ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ทีดีอาร์ไอแนะ ธปท.ดูแลเศรษฐกิจมหภาคให้มากขึ้น ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการ
เกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในงานสัมมนาประจำปีของธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) หัวข้อเรื่อง “การดำเนินนโยบายสาธารณะของภาครัฐเพื่อสร้างเสถียรภาพทาง
เศรษฐกิจในอนาคต” ว่า ในช่วงที่ผ่านมา ธปท.ซึ่งเป็นผู้ดูแลการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจได้หันไปมอง
เศรษฐกิจในระดับจุลภาคมากขึ้น โดยเฉพาะหนี้ครัวเรือน หรือการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งบาง
เรื่องมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปเพราะไม่มีหน่วยงานดูแล เช่น หนี้ภาคครัวเรือน แต่หากจะมองในด้าน
เสถียรภาพของเศรษฐกิจแล้ว หน้าที่ของ ธปท.ต้องเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลภาพรวมของเศรษฐกิจไทย
ด้วยการเจาะลึกในเรื่องเศรษฐกิจมหภาค โดยสิ่งที่ต้องดูแลในช่วงต่อไปคือ ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระ
เงินที่จะขาดดุลในปี 49 อย่างไร เพราะต่อไปการลงทุนจะมีมากขึ้น จะต้องดูไม่ให้เกิดการพึ่งพาเงินตราต่าง
ประเทศมากเกินไปอย่างเช่นที่ผ่านมา ซึ่งไม่จำเป็นต้องสมดุลหรือเกินดุลบัญชีเดินสะพัด แต่เงินที่ไหลเข้ามานั้น
ได้ถูกใช้อย่างเหมาะสมและเอื้อต่อเศรษฐกิจหรือไม่ ขณะที่ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กล่าวว่า เป้าหมายของเศรษฐกิจไทยที่เหมาะสมในช่วงต่อไป ควรดูแลความแข็งแกร่งทางเสถียรภาพมากกว่า
มุ่งการขยายตัวของเศรษฐกิจในอัตราที่สูง เพื่อให้เศรษฐกิจไทยสามารถยืนหยัดอยู่ได้ แม้มีปัจจัยลบจากภาย
นอกประเทศเข้ามากระทบ แต่ก็ไม่ส่งผลต่อการขยายตัวให้ลดลงอย่างรุนแรง (โลกวันนี้, ข่าวสด)
2. ธปท.ยืนยันไม่ลดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย
ในการจัดสัมมนาวิชาการปี 47 เรื่อง “ความลงตัวของกรอบนโยบายเงินเฟ้อของ ธปท.” โดยมีนักวิชาการที่
เข้าร่วมสัมมนาเสนอให้ ธปท.ปรับลดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ปัจจุบันกำหนดไว้ที่ร้อยละ 0-3.5 ให้แคบลงว่า
ธปท.ยังไม่จำเป็นที่จะต้องลดกรอบเงินเฟ้อให้แคบลง เนื่องจากผลการศึกษาของต่างประเทศพบว่า ประเทศที่
พัฒนาแล้วสามารถลดกรอบเงินเฟ้อให้แคบเพียงร้อยละ 1.0-1.5 ได้ แต่ประเทศที่กำลังพัฒนานั้นจะต้อง
กำหนดให้กว้างไว้ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายทางการเงิน ซึ่งในส่วนของ ธปท. นอกจากจะ
ดูเป้าหมายเงินเฟ้อเป็นสำคัญแล้ว ยังติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของราคาอสังหาริมทรัพย์ ภาระหนี้ภาคครัวเรือน
และอัตราเงินเฟ้อประกอบด้วย เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (มติชน)
3. จำนวนผู้ว่างงานในเดือน ก.ค.47 มีจำนวน 490,000 คน รายงานจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ
เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ค.47 มีผู้มีงานทำทั้งสิ้น 35.97 ล้านคน โดยเป็นผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรมจำนวน
15.53 คน และนอกภาคเกษตรกรรมจำนวน 20.44 ล้านคน โดยมีผู้ว่างงานจำนวน 490,000 คน และผู้รอ
ฤดูกาลอีก 40,000 คน อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่า ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น 1.35
ล้านคน โดยนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 1.63 ล้านคน ส่วนภาคเกษตรกรรมลดลง 280,000 คน สำหรับผู้
ว่างงาน 490,000 คน นั้นพบว่า เป็นผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 230,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 46.9
ของผู้ว่างงานทั้งหมด ส่วนผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนมีจำนวน 260,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 53.1
ซึ่งแบ่งเป็นผู้ว่างงานจากภาคเกษตรกรรมประมาณ 40,000 คน และนอกภาคเกษตรกรรมจำนวน 220,000
คน โดยอุตสาหกรรมสาขาการผลิตตกงานมากที่สุดประมาณ 70,000 คน รองลงมาเป็นสาขา การขายส่ง
ขายปลีก ซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ และครัวเรือนรวมประมาณ 60,000 คน ส่วนสาขาการโรงแรม
และภัตตาคารประมาณ 30,000 คน และสาขาก่อสร้าง 20,000 คน เป็นต้น (เดลินิวส์)
4. นรม.สั่ง ก.คลังเร่งปรับปรุงโครงสร้างการทำงานของรัฐวิสาหกิจ รองโฆษกประจำสำนัก
นายกรัฐมนตรี (น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์) เปิดเผยว่า ในการประชุม ครม.สัญจร ที่ จ.หนองคาย เมื่อวันที่ 7
ก.ย.ที่ผ่านมา นรม.ได้สั่งการให้ ก.คลังเร่งปรับปรุงโครงสร้างการทำงานของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ทั้ง 50
แห่งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยคำนึงถึงการอยู่ได้ของรัฐวิสาหกิจแห่งนั้น ๆ รวมถึงภาระของประชาชนจากการ
ใช้บริการของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ เช่น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ข.ส.ม.ก.) การรถไฟแห่งประเทศไทย
(รฟท.) โดย นรม.ย้ำว่า ภายในเดือน ต.ค.48 ต้องไม่เห็นรัฐวิสาหกิจใดมีการดำเนินงานที่ขาดทุนอยู่อีก (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปีในการประชุมวันที่ 9 ก.ย.47 นี้
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 8 ก.ย.47 ผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะ
คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 9 ก.ย.47 นี้ หลังจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวมร้อยละ
1.25 ตั้งแต่เดือน พ.ย.46 เริ่มส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง โดยราคาบ้านลดลงร้อยละ 0.6 เมื่อเดือนที่แล้วเช่นเดียว
กับผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค.47 เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันหลังจากลดลงร้อยละ 0.7 ในเดือน
มิ.ย.47 นอกจากนี้ตัวเลขยอดค้าปลีก การจ้างงานและดัชนีราคาผู้บริโภคก็ล้วนสะท้อนว่าเศรษฐกิจชะลอตัวลง ข้อมูลของ
ธ.กลางอังกฤษเองก็ชี้ว่าจำนวนคำขอกู้เพื่อซื้อบ้านที่ได้รับอนุมัติก็ลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลางอังกฤษ
จะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในปีนี้หรืออาจจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียงร้อยละ 0.25 ในปีนี้ ก็เพียงพอที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าอัตรา
เงินเฟ้อจะไม่สูงกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปีตามที่ตั้งเป้าไว้ (รอยเตอร์)
2. เขตเศรษฐกิจยุโรปมีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นหลังจาก ธ.กลางยุโรปคงอัตรา
ดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานจากแฟรงค์เฟริท เมื่อ 7 ก.ย.47 ผู้ว่าการ ธ.
กลางเบลเยี่ยมซึ่งเป็นสมาชิกคณะกรรมการควบคุม ธ.กลางยุโรปด้วยให้สัมภาษณ์ว่า ธ.กลางยุโรปกำลังเฝ้า
จับตาอัตราเงินเฟ้อในเขตเศรษฐกิจยุโรปเพราะมีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นหลังจาก ธ.กลางยุโรป
ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปีซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่เดือน มิ.ย.46 ในการประชุมเมื่อ
สัปดาห์ที่แล้ว ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลางยุโรปจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ โดยผู้ว่าการ ธ.กลาง
เบลเยี่ยมปฏิเสธว่าราคาน้ำมันมีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจของเขตยูโรในไตรมาส 2 ปี 47 เติบโตจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก รายงาน
กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 7 ก.ย.47 สำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า อัตรา
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเขตยูโรในไตรมาส 2 ปี 47 เป็นผลมาจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเกือบ
ทั้งสิ้น ในขณะที่ความต้องการสินค้าภายในประเทศและการบริโภคของภาคเอกชนยังอ่อนตัวอยู่ โดยจีดีพีของ 12
ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรในไตรมาส 2 ปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากไตรมาสแรก และร้อยละ 2.0
จากปีก่อน เทียบกับในไตรมาสแรกปีนี้ที่เติบโตร้อยละ 0.6 เทียบต่อไตรมาส และร้อยละ 1.3 เทียบต่อปี
ซึ่งจากข้อมูลสถิติชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจของเขตยูโรยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น โดยใน
ไตรมาส 2 ปีนี้การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากร้อยละ 1.4 ในไตรมาสแรก ในขณะที่ความต้อง
การสินค้าภายในประเทศของไตรมาสที่ 2 ปี 47 ขยายตัวลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 0.1 จากร้อยละ 0.2
ในไตรมาสก่อน และการบริโภคของภาคเอกชนเติบโตร้อยละ 0.3 ลดลงจากร้อยละ 0.6 ทั้งนี้ การใช้จ่าย
ของผู้บริโภคยังคงได้รับผลกระทบจากการจ้างงานในตลาดแรงงานที่ยังไม่ฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ด้านการลง
ทุนเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นโดยในไตรมาส 2 ปีนี้ขยายตัวร้อยละ 0.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในไตรมาสแรก
ในขณะที่คณะกรรมการสหภาพยุโรปคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในเขตยูโรจะเติบโตร้อยละ 0.3 - 0.7 ในไตร
มาส 3 ปี 47 ไม่เปลี่ยนแปลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้ครั้งก่อน และการเติบโตจะยังอยู่ในระดับร้อยละ 0.3 -
0.7 ในไตรมาส 4 ปี 47 ส่วน ธ.กลางของสหภาพยุโรปได้ปรับเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจของเขตยูโร
ในปี 47 เป็นร้อยละ 1.6 — 2.2 และร้อยละ 1.8 — 2.8 ในปี 48 เทียบกับที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่
ระดับร้อยละ 1.4 — 2.0 ในปี 47 และร้อยละ 1.7 — 2.7 ในปี 48 อนึ่ง อัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของ 25 ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปสูงกว่า 12 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร โดยเติบโตร้อยละ
0.6 เทียบต่อไตรมาส และร้อยละ 2.3 เทียบต่อปี (รอยเตอร์)
4. สินเชื่อภาคครัวเรือนของเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 2 เร่งตัวขึ้น รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 7
ก.ย. 47 ธ.กลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 2 สินเชื่อภาคครัวเรือนของเกาหลีใต้ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ถึงร้อยละ 1.7 จากไตรมาสที่ 1 ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6 อยู่ที่ระดับ 458.02 ล้าน ล้าน วอน (397.3
พัน ล. ดอลลาร์สรอ.) ทั้งนี้การใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมาได้ลดต่ำลง รัฐบาลจึงให้การ
สนับสนุนสินเชื่อภาคครัวเรือนทำให้สินเชื่อขยายตัวอย่างมาก เศรษฐกิจเกาหลีใต้จึงสามารถฟื้นตัวจากภาวะถด
ถอยในระยะสั้นๆเมื่อต้นปีที่แล้ว นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันการเงินของเกาหลีใต้กล่าวว่า หนี้สินภาคครัว
เรือนของเกาหลีใต้ที่อยู่ในกระบวนการจ่ายคืนกำลังจะสิ้นสุด แม้กระนั้นหนี้ดังกล่าวก็ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้าง
สูง โดยสินเชื่อของภาคครัวเรือนของเกาหลีใต้ ณ สิ้นสุดเดือนมิ.ย.คิดเป็นร้อยละ 63 ของ GDP ในปี 46
อย่างไรก็ตามแม้ว่าสินเชื่อภาคครัวเรือนในไตรมาสที่ 2 ปี 47 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกแต่ก็คงอยู่
ในอัตราแค่ 1 ใน 4 ของที่เคยขยายตัวถึงร้อยละ 7 — 8 ในทุกไตรมาสตั้งแต่ปลายปี 44 ถึงต้นปี 45 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 ก.ย. 47 7 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.653 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.4588/41.7509 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 4300-1.5625 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 631.40/11.42 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,800/7,900 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.44 34.15 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ทีดีอาร์ไอแนะ ธปท.ดูแลเศรษฐกิจมหภาคให้มากขึ้น ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการ
เกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในงานสัมมนาประจำปีของธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) หัวข้อเรื่อง “การดำเนินนโยบายสาธารณะของภาครัฐเพื่อสร้างเสถียรภาพทาง
เศรษฐกิจในอนาคต” ว่า ในช่วงที่ผ่านมา ธปท.ซึ่งเป็นผู้ดูแลการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจได้หันไปมอง
เศรษฐกิจในระดับจุลภาคมากขึ้น โดยเฉพาะหนี้ครัวเรือน หรือการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งบาง
เรื่องมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปเพราะไม่มีหน่วยงานดูแล เช่น หนี้ภาคครัวเรือน แต่หากจะมองในด้าน
เสถียรภาพของเศรษฐกิจแล้ว หน้าที่ของ ธปท.ต้องเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลภาพรวมของเศรษฐกิจไทย
ด้วยการเจาะลึกในเรื่องเศรษฐกิจมหภาค โดยสิ่งที่ต้องดูแลในช่วงต่อไปคือ ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระ
เงินที่จะขาดดุลในปี 49 อย่างไร เพราะต่อไปการลงทุนจะมีมากขึ้น จะต้องดูไม่ให้เกิดการพึ่งพาเงินตราต่าง
ประเทศมากเกินไปอย่างเช่นที่ผ่านมา ซึ่งไม่จำเป็นต้องสมดุลหรือเกินดุลบัญชีเดินสะพัด แต่เงินที่ไหลเข้ามานั้น
ได้ถูกใช้อย่างเหมาะสมและเอื้อต่อเศรษฐกิจหรือไม่ ขณะที่ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กล่าวว่า เป้าหมายของเศรษฐกิจไทยที่เหมาะสมในช่วงต่อไป ควรดูแลความแข็งแกร่งทางเสถียรภาพมากกว่า
มุ่งการขยายตัวของเศรษฐกิจในอัตราที่สูง เพื่อให้เศรษฐกิจไทยสามารถยืนหยัดอยู่ได้ แม้มีปัจจัยลบจากภาย
นอกประเทศเข้ามากระทบ แต่ก็ไม่ส่งผลต่อการขยายตัวให้ลดลงอย่างรุนแรง (โลกวันนี้, ข่าวสด)
2. ธปท.ยืนยันไม่ลดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย
ในการจัดสัมมนาวิชาการปี 47 เรื่อง “ความลงตัวของกรอบนโยบายเงินเฟ้อของ ธปท.” โดยมีนักวิชาการที่
เข้าร่วมสัมมนาเสนอให้ ธปท.ปรับลดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ปัจจุบันกำหนดไว้ที่ร้อยละ 0-3.5 ให้แคบลงว่า
ธปท.ยังไม่จำเป็นที่จะต้องลดกรอบเงินเฟ้อให้แคบลง เนื่องจากผลการศึกษาของต่างประเทศพบว่า ประเทศที่
พัฒนาแล้วสามารถลดกรอบเงินเฟ้อให้แคบเพียงร้อยละ 1.0-1.5 ได้ แต่ประเทศที่กำลังพัฒนานั้นจะต้อง
กำหนดให้กว้างไว้ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายทางการเงิน ซึ่งในส่วนของ ธปท. นอกจากจะ
ดูเป้าหมายเงินเฟ้อเป็นสำคัญแล้ว ยังติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของราคาอสังหาริมทรัพย์ ภาระหนี้ภาคครัวเรือน
และอัตราเงินเฟ้อประกอบด้วย เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (มติชน)
3. จำนวนผู้ว่างงานในเดือน ก.ค.47 มีจำนวน 490,000 คน รายงานจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ
เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ค.47 มีผู้มีงานทำทั้งสิ้น 35.97 ล้านคน โดยเป็นผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรมจำนวน
15.53 คน และนอกภาคเกษตรกรรมจำนวน 20.44 ล้านคน โดยมีผู้ว่างงานจำนวน 490,000 คน และผู้รอ
ฤดูกาลอีก 40,000 คน อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่า ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น 1.35
ล้านคน โดยนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 1.63 ล้านคน ส่วนภาคเกษตรกรรมลดลง 280,000 คน สำหรับผู้
ว่างงาน 490,000 คน นั้นพบว่า เป็นผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 230,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 46.9
ของผู้ว่างงานทั้งหมด ส่วนผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนมีจำนวน 260,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 53.1
ซึ่งแบ่งเป็นผู้ว่างงานจากภาคเกษตรกรรมประมาณ 40,000 คน และนอกภาคเกษตรกรรมจำนวน 220,000
คน โดยอุตสาหกรรมสาขาการผลิตตกงานมากที่สุดประมาณ 70,000 คน รองลงมาเป็นสาขา การขายส่ง
ขายปลีก ซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ และครัวเรือนรวมประมาณ 60,000 คน ส่วนสาขาการโรงแรม
และภัตตาคารประมาณ 30,000 คน และสาขาก่อสร้าง 20,000 คน เป็นต้น (เดลินิวส์)
4. นรม.สั่ง ก.คลังเร่งปรับปรุงโครงสร้างการทำงานของรัฐวิสาหกิจ รองโฆษกประจำสำนัก
นายกรัฐมนตรี (น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์) เปิดเผยว่า ในการประชุม ครม.สัญจร ที่ จ.หนองคาย เมื่อวันที่ 7
ก.ย.ที่ผ่านมา นรม.ได้สั่งการให้ ก.คลังเร่งปรับปรุงโครงสร้างการทำงานของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ทั้ง 50
แห่งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยคำนึงถึงการอยู่ได้ของรัฐวิสาหกิจแห่งนั้น ๆ รวมถึงภาระของประชาชนจากการ
ใช้บริการของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ เช่น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ข.ส.ม.ก.) การรถไฟแห่งประเทศไทย
(รฟท.) โดย นรม.ย้ำว่า ภายในเดือน ต.ค.48 ต้องไม่เห็นรัฐวิสาหกิจใดมีการดำเนินงานที่ขาดทุนอยู่อีก (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปีในการประชุมวันที่ 9 ก.ย.47 นี้
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 8 ก.ย.47 ผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะ
คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 9 ก.ย.47 นี้ หลังจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวมร้อยละ
1.25 ตั้งแต่เดือน พ.ย.46 เริ่มส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง โดยราคาบ้านลดลงร้อยละ 0.6 เมื่อเดือนที่แล้วเช่นเดียว
กับผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค.47 เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันหลังจากลดลงร้อยละ 0.7 ในเดือน
มิ.ย.47 นอกจากนี้ตัวเลขยอดค้าปลีก การจ้างงานและดัชนีราคาผู้บริโภคก็ล้วนสะท้อนว่าเศรษฐกิจชะลอตัวลง ข้อมูลของ
ธ.กลางอังกฤษเองก็ชี้ว่าจำนวนคำขอกู้เพื่อซื้อบ้านที่ได้รับอนุมัติก็ลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลางอังกฤษ
จะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในปีนี้หรืออาจจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียงร้อยละ 0.25 ในปีนี้ ก็เพียงพอที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าอัตรา
เงินเฟ้อจะไม่สูงกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปีตามที่ตั้งเป้าไว้ (รอยเตอร์)
2. เขตเศรษฐกิจยุโรปมีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นหลังจาก ธ.กลางยุโรปคงอัตรา
ดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานจากแฟรงค์เฟริท เมื่อ 7 ก.ย.47 ผู้ว่าการ ธ.
กลางเบลเยี่ยมซึ่งเป็นสมาชิกคณะกรรมการควบคุม ธ.กลางยุโรปด้วยให้สัมภาษณ์ว่า ธ.กลางยุโรปกำลังเฝ้า
จับตาอัตราเงินเฟ้อในเขตเศรษฐกิจยุโรปเพราะมีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นหลังจาก ธ.กลางยุโรป
ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปีซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่เดือน มิ.ย.46 ในการประชุมเมื่อ
สัปดาห์ที่แล้ว ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลางยุโรปจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ โดยผู้ว่าการ ธ.กลาง
เบลเยี่ยมปฏิเสธว่าราคาน้ำมันมีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจของเขตยูโรในไตรมาส 2 ปี 47 เติบโตจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก รายงาน
กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 7 ก.ย.47 สำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า อัตรา
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเขตยูโรในไตรมาส 2 ปี 47 เป็นผลมาจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเกือบ
ทั้งสิ้น ในขณะที่ความต้องการสินค้าภายในประเทศและการบริโภคของภาคเอกชนยังอ่อนตัวอยู่ โดยจีดีพีของ 12
ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรในไตรมาส 2 ปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากไตรมาสแรก และร้อยละ 2.0
จากปีก่อน เทียบกับในไตรมาสแรกปีนี้ที่เติบโตร้อยละ 0.6 เทียบต่อไตรมาส และร้อยละ 1.3 เทียบต่อปี
ซึ่งจากข้อมูลสถิติชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจของเขตยูโรยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น โดยใน
ไตรมาส 2 ปีนี้การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากร้อยละ 1.4 ในไตรมาสแรก ในขณะที่ความต้อง
การสินค้าภายในประเทศของไตรมาสที่ 2 ปี 47 ขยายตัวลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 0.1 จากร้อยละ 0.2
ในไตรมาสก่อน และการบริโภคของภาคเอกชนเติบโตร้อยละ 0.3 ลดลงจากร้อยละ 0.6 ทั้งนี้ การใช้จ่าย
ของผู้บริโภคยังคงได้รับผลกระทบจากการจ้างงานในตลาดแรงงานที่ยังไม่ฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ด้านการลง
ทุนเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นโดยในไตรมาส 2 ปีนี้ขยายตัวร้อยละ 0.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในไตรมาสแรก
ในขณะที่คณะกรรมการสหภาพยุโรปคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในเขตยูโรจะเติบโตร้อยละ 0.3 - 0.7 ในไตร
มาส 3 ปี 47 ไม่เปลี่ยนแปลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้ครั้งก่อน และการเติบโตจะยังอยู่ในระดับร้อยละ 0.3 -
0.7 ในไตรมาส 4 ปี 47 ส่วน ธ.กลางของสหภาพยุโรปได้ปรับเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจของเขตยูโร
ในปี 47 เป็นร้อยละ 1.6 — 2.2 และร้อยละ 1.8 — 2.8 ในปี 48 เทียบกับที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่
ระดับร้อยละ 1.4 — 2.0 ในปี 47 และร้อยละ 1.7 — 2.7 ในปี 48 อนึ่ง อัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของ 25 ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปสูงกว่า 12 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร โดยเติบโตร้อยละ
0.6 เทียบต่อไตรมาส และร้อยละ 2.3 เทียบต่อปี (รอยเตอร์)
4. สินเชื่อภาคครัวเรือนของเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 2 เร่งตัวขึ้น รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 7
ก.ย. 47 ธ.กลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 2 สินเชื่อภาคครัวเรือนของเกาหลีใต้ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ถึงร้อยละ 1.7 จากไตรมาสที่ 1 ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6 อยู่ที่ระดับ 458.02 ล้าน ล้าน วอน (397.3
พัน ล. ดอลลาร์สรอ.) ทั้งนี้การใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมาได้ลดต่ำลง รัฐบาลจึงให้การ
สนับสนุนสินเชื่อภาคครัวเรือนทำให้สินเชื่อขยายตัวอย่างมาก เศรษฐกิจเกาหลีใต้จึงสามารถฟื้นตัวจากภาวะถด
ถอยในระยะสั้นๆเมื่อต้นปีที่แล้ว นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันการเงินของเกาหลีใต้กล่าวว่า หนี้สินภาคครัว
เรือนของเกาหลีใต้ที่อยู่ในกระบวนการจ่ายคืนกำลังจะสิ้นสุด แม้กระนั้นหนี้ดังกล่าวก็ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้าง
สูง โดยสินเชื่อของภาคครัวเรือนของเกาหลีใต้ ณ สิ้นสุดเดือนมิ.ย.คิดเป็นร้อยละ 63 ของ GDP ในปี 46
อย่างไรก็ตามแม้ว่าสินเชื่อภาคครัวเรือนในไตรมาสที่ 2 ปี 47 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกแต่ก็คงอยู่
ในอัตราแค่ 1 ใน 4 ของที่เคยขยายตัวถึงร้อยละ 7 — 8 ในทุกไตรมาสตั้งแต่ปลายปี 44 ถึงต้นปี 45 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 ก.ย. 47 7 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.653 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.4588/41.7509 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 4300-1.5625 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 631.40/11.42 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,800/7,900 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.44 34.15 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-