เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน (Savan-Seno Special Economic Zone: SASEZ) เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกของลาว จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2546 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจตามแนวชายแดนลาว สร้างฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่สำคัญของลาว SASEZ ตั้งอยู่ในแขวงสะหวันนะเขต แบ่งพื้นที่เป็น 2 Site ได้แก่ Site A มีพื้นที่อยู่ในเมืองขันธบุรีซึ่งเป็นเมืองหลวงของแขวงสะหวันนะเขต ติดกับสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 เชื่อมจังหวัดมุกดาหารของไทยกับแขวงสะหวันนะเขตของลาว เน้นการลงทุนในกิจการที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม การค้า และการบริการ และ Site B มีพื้นที่อยู่ในเมืองเซโน เน้นการลงทุนในกิจการที่เกี่ยวกับการคมนาคมขนส่งและการบรรจุหีบห่อ โดยคาดว่า SASEZ จะสามารถเปิดให้นักลงทุนเข้ามาจองพื้นที่เพื่อจัดตั้งบริษัทหรือสร้างโรงงานได้ภายในปี 2547
ปัจจัยที่เอื้อต่อการลงทุนใน SASEZ ได้แก่
1. เส้นทางคมนาคมที่เชื่อมต่อกับประเทศในแถบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงหรือ GMS (Greater Mekong Subregion: GMS ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และจีนตอนใต้) SASEZ มีถนนสายสำคัญตัดผ่าน ได้แก่ ถนนหมายเลข 9 ในโครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ East-West Economic Corridor ซึ่งเชื่อมระหว่างเวียดนาม-ลาว-ไทย-พม่า และถนนหมายเลข 13 ในโครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ North-South Economic Corridor ซึ่งเชื่อมระหว่างมณฑลยูนนานของจีน-ลาว-กัมพูชา นอกจากนี้ SASEZ ยังตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ซึ่งขณะนี้กำลังก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2549 ซึ่งจะช่วยเกื้อหนุนการค้าระหว่างไทย-ลาวให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น
2. สิทธิพิเศษด้านภาษี นักลงทุนที่เข้าไปลงทุนจะได้รับการยกเว้นและลดหย่อนภาษีหลายประเภท อาทิภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีกำไร (Corporate Income Tax or Profit Tax) นักลงทุนที่เข้าไปลงทุน จะได้รับการยกเว้นและลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจากปกติที่เรียกเก็บในอัตรา 35% โดยจำแนกตามภาคเศรษฐกิจ ดังนี้
- ภาคอุตสาหกรรม แบ่งตามสัดส่วนการส่งออกเมื่อเทียบกับมูลค่าการผลิตทั้งหมด ดังนี้
สัดส่วนการส่งออก (%) ระยะเวลาการยกเว้นภาษี (ปี) อัตราภาษีหลังการยกเว้นภาษี (%)
ตั้งแต่ 70% ขึ้นไป 10 8
30-69% 7 8
น้อยกว่า 30% 5 8
- ภาคบริการ แบ่งตามเงินทุนจดทะเบียน ดังนี้
ทุนจดทะเบียน (ดอลลาร์สหรัฐ) ระยะเวลาการยกเว้นภาษี (ปี) อัตราภาษีหลังการยกเว้นภาษี (%)
ตั้งแต่ 2,000,000 ขึ้นไป 10 8
500,000-1,999,999 8 8
300,000-499,999 6 10
150,000-299,999 4 10
50,000-149,999 2 10
- ภาคการค้า แบ่งตามลักษณะธุรกิจ ดังนี้
ลักษณะธุรกิจ ระยะเวลาการยกเว้นภาษี (ปี) อัตราภาษีหลังการยกเว้นภาษี (%)
การส่งออก/นำเข้า 5 10
การส่งออกต่อ (Re-export) 3 10
ทั่วไป 2 10
ภาษีนำเข้า (Import Tariff) นักลงทุนที่เข้าไปลงทุนจะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าวัตถุดิบ วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร ยานยนต์และส่วนประกอบ
ภาษีการค้า (Business Turnover Tax) นักลงทุนที่เข้าไปลงทุนจะได้รับการยกเว้นภาษีการค้าจากปกติที่เรียกเก็บในอัตรา 5-10%
อุตสาหกรรมที่น่าเข้าไปลงทุนใน SASEZ สำหรับนักลงทุนไทย อาทิ
1. อุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าของลาว ปัจจุบันลาวนำเข้าสินค้าจากไทยมากกว่า 50% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด ดังนั้น การเข้าไปลงทุนใน SASEZ ในอุตสาหกรรมที่ลาวนำเข้าจากไทยผ่านบริเวณนี้จำนวนมาก อาทิ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ สินค้าอุปโภคและบริโภค วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง ฯลฯ ก็น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับนักลงทุนไทย
2. อุตสาหกรรมที่ไทยนำเข้าวัตถุดิบจากลาว อาทิ อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ (ส่วนประกอบเฟอร์นิเจอร์ และไม้ปาร์เก้ปูพื้น) อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร ฯลฯ เนื่องจากบริเวณนี้ยังอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้และพืชผลทางการเกษตร
3. อุตสาหกรรมที่ลาวได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี อาทิ สิ่งทอ และรองเท้า (ลาวได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalize System of Preferences: GSP) จากสหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น)
สำหรับการเข้าไปลงทุนใน SASEZ สินค้าที่ผลิตได้นอกจากจะจำหน่ายในประเทศลาวแล้ว ยังสามารถส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงผ่านถนนหมายเลข 9 และหมายเลข 13 ได้อีกด้วย ซึ่งนอกจากจะทำให้นักลงทุนมีช่องทางการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้นแล้วยังจะได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ในระยะแรกนี้ระบบสาธารณูปโภคใน SASEZ ยังไม่ค่อยสมบูรณ์ ดังนั้น จึงอาจเป็นข้อจำกัดสำหรับการลงทุนในบางอุตสาหกรรม
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2547--
-พห-
ปัจจัยที่เอื้อต่อการลงทุนใน SASEZ ได้แก่
1. เส้นทางคมนาคมที่เชื่อมต่อกับประเทศในแถบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงหรือ GMS (Greater Mekong Subregion: GMS ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และจีนตอนใต้) SASEZ มีถนนสายสำคัญตัดผ่าน ได้แก่ ถนนหมายเลข 9 ในโครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ East-West Economic Corridor ซึ่งเชื่อมระหว่างเวียดนาม-ลาว-ไทย-พม่า และถนนหมายเลข 13 ในโครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ North-South Economic Corridor ซึ่งเชื่อมระหว่างมณฑลยูนนานของจีน-ลาว-กัมพูชา นอกจากนี้ SASEZ ยังตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ซึ่งขณะนี้กำลังก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2549 ซึ่งจะช่วยเกื้อหนุนการค้าระหว่างไทย-ลาวให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น
2. สิทธิพิเศษด้านภาษี นักลงทุนที่เข้าไปลงทุนจะได้รับการยกเว้นและลดหย่อนภาษีหลายประเภท อาทิภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีกำไร (Corporate Income Tax or Profit Tax) นักลงทุนที่เข้าไปลงทุน จะได้รับการยกเว้นและลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจากปกติที่เรียกเก็บในอัตรา 35% โดยจำแนกตามภาคเศรษฐกิจ ดังนี้
- ภาคอุตสาหกรรม แบ่งตามสัดส่วนการส่งออกเมื่อเทียบกับมูลค่าการผลิตทั้งหมด ดังนี้
สัดส่วนการส่งออก (%) ระยะเวลาการยกเว้นภาษี (ปี) อัตราภาษีหลังการยกเว้นภาษี (%)
ตั้งแต่ 70% ขึ้นไป 10 8
30-69% 7 8
น้อยกว่า 30% 5 8
- ภาคบริการ แบ่งตามเงินทุนจดทะเบียน ดังนี้
ทุนจดทะเบียน (ดอลลาร์สหรัฐ) ระยะเวลาการยกเว้นภาษี (ปี) อัตราภาษีหลังการยกเว้นภาษี (%)
ตั้งแต่ 2,000,000 ขึ้นไป 10 8
500,000-1,999,999 8 8
300,000-499,999 6 10
150,000-299,999 4 10
50,000-149,999 2 10
- ภาคการค้า แบ่งตามลักษณะธุรกิจ ดังนี้
ลักษณะธุรกิจ ระยะเวลาการยกเว้นภาษี (ปี) อัตราภาษีหลังการยกเว้นภาษี (%)
การส่งออก/นำเข้า 5 10
การส่งออกต่อ (Re-export) 3 10
ทั่วไป 2 10
ภาษีนำเข้า (Import Tariff) นักลงทุนที่เข้าไปลงทุนจะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าวัตถุดิบ วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร ยานยนต์และส่วนประกอบ
ภาษีการค้า (Business Turnover Tax) นักลงทุนที่เข้าไปลงทุนจะได้รับการยกเว้นภาษีการค้าจากปกติที่เรียกเก็บในอัตรา 5-10%
อุตสาหกรรมที่น่าเข้าไปลงทุนใน SASEZ สำหรับนักลงทุนไทย อาทิ
1. อุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าของลาว ปัจจุบันลาวนำเข้าสินค้าจากไทยมากกว่า 50% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด ดังนั้น การเข้าไปลงทุนใน SASEZ ในอุตสาหกรรมที่ลาวนำเข้าจากไทยผ่านบริเวณนี้จำนวนมาก อาทิ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ สินค้าอุปโภคและบริโภค วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง ฯลฯ ก็น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับนักลงทุนไทย
2. อุตสาหกรรมที่ไทยนำเข้าวัตถุดิบจากลาว อาทิ อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ (ส่วนประกอบเฟอร์นิเจอร์ และไม้ปาร์เก้ปูพื้น) อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร ฯลฯ เนื่องจากบริเวณนี้ยังอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้และพืชผลทางการเกษตร
3. อุตสาหกรรมที่ลาวได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี อาทิ สิ่งทอ และรองเท้า (ลาวได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalize System of Preferences: GSP) จากสหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น)
สำหรับการเข้าไปลงทุนใน SASEZ สินค้าที่ผลิตได้นอกจากจะจำหน่ายในประเทศลาวแล้ว ยังสามารถส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงผ่านถนนหมายเลข 9 และหมายเลข 13 ได้อีกด้วย ซึ่งนอกจากจะทำให้นักลงทุนมีช่องทางการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้นแล้วยังจะได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ในระยะแรกนี้ระบบสาธารณูปโภคใน SASEZ ยังไม่ค่อยสมบูรณ์ ดังนั้น จึงอาจเป็นข้อจำกัดสำหรับการลงทุนในบางอุตสาหกรรม
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2547--
-พห-