แท็ก
วราเทพ รัตนากร
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ก.คลังมั่นใจเบิกจ่าย งปม.ปี 47 ตามเป้าหมายร้อยละ 92 นายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง
เปิดเผยผลการใช้จ่ายเงิน งปม.ปี 47 ว่าตั้งแต่ต้นปี งปม. จนถึงวันที่ 8 ก.ย.47 มีการเบิกจ่าย งปม. รวมทั้งสิ้น
960,284 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 82.53 ของวงเงิน งปม. 1,163,500 ล้านบาท โดยผลการเบิกจ่ายดังกล่าว
จำแนกเป็น งปม.ประจำปี 1,028,000 ล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 883,309 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 85.93
สูงกว่าผลการเบิกจ่ายในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี งปม.ก่อนร้อยละ 2.90 รายจ่ายประจำเบิกจ่ายได้ 765,296
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 91.99 และรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้ 118,013 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60.19
ส่วน งปม.เบิกจ่ายเพิ่มเติม 135,500 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายแล้ว 76,975 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 56.81
ทั้งนี้ เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินเป็นไปตามเป้าหมายซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม ครม. ได้มีมติเมื่อ
วันที่ 31 ส.ค.47 ให้มีการผ่อนผันเวลาการเบิกจ่ายแก่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยให้สามารถก่อหนี้ผูกพัน
ได้จนถึงสิ้นเดือน ก.ย.47 เฉพาะรายการงบอุดหนุนเฉพาะกิจที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น งบกลาง
รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และรายการที่อยู่ใน
กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง นอกจากนี้ ก.คลังยังได้ขอความร่วมมือให้ส่วนราชการต่าง ๆ วางกฤษฎีกาเบิกจ่ายเงิน
ภายในวันที่ 20 ก.ย.47 เพื่อให้สามารถอนุมัติฎีกาและเบิกจ่ายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จึงคาดว่า ณ สิ้นปี งปม. 47
จะสามารถเบิกจ่ายเงินได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 92 อย่างแน่นอน (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ก.คลังประเมินโครงการแก้ไขหนี้ภาคประชาชนประสบความสำเร็จ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รมว.คลัง เปิดเผยว่า ผลการประเมินโครงการแก้ไขหนี้ภาคประชาชนจนถึงสิ้นเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา พบว่าประสบ
ความสำเร็จ เพราะสามารถดึงคนมาเจรจาได้ถึง 100% แต่ที่มาขอความช่วยเหลือจากธนาคารของรัฐเพียงร้อยละ15
เป็นเพราะไม่ต้องการเข้ามาสู่ระบบ ส่วนกลุ่มที่อยากจะขอสินเชื่อจากธนาคารรัฐแต่คุณสมบัติไม่ถึงทางรัฐบาลจะ
ช่วยเหลือด้านอื่นต่อไป ด้านนายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา รองปลัด ก.คลัง ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการปฏิบัติกา
รแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน กล่าวว่า ขณะนี้ทีมเจรจาหนี้ทั่วประเทศได้ส่งผลการเจรจาเข้ามายังศูนย์แล้ว
สรุปตัวเลขล่าสุดจากผู้ที่มาลงทะเบียน 1.76 ล้านคน ได้เข้าสู่กระบวนการเจรจาได้เกือบ 100% ยังเหลืออีก
3 หมื่นราย ที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ ส่วนที่ยุติเรื่องแล้วมีจำนวน 1,324,954 ราย และในจำนวนนี้มีประมาณ
753,304 ราย คิดเป็นร้อยละ 60 ที่ถอนตัวออกไปเพราะมาลงทะเบียนด้วยความเข้าใจผิดว่ารัฐบาลจะแจกเงิน
แต่เมื่อทราบว่ารัฐบาลจะคิดดอกเบี้ยจึงถอนตัวออกไป ส่วนที่เหลืออีก 374,130 ราย คิดเป็นร้อยละ 28.24
ถอนตัวออกไปจากสาเหตุอื่น เหลือเพียง 197,520 ราย คิดเป็นร้อยละ 15 ที่ขอโอนหนี้นอกระบบมาเป็นหนี้ใน
ระบบของสถาบันการเงินรัฐ โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน (มติชน)
3. ธ.พาณิชย์คาดว่าสินเชื่อทั้งปีขยายตัวเพียงร้อยละ 3-4 แหล่งข่าวจาก ธ.พาณิชย์เปิดเผยว่า
อัตราการปล่อยสินเชื่อโดยรวมของ ธ.พาณิชย์ทั้งระบบในปีนี้คาดว่าจะต่ำกว่าเป้าหมายที่ ธปท. กำหนดไว้ว่าจะ
ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 46 ประมาณร้อยละ 4-5 เนื่องจากเป็นการปรับลดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ทางการ
ได้ปรับลดจากระดับร้อยละ 7-8 ลงเหลือร้อยละ 6 ซึ่งโดยปกติการขยายตัวของสินเชื่อของ ธ.พาณิชย์ทั้งระบบจะ
เติบโตประมาณครึ่งหนึ่งของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงคาดว่าสินเชื่อรวมทั้งระบบจะขยายตัวเพียงร้อยละ 3-4
สำหรับยอดสินเชื่อรวมของระบบ ธ.พาณิชย์ไทย 13 แห่ง ณ สิ้นเดือน มิ.ย.47 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 4.07 ล้านล้านบาท
มีสัดส่วนหนี้เอ็นพีแอล 5.91 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.08 ของสินเชื่อรวม โดย ธ.พาณิชย์ทั้งระบบมียอด
ขาดทุนสะสมในงวดนี้รวม 5.58 หมื่นล้านบาท (มติชน)
4. ธ.พาณิชย์ไทยปรับอัตราดอกเบี้ยผิดนัดเพิ่มขึ้นสูงสุดถึงร้อยละ 48 ธ.พาณิชย์ไทยทยอยปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระมาตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.47 โดย ธ.เอเชียเป็นแห่งแรกที่ประกาศปรับเพิ่มจากร้อยละ 14
.50 เป็นร้อยละ 27 ธ.กรุงศรีฯ ปรับเพิ่มจากร้อยละ 16.25 เป็นร้อยละ 24 ธ.ยูโอบี รัตนสิน ปรับเพิ่มจาก
ร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 39 ธ.ทหารไทยปรับเพิ่มจากร้อยละ 13 เป็นร้อยละ 24 และ ธ.ไทยพาณิชย์ปรับขึ้นสูง
สุดจากร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 48 ส่วนที่เหลืออีก 5 แห่ง ที่ยังไม่มีการปรับดอกเบี้ยผิดนัดชำระขึ้น ได้แก่
ธ.กรุงเทพร้อยละ 14 ธ.กรุงไทยร้อยละ 14.50 ธ.กสิกรไทยร้อยละ 13.50 ธ.ไทยธนาคารร้อยละ 15 และ
ธ.ธนชาตร้อยละ 18 ทั้งนี้ ธ.พาณิชย์ไทยที่คิดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระสูงสุด ได้แก่ ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์
นครธน ร้อยละ 75 ธ.ไทยพาณิชย์ ร้อยละ 48 และ ธ.ซิตี้แบงก์ ร้อยละ 45.63 ซึ่งผู้บริหารสถาบันการเงิน
ที่ปรับดอกเบี้ยผิดนัดชำระขึ้นได้ชี้แจงเหตุผลว่า เพื่อให้บรรดาลูกค้าเงินกู้ให้ความสำคัญกับการชำระเงินที่ตรงต่อ
เวลาและลดปัญหาเรื่องหนี้เสียและความเสี่ยงในการปล่อยกู้ โดยเฉพาะสินเชื่อบุคคลรายย่อยที่ไม่มีหลักทรัพย์ใน
การค้ำประกัน ซึ่งเป็นสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนสูงถึงร้อยละ 25-28 แต่เป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ดังนั้น
ธนาคารจึงพยายามป้องกันความเสี่ยงและหาโอกาสทำกำไรจากความเสี่ยงด้วยการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยผิดนัด
ชำระ ด้าน น.ส.เสาวรส ศิริวรรณ ผู้จัดการบริหารธุรกิจลูกค้าบุคคล ธ.ไทยพาณิชย์ ชี้แจงว่า การปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระเป็นร้อยละ 48 ในครั้งนี้เป็นการปรับขึ้นเพื่อรองรับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ สินเชื่อ
บุคคล “สปีดี้ แคช” เท่านั้น แต่ในส่วนของสินเชื่อบุคคลประเภทอื่น ๆ เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อ
บัตรเครดิต จะยังคงใช้อัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระอัตราเดิมคือร้อยละ 15 แต่การแจ้งอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
สูงสุดเป็นการปฏิบัติตามเกณฑ์ของ ธปท. ที่สั่งการให้ ธ.พาณิชย์ทุกแห่งต้องรายงานอัตราดอกเบี้ยค้างชำระสูงสุด
ให้ประชาชนทราบ (โพสต์ทูเดย์)
5. สศช. เตรียมร่างกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคธุรกิจเอกชน นายบุญยงค์ เวชมณีศรี
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช. กำลังร่างกรอบยุทธ
ศาสตร์การพัฒนาภาคธุรกิจเอกชนเพื่อเป็นทุนทางสังคม เพื่อเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐใน
การกำหนดนโยบายให้เหมาะกับแต่ละพื้นที่ เช่น การปรับนโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้เป็นหนึ่งหมู่บ้านหนึ่ง
ผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมให้เอกชนเป็นพี่เลี้ยงแต่ละหมู่บ้านเพื่อประยุกต์ผลผลิตให้ได้ตามความต้องการของตลาด
ส่วนนโยบายการค้าการลงทุนของธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ต้องคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในพื้นที่และความ
อยู่รอดของร้านค้ารายย่อยในชุมชน ดังนั้น เพื่อให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเป็นทุนทางสังคมได้ อาจกำหนดให้มี
โซนร้านค้าย่อยร้อยละ 5-10 ในซูเปอร์มาร์เก็ต และควรมีการแก้ไขกฎระเบียบของรัฐและมีมาตรการด้านภาษี
และที่ไม่ใช่ภาษีให้เอื้อและสนับสนุนต่อการดำเนินงานด้านสาธารณประโยชน์ เพื่อจูงใจให้ภาคธุรกิจเข้ามามีส่วน
ร่วมมากขึ้น มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ.ลดลงสะท้อนว่าอัตราเงินเฟ้อของ สรอ.อยู่ในระดับที่เหมาะสม ร
ยงานจากลิมา เมื่อ 10 ก.ย.47 John Snow รมต.คลังของ สรอ. ให้ความเห็นว่าการที่ดัชนีราคาผู้ผลิต
ของ สรอ.ในเดือนที่แล้วลดลงร้อยละ 0.1 สะท้อนให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อของ สรอ.ในปัจจุบันอยู่ในระดับที่
เหมาะสมแล้วและคาดว่าภาวะแบบนี้จะยังคงอยู่ต่อไป นอกจากนี้ยังให้ความเห็นเกี่ยวกับการขาดดุลการค้าของ
สรอ.ลดลงในเดือน ก.ค.47 ว่ามาจากความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมของ สรอ.
ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจของ สรอ. ขยายตัวสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ และเรียกร้องให้สมาชิกในกลุ่มประเทศ
อุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศตนให้ขยายตัวสูงขึ้นซึ่งจะเป็นผลดีต่อ
เศรษฐกิจโลกโดยรวม (รอยเตอร์)
2. นรม.เยอรมนีต้องการให้ระบบการจัดเก็บภาษีของเยอรมนีเป็นธรรมตามรายได้ของประชาชน
รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 47 นรม.เยอรมนีปฎิเสธข้อกล่าวหาที่ว่า แนวทางการจัดเก็บภาษีตาม
แผนการปฎิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้นเอื้อประโยชน์ต่อผู้มั่งมี ทั้งนี้โดยที่รายได้จากการจัดเก็บภาษีส่วนใหญ่มาจาก
ผู้ใช้แรงงานที่มีรายได้สูงสุดที่คิดเป็นร้อยละ 10 ของแรงงานทั้งหมด และเห็นว่าอัตราภาษีสำหรับคนงานผู้มีราย
ได้ต่ำ ได้ถูกลดหย่อนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้จากผู้มีรายได้สูงในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาที่เขาดำรงตำแหน่งนรม.
ซึ่งผู้มีรายได้ต่ำ และชนชั้นกลางจ่ายอัตราภาษีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเห็นว่าระบบการจัดเก็บภาษีของเยอรมนี
ได้ตระหนักถึงความเป็นธรรม ทั้งนี้รายได้จากการจัดเก็บภาษีถึงร้อยละ 54 มาจากผู้ที่มีรายได้สูงสุดที่มีสัดส่วน
ร้อยละ 10 ในขณะที่เพียงร้อยละ 9 ของรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่ มาจากผู้มีรายได้ต่ำที่มีจำนวนร้อยละ
50 ทั้งนี้เมื่อปี 41 ที่เขาดำรงตำแหน่งนั้น อัตราภาษีที่จัดเก็บจากรายได้สำหรับผู้มีรายได้จากค่าจ้างในอัตราต่ำ
ได้ถูกตัดทอนจากร้อยละ 25.9 เหลือเพียงร้อยละ 15 ส่วนอัตราภาษีที่จัดเก็บจากผู้มีรายได้จากค่าจ้างในอัตราสูง
ก็ได้ถูกปรับลดลงเช่นเดียวกันจากร้อยละ 53 เหลือร้อยละ 42 ( รอยเตอร์)
3. นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะขยายตัวถึงร้อยละ 2.0 ในปีหน้า รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อ 11 ก.ย.47 นักเศรษฐศาสตร์เยอรมนี คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีจะเร่ง
ความเร็วในอัตราร้อยละ 2.0 ในปีหน้า และจำนวนผู้ว่างงานจะมีน้อยกว่า 200,000 คน จากการขยายตัวอย่าง
แข็งแกร่งของเศรษฐกิจในประเทศ ขณะที่ IfW กล่าวเมื่อสัปดาห์ก่อนว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอาจจะ
ชะลอตัวลงจากร้อยละ 1.3 เป็นร้อยละ 1.2 เนื่องจากราคาน้ำมันที่ยังคงพุ่งสูงขึ้น และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจ
เยอรมนีทั้งปี 47 จะสูงสุดที่ระดับร้อยละ 1.9 แต่ประธาน DIW economic institute กล่าวว่า เขาไม่
เห็นด้วยกับการปรับตัวเลขประมาณการทางเศรษฐกิจดังกล่าว เพราะเขาคาดว่าระดับราคาน้ำมันจะเริ่มลดลง
รวมทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจจากปัจจัยด้านตลาดส่งออกกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เช่น สรอ. ฝรั่งเศส และ
เบลเยี่ยม ยังคงแข็งแกร่ง ทั้งนี้ เศรษฐกิจของเยอรมนีในไตรมาสที่ 2 ปี 47 ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากที่
ขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรกปี 47 โดยมีปัจจัยสำคัญจากมูลค่าการส่งออกสุทธิเพิ่มมากขึ้น (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางยุโรปไม่ลังเลใจที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น รายงานจากแฟรงค์
เฟริท์ เมื่อ 12 ก.ย.47 Otmar Issing หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ ธ.กลางยุโรป หรือ ECB กล่าวว่า
ECB กำลังเฝ้าจับตาดูการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและหากมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น ECB ก็ไม่ลังเล
ใจที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้เขายังให้ความเห็นเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นว่าเป็นเพียงตัวถ่วงการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจและไม่ควรประเมินผลกระทบจากราคาน้ำมันสูงจนเกินไป ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้นเป็นประวัติ
การณ์ก็ตามแต่เมื่อเทียบราคาสินค้าในปัจจุบันกับในอดีตแล้วผลกระทบยังไม่รุนแรงเท่ากับการเพิ่มขึ้นของราคา
น้ำมันในอดีต เป็นที่คาดกันว่าเศรษฐกิจของ ECB ในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 2.0 และสูงกว่าเล็กน้อยในปีหน้า
โดยอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 2.0 ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่คาดว่าจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ
2.0 ตามที่ตั้งเป้าไว้ภายในปีหน้า โดย ECB ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ร้อยละ 2.0 ต่อปี
ในการประชุมเมื่อวันที่ 2 ก.ย.47 ที่ผ่านมาโดยมีแนวโน้มที่อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น ทำให้ตลาดการเงินคาดว่า ECB
จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในสิ้นปีนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13 ก.ย. 47 9 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.573 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.3829/41.6763 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 5000-1.5625 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 640.60/21.63 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.57 34.73 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ก.คลังมั่นใจเบิกจ่าย งปม.ปี 47 ตามเป้าหมายร้อยละ 92 นายวราเทพ รัตนากร รมช.คลัง
เปิดเผยผลการใช้จ่ายเงิน งปม.ปี 47 ว่าตั้งแต่ต้นปี งปม. จนถึงวันที่ 8 ก.ย.47 มีการเบิกจ่าย งปม. รวมทั้งสิ้น
960,284 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 82.53 ของวงเงิน งปม. 1,163,500 ล้านบาท โดยผลการเบิกจ่ายดังกล่าว
จำแนกเป็น งปม.ประจำปี 1,028,000 ล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 883,309 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 85.93
สูงกว่าผลการเบิกจ่ายในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี งปม.ก่อนร้อยละ 2.90 รายจ่ายประจำเบิกจ่ายได้ 765,296
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 91.99 และรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้ 118,013 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60.19
ส่วน งปม.เบิกจ่ายเพิ่มเติม 135,500 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายแล้ว 76,975 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 56.81
ทั้งนี้ เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินเป็นไปตามเป้าหมายซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม ครม. ได้มีมติเมื่อ
วันที่ 31 ส.ค.47 ให้มีการผ่อนผันเวลาการเบิกจ่ายแก่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยให้สามารถก่อหนี้ผูกพัน
ได้จนถึงสิ้นเดือน ก.ย.47 เฉพาะรายการงบอุดหนุนเฉพาะกิจที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น งบกลาง
รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และรายการที่อยู่ใน
กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง นอกจากนี้ ก.คลังยังได้ขอความร่วมมือให้ส่วนราชการต่าง ๆ วางกฤษฎีกาเบิกจ่ายเงิน
ภายในวันที่ 20 ก.ย.47 เพื่อให้สามารถอนุมัติฎีกาและเบิกจ่ายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จึงคาดว่า ณ สิ้นปี งปม. 47
จะสามารถเบิกจ่ายเงินได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 92 อย่างแน่นอน (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ก.คลังประเมินโครงการแก้ไขหนี้ภาคประชาชนประสบความสำเร็จ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รมว.คลัง เปิดเผยว่า ผลการประเมินโครงการแก้ไขหนี้ภาคประชาชนจนถึงสิ้นเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา พบว่าประสบ
ความสำเร็จ เพราะสามารถดึงคนมาเจรจาได้ถึง 100% แต่ที่มาขอความช่วยเหลือจากธนาคารของรัฐเพียงร้อยละ15
เป็นเพราะไม่ต้องการเข้ามาสู่ระบบ ส่วนกลุ่มที่อยากจะขอสินเชื่อจากธนาคารรัฐแต่คุณสมบัติไม่ถึงทางรัฐบาลจะ
ช่วยเหลือด้านอื่นต่อไป ด้านนายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา รองปลัด ก.คลัง ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการปฏิบัติกา
รแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน กล่าวว่า ขณะนี้ทีมเจรจาหนี้ทั่วประเทศได้ส่งผลการเจรจาเข้ามายังศูนย์แล้ว
สรุปตัวเลขล่าสุดจากผู้ที่มาลงทะเบียน 1.76 ล้านคน ได้เข้าสู่กระบวนการเจรจาได้เกือบ 100% ยังเหลืออีก
3 หมื่นราย ที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ ส่วนที่ยุติเรื่องแล้วมีจำนวน 1,324,954 ราย และในจำนวนนี้มีประมาณ
753,304 ราย คิดเป็นร้อยละ 60 ที่ถอนตัวออกไปเพราะมาลงทะเบียนด้วยความเข้าใจผิดว่ารัฐบาลจะแจกเงิน
แต่เมื่อทราบว่ารัฐบาลจะคิดดอกเบี้ยจึงถอนตัวออกไป ส่วนที่เหลืออีก 374,130 ราย คิดเป็นร้อยละ 28.24
ถอนตัวออกไปจากสาเหตุอื่น เหลือเพียง 197,520 ราย คิดเป็นร้อยละ 15 ที่ขอโอนหนี้นอกระบบมาเป็นหนี้ใน
ระบบของสถาบันการเงินรัฐ โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน (มติชน)
3. ธ.พาณิชย์คาดว่าสินเชื่อทั้งปีขยายตัวเพียงร้อยละ 3-4 แหล่งข่าวจาก ธ.พาณิชย์เปิดเผยว่า
อัตราการปล่อยสินเชื่อโดยรวมของ ธ.พาณิชย์ทั้งระบบในปีนี้คาดว่าจะต่ำกว่าเป้าหมายที่ ธปท. กำหนดไว้ว่าจะ
ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 46 ประมาณร้อยละ 4-5 เนื่องจากเป็นการปรับลดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ทางการ
ได้ปรับลดจากระดับร้อยละ 7-8 ลงเหลือร้อยละ 6 ซึ่งโดยปกติการขยายตัวของสินเชื่อของ ธ.พาณิชย์ทั้งระบบจะ
เติบโตประมาณครึ่งหนึ่งของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงคาดว่าสินเชื่อรวมทั้งระบบจะขยายตัวเพียงร้อยละ 3-4
สำหรับยอดสินเชื่อรวมของระบบ ธ.พาณิชย์ไทย 13 แห่ง ณ สิ้นเดือน มิ.ย.47 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 4.07 ล้านล้านบาท
มีสัดส่วนหนี้เอ็นพีแอล 5.91 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.08 ของสินเชื่อรวม โดย ธ.พาณิชย์ทั้งระบบมียอด
ขาดทุนสะสมในงวดนี้รวม 5.58 หมื่นล้านบาท (มติชน)
4. ธ.พาณิชย์ไทยปรับอัตราดอกเบี้ยผิดนัดเพิ่มขึ้นสูงสุดถึงร้อยละ 48 ธ.พาณิชย์ไทยทยอยปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระมาตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.47 โดย ธ.เอเชียเป็นแห่งแรกที่ประกาศปรับเพิ่มจากร้อยละ 14
.50 เป็นร้อยละ 27 ธ.กรุงศรีฯ ปรับเพิ่มจากร้อยละ 16.25 เป็นร้อยละ 24 ธ.ยูโอบี รัตนสิน ปรับเพิ่มจาก
ร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 39 ธ.ทหารไทยปรับเพิ่มจากร้อยละ 13 เป็นร้อยละ 24 และ ธ.ไทยพาณิชย์ปรับขึ้นสูง
สุดจากร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 48 ส่วนที่เหลืออีก 5 แห่ง ที่ยังไม่มีการปรับดอกเบี้ยผิดนัดชำระขึ้น ได้แก่
ธ.กรุงเทพร้อยละ 14 ธ.กรุงไทยร้อยละ 14.50 ธ.กสิกรไทยร้อยละ 13.50 ธ.ไทยธนาคารร้อยละ 15 และ
ธ.ธนชาตร้อยละ 18 ทั้งนี้ ธ.พาณิชย์ไทยที่คิดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระสูงสุด ได้แก่ ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์
นครธน ร้อยละ 75 ธ.ไทยพาณิชย์ ร้อยละ 48 และ ธ.ซิตี้แบงก์ ร้อยละ 45.63 ซึ่งผู้บริหารสถาบันการเงิน
ที่ปรับดอกเบี้ยผิดนัดชำระขึ้นได้ชี้แจงเหตุผลว่า เพื่อให้บรรดาลูกค้าเงินกู้ให้ความสำคัญกับการชำระเงินที่ตรงต่อ
เวลาและลดปัญหาเรื่องหนี้เสียและความเสี่ยงในการปล่อยกู้ โดยเฉพาะสินเชื่อบุคคลรายย่อยที่ไม่มีหลักทรัพย์ใน
การค้ำประกัน ซึ่งเป็นสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนสูงถึงร้อยละ 25-28 แต่เป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ดังนั้น
ธนาคารจึงพยายามป้องกันความเสี่ยงและหาโอกาสทำกำไรจากความเสี่ยงด้วยการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยผิดนัด
ชำระ ด้าน น.ส.เสาวรส ศิริวรรณ ผู้จัดการบริหารธุรกิจลูกค้าบุคคล ธ.ไทยพาณิชย์ ชี้แจงว่า การปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระเป็นร้อยละ 48 ในครั้งนี้เป็นการปรับขึ้นเพื่อรองรับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ สินเชื่อ
บุคคล “สปีดี้ แคช” เท่านั้น แต่ในส่วนของสินเชื่อบุคคลประเภทอื่น ๆ เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อ
บัตรเครดิต จะยังคงใช้อัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระอัตราเดิมคือร้อยละ 15 แต่การแจ้งอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
สูงสุดเป็นการปฏิบัติตามเกณฑ์ของ ธปท. ที่สั่งการให้ ธ.พาณิชย์ทุกแห่งต้องรายงานอัตราดอกเบี้ยค้างชำระสูงสุด
ให้ประชาชนทราบ (โพสต์ทูเดย์)
5. สศช. เตรียมร่างกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคธุรกิจเอกชน นายบุญยงค์ เวชมณีศรี
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช. กำลังร่างกรอบยุทธ
ศาสตร์การพัฒนาภาคธุรกิจเอกชนเพื่อเป็นทุนทางสังคม เพื่อเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐใน
การกำหนดนโยบายให้เหมาะกับแต่ละพื้นที่ เช่น การปรับนโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้เป็นหนึ่งหมู่บ้านหนึ่ง
ผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมให้เอกชนเป็นพี่เลี้ยงแต่ละหมู่บ้านเพื่อประยุกต์ผลผลิตให้ได้ตามความต้องการของตลาด
ส่วนนโยบายการค้าการลงทุนของธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ต้องคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในพื้นที่และความ
อยู่รอดของร้านค้ารายย่อยในชุมชน ดังนั้น เพื่อให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเป็นทุนทางสังคมได้ อาจกำหนดให้มี
โซนร้านค้าย่อยร้อยละ 5-10 ในซูเปอร์มาร์เก็ต และควรมีการแก้ไขกฎระเบียบของรัฐและมีมาตรการด้านภาษี
และที่ไม่ใช่ภาษีให้เอื้อและสนับสนุนต่อการดำเนินงานด้านสาธารณประโยชน์ เพื่อจูงใจให้ภาคธุรกิจเข้ามามีส่วน
ร่วมมากขึ้น มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ.ลดลงสะท้อนว่าอัตราเงินเฟ้อของ สรอ.อยู่ในระดับที่เหมาะสม ร
ยงานจากลิมา เมื่อ 10 ก.ย.47 John Snow รมต.คลังของ สรอ. ให้ความเห็นว่าการที่ดัชนีราคาผู้ผลิต
ของ สรอ.ในเดือนที่แล้วลดลงร้อยละ 0.1 สะท้อนให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อของ สรอ.ในปัจจุบันอยู่ในระดับที่
เหมาะสมแล้วและคาดว่าภาวะแบบนี้จะยังคงอยู่ต่อไป นอกจากนี้ยังให้ความเห็นเกี่ยวกับการขาดดุลการค้าของ
สรอ.ลดลงในเดือน ก.ค.47 ว่ามาจากความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมของ สรอ.
ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจของ สรอ. ขยายตัวสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ และเรียกร้องให้สมาชิกในกลุ่มประเทศ
อุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศตนให้ขยายตัวสูงขึ้นซึ่งจะเป็นผลดีต่อ
เศรษฐกิจโลกโดยรวม (รอยเตอร์)
2. นรม.เยอรมนีต้องการให้ระบบการจัดเก็บภาษีของเยอรมนีเป็นธรรมตามรายได้ของประชาชน
รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 47 นรม.เยอรมนีปฎิเสธข้อกล่าวหาที่ว่า แนวทางการจัดเก็บภาษีตาม
แผนการปฎิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้นเอื้อประโยชน์ต่อผู้มั่งมี ทั้งนี้โดยที่รายได้จากการจัดเก็บภาษีส่วนใหญ่มาจาก
ผู้ใช้แรงงานที่มีรายได้สูงสุดที่คิดเป็นร้อยละ 10 ของแรงงานทั้งหมด และเห็นว่าอัตราภาษีสำหรับคนงานผู้มีราย
ได้ต่ำ ได้ถูกลดหย่อนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้จากผู้มีรายได้สูงในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาที่เขาดำรงตำแหน่งนรม.
ซึ่งผู้มีรายได้ต่ำ และชนชั้นกลางจ่ายอัตราภาษีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเห็นว่าระบบการจัดเก็บภาษีของเยอรมนี
ได้ตระหนักถึงความเป็นธรรม ทั้งนี้รายได้จากการจัดเก็บภาษีถึงร้อยละ 54 มาจากผู้ที่มีรายได้สูงสุดที่มีสัดส่วน
ร้อยละ 10 ในขณะที่เพียงร้อยละ 9 ของรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่ มาจากผู้มีรายได้ต่ำที่มีจำนวนร้อยละ
50 ทั้งนี้เมื่อปี 41 ที่เขาดำรงตำแหน่งนั้น อัตราภาษีที่จัดเก็บจากรายได้สำหรับผู้มีรายได้จากค่าจ้างในอัตราต่ำ
ได้ถูกตัดทอนจากร้อยละ 25.9 เหลือเพียงร้อยละ 15 ส่วนอัตราภาษีที่จัดเก็บจากผู้มีรายได้จากค่าจ้างในอัตราสูง
ก็ได้ถูกปรับลดลงเช่นเดียวกันจากร้อยละ 53 เหลือร้อยละ 42 ( รอยเตอร์)
3. นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะขยายตัวถึงร้อยละ 2.0 ในปีหน้า รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อ 11 ก.ย.47 นักเศรษฐศาสตร์เยอรมนี คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีจะเร่ง
ความเร็วในอัตราร้อยละ 2.0 ในปีหน้า และจำนวนผู้ว่างงานจะมีน้อยกว่า 200,000 คน จากการขยายตัวอย่าง
แข็งแกร่งของเศรษฐกิจในประเทศ ขณะที่ IfW กล่าวเมื่อสัปดาห์ก่อนว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอาจจะ
ชะลอตัวลงจากร้อยละ 1.3 เป็นร้อยละ 1.2 เนื่องจากราคาน้ำมันที่ยังคงพุ่งสูงขึ้น และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจ
เยอรมนีทั้งปี 47 จะสูงสุดที่ระดับร้อยละ 1.9 แต่ประธาน DIW economic institute กล่าวว่า เขาไม่
เห็นด้วยกับการปรับตัวเลขประมาณการทางเศรษฐกิจดังกล่าว เพราะเขาคาดว่าระดับราคาน้ำมันจะเริ่มลดลง
รวมทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจจากปัจจัยด้านตลาดส่งออกกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เช่น สรอ. ฝรั่งเศส และ
เบลเยี่ยม ยังคงแข็งแกร่ง ทั้งนี้ เศรษฐกิจของเยอรมนีในไตรมาสที่ 2 ปี 47 ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากที่
ขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรกปี 47 โดยมีปัจจัยสำคัญจากมูลค่าการส่งออกสุทธิเพิ่มมากขึ้น (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางยุโรปไม่ลังเลใจที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น รายงานจากแฟรงค์
เฟริท์ เมื่อ 12 ก.ย.47 Otmar Issing หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ ธ.กลางยุโรป หรือ ECB กล่าวว่า
ECB กำลังเฝ้าจับตาดูการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและหากมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น ECB ก็ไม่ลังเล
ใจที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้เขายังให้ความเห็นเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นว่าเป็นเพียงตัวถ่วงการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจและไม่ควรประเมินผลกระทบจากราคาน้ำมันสูงจนเกินไป ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้นเป็นประวัติ
การณ์ก็ตามแต่เมื่อเทียบราคาสินค้าในปัจจุบันกับในอดีตแล้วผลกระทบยังไม่รุนแรงเท่ากับการเพิ่มขึ้นของราคา
น้ำมันในอดีต เป็นที่คาดกันว่าเศรษฐกิจของ ECB ในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 2.0 และสูงกว่าเล็กน้อยในปีหน้า
โดยอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 2.0 ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่คาดว่าจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ
2.0 ตามที่ตั้งเป้าไว้ภายในปีหน้า โดย ECB ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ร้อยละ 2.0 ต่อปี
ในการประชุมเมื่อวันที่ 2 ก.ย.47 ที่ผ่านมาโดยมีแนวโน้มที่อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น ทำให้ตลาดการเงินคาดว่า ECB
จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในสิ้นปีนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13 ก.ย. 47 9 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.573 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.3829/41.6763 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 5000-1.5625 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 640.60/21.63 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.57 34.73 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-