ชินวรณ์ บุญญาเกียรติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งกระทู้ถามสด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถึงกรณีของหนี้ภาคครัวเรือนที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น ถือว่าเป็นกระทู้ที่มีความสำคัญที่ท่านนายกฯ จะต้องมายืนยันในเรื่องของกรอบนโยบาย
นายชินวรณ์ กล่าวว่าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงข่าวถึงตัวเลขไตรมาส 2 ของปี 2547 ( 6 ก.ย. 47 )ว่า เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 6.3 ชะลอลงจากร้อยละ 6.6 ของไตรมาสแรก และจากปัจจัยทั้งด้านการผลิตและการใช้จ่าย รวมถึงอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 3 เนื่องจากราคาสินค้าอาหาร และสินค้าอื่นๆเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศ และต่างประเทศยังมีความมั่นคง แต่ในครึ่งปีหลังกับมีข้อจำกัดทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่นการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น จนทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้น้อยกว่าครึ่งปีแรก และคาดว่าจะมีแนวโน้มในการขยายตัวเพียงร้อยละ 6 — 6.5
อีกทั้งประเด็นที่ได้หยิบยกขึ้นมา เป็นเพราะท่านนายกฯได้ให้สัมภาษณ์ต่อกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแถลงตัวเลขดังกล่าว รวมทั้งในการสัมมนาของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้นำเสนอข้อมูลที่สะท้อนถึงหนี้ครัวเรือนในประเทศที่อยู่ในภาวะที่ไม่น่าไว้วางใจ ซึ่งสอดคล้องกับสำนักงานที่กล่าวมาข้างต้น จากตัวเลขในการสัมมนายืนยันชัดเจนว่า ไตรมาสแรกของ ปี 2547 หนี้ภาคครัวเรือนมีการขยายตัว 3.5 % หรือ 110,566 บาท ต่อครัวเรือน เมื่อเทียบกับปี 2545 อยู่ที่ระดับร้อยละ 20 ขณะที่อัตราการเพิ่มรายได้ของครัวเรือนทั้งปีขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 10 เท่านั้นเอง ทำให้สัดส่วนหนี้ต่อรายได้เฉลี่ยในไตรมาสแรกเพิ่มขึ้น ที่ร้อยละ 62 เมื่อเทียบกับ ปี 45 ที่ 51%
นายชินวรณ์ กล่าวต่ออีกว่า ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนออกมาเป็น 2 ด้าน คือ 1. ในการแถลงของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ท่านนายกฯให้สัมภาษณ์ว่า ปีนี้อัตราความเจริญเติบโตยังเกิน 6% อยู่ ส่วนประเทศทั่วโลกถ้าจีดีพีอยู่ที่ 3 % หรือ 4% ก็ดีใจแล้ว จะตายให้รู้ไป อีกทั้งปีหน้าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จะทำให้ได้ตามเป้าหมายที่ให้ไว้ และยังพูดเพิ่มเติมอีกถึงกรณีที่แบงค์ชาติระบุว่าปัจจัยที่ทำให้จีดีพีลดลง คือ หนี้ครัวเรือน โดยท่านนายกฯกล่าวว่าหนี้ครัวเรือนไม่ควรดูบัญชีในด้านเดียวสอบตกหมด ต้องดูบัญชีทั้ง 2 ด้าน
ตนจึงอยากจะถามว่าเมื่อภาวะหนี้ครัวเรือนขยายตัวสูงขึ้นตามลำดับ ขณะนี้ตัวเลขที่แท้จริงเป็นเช่นไร และแนวโน้มการขยายตัวของหนี้ภาคครัวเรือนในปัจจุบันซึ่งเกิดจากนโยบายของรัฐบาลโดยตรงส่วนหนึ่ง รัฐบาลมีแนวทางแก้ไขอย่างไรไม่ให้เป็นภาระหลักของพี่น้องประชาชนที่เป็นหนี้รากหญ้า ซึ่งจะเป็นอันตรายถ้าเกิดหนี้ศูนย์ในระดับรากหญ้า‘ต้องยอมรับความเป็นจริงว่าในช่วง 11 เดือน รัฐบาลสามารถสร้างหนี้สาธารณะ ซึ่งเป็นหนี้ที่พี่น้องประชาชนต้องรับภาระร่วมกันในขณะนี้ ถึง 1.7 แสนล้าน ตรงนี้ตนไม่เป็นห่วง เพราะเชื่อว่ารัฐบาลสามารถใช้นโยบายทางด้านการคลังที่จะแก้ไขปัญหาได้ แต่วันนี้ท่านอย่าคิดเอาระบบการเป็นหนี้ของประชาชน มาเป็นหนี้ในระบบที่มองด้วยคนที่มีสายตาเป็นนายทุนหรือมีฐานะดี อีกทั้งนโยบายของรัฐบาลในเรื่องนี้ เป็นการสร้างความร่ำรวยให้เศรษฐี แต่สร้างเป็นการสร้างหนี้ให้ประชาชน’นายชินวรณ์ กล่าว
ส.ส.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า รัฐบาลได้ประกาศนโยบายในแก้ไขปัญหาความยากจน โดยตั้งศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน ได้รวบรวมตัวเลขผู้ลงทะเบียนคนจนทั้งหมด 8 ล้านกว่าคน จากจำนวนประชากรทั้งประเทศ มียอดหนี้ 662,406 บาท แบ่งเป็นหนี้นอกระบบ 131,588 ล้านบาท หนี้ในระบบ 538,817 ล้านบาท ตรงนี้หนี้นอกระบบลดลง แต่ว่าหนี้ในระบบเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ต้องยอมรับความเป็นจริงว่า ขนาดหนังสือมติชนบทบรรณาธิการในวันนี้ ยังได้ให้ความสนใจกับเรื่องหนี้ ‘ปีนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติไม่ได้แถลงตัวเลขข้อมูลของหนี้ภาคครัวเรือนของประชาชนอย่างแท้จริง หรือรัฐบาลเกรงกลัวในการที่จะแถลงข้อเท็จจริง’นายชินวรณ์กล่าว และกล่าวต่อว่า ในการส่งเสริมให้มีหนี้ภาคครัวเรือนนอกจากเกิดจากนโยบายของรัฐบาล ยังมีโครงการของภาคเอกชนต่างๆอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นผ่อนสินค้าในราคาดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งมีบริษัทในกลุ่มของท่านนายกฯ คือบริษัทโอเคแคปปิตอล โดยปธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ออกมาแถลงว่า บริษัทจะปล่อยสินเชื่อให้ประชาชนอีกไม่ต่ำกว่า 5 ,000 ล้านบาท เพื่อเป็นการช่วยให้ประชาชนได้มีแหล่งทุนเพิ่มขึ้น ตนคิดว่าตรงนี้เป็นประเด็นปัญหา
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ตัวเลขของหนี้ครัวเรือนในขณะนี้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 110,566 บาท อีกทั้งในส่วนของหน่วยงานรัฐที่ได้ออกมากล่าวถึงนโยบายของรัฐบาลว่า มีความเสี่ยงและจะก่อให้เกิดปัญหาหนี้ในอนาคต เรื่องดังกล่าวนี้มีแนวโน้มที่จะทำให้หนี้ภาครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น แต่ก็อยู่ในระดับที่ยังบริหารจัดการได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 9 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-
นายชินวรณ์ กล่าวว่าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงข่าวถึงตัวเลขไตรมาส 2 ของปี 2547 ( 6 ก.ย. 47 )ว่า เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 6.3 ชะลอลงจากร้อยละ 6.6 ของไตรมาสแรก และจากปัจจัยทั้งด้านการผลิตและการใช้จ่าย รวมถึงอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 3 เนื่องจากราคาสินค้าอาหาร และสินค้าอื่นๆเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศ และต่างประเทศยังมีความมั่นคง แต่ในครึ่งปีหลังกับมีข้อจำกัดทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่นการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น จนทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้น้อยกว่าครึ่งปีแรก และคาดว่าจะมีแนวโน้มในการขยายตัวเพียงร้อยละ 6 — 6.5
อีกทั้งประเด็นที่ได้หยิบยกขึ้นมา เป็นเพราะท่านนายกฯได้ให้สัมภาษณ์ต่อกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแถลงตัวเลขดังกล่าว รวมทั้งในการสัมมนาของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้นำเสนอข้อมูลที่สะท้อนถึงหนี้ครัวเรือนในประเทศที่อยู่ในภาวะที่ไม่น่าไว้วางใจ ซึ่งสอดคล้องกับสำนักงานที่กล่าวมาข้างต้น จากตัวเลขในการสัมมนายืนยันชัดเจนว่า ไตรมาสแรกของ ปี 2547 หนี้ภาคครัวเรือนมีการขยายตัว 3.5 % หรือ 110,566 บาท ต่อครัวเรือน เมื่อเทียบกับปี 2545 อยู่ที่ระดับร้อยละ 20 ขณะที่อัตราการเพิ่มรายได้ของครัวเรือนทั้งปีขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 10 เท่านั้นเอง ทำให้สัดส่วนหนี้ต่อรายได้เฉลี่ยในไตรมาสแรกเพิ่มขึ้น ที่ร้อยละ 62 เมื่อเทียบกับ ปี 45 ที่ 51%
นายชินวรณ์ กล่าวต่ออีกว่า ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนออกมาเป็น 2 ด้าน คือ 1. ในการแถลงของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ท่านนายกฯให้สัมภาษณ์ว่า ปีนี้อัตราความเจริญเติบโตยังเกิน 6% อยู่ ส่วนประเทศทั่วโลกถ้าจีดีพีอยู่ที่ 3 % หรือ 4% ก็ดีใจแล้ว จะตายให้รู้ไป อีกทั้งปีหน้าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จะทำให้ได้ตามเป้าหมายที่ให้ไว้ และยังพูดเพิ่มเติมอีกถึงกรณีที่แบงค์ชาติระบุว่าปัจจัยที่ทำให้จีดีพีลดลง คือ หนี้ครัวเรือน โดยท่านนายกฯกล่าวว่าหนี้ครัวเรือนไม่ควรดูบัญชีในด้านเดียวสอบตกหมด ต้องดูบัญชีทั้ง 2 ด้าน
ตนจึงอยากจะถามว่าเมื่อภาวะหนี้ครัวเรือนขยายตัวสูงขึ้นตามลำดับ ขณะนี้ตัวเลขที่แท้จริงเป็นเช่นไร และแนวโน้มการขยายตัวของหนี้ภาคครัวเรือนในปัจจุบันซึ่งเกิดจากนโยบายของรัฐบาลโดยตรงส่วนหนึ่ง รัฐบาลมีแนวทางแก้ไขอย่างไรไม่ให้เป็นภาระหลักของพี่น้องประชาชนที่เป็นหนี้รากหญ้า ซึ่งจะเป็นอันตรายถ้าเกิดหนี้ศูนย์ในระดับรากหญ้า‘ต้องยอมรับความเป็นจริงว่าในช่วง 11 เดือน รัฐบาลสามารถสร้างหนี้สาธารณะ ซึ่งเป็นหนี้ที่พี่น้องประชาชนต้องรับภาระร่วมกันในขณะนี้ ถึง 1.7 แสนล้าน ตรงนี้ตนไม่เป็นห่วง เพราะเชื่อว่ารัฐบาลสามารถใช้นโยบายทางด้านการคลังที่จะแก้ไขปัญหาได้ แต่วันนี้ท่านอย่าคิดเอาระบบการเป็นหนี้ของประชาชน มาเป็นหนี้ในระบบที่มองด้วยคนที่มีสายตาเป็นนายทุนหรือมีฐานะดี อีกทั้งนโยบายของรัฐบาลในเรื่องนี้ เป็นการสร้างความร่ำรวยให้เศรษฐี แต่สร้างเป็นการสร้างหนี้ให้ประชาชน’นายชินวรณ์ กล่าว
ส.ส.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า รัฐบาลได้ประกาศนโยบายในแก้ไขปัญหาความยากจน โดยตั้งศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน ได้รวบรวมตัวเลขผู้ลงทะเบียนคนจนทั้งหมด 8 ล้านกว่าคน จากจำนวนประชากรทั้งประเทศ มียอดหนี้ 662,406 บาท แบ่งเป็นหนี้นอกระบบ 131,588 ล้านบาท หนี้ในระบบ 538,817 ล้านบาท ตรงนี้หนี้นอกระบบลดลง แต่ว่าหนี้ในระบบเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ต้องยอมรับความเป็นจริงว่า ขนาดหนังสือมติชนบทบรรณาธิการในวันนี้ ยังได้ให้ความสนใจกับเรื่องหนี้ ‘ปีนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติไม่ได้แถลงตัวเลขข้อมูลของหนี้ภาคครัวเรือนของประชาชนอย่างแท้จริง หรือรัฐบาลเกรงกลัวในการที่จะแถลงข้อเท็จจริง’นายชินวรณ์กล่าว และกล่าวต่อว่า ในการส่งเสริมให้มีหนี้ภาคครัวเรือนนอกจากเกิดจากนโยบายของรัฐบาล ยังมีโครงการของภาคเอกชนต่างๆอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นผ่อนสินค้าในราคาดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งมีบริษัทในกลุ่มของท่านนายกฯ คือบริษัทโอเคแคปปิตอล โดยปธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ออกมาแถลงว่า บริษัทจะปล่อยสินเชื่อให้ประชาชนอีกไม่ต่ำกว่า 5 ,000 ล้านบาท เพื่อเป็นการช่วยให้ประชาชนได้มีแหล่งทุนเพิ่มขึ้น ตนคิดว่าตรงนี้เป็นประเด็นปัญหา
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ตัวเลขของหนี้ครัวเรือนในขณะนี้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 110,566 บาท อีกทั้งในส่วนของหน่วยงานรัฐที่ได้ออกมากล่าวถึงนโยบายของรัฐบาลว่า มีความเสี่ยงและจะก่อให้เกิดปัญหาหนี้ในอนาคต เรื่องดังกล่าวนี้มีแนวโน้มที่จะทำให้หนี้ภาครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น แต่ก็อยู่ในระดับที่ยังบริหารจัดการได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 9 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-