บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๕๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม
จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๔๗ และครั้งที่ ๕
(สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติ
เห็นชอบแล้ว จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบัน
อุดมศึกษา พ.ศ. ….
๒. เรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำร่างพระราชบัญญัติออกจากระเบียบวาระการประชุม
ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๕๗ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
นายภิญโญ นิโรจน์ และนายวิทยา คุณปลื้ม เป็นผู้เสนอ
๓. เรื่องการลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขต
เลือกตั้งเพิ่มอีก จำนวน ๑ คน คือ นางประไพพรรณ เส็งประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๔๗
ดังนั้น สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๑๘ (๓) ปัจจุบันมีสมาชิกฯ
เหลือจำนวน ๔๕๕ ท่าน
๔. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๗ เรื่อง
ให้ พลตำรวจโท สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ลำดับที่ ๘๔ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน นายชูศักดิ์ แอกทอง
ซึ่งพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา ๑๑๘ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวนำ พลตำรวจโท สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่
ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามมติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๗
คือ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนา
เอเชียในประเทศไทย พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่อง
ที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติ
ทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครอง
การดำเนินงานของสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชียในประเทศไทย พ.ศ. ….
ซึ่ง นายวัลลภ ยังตรง กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และผู้เสนอได้แถลงหลักการ
และเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่ง
ร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ พร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายวราเทพ รัตนากร ๒. นายวรเดช วีระเวคิน
๓. นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ ๔. นางกฤติกา ปั้นประเสริฐ
๕. นายสรร วิเทศพงษ์ ๖. หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุล
๗. นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ๘. นายนิมิตร นนทพันธาวาทย์
๙. นายสุรชัย เบ้าจรรยา ๑๐. นายกมล บันไดเพชร
๑๑. พันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ๑๒. นายสมบูรณ์ ไพรวัลย์
๑๓. นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ๑๔. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์
๑๕. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ๑๖. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์
๑๗. ว่าที่เรือโท วัลลภ ยังตรง ๑๘. นายโกวิทย์ ธรรมานุชิต
๑๙. นายกล่ำคาน ปาทาน ๒๐. นายธงชาติ รัตนวิชา
๒๑. นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ ๒๒. นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
๒๓. นายธราพงษ์ สีลาวงษ์ ๒๔. นายอังคาร ดวงตาเวียง
๒๕. นายวิชัย ตันศิริ ๒๖. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
๒๗. นายโกเมศ ขวัญเมือง ๒๘. นางผุสดี ตามไท
๒๙. นายเจริญ คันธวงศ์ ๓๐. นายปรีชา สุวรรณทัต
๓๑. นายตรีพล เจาะจิตต์ ๓๒. นางสาวจณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์
๓๓. นายธรรมา ปิ่นสุกาญจนะ ๓๔. นายมหรรณพ เดชวิทักษ์
๓๕. นางอัญชลี บุสสุวัณโณ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระตามลำดับดังต่อไปนี้ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุม
เห็นชอบ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า
และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๓ ในประเทศไทย
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒๑)
๒. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๐)
๓. พิจารณาเรื่อง ขอให้ยกร่างพระราชบัญญัติซึ่งต้องยับยั้งไว้ตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ ขึ้นมาพิจารณาใหม่ (ร่างพระราชบัญญัติ
กำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ) (ในระเบียบวาระที่ ๖.๑)
๔. ร่างพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๖)
๕. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จ
บำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๐)
๖. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติศุลกากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๒)
๗. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณา
คดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๒)
๘. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๓)
๙. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐)
๑๐. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๒)
๑๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๓)
๑๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๔)
๑๓. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๖)
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
ตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๓ ในประเทศไทย
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง
คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบ
ด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย โดยในระหว่าง
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
๒. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๐)
ที่ประชุมได้พิจารณารายงานฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับ
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติในลำดับ
ถัดไป ได้มีสมาชิกฯ ขอเลื่อนการพิจารณา เรื่อง ขอให้ยกร่างพระราชบัญญัติซึ่งต้องยับยั้งไว้
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ ขึ้นมาพิจารณาใหม่
(ร่างพระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ) (ในระเบียบวาระที่ ๖.๑) ออกไปก่อน เนื่องจากต้องใช้เวลา
ในการพิจารณาศึกษา ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
จากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอ
ให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติในลำดับถัดไป คือ
๓. ร่างพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๖)
ที่ประชุมได้พิจารณารายงานฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับ
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา ทั้งนี้
ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อแจ้งไปยัง
คณะรัฐมนตรีด้วย
๔. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จ
บำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๐)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
กรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายจำลอง ครุฑขุนทด ๒. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง
๓. นายเมธี ฉัตรจินดารัตน์ ๔. นายประแสง มงคลศิริ
๕. นางบุญรื่น ศรีธเรศ ๖. นายพีรพันธุ์ พาลุสุข
๗. นายเอกพร รักความสุข ๘. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน
๙. นายปรีชา สุวรรณทัต ๑๐. นายโกเมศ ขวัญเมือง
๑๑. พันเอก วินัย สมพงษ์ ๑๒. นายชูวงศ์ ฉายะบุตร
๕. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติศุลกากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
กรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายโสภณ เพชรสว่าง ๒. นายชูศักดิ์ ศิรินิล
๓. นายกมล บันไดเพชร ๔. นายเอกพร รักความสุข
๕. นายจำนงค์ โพธิสาโร ๖. นายสุริยา สุขอนันต์
๗. นายลิขิต เพชรสว่าง ๘. นายจุติ ไกรฤกษ์
๙. นายวิทยา แก้วภราดัย ๑๐. นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร
๑๑. นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ ๑๒. นายชัย ชิดชอบ
๖. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณา
คดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๒) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติ
ทำนองเดียวกันอีก ๒ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล
กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๒๓)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณา
คดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๕)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และผู้เสนอได้แถลงหลักการและ
เหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการ
แห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ พร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา เนื่องจากเป็นร่างพระราชบัญญัติที่มีสาระ
สำคัญเกี่ยวกับเด็ก ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย มาตรา ๑๙๐ จำนวน
กรรมาธิการวิสามัญต้องประกอบด้วยผู้แทนองค์กรเอกชนเกี่ยวกับเด็กไม่น้อยกว่า
หนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก
ในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายจรัญ ภักดีธนากุล ๒. นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ
๓. นายวันชัย รุจนวงศ์ ๔. นายพงษ์ภัฎ เรียงเครือ
๕. นายอัครวัฒน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ๖. นายจำนงค์ โพธิสาโร
๗. พันตำรวจโท สมชาย เพศประเสริฐ ๘. ว่าที่ร้อยตรี ธนู จงเพิ่มดำรงชัย
๙. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง ๑๐. นายโกวิทย์ ธรรมานุชิต
๑๑. นายกล่ำคาน ปาทาน ๑๒. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์
๑๓. นายนพคุณ รัฐผไท ๑๔. นายจำรัส เวียงสงค์
๑๕. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ๑๖. นางมยุรา มนะสิการ
๑๗. นายอารักษ์ ไชยริปู ๑๘. นางยุวดี นิ่มสมบุญ
๑๙. นางสาววัลภา เล็กวัฒนานนท์ ๒๐. นางสาวจรูญ เขียวดอกน้อย
๒๑. นายพร พันธุ์โอสถ ๒๒. นางพิมลรัตน์ วรรธนะหทัย
๒๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทิพวัลย์ สมุทรักษ์ ๒๔. นายสมบูรณ์ ปึงสุวรรณ
๒๕. นางนิภา พริ้งศุลกะ ๒๖. นางศรีศักดิ์ ไทยอารี
๒๗. นายนคร มาฉิม ๒๘. นางผุสดี ตามไท
๒๙. นายเกื้อ แก้วเกต ๓๐. นางสาววาสนา เก้านพรัตน์
๓๑. นางรัชนี ธงไชย ๓๒. นายเกษม สรศักดิ์เกษม
๓๓. นายเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป ๓๔. นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์
๓๕. นายสมพร เทพสิทธา
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๗. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๓)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้แถลงหลักการและเหตุผล
มีสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตอบชี้แจงจนได้เวลา
พอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายวิษณุ วรัญญู ๒. นางสาวพรทิพย์ ทองดี
๓. นายอนุชา ฮุนสวัสดิกุล ๔. นายยงยุทธ อนุกูล
๕. นายอัชพร จารุจินดา ๖. นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ
๗. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี ๘. นายคงกฤช หงษ์วิไล
๙. นายชยุต ภุมมะกาญจนะ ๑๐. นายเกรียงไกร นาควะรี
๑๑. นายสามารถ แก้วมีชัย ๑๒. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์
๑๓. นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ๑๔. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์
๑๕. นายนิสิต สินธุไพร ๑๖. นายศุภชัย โพธิ์สุ
๑๗. นายไพจิต ศรีวรขาน ๑๘. นายขจิตร ชัยนิคม
๑๙. นายสุรชัย พันธุมาศ ๒๐. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์
๒๑. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน ๒๒. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์
๒๓. พลตำรวจโท สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ๒๔. นายนพคุณ รัฐผไท
๒๕. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ ๒๖. นายไชยวัฒน์ ไตรยสุนันท์
๒๗. นายนิพนธ์ บุญญามณี ๒๘. นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์
๒๙. รองศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ ๓๐. นายปรีชา สุวรรณทัต
๓๑. นางผุสดี ตามไท ๓๒. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๓๓. นายเกษม สรศักดิ์เกษม ๓๔. พันเอก วินัย สมพงษ์
๓๕. นายประเชิญ ติยะปัญจนิตย์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๘. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้แถลงหลักการและเหตุผล
มีสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตอบชี้แจงจนได้เวลา
พอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายมนูญ เลียวไพโรจน์ ๒. นายไพโรจน์ สัญญะเดชากุล
๓. นายโกมล จิรชัยสุทธิกุล ๔. นายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ
๕. นายผณิศวร ชำนาญเวช ๖. นายวิชาญ มีนชัยนันท์
๗. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ ๘. นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร
๙. นายพงษ์ศักดิ์ วรปัญญา ๑๐. นายเดชบุญ มาประเสริฐ
๑๑. นายไชยา พรหมา ๑๒. นายวัลลภ สุปริยศิลป์
๑๓. นายพรชัย อรรถปรียางกูร ๑๔. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์
๑๕. นายพิชาญ พิบูลย์วัฒนวงษ์ ๑๖. นายธเนศ เครือรัตน์
๑๗. นายเจริญ จรรย์โกมล ๑๘. นายไพจิต ศรีวรขาน
๑๙. นางสาวปาริชาติ ชาลีเครือ ๒๐. นายบูราฮานูดิน อุเซ็ง
๒๑. พลเอก รัตนะ เฉลิมแสนยากร ๒๒. นายชูศักดิ์ ศิรินิล
๒๓. นายภาคิน สมมิตร ๒๔. นายสมพงษ์ หิริกุล
๒๕. นายพงษ์ศักดิ์ เปล่งแสง ๒๖. นายประพันธ์ บุษยไพบูลย์
๒๗. นายเจือ ราชสีห์ ๒๘. นายวิชัย ตันศิริ
๒๙. นายบุญส่ง ไข่เกษ ๓๐. นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย
๓๑. นายตรีพล เจาะจิตต์ ๓๒. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๓. นายธรรมา ปิ่นสุกาญจนะ ๓๔. นายสุภาพ คลี่ขจาย
๓๕. นายสมภพ โรจนพันธ์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
ก่อนเลิกประชุม ได้มีสมาชิกฯ ขอปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอตั้งซ่อม
กรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการกีฬา แทนตำแหน่งที่ว่างลง
๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๖) ขึ้นมาพิจารณา ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายปิยะ ปิตุเตชะ เป็นกรรมาธิการแทน
นายวิทยา คุณปลื้ม
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๓๕ นาฬิกา
(นางอุมาสีว์ สอาดเอี่ยม)
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รักษาราชการแทน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๓
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๔ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชีย
ในประเทศไทย พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๒ ฉบับ)
๒. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน
และครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๓ ฉบับ)
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๔. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๓ ในประเทศไทย พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา
เสร็จแล้ว จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. ….
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
****************************************
ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๕๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม
จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๔๗ และครั้งที่ ๕
(สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติ
เห็นชอบแล้ว จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบัน
อุดมศึกษา พ.ศ. ….
๒. เรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำร่างพระราชบัญญัติออกจากระเบียบวาระการประชุม
ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๕๗ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
นายภิญโญ นิโรจน์ และนายวิทยา คุณปลื้ม เป็นผู้เสนอ
๓. เรื่องการลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขต
เลือกตั้งเพิ่มอีก จำนวน ๑ คน คือ นางประไพพรรณ เส็งประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๔๗
ดังนั้น สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๑๘ (๓) ปัจจุบันมีสมาชิกฯ
เหลือจำนวน ๔๕๕ ท่าน
๔. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๗ เรื่อง
ให้ พลตำรวจโท สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ลำดับที่ ๘๔ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน นายชูศักดิ์ แอกทอง
ซึ่งพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา ๑๑๘ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวนำ พลตำรวจโท สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่
ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามมติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๗
คือ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนา
เอเชียในประเทศไทย พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่อง
ที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติ
ทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครอง
การดำเนินงานของสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชียในประเทศไทย พ.ศ. ….
ซึ่ง นายวัลลภ ยังตรง กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และผู้เสนอได้แถลงหลักการ
และเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่ง
ร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ พร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายวราเทพ รัตนากร ๒. นายวรเดช วีระเวคิน
๓. นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ ๔. นางกฤติกา ปั้นประเสริฐ
๕. นายสรร วิเทศพงษ์ ๖. หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุล
๗. นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ๘. นายนิมิตร นนทพันธาวาทย์
๙. นายสุรชัย เบ้าจรรยา ๑๐. นายกมล บันไดเพชร
๑๑. พันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ๑๒. นายสมบูรณ์ ไพรวัลย์
๑๓. นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ๑๔. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์
๑๕. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ๑๖. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์
๑๗. ว่าที่เรือโท วัลลภ ยังตรง ๑๘. นายโกวิทย์ ธรรมานุชิต
๑๙. นายกล่ำคาน ปาทาน ๒๐. นายธงชาติ รัตนวิชา
๒๑. นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ ๒๒. นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
๒๓. นายธราพงษ์ สีลาวงษ์ ๒๔. นายอังคาร ดวงตาเวียง
๒๕. นายวิชัย ตันศิริ ๒๖. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
๒๗. นายโกเมศ ขวัญเมือง ๒๘. นางผุสดี ตามไท
๒๙. นายเจริญ คันธวงศ์ ๓๐. นายปรีชา สุวรรณทัต
๓๑. นายตรีพล เจาะจิตต์ ๓๒. นางสาวจณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์
๓๓. นายธรรมา ปิ่นสุกาญจนะ ๓๔. นายมหรรณพ เดชวิทักษ์
๓๕. นางอัญชลี บุสสุวัณโณ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระตามลำดับดังต่อไปนี้ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุม
เห็นชอบ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า
และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๓ ในประเทศไทย
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒๑)
๒. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๐)
๓. พิจารณาเรื่อง ขอให้ยกร่างพระราชบัญญัติซึ่งต้องยับยั้งไว้ตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ ขึ้นมาพิจารณาใหม่ (ร่างพระราชบัญญัติ
กำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ) (ในระเบียบวาระที่ ๖.๑)
๔. ร่างพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๖)
๕. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จ
บำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๐)
๖. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติศุลกากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๒)
๗. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณา
คดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๒)
๘. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๓)
๙. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐)
๑๐. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๒)
๑๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๓)
๑๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๔)
๑๓. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๖)
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
ตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๓ ในประเทศไทย
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง
คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบ
ด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย โดยในระหว่าง
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
๒. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑๐)
ที่ประชุมได้พิจารณารายงานฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับ
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติในลำดับ
ถัดไป ได้มีสมาชิกฯ ขอเลื่อนการพิจารณา เรื่อง ขอให้ยกร่างพระราชบัญญัติซึ่งต้องยับยั้งไว้
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ ขึ้นมาพิจารณาใหม่
(ร่างพระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ) (ในระเบียบวาระที่ ๖.๑) ออกไปก่อน เนื่องจากต้องใช้เวลา
ในการพิจารณาศึกษา ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
จากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอ
ให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติในลำดับถัดไป คือ
๓. ร่างพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๖)
ที่ประชุมได้พิจารณารายงานฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับ
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา ทั้งนี้
ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อแจ้งไปยัง
คณะรัฐมนตรีด้วย
๔. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จ
บำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๐)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
กรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายจำลอง ครุฑขุนทด ๒. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง
๓. นายเมธี ฉัตรจินดารัตน์ ๔. นายประแสง มงคลศิริ
๕. นางบุญรื่น ศรีธเรศ ๖. นายพีรพันธุ์ พาลุสุข
๗. นายเอกพร รักความสุข ๘. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน
๙. นายปรีชา สุวรรณทัต ๑๐. นายโกเมศ ขวัญเมือง
๑๑. พันเอก วินัย สมพงษ์ ๑๒. นายชูวงศ์ ฉายะบุตร
๕. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติศุลกากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
กรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายโสภณ เพชรสว่าง ๒. นายชูศักดิ์ ศิรินิล
๓. นายกมล บันไดเพชร ๔. นายเอกพร รักความสุข
๕. นายจำนงค์ โพธิสาโร ๖. นายสุริยา สุขอนันต์
๗. นายลิขิต เพชรสว่าง ๘. นายจุติ ไกรฤกษ์
๙. นายวิทยา แก้วภราดัย ๑๐. นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร
๑๑. นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ ๑๒. นายชัย ชิดชอบ
๖. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณา
คดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๒) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติ
ทำนองเดียวกันอีก ๒ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล
กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๒๓)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณา
คดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๕)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และผู้เสนอได้แถลงหลักการและ
เหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการ
แห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ พร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา เนื่องจากเป็นร่างพระราชบัญญัติที่มีสาระ
สำคัญเกี่ยวกับเด็ก ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย มาตรา ๑๙๐ จำนวน
กรรมาธิการวิสามัญต้องประกอบด้วยผู้แทนองค์กรเอกชนเกี่ยวกับเด็กไม่น้อยกว่า
หนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก
ในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายจรัญ ภักดีธนากุล ๒. นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ
๓. นายวันชัย รุจนวงศ์ ๔. นายพงษ์ภัฎ เรียงเครือ
๕. นายอัครวัฒน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ๖. นายจำนงค์ โพธิสาโร
๗. พันตำรวจโท สมชาย เพศประเสริฐ ๘. ว่าที่ร้อยตรี ธนู จงเพิ่มดำรงชัย
๙. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง ๑๐. นายโกวิทย์ ธรรมานุชิต
๑๑. นายกล่ำคาน ปาทาน ๑๒. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์
๑๓. นายนพคุณ รัฐผไท ๑๔. นายจำรัส เวียงสงค์
๑๕. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ๑๖. นางมยุรา มนะสิการ
๑๗. นายอารักษ์ ไชยริปู ๑๘. นางยุวดี นิ่มสมบุญ
๑๙. นางสาววัลภา เล็กวัฒนานนท์ ๒๐. นางสาวจรูญ เขียวดอกน้อย
๒๑. นายพร พันธุ์โอสถ ๒๒. นางพิมลรัตน์ วรรธนะหทัย
๒๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทิพวัลย์ สมุทรักษ์ ๒๔. นายสมบูรณ์ ปึงสุวรรณ
๒๕. นางนิภา พริ้งศุลกะ ๒๖. นางศรีศักดิ์ ไทยอารี
๒๗. นายนคร มาฉิม ๒๘. นางผุสดี ตามไท
๒๙. นายเกื้อ แก้วเกต ๓๐. นางสาววาสนา เก้านพรัตน์
๓๑. นางรัชนี ธงไชย ๓๒. นายเกษม สรศักดิ์เกษม
๓๓. นายเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป ๓๔. นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์
๓๕. นายสมพร เทพสิทธา
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๗. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๓)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้แถลงหลักการและเหตุผล
มีสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตอบชี้แจงจนได้เวลา
พอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายวิษณุ วรัญญู ๒. นางสาวพรทิพย์ ทองดี
๓. นายอนุชา ฮุนสวัสดิกุล ๔. นายยงยุทธ อนุกูล
๕. นายอัชพร จารุจินดา ๖. นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ
๗. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี ๘. นายคงกฤช หงษ์วิไล
๙. นายชยุต ภุมมะกาญจนะ ๑๐. นายเกรียงไกร นาควะรี
๑๑. นายสามารถ แก้วมีชัย ๑๒. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์
๑๓. นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ๑๔. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์
๑๕. นายนิสิต สินธุไพร ๑๖. นายศุภชัย โพธิ์สุ
๑๗. นายไพจิต ศรีวรขาน ๑๘. นายขจิตร ชัยนิคม
๑๙. นายสุรชัย พันธุมาศ ๒๐. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์
๒๑. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน ๒๒. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์
๒๓. พลตำรวจโท สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ๒๔. นายนพคุณ รัฐผไท
๒๕. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ ๒๖. นายไชยวัฒน์ ไตรยสุนันท์
๒๗. นายนิพนธ์ บุญญามณี ๒๘. นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์
๒๙. รองศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ ๓๐. นายปรีชา สุวรรณทัต
๓๑. นางผุสดี ตามไท ๓๒. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๓๓. นายเกษม สรศักดิ์เกษม ๓๔. พันเอก วินัย สมพงษ์
๓๕. นายประเชิญ ติยะปัญจนิตย์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๘. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้แถลงหลักการและเหตุผล
มีสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตอบชี้แจงจนได้เวลา
พอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายมนูญ เลียวไพโรจน์ ๒. นายไพโรจน์ สัญญะเดชากุล
๓. นายโกมล จิรชัยสุทธิกุล ๔. นายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ
๕. นายผณิศวร ชำนาญเวช ๖. นายวิชาญ มีนชัยนันท์
๗. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ ๘. นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร
๙. นายพงษ์ศักดิ์ วรปัญญา ๑๐. นายเดชบุญ มาประเสริฐ
๑๑. นายไชยา พรหมา ๑๒. นายวัลลภ สุปริยศิลป์
๑๓. นายพรชัย อรรถปรียางกูร ๑๔. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์
๑๕. นายพิชาญ พิบูลย์วัฒนวงษ์ ๑๖. นายธเนศ เครือรัตน์
๑๗. นายเจริญ จรรย์โกมล ๑๘. นายไพจิต ศรีวรขาน
๑๙. นางสาวปาริชาติ ชาลีเครือ ๒๐. นายบูราฮานูดิน อุเซ็ง
๒๑. พลเอก รัตนะ เฉลิมแสนยากร ๒๒. นายชูศักดิ์ ศิรินิล
๒๓. นายภาคิน สมมิตร ๒๔. นายสมพงษ์ หิริกุล
๒๕. นายพงษ์ศักดิ์ เปล่งแสง ๒๖. นายประพันธ์ บุษยไพบูลย์
๒๗. นายเจือ ราชสีห์ ๒๘. นายวิชัย ตันศิริ
๒๙. นายบุญส่ง ไข่เกษ ๓๐. นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย
๓๑. นายตรีพล เจาะจิตต์ ๓๒. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๓. นายธรรมา ปิ่นสุกาญจนะ ๓๔. นายสุภาพ คลี่ขจาย
๓๕. นายสมภพ โรจนพันธ์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
ก่อนเลิกประชุม ได้มีสมาชิกฯ ขอปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอตั้งซ่อม
กรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการกีฬา แทนตำแหน่งที่ว่างลง
๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๖) ขึ้นมาพิจารณา ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายปิยะ ปิตุเตชะ เป็นกรรมาธิการแทน
นายวิทยา คุณปลื้ม
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๓๕ นาฬิกา
(นางอุมาสีว์ สอาดเอี่ยม)
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รักษาราชการแทน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๓
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๔ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชีย
ในประเทศไทย พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๒ ฉบับ)
๒. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน
และครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๓ ฉบับ)
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๔. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๓ ในประเทศไทย พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา
เสร็จแล้ว จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. ….
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
****************************************