นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยภาวะส่งออกข้าวในเดือนสิงหาคม
2547 ว่า สามารถส่งออกข้าวได้ 0.717 ล้านตัน มูลค่า 197 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(7,996 ล้านบาท) โดย
ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 23 และ 27 แต่ยังคงสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3
และ 21 ตามลำดับ เนื่องจากราคาข้าวส่งออกของไทยได้ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ตลาดชะลอการนำเข้า ความ
ต้องการข้าวส่งออกเดือนนี้ส่วนใหญ่เป็นข้าวขาวและข้าวนึ่ง โดยตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ไนจีเรีย
อิหร่าน เซเนกัล อิรัก ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ อังโกลา กานา ไอเวอรี่โคสต์ และ จีน
ในช่วงมกราคม-สิงหาคม 2547 ได้ส่งออกข้าวแล้วประมาณ 6.35 ล้านตันมูลค่า 1,705
ล้านเหรียญสหรัฐฯ( 67,814 ล้านบาท) ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 37 และ
58 ตามลำดับ โดยข้าวที่ส่งออกดังกล่าวเป็นข้าวหอมมะลิไทย 1.36 ล้านตัน มูลค่า 553 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ(22,473 ล้านบาท) หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21 และ 32 ของปริมาณและมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
ตามลำดับ
นับตั้งแต่รัฐบาลได้ประกาศราคาข้าวรับจำนำสำหรับข้าวฤดูใหม่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคา
ข้าวส่งออกของไทยได้ปรับตัวสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งราคาข้าวของประเทศผู้ส่งออกจากแหล่ง
เอเซียอื่นๆ ประกอบกับเป็นช่วงปลายฤดูผลผลิตข้าวฤดูใหม่ใกล้ออกสู่ตลาด ผู้นำเข้าจึงรีรอดูสถานการณ์และสั่ง
ซื้อเท่าที่จำเป็นเท่านั้น สำหรับข้าวหอมมะลิไทยคำสั่งซื้อในเดือนนี้มีไม่มากนัก เนื่องจากตลาดหลักที่นิยม
บริโภคข้าวใหม่ เช่น จีน ยังชะลอการสั่งซื้อเพื่อรอข้าวฤดูใหม่ออกสู่ตลาด สำหรับราคาข้าวส่งออก ข้าว
หอมมะลิไทย 100 % ชั้น 2 และข้าวขาว 100 % ชั้น 2 มีราคาเฉลี่ยส่งออกตันละ 431 และ 243
เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ซึ่งมีราคาใกล้เคียงกับระยะเดียวกันของปีก่อน สำหรับราคาข้าวเปลือกหอมมะลิมี
ราคาเฉลี่ยตันละ 7,832 บาท ต่ำกว่าระยะเดียวกันของปีก่อนตันละ 958 บาท ส่วนข้าวเปลือกเจ้านาปรัง
ความชื้นไม่เกิน 15 % มีราคาเฉลี่ยตันละ 5,995 บาทสูงกว่าปีก่อนตันละ 1,265 บาท
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวโน้มการส่งออกข้าวในเดือนกันยายน 2547
ว่า แม้ว่าราคาข้าวของไทยจะอยู่ในระดับสูง แต่ผู้ซื้อต่างประเทศยังคงต้องนำเข้าข้าวจากไทย เนื่องจาก
ประเทศผู้ส่งออกรายสำคัญอื่นๆยังคงมีข้าวเหลือส่งออกจำกัด ขณะที่ความต้องการนำเข้าข้าวยังคงมีสูง โดย
เฉพาะตลาดแอฟริกา การส่งออกข้าวในเดือนกันยายน 2547 คาดว่าจะยังคงมีปริมาณใกล้เคียงกับเดือนก่อน
ซึ่งมีไม่น้อยกว่า 7 แสนตัน และในช่วงกลางเดือนกันยายน 2547 นี้ กรมการค้าต่างประเทศจะจัดคณะผู้
แทนร่วมภาครัฐและเอกชนเดินทางไปเจรจาขยายตลาดและ
ประชาสัมพันธ์ข้าวที่ประเทศ รัสเซีย และ โปแลนด์ โดยจะมีการพบปะเจรจาซื้อขายข้าวและ
แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น รวมทั้งปัญหาอุปสรรคทางการค้า ขณะเดียวกันจะมีการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ภาพ
ลักษณ์ข้าวไทยให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในตลาดดังกล่าวแพร่หลายยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ในช่วงกลางเดือนกันยายน กรมการค้าต่างประเทศได้กำหนดจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติ
การ(Work Shop) เรื่อง แผนยุทธศาสตร์การตลาดข้าวหอมมะลิไทย โดยเชิญผู้ว่าราชการจังหวัด (
ผู้ว่า CEO) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจังหวัดภาคเหนือตอนล่างที่เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิไทย รวมทั้ง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องข้าวของแต่ละจังหวัด และผู้แทนจากส่วนกลางของกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวง
มหาดไทย เข้าร่วมสัมมนาเพี่อจัดทำยุทธศาสตร์ข้าวรวมของประเทศ โดยดำเนินการครั้งที่ 1 ที่จังหวัด
อุบลราชธานี ในระหว่างวันที่ 15-16 กันยายน 2547 และครั้งที่ 2 ที่จังหวัดพิษณุโลก ประมาณวันที่ 21-22
กันยายน 2547
--กรมการค้าต่างประเทศ กันยายน 2547--
-สส-
2547 ว่า สามารถส่งออกข้าวได้ 0.717 ล้านตัน มูลค่า 197 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(7,996 ล้านบาท) โดย
ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 23 และ 27 แต่ยังคงสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3
และ 21 ตามลำดับ เนื่องจากราคาข้าวส่งออกของไทยได้ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ตลาดชะลอการนำเข้า ความ
ต้องการข้าวส่งออกเดือนนี้ส่วนใหญ่เป็นข้าวขาวและข้าวนึ่ง โดยตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ไนจีเรีย
อิหร่าน เซเนกัล อิรัก ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ อังโกลา กานา ไอเวอรี่โคสต์ และ จีน
ในช่วงมกราคม-สิงหาคม 2547 ได้ส่งออกข้าวแล้วประมาณ 6.35 ล้านตันมูลค่า 1,705
ล้านเหรียญสหรัฐฯ( 67,814 ล้านบาท) ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 37 และ
58 ตามลำดับ โดยข้าวที่ส่งออกดังกล่าวเป็นข้าวหอมมะลิไทย 1.36 ล้านตัน มูลค่า 553 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ(22,473 ล้านบาท) หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21 และ 32 ของปริมาณและมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
ตามลำดับ
นับตั้งแต่รัฐบาลได้ประกาศราคาข้าวรับจำนำสำหรับข้าวฤดูใหม่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคา
ข้าวส่งออกของไทยได้ปรับตัวสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งราคาข้าวของประเทศผู้ส่งออกจากแหล่ง
เอเซียอื่นๆ ประกอบกับเป็นช่วงปลายฤดูผลผลิตข้าวฤดูใหม่ใกล้ออกสู่ตลาด ผู้นำเข้าจึงรีรอดูสถานการณ์และสั่ง
ซื้อเท่าที่จำเป็นเท่านั้น สำหรับข้าวหอมมะลิไทยคำสั่งซื้อในเดือนนี้มีไม่มากนัก เนื่องจากตลาดหลักที่นิยม
บริโภคข้าวใหม่ เช่น จีน ยังชะลอการสั่งซื้อเพื่อรอข้าวฤดูใหม่ออกสู่ตลาด สำหรับราคาข้าวส่งออก ข้าว
หอมมะลิไทย 100 % ชั้น 2 และข้าวขาว 100 % ชั้น 2 มีราคาเฉลี่ยส่งออกตันละ 431 และ 243
เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ซึ่งมีราคาใกล้เคียงกับระยะเดียวกันของปีก่อน สำหรับราคาข้าวเปลือกหอมมะลิมี
ราคาเฉลี่ยตันละ 7,832 บาท ต่ำกว่าระยะเดียวกันของปีก่อนตันละ 958 บาท ส่วนข้าวเปลือกเจ้านาปรัง
ความชื้นไม่เกิน 15 % มีราคาเฉลี่ยตันละ 5,995 บาทสูงกว่าปีก่อนตันละ 1,265 บาท
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวโน้มการส่งออกข้าวในเดือนกันยายน 2547
ว่า แม้ว่าราคาข้าวของไทยจะอยู่ในระดับสูง แต่ผู้ซื้อต่างประเทศยังคงต้องนำเข้าข้าวจากไทย เนื่องจาก
ประเทศผู้ส่งออกรายสำคัญอื่นๆยังคงมีข้าวเหลือส่งออกจำกัด ขณะที่ความต้องการนำเข้าข้าวยังคงมีสูง โดย
เฉพาะตลาดแอฟริกา การส่งออกข้าวในเดือนกันยายน 2547 คาดว่าจะยังคงมีปริมาณใกล้เคียงกับเดือนก่อน
ซึ่งมีไม่น้อยกว่า 7 แสนตัน และในช่วงกลางเดือนกันยายน 2547 นี้ กรมการค้าต่างประเทศจะจัดคณะผู้
แทนร่วมภาครัฐและเอกชนเดินทางไปเจรจาขยายตลาดและ
ประชาสัมพันธ์ข้าวที่ประเทศ รัสเซีย และ โปแลนด์ โดยจะมีการพบปะเจรจาซื้อขายข้าวและ
แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น รวมทั้งปัญหาอุปสรรคทางการค้า ขณะเดียวกันจะมีการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ภาพ
ลักษณ์ข้าวไทยให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในตลาดดังกล่าวแพร่หลายยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ในช่วงกลางเดือนกันยายน กรมการค้าต่างประเทศได้กำหนดจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติ
การ(Work Shop) เรื่อง แผนยุทธศาสตร์การตลาดข้าวหอมมะลิไทย โดยเชิญผู้ว่าราชการจังหวัด (
ผู้ว่า CEO) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจังหวัดภาคเหนือตอนล่างที่เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิไทย รวมทั้ง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องข้าวของแต่ละจังหวัด และผู้แทนจากส่วนกลางของกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวง
มหาดไทย เข้าร่วมสัมมนาเพี่อจัดทำยุทธศาสตร์ข้าวรวมของประเทศ โดยดำเนินการครั้งที่ 1 ที่จังหวัด
อุบลราชธานี ในระหว่างวันที่ 15-16 กันยายน 2547 และครั้งที่ 2 ที่จังหวัดพิษณุโลก ประมาณวันที่ 21-22
กันยายน 2547
--กรมการค้าต่างประเทศ กันยายน 2547--
-สส-