แท็ก
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
กระทรวงการคลัง
ออมสิน ธนาคาร
ธนาคารออมสิน
นายกฤษฎา อุทยานิน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายระบบการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2547 (6 เดือนแรก) ทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) ดังนี้
1. สินเชื่อ
การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ใน 6 เดือนแรกของปี 2547 มีการปล่อยสินเชื่อเป็นเม็ดเงินสู่ระบบรวมทั้งสิ้น 275,232.12 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 21.12 โดย ธ.ก.ส. มีการปล่อยสินเชื่อรวมสูงที่สุด คือ 106,000.86 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ ธนาคารออมสิน 56,312.57 ล้านบาท และ ธอส. 46,755 ล้านบาท
สถาบันการเงินเฉพาะกิจมียอดสินเชื่อคงค้างสุทธิ ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ประมาณ 991,310.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.79 จากช่วงเดียวกันในปี 2546 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 ร้อยละ 5.78 โดย ธอส. มียอดสินเชื่อคงค้างสุทธิ 352,392.54 ล้านบาท ธนาคารออมสิน 298,695.0 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. 275,527.00 ล้านบาท
เมื่อเปรียบเทียบกับระบบธนาคารพาณิชย์พบว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจมียอดสินเชื่อคงค้างต่อสินเชื่อคงค้างของระบบธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2547 เท่ากับร้อยละ 22.05 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า และ ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 ปี 2546
2. หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (ข้อมูลรายไตรมาส)
ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีประมาณ 112,863.69 ล้านบาท ซึ่งทำให้อัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อคงค้างทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 10.50 ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.20 ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2547 และร้อยละ 10.13 ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 ปี 2546
3. ฐานะทางการเงิน
สินทรัพย์รวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 เท่ากับ 1,515,561.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 8.42 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 ร้อยละ 3.08 สำหรับเงินฝาก ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 ของ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธอส. และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยมีรวมทั้งสิ้น 1,184,558.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2546 และ ณ สิ้นปี 2546 ร้อยละ 8.86 และ 2.13 ตามลำดับ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีกำไรสุทธิใน 2 ไตรมาสแรก ทั้งสิ้น 10,601.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 11.75 ทั้งนี้ ธนาคารออมสินมีกำไรสูงสุดประมาณ 7,438.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปี 2546 ร้อยละ 14.57 ธอส. มีกำไร 2,450.34 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. มีกำไร 572.88 ล้านบาท
4. การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการส่งเสริมภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ
การดำเนินการกองทุนหมู่บ้านผ่าน ธ.ก.ส. และธนาคารออมสิน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 มีจำนวนสมาชิกที่ได้รับเงินกู้ประมาณ 14,449,139 รายโครงการธนาคารประชาชน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 มียอดสินเชื่อคงค้างจำนวน 6,009.26 ล้านบาท มีการปล่อยสินเชื่อรวมตั้งแต่เริ่มโครงการจำนวน 17,872.05 ล้านบาท มีผู้ได้รับประโยชน์ตั้งแต่เริ่มโครงการจำนวน 849,746 รายโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนดำเนินการโดย ธ.ก.ส. ธพว. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารออมสิน (ระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน 2547) มีการอนุมัติสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 1,031.49 ล้านบาท มีผู้ได้รับอนุมัติสินเชื่อจำนวน 8,676 รายโครงการบ้าน ธอส. - กบข. (รอบที่ 2) ตั้งแต่เริ่มโครงการเดือนพฤษภาคม 2546 - มิถุนายน 2547 มีการอนุมัติสินเชื่อจำนวน 52,920 ราย คิดเป็นวงเงิน 34,435 ล้านบาท โครงการบ้าน ธอส. เพื่อคนไทยตั้งแต่เริ่มโครงการเดือนเมษายน 2546 - มิถุนายน 2547 มีการอนุมัติสินเชื่อจำนวน 17,553 ราย คิดเป็นวงเงิน 10,587 ล้านบาท และโครงการบ้านเอื้ออาทร มีจำนวนการอนุมัติสินเชื่อสำหรับลูกค้ากู้ซื้อบ้าน 1,173 ราย คิดเป็นวงเงิน 382 ล้านบาทแม้ว่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของโครงการสินเชื่อนโยบายรัฐบางโครงการ เช่น โครงการธนาคารประชาชน จะปรับเพิ่มขึ้นบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาภาพรวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เป็นผู้อนุมัติสินเชื่อ พบว่าแนวโน้มของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ อยู่ในระดับคงที่ เนื่องจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เช่น ธนาคารออมสิน ได้มีแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระที่ชัดเจน ประกอบกับวงเงินให้สินเชื่อภายใต้โครงการนโยบายรัฐเป็นเพียงส่วนน้อยของสินเชื่อทั้งหมดขององค์กร (สินเชื่อคงค้างโครงการธนาคารประชาชน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 คิดเป็นเพียงร้อยละ 1.9 ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมด) ดังนั้นในภาพรวม หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้โครงการนโยบายรัฐ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ประการใด
โดยสรุป สถาบันการเงินเฉพาะกิจยังคงมีการขยายตัวของสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวทางการควบคุมระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อย่างเข้มงวด ในขณะที่ 2 ไตรมาสแรกของปี สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 8 แห่ง สามารถมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 71/2547 14 กันยายน 2547--
1. สินเชื่อ
การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ใน 6 เดือนแรกของปี 2547 มีการปล่อยสินเชื่อเป็นเม็ดเงินสู่ระบบรวมทั้งสิ้น 275,232.12 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 21.12 โดย ธ.ก.ส. มีการปล่อยสินเชื่อรวมสูงที่สุด คือ 106,000.86 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ ธนาคารออมสิน 56,312.57 ล้านบาท และ ธอส. 46,755 ล้านบาท
สถาบันการเงินเฉพาะกิจมียอดสินเชื่อคงค้างสุทธิ ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ประมาณ 991,310.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.79 จากช่วงเดียวกันในปี 2546 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 ร้อยละ 5.78 โดย ธอส. มียอดสินเชื่อคงค้างสุทธิ 352,392.54 ล้านบาท ธนาคารออมสิน 298,695.0 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. 275,527.00 ล้านบาท
เมื่อเปรียบเทียบกับระบบธนาคารพาณิชย์พบว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจมียอดสินเชื่อคงค้างต่อสินเชื่อคงค้างของระบบธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2547 เท่ากับร้อยละ 22.05 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า และ ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 ปี 2546
2. หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (ข้อมูลรายไตรมาส)
ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีประมาณ 112,863.69 ล้านบาท ซึ่งทำให้อัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อคงค้างทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 10.50 ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.20 ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2547 และร้อยละ 10.13 ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 ปี 2546
3. ฐานะทางการเงิน
สินทรัพย์รวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 เท่ากับ 1,515,561.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 8.42 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 ร้อยละ 3.08 สำหรับเงินฝาก ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 ของ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธอส. และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยมีรวมทั้งสิ้น 1,184,558.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2546 และ ณ สิ้นปี 2546 ร้อยละ 8.86 และ 2.13 ตามลำดับ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีกำไรสุทธิใน 2 ไตรมาสแรก ทั้งสิ้น 10,601.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 11.75 ทั้งนี้ ธนาคารออมสินมีกำไรสูงสุดประมาณ 7,438.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปี 2546 ร้อยละ 14.57 ธอส. มีกำไร 2,450.34 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. มีกำไร 572.88 ล้านบาท
4. การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการส่งเสริมภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ
การดำเนินการกองทุนหมู่บ้านผ่าน ธ.ก.ส. และธนาคารออมสิน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 มีจำนวนสมาชิกที่ได้รับเงินกู้ประมาณ 14,449,139 รายโครงการธนาคารประชาชน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 มียอดสินเชื่อคงค้างจำนวน 6,009.26 ล้านบาท มีการปล่อยสินเชื่อรวมตั้งแต่เริ่มโครงการจำนวน 17,872.05 ล้านบาท มีผู้ได้รับประโยชน์ตั้งแต่เริ่มโครงการจำนวน 849,746 รายโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนดำเนินการโดย ธ.ก.ส. ธพว. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารออมสิน (ระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน 2547) มีการอนุมัติสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 1,031.49 ล้านบาท มีผู้ได้รับอนุมัติสินเชื่อจำนวน 8,676 รายโครงการบ้าน ธอส. - กบข. (รอบที่ 2) ตั้งแต่เริ่มโครงการเดือนพฤษภาคม 2546 - มิถุนายน 2547 มีการอนุมัติสินเชื่อจำนวน 52,920 ราย คิดเป็นวงเงิน 34,435 ล้านบาท โครงการบ้าน ธอส. เพื่อคนไทยตั้งแต่เริ่มโครงการเดือนเมษายน 2546 - มิถุนายน 2547 มีการอนุมัติสินเชื่อจำนวน 17,553 ราย คิดเป็นวงเงิน 10,587 ล้านบาท และโครงการบ้านเอื้ออาทร มีจำนวนการอนุมัติสินเชื่อสำหรับลูกค้ากู้ซื้อบ้าน 1,173 ราย คิดเป็นวงเงิน 382 ล้านบาทแม้ว่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของโครงการสินเชื่อนโยบายรัฐบางโครงการ เช่น โครงการธนาคารประชาชน จะปรับเพิ่มขึ้นบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาภาพรวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เป็นผู้อนุมัติสินเชื่อ พบว่าแนวโน้มของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ อยู่ในระดับคงที่ เนื่องจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เช่น ธนาคารออมสิน ได้มีแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระที่ชัดเจน ประกอบกับวงเงินให้สินเชื่อภายใต้โครงการนโยบายรัฐเป็นเพียงส่วนน้อยของสินเชื่อทั้งหมดขององค์กร (สินเชื่อคงค้างโครงการธนาคารประชาชน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 คิดเป็นเพียงร้อยละ 1.9 ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมด) ดังนั้นในภาพรวม หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้โครงการนโยบายรัฐ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ประการใด
โดยสรุป สถาบันการเงินเฉพาะกิจยังคงมีการขยายตัวของสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวทางการควบคุมระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อย่างเข้มงวด ในขณะที่ 2 ไตรมาสแรกของปี สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 8 แห่ง สามารถมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 71/2547 14 กันยายน 2547--