กรุงเทพ--8 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2547 ที่กรุงเตหะราน ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไทยภายหลังเป็นประธานร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-อิหร่าน ครั้งที่ 7 กับนาย Mohammad Shariatmadati รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของอิหร่านว่าภาคเอกชนไทยที่ได้เดินทางไปร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมได้แสดงความพร้อมที่จะสานต่อการค้าการลงทุนในอิหร่านจากการที่ภาครัฐได้เข้าไปปูทางไว้
ดร.สุรเกียรติ์ฯ เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-อิหร่านเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างสองประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน พลังงาน และวัฒนธรรม โดยสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ และเห็นว่ายังมีศักยภาพในความร่วมมืออีกมาก โดยเฉพาะการลงทุนใน Free Trade Zone ของอิหร่าน รวมทั้งโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ และเล็กจำนวนมาก
ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเร่งพิจารณาความตกลงต่างๆ เพื่อให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว อันจะมีส่วนช่วยในการเพิ่มพูนมูลค่าการค้าการลงทุนระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น อาทิเช่น ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นภาษีซ้อน และความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน เป็นต้น
สองฝ่ายจะให้ความสำคัญกับความร่วมมือด้านพลังงาน โดย บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) สนใจจะไปลงทุนประมูลการขุดเจาะน้ำมันในอิหร่าน และฝ่ายไทยได้เสนอให้อิหร่านเข้าไปลงทุนใน Strategic Energy Landbridge ทางภาคใต้ของไทยนอกจากนั้น ฝ่ายไทยได้เสนอให้อิหร่าน เชื่อมโยงการคมนาคมทางอากาศโดยที่ไทยมีนโยบาย Open Sky อยู่แล้ว ในขณะที่ฝ่ายไทยแสดงความสนใจในโครงการ North — South Corridor ของอิหร่านซึ้งจะเป็นการเชื่อมโยงการคมนาคมทางบกระหว่างอิหร่าน รัสเซีย และอินเดีย
ในด้านการท่องเที่ยว สองฝ่ายเห็นพ้องให้มีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน (Tourism Working Group) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยอิหร่านจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมภายในปีนี้ โดยเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว อาทิเช่น การสร้าง และปรับปรุงโรงแรมในอิหร่าน การปรับปรุงการคมนาคมทางบกเพื่อเอื้อต่อการท่องเที่ยว
ในด้านการค้า ทั้งสองฝ่ายจะหารือกันเพื่อพิจารณาการที่ประเทศไทยจะให้สิทธิพิเศษในการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าของอิหร่าน ในการนี้ฝ่ายอิหร่านได้แจ้งรายการสินค้าที่ประสงค์จะรับสิทธิพิเศษศุลกากรขาเข้าให้ฝ่ายไทยนำไปพิจารณาแล้ว
นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องที่จะขยายความร่วมมือในด้านอื่นๆ ในระดับประชาชนต่อประชาชน เช่น การแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรม การจัดส่งนักเรียนไทยไปศึกษาที่อิหร่าน และความร่วมมือด้านกีฬา เป็นต้น
ในส่วนของภาคเอกชนไทยซึ่งได้เดินทางไปร่วมประชุมด้วยนั้น ได้แสดงความกระตือรือร้นในการเข้าไปขยายธุรกิจในอิหร่านอย่างมาก โดยบริษัทที่เข้าไปวางพื้นฐานอยู่แล้วได้แก่ บริษัท ไทยแฟชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด และบริษัทอิหร่าน-ไทยดีเวลลอปเม้นต์ จำกัด ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มเสื้อผ้าแฟชั่นของไทย กุล่มก่อสร้าง รองเท้ากีฬา ซึ่งขณะนี้ได้ทำโครงการศูนย์การค้าเสื้อผ้าที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเกาะ Kish และมีโครงการตั้งร้านอาหารไทย ร้านขายเฟอร์นิเจอร์ ศูนย์การส่งสินค้าไทยที่เกาะ Kish การปรับปรุงโรงแรม Azadi Grand ในกรุงเตหะราน มูลค่า 1,100 ล้านบาท (โรงแรมดังกล่าวเป็นสถานที่จัดประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-อิหร่าน ครั้งที่ 7) โครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียม นอกจากนั้น บริษัท ช.การช่างก็แสดงความสนใจสร้างทางด่วนยกระดับในอิหร่านด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2547 ที่กรุงเตหะราน ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไทยภายหลังเป็นประธานร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-อิหร่าน ครั้งที่ 7 กับนาย Mohammad Shariatmadati รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของอิหร่านว่าภาคเอกชนไทยที่ได้เดินทางไปร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมได้แสดงความพร้อมที่จะสานต่อการค้าการลงทุนในอิหร่านจากการที่ภาครัฐได้เข้าไปปูทางไว้
ดร.สุรเกียรติ์ฯ เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-อิหร่านเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างสองประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน พลังงาน และวัฒนธรรม โดยสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ และเห็นว่ายังมีศักยภาพในความร่วมมืออีกมาก โดยเฉพาะการลงทุนใน Free Trade Zone ของอิหร่าน รวมทั้งโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ และเล็กจำนวนมาก
ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเร่งพิจารณาความตกลงต่างๆ เพื่อให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว อันจะมีส่วนช่วยในการเพิ่มพูนมูลค่าการค้าการลงทุนระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น อาทิเช่น ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นภาษีซ้อน และความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน เป็นต้น
สองฝ่ายจะให้ความสำคัญกับความร่วมมือด้านพลังงาน โดย บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) สนใจจะไปลงทุนประมูลการขุดเจาะน้ำมันในอิหร่าน และฝ่ายไทยได้เสนอให้อิหร่านเข้าไปลงทุนใน Strategic Energy Landbridge ทางภาคใต้ของไทยนอกจากนั้น ฝ่ายไทยได้เสนอให้อิหร่าน เชื่อมโยงการคมนาคมทางอากาศโดยที่ไทยมีนโยบาย Open Sky อยู่แล้ว ในขณะที่ฝ่ายไทยแสดงความสนใจในโครงการ North — South Corridor ของอิหร่านซึ้งจะเป็นการเชื่อมโยงการคมนาคมทางบกระหว่างอิหร่าน รัสเซีย และอินเดีย
ในด้านการท่องเที่ยว สองฝ่ายเห็นพ้องให้มีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน (Tourism Working Group) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยอิหร่านจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมภายในปีนี้ โดยเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว อาทิเช่น การสร้าง และปรับปรุงโรงแรมในอิหร่าน การปรับปรุงการคมนาคมทางบกเพื่อเอื้อต่อการท่องเที่ยว
ในด้านการค้า ทั้งสองฝ่ายจะหารือกันเพื่อพิจารณาการที่ประเทศไทยจะให้สิทธิพิเศษในการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าของอิหร่าน ในการนี้ฝ่ายอิหร่านได้แจ้งรายการสินค้าที่ประสงค์จะรับสิทธิพิเศษศุลกากรขาเข้าให้ฝ่ายไทยนำไปพิจารณาแล้ว
นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องที่จะขยายความร่วมมือในด้านอื่นๆ ในระดับประชาชนต่อประชาชน เช่น การแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรม การจัดส่งนักเรียนไทยไปศึกษาที่อิหร่าน และความร่วมมือด้านกีฬา เป็นต้น
ในส่วนของภาคเอกชนไทยซึ่งได้เดินทางไปร่วมประชุมด้วยนั้น ได้แสดงความกระตือรือร้นในการเข้าไปขยายธุรกิจในอิหร่านอย่างมาก โดยบริษัทที่เข้าไปวางพื้นฐานอยู่แล้วได้แก่ บริษัท ไทยแฟชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด และบริษัทอิหร่าน-ไทยดีเวลลอปเม้นต์ จำกัด ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มเสื้อผ้าแฟชั่นของไทย กุล่มก่อสร้าง รองเท้ากีฬา ซึ่งขณะนี้ได้ทำโครงการศูนย์การค้าเสื้อผ้าที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเกาะ Kish และมีโครงการตั้งร้านอาหารไทย ร้านขายเฟอร์นิเจอร์ ศูนย์การส่งสินค้าไทยที่เกาะ Kish การปรับปรุงโรงแรม Azadi Grand ในกรุงเตหะราน มูลค่า 1,100 ล้านบาท (โรงแรมดังกล่าวเป็นสถานที่จัดประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-อิหร่าน ครั้งที่ 7) โครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียม นอกจากนั้น บริษัท ช.การช่างก็แสดงความสนใจสร้างทางด่วนยกระดับในอิหร่านด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-