รองหน.ปชป. ดร.คุณหญิง กัลยา ย้ำ การทดลองวิทยาศาสตร์ ควรคำนึงถึงความปลอดภัยมนุษยชน ชี้ การทำวิจัยโดยใช้ไวรัสของประเทศไทยพันธุ์แขกดำท่าพระ แต่อเมริกาเป็นเจ้าของตัวจริง
ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งกระทู้ถามสดในเรื่องการเปลี่ยนแปลงนโยบายพืช จีเอ็มโอ ว่ากระทู้แรกขอถามว่ากรณีสารปนเปื้อนในแปลงมะละกอแขกดำท่าพระ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เนื่องจากว่าไทยเป็นประเทศเขตร้อน มีความหลากหลายทางชีวภาพ จึงมีคำถามว่ารัฐบาลมีหลักประกันหรือไม่ว่าไม่มีสารปนเปื้อนต่อสิ่งมีชีวิตอื่น และกรณีที่มีการตรวจพบสารปนเปื้อนจีเอ็มโอแล้ว รัฐบาลจะตรวจอย่างไร และใช้เวลาเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการมากน้อยเพียงใด มีอุปกรณ์อยู่ที่ใดบ้างและรัฐบาลจะแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนได้อย่างไรหากมีการแพร่การปนเปื้อนออกไปแล้ว
โดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.เกษตรฯ ได้รับมอบหมายจากนายกฯตอบกระทู้ว่ารัฐบาลโดยการนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนให้มีการปรับเปลี่ยนพืชจีเอ็มโอมากขึ้นกว่าเดิม วันที่ 3 เม.ย.44 รมว.ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุม ครม.เพื่อให้ลดการทดลองพืชจีเอ็มโอในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา เมื่อปี 2537-2539 ตลอดจนถึงปี 2544 มีการทดลองพืชจีเอ็มโอในระดับไร่นา ไม่น้อยกว่า 10 บริษัท ซึ่งในครั้งนั้นมีการเผาทำลายพืชจีเอ็มโอในแปลงเกษตร
แต่การดำเนินในส่วนที่ดำเนินการต่อไป เพราะว่ามีการแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ขั้นตอน โดยมติครม. และเป็นการประกาศของกรมวิชาการเกษตร ในระดับแรก คือการทดลองในห้องทดลอง ระดับที่สองเป็นการทดลองในแปลงทดลอง และระดับที่สาม เป็นการทดลองในระดับไร่นา
หลังจากนั้นได้นำเข้า ครม. และล้มเลิกการทดลองในระดับไร่นา และการทดลองขณะนี้ไม่มีนโยบายที่จะทำให้มากมายกว่าเดิม ยังดำเนินไปในลักษณะเดิม กรณีที่อำเภอพล ขอยืนยันว่าไม่มีการปนเปื้อน ซึ่งมีกลุ่มเอ็นจีโอ ได้ไปพบตนที่กระทรวงเกษตร ตนได้เชิญชวนให้กลุ่มดังกล่าวทำงานร่วมกัน ซึ่งก็มีข้อตกลงว่าจะทำงาน ประสานงานร่วมกัน
ส่วนเรื่องการตรวจสอบ และการดำเนินการตรวจสอบใช้เวลาไม่เกิน 2 วันต่อตัวอย่าง และกรมวิชาการเกษตรสามารถตรวจสอบได้ โดยมีที่มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตร ซึ่งจากการทดลองใน2 แห่งนี้พบว่าพืชที่ได้พืชที่มีความทนทานต่อโรค และได้ปริมาณมาก
ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งกระทู้ถามต่อว่า เมื่อความเสียหายเกิดขึ้น ใครคือผู้รับผิดชอบ และจะแก้ไขอย่างไร
และขอถามต่อในเรื่องข้อตกลง MOU และ MTA เป็นข้อบันทึกความเข้าใจและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนถึงทรัพย์สินทางปัญหา ที่ทางรัฐบาลได้กระทำไว้กับศูนย์วิจัยคอลแนล และบริษัทมอนซานโต้ จะเป็นเหตุให้เข้าถึงองค์ความรู้เกี่ยวเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด และการที่สิ่งแวดล้อมของไทยและอเมริกาต่างกัน จะสามารถชี้จีเอ็มโอของอเมริกาของไทยได้หรือไม่ รัฐบาลเปิดเผยได้หรือไม่ว่า 10 บริษัทที่อ้างสิทธิมากกว่า 100 ข้อ เกี่ยวกับการวิจัยเรื่องทดลองมะละกอจีเอ็มโอของไทย อยู่ในเงื่อนไขที่ต้องจ่ายลิขสิทธิ์มากน้อยเพียงใด มีผลกระทบเพียงใด รัฐบาลสามารถเปิดได้หรือไม่
เบื้องหลังมะละกอจีเอ็มโอ สหรัฐฯ เจ้าของสิทธิ์ตัวจริง ไทยต้องจ่ายลิขสิทธิ์ไปตลอดหรือ และการทำวิจัยโดยใช้ไวรัสของประเทศไทยพันธุ์แขกดำท่าพระ แต่อเมริกาเป็นเจ้าของตัวจริงไปแล้ว ทำอย่างไรจึงจะได้สิทธิ์ดังกล่าวนี้กับมาให้ประเทศไทย
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.เกษตรฯ ตอบกระทู้ถามว่าเรื่องค่าเสียหายว่า การปลูกยังไม่ได้ดำเนินการดังนั้นจึงไม่มีความเสียหาย ส่วนความเสียหายในส่วนรวมแล้ว ตนคิดว่าผลประโยชน์เกิดกับประเทศ กรณีที่บอกว่าพันธุ์มะละกอเป็นของไทย แต่เรื่องลิขสิทธิ์เป็นของอเมริกา ตนขอบอกว่าในข้อเท็จจริงแล้ว มีการทดลองร่วมกันถึง 7 ประเทศ ลิขสิทธิ์ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจาก 6 ประเทศ ส่วนเรื่องของ MOU ต่างๆอยู่ในส่วนที่กำลังร่าง เป็นเพียงข้อตกลงเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนกรณีสิ่งแวดล้อมนั้น ขณะนี้ยังไม่มีการทดลองในระดับไร่นาจึงไม่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม
ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งกระทู้ถามต่อว่าบทเรียนจากฮาวาย กรณีที่จะทำให้เพิ่มปริมาณผลิตผลนั้น แต่เกิดโรคเชื้อรามากขึ้น และต้องใช้สารเคมีในการแก้ปัญหาดังกล่าวมาก ซึ่งขณะนี้เกษตรฮาวายเกิดปัญหามะละกอจีเอ็มโอ และภูมิประเทศที่แตกต่างอาจมีผลต่อการปลูกพืชจีเอ็มโอ จึงอยากถามว่า เมื่อนายกฯ ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด ร่างกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพ และไม่อยากให้รัฐบาลเร่งรีบทำอะไรไปโดยไม่มีความรอบคอบ แต่ประหลาดใจว่าทำไมจึงให้ศึกษาทางเลือกเพียง3 ทาง ทั้งที่เป็นเรื่องที่มีผลกระทบกับความปลอดภัยของชีวิต และขอถามว่าการศึกษาครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้ทำโดยอิสระ โดยไม่อยู่บนพื้นฐานทางเลือก 3 ทางที่เคยเสนอให้คณะกรรมการเทคโนโลยีชีวภาพได้หรือไม่
นายกร ทัพพะรังษี รมว.วิทยาศาตร์ กล่าวตอบกระทู้ว่า การดำเนินการอยู่ในขั้นของการทดลองในห้องทดลองเท่านั้น และ ประเทศไทยไม่ได้ทดลองอะไร นอกจากมะละกอ แต่พืชเกษตรหลักของไทยไม่เคยนำมาทดลองจีเอ็มโอเลย แต่ที่เลือกมะละกอเพราะมะละกอของไทยมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ และจะไม่อนุญาตให้ทำการทดลองเกินขอบเขต จนกว่าจะมีกฎหมายมารองรับ และเมื่อมีร่างกฎหมายดังกล่าวออกมาก็ต้องผ่านสภาเสียก่อน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 9 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-
ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งกระทู้ถามสดในเรื่องการเปลี่ยนแปลงนโยบายพืช จีเอ็มโอ ว่ากระทู้แรกขอถามว่ากรณีสารปนเปื้อนในแปลงมะละกอแขกดำท่าพระ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เนื่องจากว่าไทยเป็นประเทศเขตร้อน มีความหลากหลายทางชีวภาพ จึงมีคำถามว่ารัฐบาลมีหลักประกันหรือไม่ว่าไม่มีสารปนเปื้อนต่อสิ่งมีชีวิตอื่น และกรณีที่มีการตรวจพบสารปนเปื้อนจีเอ็มโอแล้ว รัฐบาลจะตรวจอย่างไร และใช้เวลาเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการมากน้อยเพียงใด มีอุปกรณ์อยู่ที่ใดบ้างและรัฐบาลจะแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนได้อย่างไรหากมีการแพร่การปนเปื้อนออกไปแล้ว
โดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.เกษตรฯ ได้รับมอบหมายจากนายกฯตอบกระทู้ว่ารัฐบาลโดยการนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนให้มีการปรับเปลี่ยนพืชจีเอ็มโอมากขึ้นกว่าเดิม วันที่ 3 เม.ย.44 รมว.ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุม ครม.เพื่อให้ลดการทดลองพืชจีเอ็มโอในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา เมื่อปี 2537-2539 ตลอดจนถึงปี 2544 มีการทดลองพืชจีเอ็มโอในระดับไร่นา ไม่น้อยกว่า 10 บริษัท ซึ่งในครั้งนั้นมีการเผาทำลายพืชจีเอ็มโอในแปลงเกษตร
แต่การดำเนินในส่วนที่ดำเนินการต่อไป เพราะว่ามีการแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ขั้นตอน โดยมติครม. และเป็นการประกาศของกรมวิชาการเกษตร ในระดับแรก คือการทดลองในห้องทดลอง ระดับที่สองเป็นการทดลองในแปลงทดลอง และระดับที่สาม เป็นการทดลองในระดับไร่นา
หลังจากนั้นได้นำเข้า ครม. และล้มเลิกการทดลองในระดับไร่นา และการทดลองขณะนี้ไม่มีนโยบายที่จะทำให้มากมายกว่าเดิม ยังดำเนินไปในลักษณะเดิม กรณีที่อำเภอพล ขอยืนยันว่าไม่มีการปนเปื้อน ซึ่งมีกลุ่มเอ็นจีโอ ได้ไปพบตนที่กระทรวงเกษตร ตนได้เชิญชวนให้กลุ่มดังกล่าวทำงานร่วมกัน ซึ่งก็มีข้อตกลงว่าจะทำงาน ประสานงานร่วมกัน
ส่วนเรื่องการตรวจสอบ และการดำเนินการตรวจสอบใช้เวลาไม่เกิน 2 วันต่อตัวอย่าง และกรมวิชาการเกษตรสามารถตรวจสอบได้ โดยมีที่มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตร ซึ่งจากการทดลองใน2 แห่งนี้พบว่าพืชที่ได้พืชที่มีความทนทานต่อโรค และได้ปริมาณมาก
ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งกระทู้ถามต่อว่า เมื่อความเสียหายเกิดขึ้น ใครคือผู้รับผิดชอบ และจะแก้ไขอย่างไร
และขอถามต่อในเรื่องข้อตกลง MOU และ MTA เป็นข้อบันทึกความเข้าใจและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนถึงทรัพย์สินทางปัญหา ที่ทางรัฐบาลได้กระทำไว้กับศูนย์วิจัยคอลแนล และบริษัทมอนซานโต้ จะเป็นเหตุให้เข้าถึงองค์ความรู้เกี่ยวเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด และการที่สิ่งแวดล้อมของไทยและอเมริกาต่างกัน จะสามารถชี้จีเอ็มโอของอเมริกาของไทยได้หรือไม่ รัฐบาลเปิดเผยได้หรือไม่ว่า 10 บริษัทที่อ้างสิทธิมากกว่า 100 ข้อ เกี่ยวกับการวิจัยเรื่องทดลองมะละกอจีเอ็มโอของไทย อยู่ในเงื่อนไขที่ต้องจ่ายลิขสิทธิ์มากน้อยเพียงใด มีผลกระทบเพียงใด รัฐบาลสามารถเปิดได้หรือไม่
เบื้องหลังมะละกอจีเอ็มโอ สหรัฐฯ เจ้าของสิทธิ์ตัวจริง ไทยต้องจ่ายลิขสิทธิ์ไปตลอดหรือ และการทำวิจัยโดยใช้ไวรัสของประเทศไทยพันธุ์แขกดำท่าพระ แต่อเมริกาเป็นเจ้าของตัวจริงไปแล้ว ทำอย่างไรจึงจะได้สิทธิ์ดังกล่าวนี้กับมาให้ประเทศไทย
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.เกษตรฯ ตอบกระทู้ถามว่าเรื่องค่าเสียหายว่า การปลูกยังไม่ได้ดำเนินการดังนั้นจึงไม่มีความเสียหาย ส่วนความเสียหายในส่วนรวมแล้ว ตนคิดว่าผลประโยชน์เกิดกับประเทศ กรณีที่บอกว่าพันธุ์มะละกอเป็นของไทย แต่เรื่องลิขสิทธิ์เป็นของอเมริกา ตนขอบอกว่าในข้อเท็จจริงแล้ว มีการทดลองร่วมกันถึง 7 ประเทศ ลิขสิทธิ์ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจาก 6 ประเทศ ส่วนเรื่องของ MOU ต่างๆอยู่ในส่วนที่กำลังร่าง เป็นเพียงข้อตกลงเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนกรณีสิ่งแวดล้อมนั้น ขณะนี้ยังไม่มีการทดลองในระดับไร่นาจึงไม่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม
ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งกระทู้ถามต่อว่าบทเรียนจากฮาวาย กรณีที่จะทำให้เพิ่มปริมาณผลิตผลนั้น แต่เกิดโรคเชื้อรามากขึ้น และต้องใช้สารเคมีในการแก้ปัญหาดังกล่าวมาก ซึ่งขณะนี้เกษตรฮาวายเกิดปัญหามะละกอจีเอ็มโอ และภูมิประเทศที่แตกต่างอาจมีผลต่อการปลูกพืชจีเอ็มโอ จึงอยากถามว่า เมื่อนายกฯ ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด ร่างกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพ และไม่อยากให้รัฐบาลเร่งรีบทำอะไรไปโดยไม่มีความรอบคอบ แต่ประหลาดใจว่าทำไมจึงให้ศึกษาทางเลือกเพียง3 ทาง ทั้งที่เป็นเรื่องที่มีผลกระทบกับความปลอดภัยของชีวิต และขอถามว่าการศึกษาครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้ทำโดยอิสระ โดยไม่อยู่บนพื้นฐานทางเลือก 3 ทางที่เคยเสนอให้คณะกรรมการเทคโนโลยีชีวภาพได้หรือไม่
นายกร ทัพพะรังษี รมว.วิทยาศาตร์ กล่าวตอบกระทู้ว่า การดำเนินการอยู่ในขั้นของการทดลองในห้องทดลองเท่านั้น และ ประเทศไทยไม่ได้ทดลองอะไร นอกจากมะละกอ แต่พืชเกษตรหลักของไทยไม่เคยนำมาทดลองจีเอ็มโอเลย แต่ที่เลือกมะละกอเพราะมะละกอของไทยมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ และจะไม่อนุญาตให้ทำการทดลองเกินขอบเขต จนกว่าจะมีกฎหมายมารองรับ และเมื่อมีร่างกฎหมายดังกล่าวออกมาก็ต้องผ่านสภาเสียก่อน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 9 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-