กรุงเทพ--8 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2548 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวสถานการณ์คนไทย 131 คนหลบหนีเข้ามาเลเซียอย่างผิดกฎหมาย สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์
1. ตามที่เกิดเหตุการณ์เกี่ยวกับคนไทยทั้ง 131 คน ถูกควบคุมตัวในรัฐกลันตัน และรัฐบาลมาเลเซียได้แสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ขอยืนยันว่า รัฐบาลทั้งสองฝ่ายมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และรัฐบาลไทยได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยดำเนินการตามแนวทางสมานฉันท์ และคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนอย่างเต็มที่ และขอชี้แจงข้อเท็จจริงที่ได้รับรายงานจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อความกระจ่างของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และเป็นพื้นฐานในการร่วมมือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างไทยกับมาเลเซีย ดังนี้
2. เมื่อต้นเดือน สิงหาคม 2548 แกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบประมาณ 10 คน ได้เดินทางเข้าไปในรัฐกลันตันของมาเลเซีย และปล่อยข่าวลือในกลุ่มชาวมาเลเซียที่มีญาติพี่น้องอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าให้แจ้งญาติพี่น้องในเขตไทยให้อพยพเข้าอยู่ในมาเลเซียชั่วคราว เพราะจะเกิดเหตุร้ายแรงขึ้นในไทยเร็วๆนี้ รวมทั้งยังปล่อยข่าวลือดังกล่าวในพื้นที่รัฐตรังกานู ซึ่งมีราษฎรไทยมุสลิมเข้าไปประกอบอาชีพอยู่มากเช่นกัน
3. รายงานข่าวกรองยืนยันว่าแกนนำกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้เดินทางเข้าไปในรัฐกลันตัน 5 วันก่อนเหตุการณ์เกิดขึ้น (ประมาณวันที่ 25 สิงหาคม 2548) เพื่อเตรียมการ หลังจากนั้นกลุ่มชาวไทย 131 คนได้ทยอยเดินทางเข้าไปยังมาเลเซียในวันที่ 30 สิงหาคม 2548
4. ตามที่มีรายงานว่า การลอบทำร้ายนายสะปาตอ ยูโซะ ราษฎร ต.ละหารเหนือ อ.สุไหงปาดี
จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2548 เป็นสาเหตุที่ทำให้กลุ่มคนไทยทั้ง 131 คนหลบหนีไปมาเลเซียนั้น ข้อเท็จจริงคือกลุ่มชาวไทย 131 คนที่หลบหนีไปมาเลเซียเป็นราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อื่น (จากการตรวจสอบจากจำนวน 69 คนที่หลบหนีไปไม่มีราษฎรจาก ต.ละหารเหนือ และมีราษฎรจากอ.สุไหงปาดี รวมอยู่ในกลุ่มเพียง 1 คน) การประสานงานของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบภายในและภายนอกประเทศ
5. มีรายงานว่ากลุ่มที่เรียกตัวเองว่า PULO ได้จัดตั้งองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนชื่อ Pattani Malay Human Rights Organisation (PMHRO) เพื่อเคลื่อนไหวทำลายภาพลักษณ์ของไทย โดยดำเนินการผ่านเว็บไซต์ www.pmhro.org และทันทีที่เกิดเหตุการณ์กลุ่ม PMHRO ได้รีบติดต่อเจ้าหน้าที่ UNHCR ที่สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งดูแลภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกว่าราษฎรไทยกลุ่มนี้มีความหวาดกลัวว่าจะถูกรัฐบาลไทยฆ่าทิ้งหลังการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เนื่องจากเคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมหน้า สภอ.ตากใบ กลุ่ม PMHRO จึงต้องการให้ UNHCR เข้ามาช่วยเหลือกลุ่มชาวไทยดังกล่าว รวมทั้งขอให้ช่วยประสานรัฐบาลมาเลเซียขอไม่ให้ส่งตัวกลับไทย นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตด้วยว่ากลุ่ม PULO ได้ปรับปรุงหน้าเว็บไซต์www.pmhro.org อย่างรวดเร็วเกือบจะในเวลาเดียวกันกับที่มีการรายงานข่าวเรื่องนี้ในครั้งแรกความเคลื่อนไหวของรัฐบาลต่อเหตุการณ์ดังกล่าว
6. ขอเรียนว่า จากการตรวจสอบกลุ่มชาวไทย 131 คนที่หลบหนีไปยังมาเลเซีย เชื่อว่าเกิดจากการสร้างข่าวลือของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ และความหวาดกลัวภัยอันตรายจากกลุ่มไม่หวังดี มิได้เกิดจากภัยคุกคามจากอำนาจรัฐตามที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด นอกจากนี้ กลุ่มผุ้ก่อความไม่สงบยังมีความตั้งใจทำให้เกิดความบาดหมางระหว่างประเทศไทยและมาเลเซีย
7. ขอยืนยันว่ารัฐบาลไทยพร้อมที่จะดูแลความปลอดภัยของคนไทยทั้ง 131 คน โดยจะดำเนินการแก้ไขปัญหาตามแนวทางสมานฉันท์แห่งชาติเป็นหลัก ทั้งนี้ รัฐบาลไทยและมาเลเซียได้ประสานงานกันอย่างใกล้ชิดและรัฐบาลมาเลเซียเข้าใจดีว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาภายในของประเทศไทย และพร้อมจะให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาโดยเร็วที่สุด ต่อข้อซักถามของสื่อมวลชน ว่ารัฐบาลได้เข้าไปดูแลคนไทยดังกล่าวอย่างไร โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า เมื่อวันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2548 กงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารูได้พบกับตัวแทนของกลุ่มราษฎรดังกล่าวจำนวน 2 คน เพื่อดูแลความเป็นอยู่ในเบื้องต้น และกระทรวงการต่างประเทศจะได้ส่งเจ้าหน้าที่จากกรมการกงสุลไปตรวจสอบสัญชาติของคนไทยทั้ง131 คนต่อไป และในวันนี้ ( 7 กันยายน 2548) เอกอัครราชทูตมาเลเซียได้เดินทางมายังกระทรวงการต่างประเทศเพื่อหารือกับปลัดกระทรวง
การต่างประเทศถึงแนวทางที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันแก้ไขปัญหา โดยรักษาความสัมพันธ์อันดีของทั้งสองประเทศไว้ โดยทั้งสองฝ่ายเห็นผลประโยชน์ร่วมที่จะร่วมมือกันแก้ปัญหาให้ลุล่วงโดยเร็ว และว่า เนื่องจากยังไม่สามารถระบุสถานภาพของคนไทยทั้ง 131 คนได้ ไทยจึงยังไม่สามารถกำหนดท่าทีที่มีต่อ UNHCR ได้ในชั้นนี้ พร้อมกันนี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวย้ำว่าสถานการณ์ดังกล่าวเป็นปัญหาภายในของไทย และไม่ได้มีการใช้อำนาจรัฐทำร้ายประชาชนแต่อย่างใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2548 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวสถานการณ์คนไทย 131 คนหลบหนีเข้ามาเลเซียอย่างผิดกฎหมาย สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์
1. ตามที่เกิดเหตุการณ์เกี่ยวกับคนไทยทั้ง 131 คน ถูกควบคุมตัวในรัฐกลันตัน และรัฐบาลมาเลเซียได้แสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ขอยืนยันว่า รัฐบาลทั้งสองฝ่ายมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และรัฐบาลไทยได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยดำเนินการตามแนวทางสมานฉันท์ และคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนอย่างเต็มที่ และขอชี้แจงข้อเท็จจริงที่ได้รับรายงานจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อความกระจ่างของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และเป็นพื้นฐานในการร่วมมือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างไทยกับมาเลเซีย ดังนี้
2. เมื่อต้นเดือน สิงหาคม 2548 แกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบประมาณ 10 คน ได้เดินทางเข้าไปในรัฐกลันตันของมาเลเซีย และปล่อยข่าวลือในกลุ่มชาวมาเลเซียที่มีญาติพี่น้องอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าให้แจ้งญาติพี่น้องในเขตไทยให้อพยพเข้าอยู่ในมาเลเซียชั่วคราว เพราะจะเกิดเหตุร้ายแรงขึ้นในไทยเร็วๆนี้ รวมทั้งยังปล่อยข่าวลือดังกล่าวในพื้นที่รัฐตรังกานู ซึ่งมีราษฎรไทยมุสลิมเข้าไปประกอบอาชีพอยู่มากเช่นกัน
3. รายงานข่าวกรองยืนยันว่าแกนนำกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้เดินทางเข้าไปในรัฐกลันตัน 5 วันก่อนเหตุการณ์เกิดขึ้น (ประมาณวันที่ 25 สิงหาคม 2548) เพื่อเตรียมการ หลังจากนั้นกลุ่มชาวไทย 131 คนได้ทยอยเดินทางเข้าไปยังมาเลเซียในวันที่ 30 สิงหาคม 2548
4. ตามที่มีรายงานว่า การลอบทำร้ายนายสะปาตอ ยูโซะ ราษฎร ต.ละหารเหนือ อ.สุไหงปาดี
จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2548 เป็นสาเหตุที่ทำให้กลุ่มคนไทยทั้ง 131 คนหลบหนีไปมาเลเซียนั้น ข้อเท็จจริงคือกลุ่มชาวไทย 131 คนที่หลบหนีไปมาเลเซียเป็นราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อื่น (จากการตรวจสอบจากจำนวน 69 คนที่หลบหนีไปไม่มีราษฎรจาก ต.ละหารเหนือ และมีราษฎรจากอ.สุไหงปาดี รวมอยู่ในกลุ่มเพียง 1 คน) การประสานงานของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบภายในและภายนอกประเทศ
5. มีรายงานว่ากลุ่มที่เรียกตัวเองว่า PULO ได้จัดตั้งองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนชื่อ Pattani Malay Human Rights Organisation (PMHRO) เพื่อเคลื่อนไหวทำลายภาพลักษณ์ของไทย โดยดำเนินการผ่านเว็บไซต์ www.pmhro.org และทันทีที่เกิดเหตุการณ์กลุ่ม PMHRO ได้รีบติดต่อเจ้าหน้าที่ UNHCR ที่สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งดูแลภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกว่าราษฎรไทยกลุ่มนี้มีความหวาดกลัวว่าจะถูกรัฐบาลไทยฆ่าทิ้งหลังการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เนื่องจากเคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมหน้า สภอ.ตากใบ กลุ่ม PMHRO จึงต้องการให้ UNHCR เข้ามาช่วยเหลือกลุ่มชาวไทยดังกล่าว รวมทั้งขอให้ช่วยประสานรัฐบาลมาเลเซียขอไม่ให้ส่งตัวกลับไทย นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตด้วยว่ากลุ่ม PULO ได้ปรับปรุงหน้าเว็บไซต์www.pmhro.org อย่างรวดเร็วเกือบจะในเวลาเดียวกันกับที่มีการรายงานข่าวเรื่องนี้ในครั้งแรกความเคลื่อนไหวของรัฐบาลต่อเหตุการณ์ดังกล่าว
6. ขอเรียนว่า จากการตรวจสอบกลุ่มชาวไทย 131 คนที่หลบหนีไปยังมาเลเซีย เชื่อว่าเกิดจากการสร้างข่าวลือของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ และความหวาดกลัวภัยอันตรายจากกลุ่มไม่หวังดี มิได้เกิดจากภัยคุกคามจากอำนาจรัฐตามที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด นอกจากนี้ กลุ่มผุ้ก่อความไม่สงบยังมีความตั้งใจทำให้เกิดความบาดหมางระหว่างประเทศไทยและมาเลเซีย
7. ขอยืนยันว่ารัฐบาลไทยพร้อมที่จะดูแลความปลอดภัยของคนไทยทั้ง 131 คน โดยจะดำเนินการแก้ไขปัญหาตามแนวทางสมานฉันท์แห่งชาติเป็นหลัก ทั้งนี้ รัฐบาลไทยและมาเลเซียได้ประสานงานกันอย่างใกล้ชิดและรัฐบาลมาเลเซียเข้าใจดีว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาภายในของประเทศไทย และพร้อมจะให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาโดยเร็วที่สุด ต่อข้อซักถามของสื่อมวลชน ว่ารัฐบาลได้เข้าไปดูแลคนไทยดังกล่าวอย่างไร โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า เมื่อวันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2548 กงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารูได้พบกับตัวแทนของกลุ่มราษฎรดังกล่าวจำนวน 2 คน เพื่อดูแลความเป็นอยู่ในเบื้องต้น และกระทรวงการต่างประเทศจะได้ส่งเจ้าหน้าที่จากกรมการกงสุลไปตรวจสอบสัญชาติของคนไทยทั้ง131 คนต่อไป และในวันนี้ ( 7 กันยายน 2548) เอกอัครราชทูตมาเลเซียได้เดินทางมายังกระทรวงการต่างประเทศเพื่อหารือกับปลัดกระทรวง
การต่างประเทศถึงแนวทางที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันแก้ไขปัญหา โดยรักษาความสัมพันธ์อันดีของทั้งสองประเทศไว้ โดยทั้งสองฝ่ายเห็นผลประโยชน์ร่วมที่จะร่วมมือกันแก้ปัญหาให้ลุล่วงโดยเร็ว และว่า เนื่องจากยังไม่สามารถระบุสถานภาพของคนไทยทั้ง 131 คนได้ ไทยจึงยังไม่สามารถกำหนดท่าทีที่มีต่อ UNHCR ได้ในชั้นนี้ พร้อมกันนี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวย้ำว่าสถานการณ์ดังกล่าวเป็นปัญหาภายในของไทย และไม่ได้มีการใช้อำนาจรัฐทำร้ายประชาชนแต่อย่างใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-