นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ ‘ข่าวยามเช้า’ ทางสถานีวิทยุเอฟเอ็ม 101.0 เมกะเฮิร์ท ถึงกรณีการแก้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าเรื่องกกต.เป็นเรื่องสำคัญในแง่ของหลักการและการทำงาน ซึ่งตนคิดว่าเป็นจังหวะเวลาที่ไม่เหมาะสมที่จะแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องของกกต. เนื่องจากเป็นช่วงที่กำลังจะต้องมีการเลือกตั้งทั่วไป
‘ในการเตรียมงาน การกำหนดกฎระเบียบกติกาต่างๆ ต้องเริ่มเดินหน้าแล้ว ผมคิดว่าการที่จะเปลี่ยนกติการะหว่างการแข่งขัน มีแต่จะทำให้เกิดช่องโหว่ เกิดความสับสนวุ่นวายกันไปหมด’ นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้การจะริเริ่มปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในช่วงเวลา 2 -3 เดือนหรือประมาณ 5 เดือน ก่อนการเลือกตั้งใหญ่ไม่เหมาะสม แต่ในแง่ของเนื้อหาสาระ ตนคิดว่าสิ่งที่มีการจุดประเด็นขึ้นมา ทางกกต.น่าที่จะรับฟัง ว่าข้อห่วงใย หรือคำตำหนิติเตียนที่มีต่อการทำงานของกกต. ซึ่งอาจจะเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญหาในทางกฎหมายกฎระเบียบ ก็เป็นเรื่องที่จะไปตัดทิ้งไปเลยไม่ได้
ถึงแม้ว่าวันนี้ จะยังไม่แก้ไขกฎหมาย แต่มีข้อห่วงใยที่เป็น
ประเด็นหลัก ซึ่งตนคิดว่า เรื่องของกระบวนการสรรหาที่มาของกกต. ถ้าจะทำกันจริงจัง ในส่วนของพรรคปชป.ยืนยันจุดยืนเดิมว่า ให้ตัดฝ่ายการเมืองออกไปให้หมด ซึ่งอันนี้ไม่ได้แก้กฎหมายกกต. แต่ต้องไปแก้รัฐธรรมนูญ ตรงนี้จะทำให้เกิดความมั่นใจในกระบวนการสรรหา และความเป็นกลาง
ประการที่ 2 ตนคิดว่าปัญหาของความล่าช้าในการทำงานของกกต. ซึ่งเราก็เห็นใจกกต.เพราะเรื่องร้องเรียนต่างๆ แต่กรณีของอบจ. ยังเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่า เลือกตั้งมาตั้งแต่เดือนมีนาคม แต่ในหลายพื้นที่ยังทำงานไม่ได้ ตรงนี้เป็นปัญหาที่จะต้องมาดูว่าจะแก้ไขกันได้อย่างไร
ประการที่ 3 กฎหมาย หรือ รัฐธรรมนูญให้หลักประกันในแง่ของการที่จะมีการตรวจสอบการทำงานของกกต.พอสมควร แต่ว่ากระบวนการการทำงานจริงๆที่ต้องไปพึ่งพิง กกต.จังหวัด หรือฝ่ายสืบสวนสอบสวน ทั้งในระดับพื้นที่ ซึ่งก็มีทั่วประเทศ และก็ในส่วนกลางยังมีข้อร้องเรียนข้อวิจารณ์กันอยู่มาก ต้องไปดูว่าจะปรับปรุงอย่างไร
แต่เรื่องใหญ่ที่เป็นประเด็นที่มีการนำเสนอขึ้นมาคือ อำนาจของกกต.ที่จะให้ใบเหลือง ใบแดง ควรจะมีกระบวนการในลักษณะกระบวนการของศาลหรือไม่ ซึ่งเดิมที่ กกต.มีแต่อำนาจในการที่จะสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ที่เรียกกันว่าใบเหลือง แต่ไม่มีอำนาจให้ใบแดง
‘เคยมีตัวอย่างที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่ายตรงที่ ตอนนั้นคงจะเป็นการเลือกสว.ครั้งแรก ก็คือให้ใบเหลืองเสร็จ คนที่ได้ใบเหลืองก็กลับมาชนะอีก แล้วก็ได้ใบเหลืองอีก เลือกซ้ำไปซ้ำมา ตอนนั้นรัฐบาลชุดที่แล้วก็รับโจทย์ข้อนี้มา แล้วก็เสนอเรื่องใบแดง ผมต้องพูดตามความเป็นจริงตอนที่พิจารณาในชั้นของสภา เขาพูดกันมากว่า มาตรการใบแดงก็ค่อนข้างหมิ่นเหม่ในแง่ของการให้อำนาจต่อกกต.มากเกินไป วันข้างหน้าน่าจะคิดถึงเรื่องของการใช้กระบวนการของศาล เพียงแต่ว่ากระบวนการของศาลคือจุดอ่อนของศาลคือความล่าช้า กว่าจะตัดสินไม่รู้ว่าจะใช้เวลาเท่าใด จนบางครั้งสายเกินไปด้วยซ้ำ’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า ในอดีตก่อนที่จะมีกกต.บางคดียังพิจารณาไม่เสร็จ แต่ปรากฎว่าหมดวาระลงไปแล้ว และทำอย่างไรที่จะไม่ให้การใช้ดุลพินิจในการพิจารณา ใช้มาตราฐานเดียวกันกับคดีอาญาอื่น เพราะความผิดที่เป็นลักษณะของการเมือง จะไปหาลักษณะของคาดคั่นเรื่องของพยานหลักฐานต่างๆ เหมือนคดีอาญาไม่ได้ แต่ว่าเป็นการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือว่าตัดสิทธิ์ใครตรงนี้ ทำอย่างไรจะปรับให้เกิดวัฒนธรรมอันนี้ได้ในระบบศาล
‘แต่ว่าถามเมื่อวันนี้ มีคำตอบสำเร็จรูปหรือยัง ในแง่ของการที่จะมีระบบศาล ที่จะมารองรับคดีเลือกตั้ง ที่เป็นลักษณะของคดีพิเศษ ก็ต้องตอบว่า เรายังไม่เห็นรายละเอียดในตรงนี้ชัดเจน ที่จะทำให้เราบอกได้ว่า ในวันข้างหน้า ควรจะไปในทิศทางนี้แน่นอน โดยลดในส่วนของกกต.หรือไม่ แต่เป็นประเด็นที่ผมคิดว่า กกต. น่าที่จะไปคบคิดและสำคัญที่สุด ตอนนี้คือความห่วงใยของพวกเรา กีคือว่า การทำงานของกกต. ก็ทำงานตามกฎระเบียบต่างๆที่ออกมา นะครับ จนบางครั้งมีความรู้สึกว่า มองข้ามเจตนารมย์ คือต้องยอมรับว่าคนจำนวนมาก ยังเชื่อว่าหลายคนที่โกงการเลือกตั้งสามารถโกงได้ สามารถซื้อเสียงได้ การลงโทษของกกต.ส่วนใหญ่จะไปอยู่ในเรื่องที่เป็นความพลาดเล็กๆน้อยๆ และก็ทำให้ไม่ชัดเจนว่า สุดท้าย คือเจตนารมย์ หรือเปล่า อย่างตอนกทม. กรณีคุณอภิรักษ์ ก็เป็นที่วิจารณ์กันมาก หรือว่าประเด็นที่บอกว่า มีพวงหรีดไปวางงานศพ หรือ ไปทอดผ้าป่า ตนคิดว่าตรงนี้หรือเปล่าที่เราอยากจะมีองค์กรที่มาดูแลการเลือกตั้งให้สุจริตเที่ยงธรรม กลายเป็นว่าคนที่โดนลงโทษจำนวนมาก คืออาจจะพลาดโดยไม่รู้ หรือบางทีเข้าใจผิ หรือไปหารือกับบุคลากรของกกต.ด้วยซ้ำ ซึ่งไม่มีอำนาจก็ตอบเขาไปว่าเขาทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ ซึ่งเขาอาจจะอธิบายตามความเข้าใจของเขา แต่ระบบการตัดสินใจชี้ขาดสุดท้ายมันอยู่ 5 ท่าน ที่เป็นกกต. กลาง เพราะฉะนั้นประเด็นเหล่านี้ ก็อยากให้กกต.นำไปดู และทบทวนแก้ไข ทั้งนี้ผมคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยว่าจะหยิบเรื่องของกฎหมาย หรือ รัฐะรรมนูญ ขึ้นมาแก้ไขในระยะเวลา 4-5 เดือน ก่อนที่สภาจะหมดอายุ’ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-
‘ในการเตรียมงาน การกำหนดกฎระเบียบกติกาต่างๆ ต้องเริ่มเดินหน้าแล้ว ผมคิดว่าการที่จะเปลี่ยนกติการะหว่างการแข่งขัน มีแต่จะทำให้เกิดช่องโหว่ เกิดความสับสนวุ่นวายกันไปหมด’ นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้การจะริเริ่มปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในช่วงเวลา 2 -3 เดือนหรือประมาณ 5 เดือน ก่อนการเลือกตั้งใหญ่ไม่เหมาะสม แต่ในแง่ของเนื้อหาสาระ ตนคิดว่าสิ่งที่มีการจุดประเด็นขึ้นมา ทางกกต.น่าที่จะรับฟัง ว่าข้อห่วงใย หรือคำตำหนิติเตียนที่มีต่อการทำงานของกกต. ซึ่งอาจจะเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญหาในทางกฎหมายกฎระเบียบ ก็เป็นเรื่องที่จะไปตัดทิ้งไปเลยไม่ได้
ถึงแม้ว่าวันนี้ จะยังไม่แก้ไขกฎหมาย แต่มีข้อห่วงใยที่เป็น
ประเด็นหลัก ซึ่งตนคิดว่า เรื่องของกระบวนการสรรหาที่มาของกกต. ถ้าจะทำกันจริงจัง ในส่วนของพรรคปชป.ยืนยันจุดยืนเดิมว่า ให้ตัดฝ่ายการเมืองออกไปให้หมด ซึ่งอันนี้ไม่ได้แก้กฎหมายกกต. แต่ต้องไปแก้รัฐธรรมนูญ ตรงนี้จะทำให้เกิดความมั่นใจในกระบวนการสรรหา และความเป็นกลาง
ประการที่ 2 ตนคิดว่าปัญหาของความล่าช้าในการทำงานของกกต. ซึ่งเราก็เห็นใจกกต.เพราะเรื่องร้องเรียนต่างๆ แต่กรณีของอบจ. ยังเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่า เลือกตั้งมาตั้งแต่เดือนมีนาคม แต่ในหลายพื้นที่ยังทำงานไม่ได้ ตรงนี้เป็นปัญหาที่จะต้องมาดูว่าจะแก้ไขกันได้อย่างไร
ประการที่ 3 กฎหมาย หรือ รัฐธรรมนูญให้หลักประกันในแง่ของการที่จะมีการตรวจสอบการทำงานของกกต.พอสมควร แต่ว่ากระบวนการการทำงานจริงๆที่ต้องไปพึ่งพิง กกต.จังหวัด หรือฝ่ายสืบสวนสอบสวน ทั้งในระดับพื้นที่ ซึ่งก็มีทั่วประเทศ และก็ในส่วนกลางยังมีข้อร้องเรียนข้อวิจารณ์กันอยู่มาก ต้องไปดูว่าจะปรับปรุงอย่างไร
แต่เรื่องใหญ่ที่เป็นประเด็นที่มีการนำเสนอขึ้นมาคือ อำนาจของกกต.ที่จะให้ใบเหลือง ใบแดง ควรจะมีกระบวนการในลักษณะกระบวนการของศาลหรือไม่ ซึ่งเดิมที่ กกต.มีแต่อำนาจในการที่จะสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ที่เรียกกันว่าใบเหลือง แต่ไม่มีอำนาจให้ใบแดง
‘เคยมีตัวอย่างที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่ายตรงที่ ตอนนั้นคงจะเป็นการเลือกสว.ครั้งแรก ก็คือให้ใบเหลืองเสร็จ คนที่ได้ใบเหลืองก็กลับมาชนะอีก แล้วก็ได้ใบเหลืองอีก เลือกซ้ำไปซ้ำมา ตอนนั้นรัฐบาลชุดที่แล้วก็รับโจทย์ข้อนี้มา แล้วก็เสนอเรื่องใบแดง ผมต้องพูดตามความเป็นจริงตอนที่พิจารณาในชั้นของสภา เขาพูดกันมากว่า มาตรการใบแดงก็ค่อนข้างหมิ่นเหม่ในแง่ของการให้อำนาจต่อกกต.มากเกินไป วันข้างหน้าน่าจะคิดถึงเรื่องของการใช้กระบวนการของศาล เพียงแต่ว่ากระบวนการของศาลคือจุดอ่อนของศาลคือความล่าช้า กว่าจะตัดสินไม่รู้ว่าจะใช้เวลาเท่าใด จนบางครั้งสายเกินไปด้วยซ้ำ’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า ในอดีตก่อนที่จะมีกกต.บางคดียังพิจารณาไม่เสร็จ แต่ปรากฎว่าหมดวาระลงไปแล้ว และทำอย่างไรที่จะไม่ให้การใช้ดุลพินิจในการพิจารณา ใช้มาตราฐานเดียวกันกับคดีอาญาอื่น เพราะความผิดที่เป็นลักษณะของการเมือง จะไปหาลักษณะของคาดคั่นเรื่องของพยานหลักฐานต่างๆ เหมือนคดีอาญาไม่ได้ แต่ว่าเป็นการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือว่าตัดสิทธิ์ใครตรงนี้ ทำอย่างไรจะปรับให้เกิดวัฒนธรรมอันนี้ได้ในระบบศาล
‘แต่ว่าถามเมื่อวันนี้ มีคำตอบสำเร็จรูปหรือยัง ในแง่ของการที่จะมีระบบศาล ที่จะมารองรับคดีเลือกตั้ง ที่เป็นลักษณะของคดีพิเศษ ก็ต้องตอบว่า เรายังไม่เห็นรายละเอียดในตรงนี้ชัดเจน ที่จะทำให้เราบอกได้ว่า ในวันข้างหน้า ควรจะไปในทิศทางนี้แน่นอน โดยลดในส่วนของกกต.หรือไม่ แต่เป็นประเด็นที่ผมคิดว่า กกต. น่าที่จะไปคบคิดและสำคัญที่สุด ตอนนี้คือความห่วงใยของพวกเรา กีคือว่า การทำงานของกกต. ก็ทำงานตามกฎระเบียบต่างๆที่ออกมา นะครับ จนบางครั้งมีความรู้สึกว่า มองข้ามเจตนารมย์ คือต้องยอมรับว่าคนจำนวนมาก ยังเชื่อว่าหลายคนที่โกงการเลือกตั้งสามารถโกงได้ สามารถซื้อเสียงได้ การลงโทษของกกต.ส่วนใหญ่จะไปอยู่ในเรื่องที่เป็นความพลาดเล็กๆน้อยๆ และก็ทำให้ไม่ชัดเจนว่า สุดท้าย คือเจตนารมย์ หรือเปล่า อย่างตอนกทม. กรณีคุณอภิรักษ์ ก็เป็นที่วิจารณ์กันมาก หรือว่าประเด็นที่บอกว่า มีพวงหรีดไปวางงานศพ หรือ ไปทอดผ้าป่า ตนคิดว่าตรงนี้หรือเปล่าที่เราอยากจะมีองค์กรที่มาดูแลการเลือกตั้งให้สุจริตเที่ยงธรรม กลายเป็นว่าคนที่โดนลงโทษจำนวนมาก คืออาจจะพลาดโดยไม่รู้ หรือบางทีเข้าใจผิ หรือไปหารือกับบุคลากรของกกต.ด้วยซ้ำ ซึ่งไม่มีอำนาจก็ตอบเขาไปว่าเขาทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ ซึ่งเขาอาจจะอธิบายตามความเข้าใจของเขา แต่ระบบการตัดสินใจชี้ขาดสุดท้ายมันอยู่ 5 ท่าน ที่เป็นกกต. กลาง เพราะฉะนั้นประเด็นเหล่านี้ ก็อยากให้กกต.นำไปดู และทบทวนแก้ไข ทั้งนี้ผมคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยว่าจะหยิบเรื่องของกฎหมาย หรือ รัฐะรรมนูญ ขึ้นมาแก้ไขในระยะเวลา 4-5 เดือน ก่อนที่สภาจะหมดอายุ’ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-