นายตรีพล เจาะจิตต์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ประธานคณะทำงานด้านการเกษตร พรรคประชาธิปัตย์ ชี้แจงต่อผู้สื่อข่าวว่า การที่รัฐจะตัดสินใจใช้วัคซีนป้องกันไข้หวัดนกหรือไม่นั้น ต้องทำอย่างรอบคอบ เพราะขณะนี้มีความแตกแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ต้องการใช้วัคซีน คือผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองไก่ชน และไก่ไข่ กับกลุ่มผู้เลี้ยงไก่เนื้อที่ไม่ต้องการใช้วัคซีน เพราะจะกระทบกับการส่งออกทำให้ไม่สามารถส่งออกได้ อีกทั้งจะทำให้ประเทศชาติขาดรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 40,000 ล้านบาท ส่งผลให้ธุรกิจไก่เนื้อจะล่มสลาย เกิดผลกระทบต่อการว่างงาน ธุรกิจอาหารสัตว์ โรงงานชำแหละไก่ และโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ไก่อย่างรุนแรง รวมถึงยังไม่มีการยืนยันว่า เนื้อไก่หรือไข่ไก่ที่ได้จากแม่ไก่ที่ฉีดวัคซีนไข้หวัดนก จะปลอดภัยต่อผู้บริโภค เรื่องดังกล่าวรัฐบาลต้องรอบคอบและระมัดระวังอย่างมาก
ส.ส.นครศรีธรรมราช กล่าวต่ออีกว่า หากมีความจำเป็นต้องใช้วัคซีน รัฐบาลต้องหาแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจไก่เนื้ออย่างน้อย 2 แนวทางคือ
1.บริษัท หรือ ฟาร์ม ที่มีการผลิตไก่เนื้อครบวงจรเพื่อการส่งออก และได้ทำการส่งออกไปต่างประเทศมาเป็นเวลานานแล้ว รัฐบาลควรประสานกับประเทศคู่ค้า ให้ประเทศคู่ค้ายอมรับว่า บริษัทหรือฟาร์มดังกล่าว เป็นเขตปลอดโรคระบาดไข้หวัดนกโดยรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกันให้
2.ในกรณีของเกษตรกรรายย่อย ที่ต้องการทำอาชีพเลี้ยงไก่เนื้อต่อไป รัฐบาลต้องกำหนดพื้นที่เลี้ยงหรือโซนนิ่ง ในพื้นที่ห่างไกลชุมชน โดยสร้าง “เมืองไก่เนื้อครบวงจรเพื่อการส่งออก” โดยรัฐบาลต้องดำเนินการสร้างโรงเรือนระบบปิด บ้านพักอาศัยของเกษตรกร และสร้างโรงงานต่างๆให้ครบวงจร ทั้งนี้รัฐบาลจะต้องให้เงินกู้ระยะยาว ดอกเบี้ยต่ำ และต้องให้คู่ค้าระหว่างประเทศยอมรับเมืองไก่ดังกล่าว และในแต่ละภาค ควรมีเมืองไก่ 2-3 แห่ง แล้วแต่ความเหมาะสม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 12 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-
ส.ส.นครศรีธรรมราช กล่าวต่ออีกว่า หากมีความจำเป็นต้องใช้วัคซีน รัฐบาลต้องหาแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจไก่เนื้ออย่างน้อย 2 แนวทางคือ
1.บริษัท หรือ ฟาร์ม ที่มีการผลิตไก่เนื้อครบวงจรเพื่อการส่งออก และได้ทำการส่งออกไปต่างประเทศมาเป็นเวลานานแล้ว รัฐบาลควรประสานกับประเทศคู่ค้า ให้ประเทศคู่ค้ายอมรับว่า บริษัทหรือฟาร์มดังกล่าว เป็นเขตปลอดโรคระบาดไข้หวัดนกโดยรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกันให้
2.ในกรณีของเกษตรกรรายย่อย ที่ต้องการทำอาชีพเลี้ยงไก่เนื้อต่อไป รัฐบาลต้องกำหนดพื้นที่เลี้ยงหรือโซนนิ่ง ในพื้นที่ห่างไกลชุมชน โดยสร้าง “เมืองไก่เนื้อครบวงจรเพื่อการส่งออก” โดยรัฐบาลต้องดำเนินการสร้างโรงเรือนระบบปิด บ้านพักอาศัยของเกษตรกร และสร้างโรงงานต่างๆให้ครบวงจร ทั้งนี้รัฐบาลจะต้องให้เงินกู้ระยะยาว ดอกเบี้ยต่ำ และต้องให้คู่ค้าระหว่างประเทศยอมรับเมืองไก่ดังกล่าว และในแต่ละภาค ควรมีเมืองไก่ 2-3 แห่ง แล้วแต่ความเหมาะสม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 12 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-