นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยส่งออกโดยใช้สิทธิ GSP
สหรัฐฯ ในครึ่งปีแรกของปี 2547 (ม.ค. - มิ.ย.) มีมูลค่า 1,498.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วง
เวลาเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่า 1,232.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 ปัจจุบันไทย
เป็นประเทศที่ส่งออกโดยใช้สิทธิ GSP สูงเป็นอันดับแรกแทนที่ประเทศแองโกลา ซึ่งมีมูลค่าการใช้สิทธิลดลงเป็น
1,375.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับสินค้าส่งออกที่มีการใช้สิทธิ GSP สหรัฐฯ สูง 5 อันดับแรก ได้แก่
(1) เครื่องรูปพรรณทำด้วยโลหะมีค่าอื่นๆที่ไม่ใช่เงิน
(2) เครื่องรับโทรทัศน์สีพร้อมเครื่องเล่นวีดีโอมีขนาดเส้นทแยงมุมมากกว่า 35.56 ซ.ม.
(3) ชุดสายไฟชนิดที่ใช้ในรถยนต์
(4) พัดลมติดเพดานที่มีมอเตอร์ในตัว ให้กำลังไม่เกิน 125 วัตต์
(5) เครื่องรูปพรรณอื่น ๆ ทำด้วยโลหะเงินมีมูลค่าเกิน 18 เหรียญสหรัฐฯ ต่อชิ้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า สินค้าทั้ง 5 อันดับนี้ใช้สิทธิ GSP รวมกันเป็นมูลค่า 570.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หรือคิดเป็นร้อยละ 38.04 ของมูลค่าการใช้สิทธิทั้งหมด ซึ่งสัดส่วนนี้ชี้ให้เห็นว่า การส่งออกภายใต้ GSP ของ
ไทยยังกระจุกตัวอยู่ในสินค้าเพียงไม่กี่รายการเท่านั้น
ในการพิจารณาการคืนสิทธิ GSP สหรัฐฯ ในปีนี้ค่อนข้างเคร่งครัดเนื่องมาจากปัจจัยทาง การ
เมืองของสหรัฐฯเอง ดังจะเห็นได้จากการที่ประเทศไทยได้ขอคืนสิทธิ GSP ให้กับสินค้าประเภทเครื่องครัวทำ
ด้วยอะลูมิเนียม เมื่อเดือนกันยายน 2546 แต่ได้รับการคัดค้านจากผู้ผลิตสหรัฐฯทำให้ไทยต้องเสียภาษีในอัตรา
MFN คือร้อยละ 3.2
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ไทยได้รับคำเตือนจากสหรัฐฯ ว่ามี สินค้า
6 รายการที่มีมูลค่าการส่งออกสูงในช่วงครึ่งปีแรก และมีแนวโน้มที่จะเกินเพดานที่สหรัฐฯกำหนด ประกอบด้วย
1. ข้าวโพดหวานที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย
2. โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลทในลักษณะขั้นปฐม
3. แก้วที่ทำให้โค้ง แต่งขอบ แกะสลัก
4. เครื่องปรับอากาศชนิดติดหน้าต่าง
5. เครื่องปรับอากาศอื่น ๆ ยกเว้นที่มีหน่วยทำความเย็นและมีวาล์วสำหรับเปลี่ยนระหว่างวงจร
ความเย็นและวงจรความร้อนประกอบร่วมอยู่ด้วย(รีเวอร์ซิเบิลฮีตปั๊ม)
6.เครื่องประทีปโคมไฟที่ไม่ใช้ไฟฟ้า ซึ่งผู้ส่งออกไทยควรระมัดระวังปริมาณการส่งออกมิให้เกิน
เพดานที่กำหนดเพื่อยังคงให้ได้รับสิทธิต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า โทร 0-2547-4872 โทร
สาร 0-2547-4816 E-Mail : tpdft@mocnet.moc.go.th
--กรมการค้าต่างประเทศ กันยายน 2547--
-สส-
สหรัฐฯ ในครึ่งปีแรกของปี 2547 (ม.ค. - มิ.ย.) มีมูลค่า 1,498.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วง
เวลาเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่า 1,232.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 ปัจจุบันไทย
เป็นประเทศที่ส่งออกโดยใช้สิทธิ GSP สูงเป็นอันดับแรกแทนที่ประเทศแองโกลา ซึ่งมีมูลค่าการใช้สิทธิลดลงเป็น
1,375.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับสินค้าส่งออกที่มีการใช้สิทธิ GSP สหรัฐฯ สูง 5 อันดับแรก ได้แก่
(1) เครื่องรูปพรรณทำด้วยโลหะมีค่าอื่นๆที่ไม่ใช่เงิน
(2) เครื่องรับโทรทัศน์สีพร้อมเครื่องเล่นวีดีโอมีขนาดเส้นทแยงมุมมากกว่า 35.56 ซ.ม.
(3) ชุดสายไฟชนิดที่ใช้ในรถยนต์
(4) พัดลมติดเพดานที่มีมอเตอร์ในตัว ให้กำลังไม่เกิน 125 วัตต์
(5) เครื่องรูปพรรณอื่น ๆ ทำด้วยโลหะเงินมีมูลค่าเกิน 18 เหรียญสหรัฐฯ ต่อชิ้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า สินค้าทั้ง 5 อันดับนี้ใช้สิทธิ GSP รวมกันเป็นมูลค่า 570.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หรือคิดเป็นร้อยละ 38.04 ของมูลค่าการใช้สิทธิทั้งหมด ซึ่งสัดส่วนนี้ชี้ให้เห็นว่า การส่งออกภายใต้ GSP ของ
ไทยยังกระจุกตัวอยู่ในสินค้าเพียงไม่กี่รายการเท่านั้น
ในการพิจารณาการคืนสิทธิ GSP สหรัฐฯ ในปีนี้ค่อนข้างเคร่งครัดเนื่องมาจากปัจจัยทาง การ
เมืองของสหรัฐฯเอง ดังจะเห็นได้จากการที่ประเทศไทยได้ขอคืนสิทธิ GSP ให้กับสินค้าประเภทเครื่องครัวทำ
ด้วยอะลูมิเนียม เมื่อเดือนกันยายน 2546 แต่ได้รับการคัดค้านจากผู้ผลิตสหรัฐฯทำให้ไทยต้องเสียภาษีในอัตรา
MFN คือร้อยละ 3.2
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ไทยได้รับคำเตือนจากสหรัฐฯ ว่ามี สินค้า
6 รายการที่มีมูลค่าการส่งออกสูงในช่วงครึ่งปีแรก และมีแนวโน้มที่จะเกินเพดานที่สหรัฐฯกำหนด ประกอบด้วย
1. ข้าวโพดหวานที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย
2. โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลทในลักษณะขั้นปฐม
3. แก้วที่ทำให้โค้ง แต่งขอบ แกะสลัก
4. เครื่องปรับอากาศชนิดติดหน้าต่าง
5. เครื่องปรับอากาศอื่น ๆ ยกเว้นที่มีหน่วยทำความเย็นและมีวาล์วสำหรับเปลี่ยนระหว่างวงจร
ความเย็นและวงจรความร้อนประกอบร่วมอยู่ด้วย(รีเวอร์ซิเบิลฮีตปั๊ม)
6.เครื่องประทีปโคมไฟที่ไม่ใช้ไฟฟ้า ซึ่งผู้ส่งออกไทยควรระมัดระวังปริมาณการส่งออกมิให้เกิน
เพดานที่กำหนดเพื่อยังคงให้ได้รับสิทธิต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า โทร 0-2547-4872 โทร
สาร 0-2547-4816 E-Mail : tpdft@mocnet.moc.go.th
--กรมการค้าต่างประเทศ กันยายน 2547--
-สส-