แท็ก
ธปท.
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. คาดว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ลดลงจะไม่กระทบการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา
จะไม่กระทบต่อการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น แม้ว่าล่าสุดจากการสำรวจ
ของ ธปท.พบว่า แนวโน้มความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจจะลดลงไปถึงเดือน ส.ค. แล้วก็ตาม เนื่องจากเครื่องชี้ทาง
เศรษฐกิจที่แท้จริงยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยตัวเลขการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
5 เดือนแรกอยู่ที่ประมาณ 6% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูง ส่วนตัวเลขการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย
5 เดือนแรกของปีเฉลี่ยอยู่ที่ 18% นอกจากนั้น ตัวเลขการขยายตัวของสินเชื่อใหม่ ซึ่งบ่งชี้การขยายตัวของภาคการ
ลงทุน ยังอยู่ในอัตราที่สูง โดยในเดือน เม.ย.ขยายตัว 6.7% และ พ.ค. เพิ่มขึ้นเป็น 7.9% ส่วนการขยายตัว
ของสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นซึ่งเริ่มกลับมาเป็นภาคการพาณิชย์และอุตสาหกรรม แทนที่จะเป็นการเพิ่มขึ้นจากสินเชื่อการ
อุปโภคบริโภคอย่างที่ผ่านมา ไม่ได้แสดงว่าสินเชื่ออุปโภคบริโภคลดลง แต่เป็นการชะลอตัวในระดับสูง แสดงว่า
เศรษฐกิจที่แท้จริงของประเทศยังขยายตัวอยู่ และเชื่อมั่นได้ว่าจะขยายตัวในอัตราที่ดีขึ้นในครึ่งปีหลัง (โลกวันนี้, ข่าวสด)
2. ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์พร้อมเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 ส.ค.47
นายวีระชัย วีระเมธีกุล ผู้ช่วย รมว.คลัง เปิดเผยว่า จากการที่ ก.คลังได้มอบหมายให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
ไปดำเนินการในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะเป็นองค์กรอิสระที่สังกัดอยู่ใน ธอส.นั้น จะเปิดอย่างเป็นทางการ
ในวันที่ 25 ส.ค.47 นี้ โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 48 คาดว่าจะสามารถรวบรวมข้อมูลส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยและ
ส่วนที่เป็นของอาคารสำนักงานได้ทั้งหมด สำหรับภารกิจในเบื้องต้นของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ก.คลังได้มอบหมาย
ให้ดำเนินการจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลดัชนีเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่สำคัญ 6 ตัว เพื่อติดตามภาวะความร้อนแรงของ
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ 1)จำนวนใบอนุญาต ได้แก่ ใบอนุญาตจัดสรรที่ดินและใบอนุญาตก่อสร้าง 2)จำนวน
ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จ 3)จำนวนที่อยู่อาศัยขาย 4)จำนวนที่อยู่อาศัยโอน 5)ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย และ 6)จำนวน
สินเชื่อที่อยู่อาศัย ได้แก่ สินเชื่อปล่อยใหม่และสินเชื่อคงเหลือ (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ)
3. คาดว่าธนาคารที่เกิดจากการควบรวม ธ.ทหารไทย ธ.ดีบีเอสไทยทนุ และไอเอฟซีทีจะสามารถ
เปิดดำเนินการได้ภายในวันที่ 1 ก.ย.47 ประธานคณะกรรมการ ธ.ทหารไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า
กระบวนการควบรวมกิจการระหว่าง ธ.ทหารไทย ธ.ดีบีเอสไทยทนุ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศ
ไทย (ไอเอฟซีที) มีความคืบหน้าไปมากและมั่นใจว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยเฉพาะการทำคำ
เสนอซื้อหุ้นต่อผู้ถือหุ้นทั่วไปดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยคาดว่า ธ.ใหม่ที่เกิดจากการควบรวม จะสามารถเปิดดำเนิน
การได้ภายในวันที่ 1 ก.ย.47 นี้ (ข่าวสด, ไทยโพสต์)
4. ธปท.กล่าวถึงแนวทางการควบรวมกิจการของสถาบันการเงินเพื่อยกระดับเป็น ธพ.ตามแผน
พัฒนาระบบสถาบันการเงิน นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงกรณีที่มี
กระแสข่าวว่าบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จะซื้อหุ้นของบริษัทเงินทุนบุคคลัภย์ ซึ่ง ธ.ไทยพาณิชย์ถือหุ้นอยู่ 89.7%
เพื่อนำมารวมกิจการกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์แลนด์แอนด์เฮ้าส์ และปรับฐานะเป็น ธพ.รายย่อย เพื่อทำธุรกิจ
เฉพาะในด้านสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ว่า เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินของ ธปท.
ซึ่งขณะนี้มีสถาบันการเงิน 5 แห่งยื่นแผนการควบรวมกิจการยัง ธปท.แล้ว (ข่าวสด, ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ.ขาดดุลการค้าในเดือน พ.ค.47 จำนวน 46.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงเกินกว่าที่
คาดไว้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 13 ก.ค.47 ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ.ในเดือน พ.ค.47 มีจำนวน 46.
0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ต่ำกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ที่ 48.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ
6 เดือน แม้ว่าราคาน้ำมันจะอยู่ในระดับสูงสุดในรอบเกือบ 22 ปีซึ่งมีส่วนทำให้ยอดนำเข้าน้ำมันในเดือน พ.ค.47
อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 10.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยยอดขาดดุลการค้าที่ลดลงเป็นผลมาจาก
การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. มีส่วนช่วยให้ยอดส่งออกในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 3.0 มี
จำนวน 97.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สูงสุดเป็นประวัติการณ์จากการขยายการลงทุนของบริษัทในต่างประเทศทำ
ให้ สรอ.สามารถส่งออกสินค้าทุนและวัตถุดิบอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้น รายงานการขาดดุลการค้าที่ลดลงทำให้นัก
วิเคราะห์คาดกันว่าเศรษฐกิจของ สรอ.ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้จะขยายตัวใกล้ร้อยละ 4.0 หลังจากขยายตัวร้อยละ 3.9
ในไตรมาสแรกปีนี้ แม้ว่าการขาดดุลการค้าในเดือน พ.ค.47 จะลดลง แต่ยอดขาดดุลการค้าในปีนี้ก็มีแนวโน้มที่
จะสูงกว่าปีที่แล้วซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 496.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยในช่วง 5 เดือน
แรกปีนี้ สรอ.ขาดดุลการค้าจำนวน 231.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 208.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ในช่วงระยะเวลาเดียวกันปีก่อน (รอยเตอร์)
2. สรอ. เกินดุล งปม. เดือน มิ.ย.47 มากกว่าที่คาดการณ์ รายงานจากกรุงวอชิงตัน สรอ.
เมื่อวันที่ 13 ก.ค.47 ก.คลังของ สรอ. รายงานตัวเลขเกินดุล งปม. เดือน มิ.ย.47 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้
เนื่องจากจัดเก็บภาษีธุรกิจประจำไตรมาสสูงขึ้น โดยรายได้สูงกว่ารายจ่าย 19.14 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย.46 ที่เกินดุล 21.23 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งนักวิเคราะห์บางรายให้
ความเห็นว่าเป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น รวมถึงกำไรของภาคเอกชนที่สูงมากเป็นพิเศษ ตลอดจนการขยายฐาน
ผู้เสียภาษีขั้นต่ำเพิ่มขึ้น ซึ่งการเกินดุลดังกล่าวสูงกว่าที่วอลล์สตรีทคาดการณ์ไว้ว่าจะเกินดุล 16.5 พันล้านดอลลาร์
สรอ. และดีกว่าที่สำนักงาน งปม.รัฐสภาคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 16 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ แม้รัฐจะเก็บภาษี
ได้เพิ่มขึ้นแต่ก็ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยการใช้จ่ายในการป้องกันประเทศในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 20
การใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 37 และการดูแลความปลอดภัยทางสังคมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 2
ในขณะที่การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 38 เทียบกับเดือน มิ.ย.46 ส่วนภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 9 อย่างไรก็ตาม งปม. ของ สรอ. ยังคงอยู่ในแนวทางการขาดดุล
ติดต่อกันเป็นปีที่สอง จากที่ขาดดุล 374.23 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 46 โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี งปม.
ที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.46 สรอ. ขาดดุล งปม. สะสม จำนวน 326.62 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ดีขึ้นจากที่
ขาดดุล 269.71 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการเกินดุล งปม. ในเดือน มิ.ย.47
เป็นเพียงการเกินดุลครั้งที่ 2 ในปี งปม.นี้ เทียบกับที่มีการเกินดุล 4 เดือน ในช่วง 9 เดือนแรกของปี งปม.
ปี 46 อนึ่ง เมื่อช่วงต้นปีนี้รัฐบาลได้คาดการณ์การขาดดุล งปม.ในปีนี้ไว้ที่ระดับ 521 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขการคาดการณ์ที่ปรับแล้วและคาดว่าจะมีการประกาศหลังจากกลางเดือน ก.ค.นี้ (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางญี่ปุ่นคาดว่าภาวะเศรษฐกิจยังคงพบกับภาวะเงินฝืดต่อไป ภายใต้การไม่เปลี่ยนแปลงการ
ดำเนินนโยบายการเงินของ ธ.กลางญี่ปุ่น รายงานจากโตเกียว เมื่อ 13 ก.ค.47ธ.กลางญี่ปุ่นคาดว่าญี่ปุ่นยังคงอยู่
ในภาวะเงินฝืดต่อไปอีกระยะหนึ่ง แม้ว่าเศรษฐกิจในประเทศจะแข็งแกร่งขึ้นและราคาขายส่งจะสูงขึ้น อันเป็นนัยสำคัญ
ที่ชี้ให้เห็นว่า ธ.กลางญี่ปุ่นคงจะไม่ดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดในระยะนี้ อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
อย่างแข็งแกร่งภายใต้การการประเมินข้อมูลทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาของรัฐบาล ประกอบกับการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของ
สรอ.ทำให้มีการคาดการณ์กันว่า ธ.กลางญี่ปุ่นอาจต้องละทิ้งนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างมากในระยะเวลาอันใกล้ก็
เป็นได้ ในขณะที่ผู้ว่าการ ธ.กลางญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ธ.กลางจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปจนกว่าดัชนี
ราคาผู้บริโภคจะมีเสถียรภาพเหนือกว่าระดับ 0 นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินบางคนที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง
นโยบายการเงินเห็นว่า จากรายงานภาวะเศรษฐกิจรายเดือนที่พบว่า แม้ภาวะเศรษฐกิจและราคาขายส่งซึ่งชี้วัดโดยดัชนี
ราคาสินค้าภาคธุรกิจในประเทศ (CGPI) จะขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.4 ในเดือน มิ.ย.47 เมื่อเทียบต่อปี และมากกว่า
ที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือน เม.ย.47 แต่ยังคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าที่จะเกิดระดับเงินเฟ้อ อันจะส่งผลกระทบต่อระดับราคา
สินค้าผู้บริโภคได้ ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน พ.ค.47 ลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า (รอยเตอร์)
4. มาเลเซียมีแผนที่จะขับไล่แรงงานอพยพจำนวน 1.2 ล้านคนในปลายปีหน้า รายงานจากกัวลาลัมเปอร์
เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 47 นสพ.มาเลเซียรายงานว่า การที่รัฐบาลขับไล่แรงงานอพยพที่ผิดกฎหมายเมื่อเดือน มี.ค. และเดือน
ส.ค. 45 นั้นก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานในภาคการเกษตรและภาคการก่อสร้าง ทั้งนี้
มาเลเซียซึ่งมีประชากรจำนวน 25 ล้านคนเป็นประเทศที่ร่ำรวยกว่าประเทศเพื่อนบ้านอาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
ดังนั้นจึงดึงดูดแรงงานอพยพจากประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าวเข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมายในมาเลเซียเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
และในปี 45 คาดว่าจะมีแรงงานถึง 600,000 คนที่ได้รับผลกระทบจากการส่งกลับแรงงานในเพนนิซูลาและ มาเลเซียตอนเหนือ
อย่างไรก็ตามภาวะการขาดแคลนแรงงานดังกล่าวทำให้มาเลเซียวางแผนที่จะฝึกแรงงานเป็นกลุ่ม และได้มีการกล่าวเตือนล่วงหน้า
สำหรับผู้ที่จ้างแรงงานที่มิได้ลงทะเบียนพวกเขาอาจจะได้รับผลกระทบจากภาวะดังกล่าว ซึ่งผลกระทบหากธุรกิจประสบปัญหาการจ้าง
งานอย่างผิดกฎหมาย นับเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ปัจจุบันมาเลเซียมีแรงงานที่ถูกกฎหมายอยู่ 1.2 ล้านคน ขณะเดียวกันก็คาดว่าจะมี
แรงงานที่ผิดกฎหมายอยู่ 1.2 ล้านคนหรืออาจจะมากกว่านั้น ทั้งนี้ภาวะตลาดแรงงานของมาเลเซียประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน
ทั้งที่เป็นแรงงานมีฝีมือและแรงงานทั่วไป โดยเมื่อปีที่แล้ว อัตราการว่างงานของมาเลเซียลดลงอยู่ในระดับร้อยละ 3.5 จากระดับ
ร้อยละ 3.9 ในปี 45(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14 ก.ค. 47 13 ก.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.731 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.5398/40.8230 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.09375-1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 663.00/15.47 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,650/7,750 7,700/7,800 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.08 34.04 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. คาดว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ลดลงจะไม่กระทบการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา
จะไม่กระทบต่อการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น แม้ว่าล่าสุดจากการสำรวจ
ของ ธปท.พบว่า แนวโน้มความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจจะลดลงไปถึงเดือน ส.ค. แล้วก็ตาม เนื่องจากเครื่องชี้ทาง
เศรษฐกิจที่แท้จริงยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยตัวเลขการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
5 เดือนแรกอยู่ที่ประมาณ 6% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูง ส่วนตัวเลขการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย
5 เดือนแรกของปีเฉลี่ยอยู่ที่ 18% นอกจากนั้น ตัวเลขการขยายตัวของสินเชื่อใหม่ ซึ่งบ่งชี้การขยายตัวของภาคการ
ลงทุน ยังอยู่ในอัตราที่สูง โดยในเดือน เม.ย.ขยายตัว 6.7% และ พ.ค. เพิ่มขึ้นเป็น 7.9% ส่วนการขยายตัว
ของสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นซึ่งเริ่มกลับมาเป็นภาคการพาณิชย์และอุตสาหกรรม แทนที่จะเป็นการเพิ่มขึ้นจากสินเชื่อการ
อุปโภคบริโภคอย่างที่ผ่านมา ไม่ได้แสดงว่าสินเชื่ออุปโภคบริโภคลดลง แต่เป็นการชะลอตัวในระดับสูง แสดงว่า
เศรษฐกิจที่แท้จริงของประเทศยังขยายตัวอยู่ และเชื่อมั่นได้ว่าจะขยายตัวในอัตราที่ดีขึ้นในครึ่งปีหลัง (โลกวันนี้, ข่าวสด)
2. ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์พร้อมเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 ส.ค.47
นายวีระชัย วีระเมธีกุล ผู้ช่วย รมว.คลัง เปิดเผยว่า จากการที่ ก.คลังได้มอบหมายให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
ไปดำเนินการในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะเป็นองค์กรอิสระที่สังกัดอยู่ใน ธอส.นั้น จะเปิดอย่างเป็นทางการ
ในวันที่ 25 ส.ค.47 นี้ โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 48 คาดว่าจะสามารถรวบรวมข้อมูลส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยและ
ส่วนที่เป็นของอาคารสำนักงานได้ทั้งหมด สำหรับภารกิจในเบื้องต้นของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ก.คลังได้มอบหมาย
ให้ดำเนินการจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลดัชนีเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่สำคัญ 6 ตัว เพื่อติดตามภาวะความร้อนแรงของ
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ 1)จำนวนใบอนุญาต ได้แก่ ใบอนุญาตจัดสรรที่ดินและใบอนุญาตก่อสร้าง 2)จำนวน
ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จ 3)จำนวนที่อยู่อาศัยขาย 4)จำนวนที่อยู่อาศัยโอน 5)ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย และ 6)จำนวน
สินเชื่อที่อยู่อาศัย ได้แก่ สินเชื่อปล่อยใหม่และสินเชื่อคงเหลือ (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ)
3. คาดว่าธนาคารที่เกิดจากการควบรวม ธ.ทหารไทย ธ.ดีบีเอสไทยทนุ และไอเอฟซีทีจะสามารถ
เปิดดำเนินการได้ภายในวันที่ 1 ก.ย.47 ประธานคณะกรรมการ ธ.ทหารไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า
กระบวนการควบรวมกิจการระหว่าง ธ.ทหารไทย ธ.ดีบีเอสไทยทนุ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศ
ไทย (ไอเอฟซีที) มีความคืบหน้าไปมากและมั่นใจว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยเฉพาะการทำคำ
เสนอซื้อหุ้นต่อผู้ถือหุ้นทั่วไปดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยคาดว่า ธ.ใหม่ที่เกิดจากการควบรวม จะสามารถเปิดดำเนิน
การได้ภายในวันที่ 1 ก.ย.47 นี้ (ข่าวสด, ไทยโพสต์)
4. ธปท.กล่าวถึงแนวทางการควบรวมกิจการของสถาบันการเงินเพื่อยกระดับเป็น ธพ.ตามแผน
พัฒนาระบบสถาบันการเงิน นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงกรณีที่มี
กระแสข่าวว่าบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จะซื้อหุ้นของบริษัทเงินทุนบุคคลัภย์ ซึ่ง ธ.ไทยพาณิชย์ถือหุ้นอยู่ 89.7%
เพื่อนำมารวมกิจการกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์แลนด์แอนด์เฮ้าส์ และปรับฐานะเป็น ธพ.รายย่อย เพื่อทำธุรกิจ
เฉพาะในด้านสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ว่า เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินของ ธปท.
ซึ่งขณะนี้มีสถาบันการเงิน 5 แห่งยื่นแผนการควบรวมกิจการยัง ธปท.แล้ว (ข่าวสด, ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ.ขาดดุลการค้าในเดือน พ.ค.47 จำนวน 46.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงเกินกว่าที่
คาดไว้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 13 ก.ค.47 ยอดขาดดุลการค้าของ สรอ.ในเดือน พ.ค.47 มีจำนวน 46.
0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ต่ำกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ที่ 48.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ
6 เดือน แม้ว่าราคาน้ำมันจะอยู่ในระดับสูงสุดในรอบเกือบ 22 ปีซึ่งมีส่วนทำให้ยอดนำเข้าน้ำมันในเดือน พ.ค.47
อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 10.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยยอดขาดดุลการค้าที่ลดลงเป็นผลมาจาก
การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. มีส่วนช่วยให้ยอดส่งออกในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 3.0 มี
จำนวน 97.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สูงสุดเป็นประวัติการณ์จากการขยายการลงทุนของบริษัทในต่างประเทศทำ
ให้ สรอ.สามารถส่งออกสินค้าทุนและวัตถุดิบอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้น รายงานการขาดดุลการค้าที่ลดลงทำให้นัก
วิเคราะห์คาดกันว่าเศรษฐกิจของ สรอ.ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้จะขยายตัวใกล้ร้อยละ 4.0 หลังจากขยายตัวร้อยละ 3.9
ในไตรมาสแรกปีนี้ แม้ว่าการขาดดุลการค้าในเดือน พ.ค.47 จะลดลง แต่ยอดขาดดุลการค้าในปีนี้ก็มีแนวโน้มที่
จะสูงกว่าปีที่แล้วซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 496.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยในช่วง 5 เดือน
แรกปีนี้ สรอ.ขาดดุลการค้าจำนวน 231.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 208.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ในช่วงระยะเวลาเดียวกันปีก่อน (รอยเตอร์)
2. สรอ. เกินดุล งปม. เดือน มิ.ย.47 มากกว่าที่คาดการณ์ รายงานจากกรุงวอชิงตัน สรอ.
เมื่อวันที่ 13 ก.ค.47 ก.คลังของ สรอ. รายงานตัวเลขเกินดุล งปม. เดือน มิ.ย.47 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้
เนื่องจากจัดเก็บภาษีธุรกิจประจำไตรมาสสูงขึ้น โดยรายได้สูงกว่ารายจ่าย 19.14 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย.46 ที่เกินดุล 21.23 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งนักวิเคราะห์บางรายให้
ความเห็นว่าเป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น รวมถึงกำไรของภาคเอกชนที่สูงมากเป็นพิเศษ ตลอดจนการขยายฐาน
ผู้เสียภาษีขั้นต่ำเพิ่มขึ้น ซึ่งการเกินดุลดังกล่าวสูงกว่าที่วอลล์สตรีทคาดการณ์ไว้ว่าจะเกินดุล 16.5 พันล้านดอลลาร์
สรอ. และดีกว่าที่สำนักงาน งปม.รัฐสภาคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 16 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ แม้รัฐจะเก็บภาษี
ได้เพิ่มขึ้นแต่ก็ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยการใช้จ่ายในการป้องกันประเทศในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 20
การใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 37 และการดูแลความปลอดภัยทางสังคมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 2
ในขณะที่การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 38 เทียบกับเดือน มิ.ย.46 ส่วนภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 9 อย่างไรก็ตาม งปม. ของ สรอ. ยังคงอยู่ในแนวทางการขาดดุล
ติดต่อกันเป็นปีที่สอง จากที่ขาดดุล 374.23 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 46 โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี งปม.
ที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.46 สรอ. ขาดดุล งปม. สะสม จำนวน 326.62 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ดีขึ้นจากที่
ขาดดุล 269.71 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการเกินดุล งปม. ในเดือน มิ.ย.47
เป็นเพียงการเกินดุลครั้งที่ 2 ในปี งปม.นี้ เทียบกับที่มีการเกินดุล 4 เดือน ในช่วง 9 เดือนแรกของปี งปม.
ปี 46 อนึ่ง เมื่อช่วงต้นปีนี้รัฐบาลได้คาดการณ์การขาดดุล งปม.ในปีนี้ไว้ที่ระดับ 521 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขการคาดการณ์ที่ปรับแล้วและคาดว่าจะมีการประกาศหลังจากกลางเดือน ก.ค.นี้ (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางญี่ปุ่นคาดว่าภาวะเศรษฐกิจยังคงพบกับภาวะเงินฝืดต่อไป ภายใต้การไม่เปลี่ยนแปลงการ
ดำเนินนโยบายการเงินของ ธ.กลางญี่ปุ่น รายงานจากโตเกียว เมื่อ 13 ก.ค.47ธ.กลางญี่ปุ่นคาดว่าญี่ปุ่นยังคงอยู่
ในภาวะเงินฝืดต่อไปอีกระยะหนึ่ง แม้ว่าเศรษฐกิจในประเทศจะแข็งแกร่งขึ้นและราคาขายส่งจะสูงขึ้น อันเป็นนัยสำคัญ
ที่ชี้ให้เห็นว่า ธ.กลางญี่ปุ่นคงจะไม่ดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดในระยะนี้ อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
อย่างแข็งแกร่งภายใต้การการประเมินข้อมูลทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาของรัฐบาล ประกอบกับการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของ
สรอ.ทำให้มีการคาดการณ์กันว่า ธ.กลางญี่ปุ่นอาจต้องละทิ้งนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างมากในระยะเวลาอันใกล้ก็
เป็นได้ ในขณะที่ผู้ว่าการ ธ.กลางญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ธ.กลางจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปจนกว่าดัชนี
ราคาผู้บริโภคจะมีเสถียรภาพเหนือกว่าระดับ 0 นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินบางคนที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง
นโยบายการเงินเห็นว่า จากรายงานภาวะเศรษฐกิจรายเดือนที่พบว่า แม้ภาวะเศรษฐกิจและราคาขายส่งซึ่งชี้วัดโดยดัชนี
ราคาสินค้าภาคธุรกิจในประเทศ (CGPI) จะขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.4 ในเดือน มิ.ย.47 เมื่อเทียบต่อปี และมากกว่า
ที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือน เม.ย.47 แต่ยังคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าที่จะเกิดระดับเงินเฟ้อ อันจะส่งผลกระทบต่อระดับราคา
สินค้าผู้บริโภคได้ ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน พ.ค.47 ลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า (รอยเตอร์)
4. มาเลเซียมีแผนที่จะขับไล่แรงงานอพยพจำนวน 1.2 ล้านคนในปลายปีหน้า รายงานจากกัวลาลัมเปอร์
เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 47 นสพ.มาเลเซียรายงานว่า การที่รัฐบาลขับไล่แรงงานอพยพที่ผิดกฎหมายเมื่อเดือน มี.ค. และเดือน
ส.ค. 45 นั้นก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานในภาคการเกษตรและภาคการก่อสร้าง ทั้งนี้
มาเลเซียซึ่งมีประชากรจำนวน 25 ล้านคนเป็นประเทศที่ร่ำรวยกว่าประเทศเพื่อนบ้านอาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
ดังนั้นจึงดึงดูดแรงงานอพยพจากประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าวเข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมายในมาเลเซียเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
และในปี 45 คาดว่าจะมีแรงงานถึง 600,000 คนที่ได้รับผลกระทบจากการส่งกลับแรงงานในเพนนิซูลาและ มาเลเซียตอนเหนือ
อย่างไรก็ตามภาวะการขาดแคลนแรงงานดังกล่าวทำให้มาเลเซียวางแผนที่จะฝึกแรงงานเป็นกลุ่ม และได้มีการกล่าวเตือนล่วงหน้า
สำหรับผู้ที่จ้างแรงงานที่มิได้ลงทะเบียนพวกเขาอาจจะได้รับผลกระทบจากภาวะดังกล่าว ซึ่งผลกระทบหากธุรกิจประสบปัญหาการจ้าง
งานอย่างผิดกฎหมาย นับเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ปัจจุบันมาเลเซียมีแรงงานที่ถูกกฎหมายอยู่ 1.2 ล้านคน ขณะเดียวกันก็คาดว่าจะมี
แรงงานที่ผิดกฎหมายอยู่ 1.2 ล้านคนหรืออาจจะมากกว่านั้น ทั้งนี้ภาวะตลาดแรงงานของมาเลเซียประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน
ทั้งที่เป็นแรงงานมีฝีมือและแรงงานทั่วไป โดยเมื่อปีที่แล้ว อัตราการว่างงานของมาเลเซียลดลงอยู่ในระดับร้อยละ 3.5 จากระดับ
ร้อยละ 3.9 ในปี 45(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14 ก.ค. 47 13 ก.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.731 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.5398/40.8230 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.09375-1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 663.00/15.47 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,650/7,750 7,700/7,800 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.08 34.04 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-