“บัญญัติ” จี้เคลียร์องค์กรก่อนที่จะเสื่อมศรัทธา พร้อมแนะ “ทักษิณ”อย่าเล่นกับกระแสสังคมเพราะประชาชนอาจลุกต่อต้าน ย้ำทั้งนายกฯและ“เอกยุทธ”ต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงทั้งหมดต่อสังคม
วันนี้(12 ก.ย. 47) นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) จะใช้กฎหมายปปง.ยึดทรัพย์นายเอกยุทธ อัญชันบุตร ประธานกรรมการบริหารในเครือโอเรียนเต็ลมาร์ท กรุ๊ป ว่า มีนักกฎหมายออกมาแสดงความเห็นแย้งกันอยู่พอสมควร ส่วนตัวเห็นว่าหากนายเอกยุทธเข้าข่ายผิดกฎหมายก็ต้องดำเนินการแต่ต้องระมัดระวังให้มาก เพราะประเด็นข้อกฎหมายยังมีการถกเถียงกันอยู่ แม้แต่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังเห็นว่าไม่ชัดเจนว่า สามารถดำเนินการย้อนหลังก่อนมีกฎหมายฟอกเงินได้นั้นจะย้อนหลังไปได้เท่าไร บางส่วนมีความเห็นว่าหากจะยึดทรัพย์นายเอกยุทธได้จะต้องเข้าข่ายมีพฤติกรรมฟอกเงินไม่ใช่อยู่ ๆ จะไปยึดหมดแม้กระทั่งทรัพย์สินที่ได้มาจากการทำมาหากินโดยสุจริตในภายหลัง และไม่ได้เกี่ยวข้องกับเงินเก่า อย่างไรก็ตามเข้าใจว่านายเอกยุทธ์คงดำเนินการต่อสู้คดีไว้แล้ว
นายบัญญัติ กล่าวว่ามีข้อเสนอทั้งต่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายเอกยุทธโดยมีข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี 5 ข้อคือ
1. รัฐบาลควรจะเร่งรัดให้มีการดำเนินการตรวจสอบการปั่นหุ้นตามที่นายเอกยุทธกล่าวหาอย่างเร่งด่วน และจริงจัง ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าที่รัฐบาลกำลังดำเนินการกับนายเอกยุทธ
2.การดำเนินการในทางคดีต่อนายเอกยุทธควรเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เรื่องการกลั่นแกล้ง
3. รัฐบาลต้องให้ความเป็นอิสระแก่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบการปั่นหุ้น โดยไม่มีฝ่ายการเมืองเข้าไปแทรกแซง และควรแต่งตั้งบุคคลจากหน่วยงานอื่นที่มีความเป็นกลาง อิสระ สังคมยอมรับเข้าร่วมตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นกรณีที่นายกรัฐมนตรีพูดชี้นำไว้แล้ว ดังนั้นการตรวจสอบกันเองโดยลำพัง คนอาจจะไม่เชื่อ
4. รัฐบาลต้องไม่แทรกแซงสื่อ ในการนำเสนอข่าวเรื่องนี้ ไม่ควรจะมีการขอร้อง ข่มขู่ คุกคาม หรือด้วยวิธีใดทั้งสิ้น และที่สำคัญ รัฐบาลต้องไม่ใช้สื่อของรัฐสร้างข่าวชี้นำให้เป็นไปในทางที่รัฐบาลต้องการ และ
5. หากตรวจสอบแล้วพบความจริงว่ามีการปั่นหุ้น และมีบุคคลซึ่งไม่ว่าจะเป็นอักษรย่อที่มีการกล่าวถึงหรือไม่ รัฐบาลต้องดำเนินการกับบุคคลเหล่านี้อย่างจริงจังเหมือนกับที่ดำเนินการกับนายเอกยุทธ์
นายบัญญัติ กล่าวว่า ข้อเสนอถึงนายเอกยุทธคือ ให้เตรียมตัวต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ในส่วนที่จะมีการกล่าวหาจากหน่วยงานภาครัฐ ให้นำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมทั้งต่อสาธารณะ เพื่อให้เป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวาง ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตามที่กล่าวอ้าง และขอให้เปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริงต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องพาดพิงกับฝ่ายการเมือง และที่สำคัญที่สุดที่ประชาชนอยากรู้มากขณะนี้ คือ กรณีที่ได้กล่าวว่ามีฝ่ายการเมืองโอนผลกำไรจากการปั่นหุ้นไปซื้อบ้านหลังโตๆในต่างประเทศ ซึ่งคิดว่าข้อเท็จจริงนี้ควรได้รับการเปิดเผยออกมาให้สาธารณะได้รับรู้ในเร็ววัน
ทั้งนี้หากทั้งนายกรัฐมนตรี และนายเอกยุทธ์ดำเนินการตามนี้ จะเป็นประโยชน์กับประเทศและประชาชน อย่างไรก็ตามหากนายเอกยุทธเปิดเผยความจริงต่อไปอย่างต่อเนื่องและชัดเจน และถ้าสังคมเชื่อถือคิดว่านายเอกยุทธอาจจะได้แนวร่วมที่กว้างขวางมากขึ้นและเชื่อว่าสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ประชาชนเริ่มตั้งข้อรังเกียจเป็นอันมากสำหรับใครก็ตามที่เอารัดเอาเปรียบคนในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นบุคคลที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงกับอำนาจรัฐ
ต่อข้อซักถามว่าประเด็นนี้จะทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาต่อรัฐบาลจะถึงขั้นยุบสภาหรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่า หากข้อเท็จจริงได้รับการพิสูจน์มากขึ้นว่ามีอำนาจรัฐใช้แสวงหาประโยชน์ และคนที่มีอำนาจรัฐกลับปกปิดความจริง มีพฤติการณ์ที่ปกป้องผู้กระทำความผิดด้วย รัฐบาลก็จะมีภาวะที่เสื่อมถอยมากขึ้น การแสดงออกถึงการต่อต้านไม่เห็นด้วยจากภาคสังคม และจากภาคประชาชนจะมีมากยิ่งขึ้น
ส่วนการสร้างแนวร่วมของนายเอกยุทธจะทำให้เกิดการบานปลายหรือไม่นั้นเห็นว่า โดยปกติการที่ปลุกเร้าหาแนวร่วมจากประชาชนจนถึงขนาดจะลุกขึ้นมาก่อความวุ่นวายเพื่อล้มล้างรัฐบาล ก็ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายนัก ซึ่งในประวัติศาสตร์บอกให้เห็นหลายครั้งแล้วว่า หากประชาชนไม่เหลืออดเหลือทนจริงๆจะไม่มีพฤติกรรมถึงขั้นนั้น ดังนั้นภาวะการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นในประเทศได้อีกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับตัวรัฐบาลเอง หากรัฐบาลแสดงความจริงใจ แสดงความบริสุทธิ์ใจ พร้อมที่จะพิสูจน์ข้อกล่าวหาที่ใครก็ตามกล่าวหา และสังคมเคลือบแคลงให้สังคมได้รับรู้รับทราบว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ไม่ปกปิดเอาไว้ ไม่ช่วยเหลือกันคิดว่าภาวะการณ์ที่น่าวิตกคงไม่เกิดขึ้น เพราะประชาชนคนไทยก็มีเหตุมีผล ไม่ใช่ว่าใครจะชักชวนไปทำอะไร ก็ทำกันง่าย ๆ ซึ่งสถานการณ์ตอนนี้ รัฐบาลยังมีเวลาในการที่จะเข้ามาแก้ไข แต่สำคัญอยู่ที่ว่ารัฐบาลมีความจริงใจและมีความจริงจังที่จะทำความจริงให้ปรากฎหรือไม่
นายบัญญัติ ยังกล่าวถึงการเคลื่อนไหวของปปง.ว่า ขณะนี้ประชาชนเคลือบแคลงปปง.มาก เพราะความเก่ายังไม่เลือนหายไป ในกรณีที่ปปง.เข้าไปตรวจสอบบัญชีเงินฝากของสื่อมวลชน และของผู้ที่ไม่เป็นที่พอใจของรัฐบาลในเวลานั้น และแสดงทีท่าเสมือนเป็นการรับลูกของรัฐบาลมาดำเนินการต่อ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ประชาชนยังไม่ลืม ดังนั้นเมื่อมามีพฤติกรรมเช่นนี้เกิดขึ้น ประชาชนก็มีสิทธิ์คิดได้ว่า การดำเนินการดังกล่าวตรงไปตรงมาหรือไม่ เป็นการใช้อำนาจนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้หรือไม่
“ดังนั้นปปง.วันนี้อยู่ในฐานะที่จะต้องพิสูจน์ตัวเองให้สังคมยอมรับมากขึ้นว่า ไม่ได้เป็นเครื่องมือใคร แต่เป็นการปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมาตามตัวบทกฎหมาย ซึ่งทำได้ 2 วิธี คือใช้กฎหมายด้วยความระมัดระวัง และต้องกระทำกับฝ่ายอื่นด้วยในเวลาเดียวกัน เป็นต้นว่าเมื่อมีการกล่าวหาว่ามีคนปั่นหุ้น ปปง.ก็ชอบที่จะไปดูด้วยเช่นกันว่า ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคนเหล่านั้น ในทางการเงินเป็นอย่างไร เพราะตามกฎหมายฟอกเงินก็เปิดโอกาสให้ติดตามได้เช่นกันในธุรกรรมที่ควรแก่การสงสัย เพราะตอนนี้คนรู้สึกว่ารัฐบาลสอบเฉพาะนายเอกยุทธ ผมจึงมีข้อเสนอว่าให้ปปง.ดำเนินการกับคนที่ปั่นหุ้นเช่นเดียวกับนายเอกยุทธด้วย” นายบัญญัติกล่าว
เมื่อถามว่าการปั่นหุ้นอาจจะไม่เข้าข่าย 8 มูลฐานความผิดนั้น นายบัญญัติ กล่าวว่า ในกฎหมายฟอกเงินมีอยู่ข้อหนึ่งว่า ในการติดตามตรวจสอบในธุรกรรมอันควรสงสัย เช่นในกรณีที่อยู่ ๆ มีเงินเข้าออกในบัญชีของคนนี้เยอะ ก็สามารถสงสัยได้ว่าไปทำอะไรมา หรือกรณีที่มีเงินถึงขนาดไปซื้อบ้านในเมืองนอก ก็เป็นธุรกรรมที่คนสงสัย ซึ่งที่แสดงความเห็นก็เพื่อผลประโยชน์ของปปง. เพราะอย่างน้อยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลที่สร้างกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมา จึงประสงค์ที่จะให้มีการใช้หน่วยงานนี้เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนอย่างจริงจัง ไม่ประสงค์ที่จะเห็นหน่วยงานนี้ ทำตัวเป็นเครื่องมือรับใช้ฝ่ายการเมืองโดยไม่มีเหตุผล
ผู้สื่อข่าวถามว่ากฎหมายฟอกเงินในขณะนี้ให้อำนาจปปง.มาเกินไปหรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่า ไม่ถึงขนาดว่ามากเกินไป แต่อยู่ที่วิธีในการใช้กฎหมาย ซึ่งศาลปกครองได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วว่า ในกรณีใดใช้ได้ หรือใช้ไม่ได้อย่างไร และจริง ๆ โดยหลักของประเทศประชาธิปไตย หรือโดยหลักที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้นั้น การใช้สิทธิทางกฎหมายในส่วนที่จะกระทบกระทั่งกับสิทธิของคนอื่น ซึ่งมีรัฐธรรมนูญรับรองไว้นั้น จะต้องใช้อย่างระมัดระวังที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 12 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-
วันนี้(12 ก.ย. 47) นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) จะใช้กฎหมายปปง.ยึดทรัพย์นายเอกยุทธ อัญชันบุตร ประธานกรรมการบริหารในเครือโอเรียนเต็ลมาร์ท กรุ๊ป ว่า มีนักกฎหมายออกมาแสดงความเห็นแย้งกันอยู่พอสมควร ส่วนตัวเห็นว่าหากนายเอกยุทธเข้าข่ายผิดกฎหมายก็ต้องดำเนินการแต่ต้องระมัดระวังให้มาก เพราะประเด็นข้อกฎหมายยังมีการถกเถียงกันอยู่ แม้แต่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังเห็นว่าไม่ชัดเจนว่า สามารถดำเนินการย้อนหลังก่อนมีกฎหมายฟอกเงินได้นั้นจะย้อนหลังไปได้เท่าไร บางส่วนมีความเห็นว่าหากจะยึดทรัพย์นายเอกยุทธได้จะต้องเข้าข่ายมีพฤติกรรมฟอกเงินไม่ใช่อยู่ ๆ จะไปยึดหมดแม้กระทั่งทรัพย์สินที่ได้มาจากการทำมาหากินโดยสุจริตในภายหลัง และไม่ได้เกี่ยวข้องกับเงินเก่า อย่างไรก็ตามเข้าใจว่านายเอกยุทธ์คงดำเนินการต่อสู้คดีไว้แล้ว
นายบัญญัติ กล่าวว่ามีข้อเสนอทั้งต่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายเอกยุทธโดยมีข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี 5 ข้อคือ
1. รัฐบาลควรจะเร่งรัดให้มีการดำเนินการตรวจสอบการปั่นหุ้นตามที่นายเอกยุทธกล่าวหาอย่างเร่งด่วน และจริงจัง ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าที่รัฐบาลกำลังดำเนินการกับนายเอกยุทธ
2.การดำเนินการในทางคดีต่อนายเอกยุทธควรเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เรื่องการกลั่นแกล้ง
3. รัฐบาลต้องให้ความเป็นอิสระแก่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบการปั่นหุ้น โดยไม่มีฝ่ายการเมืองเข้าไปแทรกแซง และควรแต่งตั้งบุคคลจากหน่วยงานอื่นที่มีความเป็นกลาง อิสระ สังคมยอมรับเข้าร่วมตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นกรณีที่นายกรัฐมนตรีพูดชี้นำไว้แล้ว ดังนั้นการตรวจสอบกันเองโดยลำพัง คนอาจจะไม่เชื่อ
4. รัฐบาลต้องไม่แทรกแซงสื่อ ในการนำเสนอข่าวเรื่องนี้ ไม่ควรจะมีการขอร้อง ข่มขู่ คุกคาม หรือด้วยวิธีใดทั้งสิ้น และที่สำคัญ รัฐบาลต้องไม่ใช้สื่อของรัฐสร้างข่าวชี้นำให้เป็นไปในทางที่รัฐบาลต้องการ และ
5. หากตรวจสอบแล้วพบความจริงว่ามีการปั่นหุ้น และมีบุคคลซึ่งไม่ว่าจะเป็นอักษรย่อที่มีการกล่าวถึงหรือไม่ รัฐบาลต้องดำเนินการกับบุคคลเหล่านี้อย่างจริงจังเหมือนกับที่ดำเนินการกับนายเอกยุทธ์
นายบัญญัติ กล่าวว่า ข้อเสนอถึงนายเอกยุทธคือ ให้เตรียมตัวต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ในส่วนที่จะมีการกล่าวหาจากหน่วยงานภาครัฐ ให้นำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมทั้งต่อสาธารณะ เพื่อให้เป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวาง ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตามที่กล่าวอ้าง และขอให้เปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริงต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องพาดพิงกับฝ่ายการเมือง และที่สำคัญที่สุดที่ประชาชนอยากรู้มากขณะนี้ คือ กรณีที่ได้กล่าวว่ามีฝ่ายการเมืองโอนผลกำไรจากการปั่นหุ้นไปซื้อบ้านหลังโตๆในต่างประเทศ ซึ่งคิดว่าข้อเท็จจริงนี้ควรได้รับการเปิดเผยออกมาให้สาธารณะได้รับรู้ในเร็ววัน
ทั้งนี้หากทั้งนายกรัฐมนตรี และนายเอกยุทธ์ดำเนินการตามนี้ จะเป็นประโยชน์กับประเทศและประชาชน อย่างไรก็ตามหากนายเอกยุทธเปิดเผยความจริงต่อไปอย่างต่อเนื่องและชัดเจน และถ้าสังคมเชื่อถือคิดว่านายเอกยุทธอาจจะได้แนวร่วมที่กว้างขวางมากขึ้นและเชื่อว่าสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ประชาชนเริ่มตั้งข้อรังเกียจเป็นอันมากสำหรับใครก็ตามที่เอารัดเอาเปรียบคนในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นบุคคลที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงกับอำนาจรัฐ
ต่อข้อซักถามว่าประเด็นนี้จะทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาต่อรัฐบาลจะถึงขั้นยุบสภาหรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่า หากข้อเท็จจริงได้รับการพิสูจน์มากขึ้นว่ามีอำนาจรัฐใช้แสวงหาประโยชน์ และคนที่มีอำนาจรัฐกลับปกปิดความจริง มีพฤติการณ์ที่ปกป้องผู้กระทำความผิดด้วย รัฐบาลก็จะมีภาวะที่เสื่อมถอยมากขึ้น การแสดงออกถึงการต่อต้านไม่เห็นด้วยจากภาคสังคม และจากภาคประชาชนจะมีมากยิ่งขึ้น
ส่วนการสร้างแนวร่วมของนายเอกยุทธจะทำให้เกิดการบานปลายหรือไม่นั้นเห็นว่า โดยปกติการที่ปลุกเร้าหาแนวร่วมจากประชาชนจนถึงขนาดจะลุกขึ้นมาก่อความวุ่นวายเพื่อล้มล้างรัฐบาล ก็ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายนัก ซึ่งในประวัติศาสตร์บอกให้เห็นหลายครั้งแล้วว่า หากประชาชนไม่เหลืออดเหลือทนจริงๆจะไม่มีพฤติกรรมถึงขั้นนั้น ดังนั้นภาวะการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นในประเทศได้อีกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับตัวรัฐบาลเอง หากรัฐบาลแสดงความจริงใจ แสดงความบริสุทธิ์ใจ พร้อมที่จะพิสูจน์ข้อกล่าวหาที่ใครก็ตามกล่าวหา และสังคมเคลือบแคลงให้สังคมได้รับรู้รับทราบว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ไม่ปกปิดเอาไว้ ไม่ช่วยเหลือกันคิดว่าภาวะการณ์ที่น่าวิตกคงไม่เกิดขึ้น เพราะประชาชนคนไทยก็มีเหตุมีผล ไม่ใช่ว่าใครจะชักชวนไปทำอะไร ก็ทำกันง่าย ๆ ซึ่งสถานการณ์ตอนนี้ รัฐบาลยังมีเวลาในการที่จะเข้ามาแก้ไข แต่สำคัญอยู่ที่ว่ารัฐบาลมีความจริงใจและมีความจริงจังที่จะทำความจริงให้ปรากฎหรือไม่
นายบัญญัติ ยังกล่าวถึงการเคลื่อนไหวของปปง.ว่า ขณะนี้ประชาชนเคลือบแคลงปปง.มาก เพราะความเก่ายังไม่เลือนหายไป ในกรณีที่ปปง.เข้าไปตรวจสอบบัญชีเงินฝากของสื่อมวลชน และของผู้ที่ไม่เป็นที่พอใจของรัฐบาลในเวลานั้น และแสดงทีท่าเสมือนเป็นการรับลูกของรัฐบาลมาดำเนินการต่อ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ประชาชนยังไม่ลืม ดังนั้นเมื่อมามีพฤติกรรมเช่นนี้เกิดขึ้น ประชาชนก็มีสิทธิ์คิดได้ว่า การดำเนินการดังกล่าวตรงไปตรงมาหรือไม่ เป็นการใช้อำนาจนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้หรือไม่
“ดังนั้นปปง.วันนี้อยู่ในฐานะที่จะต้องพิสูจน์ตัวเองให้สังคมยอมรับมากขึ้นว่า ไม่ได้เป็นเครื่องมือใคร แต่เป็นการปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมาตามตัวบทกฎหมาย ซึ่งทำได้ 2 วิธี คือใช้กฎหมายด้วยความระมัดระวัง และต้องกระทำกับฝ่ายอื่นด้วยในเวลาเดียวกัน เป็นต้นว่าเมื่อมีการกล่าวหาว่ามีคนปั่นหุ้น ปปง.ก็ชอบที่จะไปดูด้วยเช่นกันว่า ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคนเหล่านั้น ในทางการเงินเป็นอย่างไร เพราะตามกฎหมายฟอกเงินก็เปิดโอกาสให้ติดตามได้เช่นกันในธุรกรรมที่ควรแก่การสงสัย เพราะตอนนี้คนรู้สึกว่ารัฐบาลสอบเฉพาะนายเอกยุทธ ผมจึงมีข้อเสนอว่าให้ปปง.ดำเนินการกับคนที่ปั่นหุ้นเช่นเดียวกับนายเอกยุทธด้วย” นายบัญญัติกล่าว
เมื่อถามว่าการปั่นหุ้นอาจจะไม่เข้าข่าย 8 มูลฐานความผิดนั้น นายบัญญัติ กล่าวว่า ในกฎหมายฟอกเงินมีอยู่ข้อหนึ่งว่า ในการติดตามตรวจสอบในธุรกรรมอันควรสงสัย เช่นในกรณีที่อยู่ ๆ มีเงินเข้าออกในบัญชีของคนนี้เยอะ ก็สามารถสงสัยได้ว่าไปทำอะไรมา หรือกรณีที่มีเงินถึงขนาดไปซื้อบ้านในเมืองนอก ก็เป็นธุรกรรมที่คนสงสัย ซึ่งที่แสดงความเห็นก็เพื่อผลประโยชน์ของปปง. เพราะอย่างน้อยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลที่สร้างกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมา จึงประสงค์ที่จะให้มีการใช้หน่วยงานนี้เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนอย่างจริงจัง ไม่ประสงค์ที่จะเห็นหน่วยงานนี้ ทำตัวเป็นเครื่องมือรับใช้ฝ่ายการเมืองโดยไม่มีเหตุผล
ผู้สื่อข่าวถามว่ากฎหมายฟอกเงินในขณะนี้ให้อำนาจปปง.มาเกินไปหรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่า ไม่ถึงขนาดว่ามากเกินไป แต่อยู่ที่วิธีในการใช้กฎหมาย ซึ่งศาลปกครองได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วว่า ในกรณีใดใช้ได้ หรือใช้ไม่ได้อย่างไร และจริง ๆ โดยหลักของประเทศประชาธิปไตย หรือโดยหลักที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้นั้น การใช้สิทธิทางกฎหมายในส่วนที่จะกระทบกระทั่งกับสิทธิของคนอื่น ซึ่งมีรัฐธรรมนูญรับรองไว้นั้น จะต้องใช้อย่างระมัดระวังที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 12 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-