อธิบดีกรมการประกันภัย ออกคำสั่งนายทะเบียนให้ขยายระยะเวลา คุ้มครองโดยอัตโนมัติ ให้แก่กรมธรรม์ประกันภัยตามพรบ. ที่ซื้อก่อน 1 ก.ย. 2547 และวันสิ้นสุดอายุภาษีรถอยู่ในช่วงระหว่าง 1 ก.ย.47 ถึง 30 พ.ย.47
นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและลดภาระให้แก่เจ้าของรถที่ต้องจัดทำประกันภัยรถตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ให้เป็นวันเดียวกับวันสิ้นสุดอายุภาษีรถประจำปีของปีถัดไปตามระเบียบของกรมการขนส่งทางบกนั้น ในฐานะนายทะเบียนได้มีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคบังคับ ทุกฉบับที่ซื้อจากบริษัทประกันวินาศภัยที่ได้ยื่นขอความเห็นชอบจากนายทะเบียนจำนวน 63 บริษัท โดยจะต้องเป็นกรมธรรม์ประกันภัยที่ซื้อก่อนวันที่ 1 กันยายน 2547 และหมดอายุก่อนวันสิ้นอายุภาษีรถประจำปีของปีถัดไป ให้สามารถขยาย ความคุ้มครองตามที่ระบุในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยออกไปเป็นวันเดียวกับ วันสิ้นอายุภาษีรถประจำปีของปีถัดไป แต่ทั้งนี้การขยายอายุความคุ้มครองจะต้อง ไม่เกิน 90 วัน และไม่เกินวันที่ 30 พฤศจิกายน 2548
ส่วนบริษัทประกันวินาศภัยที่เหลืออีก 5 บริษัท ยังไม่ได้ยื่นขอความเห็นชอบการขยายระยะเวลาคุ้มครองโดยอัตโนมัติจากนายทะเบียน ได้แก่ บริษัท ส่งเสริม ประกันภัย จำกัด บริษัท คอมไบด์อินชัวรันส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด บริษัท ธนวัฒน์ประกันภัย จำกัด และบริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งกรมการประกันภัยพร้อมที่จะให้ความเห็นชอบทันทีที่บริษัท ดังกล่าวได้ยื่นขอความเห็นชอบ
หากท่านมีข้อสงสัย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันภัย1186 หรือ www.doi.go.th
รายนามบริษัทประกันภัยที่ขอใช้เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (เอกสารแนบท้ายว่าด้วยการขยายระยะเวลาคุ้มครองโดยอัตโนมัติ)
1. บริษัท กมลสุโกศลประกันภัย จำกัด 2. บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด 4. บริษัท คุ้มเกล้าประกันภัย จำกัด (มหาชน) 5. บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด 6. บริษัท คูเนียประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด 7. บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน) 8. บริษัท เจนเนอราลี่ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด 9. บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด 10. บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 11. บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) 12. บริษัท ไทยเจริญประกันภัย จำกัด (มหาชน) 13. บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 14. บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด 15. บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) 16. บริษัท ไทยศรีซูริคประกันภัย จำกัด 17. บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) 18. บริษัท ไทยสมุทรประกันภัย จำกัด 19. บริษัท ธนชาติประกันภัย จำกัด 20. บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) 21. บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) 22. บริษัท นิวอินเดียแอสชัวรันซ์ จำกัด 23. บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์อินชัวรันส์ 24. บริษัท บี ที ประกันภัย จำกัด 25. บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน) 26. บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) 27. บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด 28. บริษัท ประกันภัยสากล จำกัด 29. บริษัท พระนครธรบุรีประกันภัย จำกัด 30. บริษัท พัชรประกันภัย จำกัด 31. บริษัท พาณิชย์การประกันภัย จำกัด 32. บริษัท พุทธธรรมประกันภัย จำกัด 33. บริษัท ไพบูลย์ประกันภัย จำกัด 34. บริษัท ไพศาลประกันภัย จำกัด 35. บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) 36. บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรัน์ จำกัด (สาขาประเทศไทย) 37. บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด 38. บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด 39. บริษัท โรยัลแอนด์ซันอัลลายแอนซ์ประกันภัย จำกัด 40. บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด 41. บริษัท วิธสินประกันภัย จำกัด 42. บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด 43. บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) 44. บริษัท สมโพิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด 45. บริษัท สยามซิตี้อินชัวรันซ์ จำกัด 46. บริษัท สหนิรภัยประกันภัย จำกัด 47. บริษัท สหมงคลประกันภัย จำกัด 48. บริษัท สหวัฒนาประกันภัย จำกัด 49. บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด 50. บริษัท สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) 51. บริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด 52. บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) 53. บริษัท อลิอันซ์ ซี พี ประกันภัย จำกัด (มหาชน) 54. บริษัท อวีว่าประกันภัย (ไทย) จำกัด 55. บริษัท อาคเนย์ประกันภัย (2000) จำกัด 56. บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) 57. บริษัท เอเชียสากลประกันภัย จำกัด 58. บริษัท เอราวัณประกันภัย จำกัด 59. บริษัท แอ๊ดวานซ์อินชัวรันซ์ จำกัด 60. บริษัท แอกซ่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) 61. บริษัท แอลเอ็มจี ประกันภัย จำกัด 62. บริษัท โอสถสภาประกันภัย จำกัด 63. บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
ที่มา: http://www.doi.go.th