันเรื่องนี้อีกครั้ง’ นายจุรินทร์ กล่าว ต่ออีกว่าวิปได้ตั้งกระทู้สดเกี่ยวกับเรื่องหนี้ครัวเรือน รวมถึงภาวะหนี้สินที่รัฐบาลนี้ก่อขึ้น ซึ่งดูได้จากตัวเลขไตรมาสแรก เพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง คือ 110,560 บาท ต่อครัวเรือน ซึ่งคิดเป็ น 62% ของรายได้ทั้งปี หลังหักภาษีครัวเรือน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากและน่าเป็นห่วง อีกทั้งจะสังเกตได้ว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ ยังไม่ได้มีการแถลงเกี่ยวกับตัวเลขของไตรมาสที่ 2 เป็นเรื่องที่ผิดปกติ เพราะจะต้องมีการแถลงเกี่ยวกับตัวเลขดังกล่าวในช่วงเดือนกรกฎาคม หรือไม่เกินสิงหาคม ซึ่งนี้เดือนกันยายนแล้วยังไม่มีการดำเนินการ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-
วันนี้ ( 7 ก.ย. 47) ที่อาคารรัฐสภา ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน ( วิปฝ่ายค้าน ) แถลงภายหลังการประชุมวิปฝ่ายค้านว่า ทางวิปได้เชิญเลขาธิการกกต. และ คณะ มาให้ข้อมูลของการประชุม โดยวิปได้ตั้งข้อสังเกตในเรื่องการทำงานของกกต. ใน 5 ประเด็น คือ 1.การประกาศผลการเลือกตั้งและการทำงานในเรื่องของการสืบสวนมีความล่าช้า ควรปรับปรุงให้มีความรวดเร็ว 2. การลงโทษในเรื่องของการเลือกตั้ง ส่วนใหญ่มูลความผิดไม่เป็นสาระสำคัญ แต่กรณีการทุจริตซื้อเสียงยังมีการลงโทษน้อยมาก 3. ความไม่ชัดเจนในเรื่องของกฎระเบียบ ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่งที่มีการสงวนไว้เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการกกต.มากกว่า 4. การรณรงค์การป้องกันการทุจริต 5. ในส่วนของกกต.บางจังหวัด และบางพื้นที่ ยังจำเป็นต้องปรับปรุง ในเรื่องการสรรหา การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการทำหน้าที่
ทั้งนี้ วิปฝ่ายค้าน ยังได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกกต.อีกหลายประเด็น โดยประเด็นแรกเป็น เรื่องของที่มาของคณะกรรมการกกต. ในอนาคตเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ควรจะได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของคณะกรรมการสรรหา ที่ควรตัดตัวแทนพรรคการเมืองออกไปทั้งหมด เพื่อป้องกันระบบบุญคุณที่อาจจะเกิดขึ้น ประเด็นที่ 2 กรณีที่จะให้คณะกรรมการกกต. ประจำจังหวัดให้ใบเหลือง ใบแดง ทางวิปฝ่ายค้านไม่ห็นด้วยกับเรื่องนี้ เพราะระบบปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับการให้กกต.จังหวัด มีอำนาจดังกล่าว ปัจจุบันน่าจะเหมาะสมกว่า ทั้งนี้ก็เนื่องจากถ้าอย่างน้อยที่สุดก็จะมีการดุลซึ่งกันและกันอยู่ และประเด็นสุดท้าย คือ เรื่องศาลเลือกตั้ง ความจริงถ้าจะให้มีศาลเลือกตั้ง ก็คงจะเป็นกรณีที่มีการปรับเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะเดิมเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ คือต้องการให้กกต.มีอำนาจทั้งในเรื่องของการกำกับดูแลการเลือกตั้ง และอำนาจกึ่งตุลาการในการพิจารณาคดีการเลือกตั้ง แต่ถ้าสมมุติว่าจะให้มีการจัดสายเลือกตั้งให้เกิดขึ้น ก็จะต้องเปลี่ยนเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญออกไปอีก ต้องมีการศึกษา และรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายด้วยความรอบคอบว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ในส่วนของวิปยังยังไม่มีความเห็นในกรณีดังกล่าว
ปธ.วิปฝ่ายค้าน ยังได้แถลงถึงการตั้งกระทู้สดในการประชุมสภาฯ ว่า วิปจะตั้งกระทู้ในเรื่องจีเอ็มโอ แม้ว่าคณะรัฐมนตรีจะถอนเรื่องนี้ออกจากวาระการพิจารณา ซึ่งฝ่ายค้านเห็นว่า เรื่องนี้มีความสำคัญ มีผลกระทบต่อเกษตรกร และเอกราชทางเศรษฐกิจในอนาคต การถอยครั้งนี้ของรัฐบาลเป็นเพียงการถอยชั่วคราว ถ้ามีโอกาสกลับมาเป็นรัฐบาล เชื่อว่าจะมีการผลักดันเรื่องนี้อีกครั้ง ‘ เรื่องของจีเอ็มโอ แม้ว่าคณะรัฐมนตรีจะถอนเรื่องนี้ออกจากวาระการพิจารณา ฝ่ายค้านเห็นว่าเรื่องนี้มีความสำคัญ มีผลกระทบต่อเกษตรกร และเอกราชทางเศรษฐกิจในอนาคต การถอยครั้งนี้ของรัฐบาลเป็นเพียงการถอยชั่วคราว ถ้ามีโอกาสกลับมาเป็นรัฐบาล เชื่อว่าจะมีการผลักดันเรื่องนี้อีกครั้ง’ นายจุรินทร์ กล่าว ต่ออีกว่าวิปได้ตั้งกระทู้สดเกี่ยวกับเรื่องหนี้ครัวเรือน รวมถึงภาวะหนี้สินที่รัฐบาลนี้ก่อขึ้น ซึ่งดูได้จากตัวเลขไตรมาสแรก เพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง คือ 110,560 บาท ต่อครัวเรือน ซึ่งคิดเป็ น 62% ของรายได้ทั้งปี หลังหักภาษีครัวเรือน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากและน่าเป็นห่วง อีกทั้งจะสังเกตได้ว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ ยังไม่ได้มีการแถลงเกี่ยวกับตัวเลขของไตรมาสที่ 2 เป็นเรื่องที่ผิดปกติ เพราะจะต้องมีการแถลงเกี่ยวกับตัวเลขดังกล่าวในช่วงเดือนกรกฎาคม หรือไม่เกินสิงหาคม ซึ่งนี้เดือนกันยายนแล้วยังไม่มีการดำเนินการ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-