แท็ก
otop
จากความสำเร็จในการผลักดันผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ของไทยในปี 2546 ซึ่งได้ตั้งยอดประมาณการรายได้ไว้จำนวน 20,000 ล้านบาท โดยสรุปผลการจำหน่ายสินค้า OTOP ปี 2546 ทั่วประเทศมียอดขาย ณ ต.ค. 45 - ก.ย. 46 จำนวน 33,276 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 166.39 ของประมาณการปีงบประมาณ 2546 และคิดเป็นกำไรร้อยละ 24.28 ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ของไทยได้รับการตอบรับที่ดีเกินความคาดหมาย
ส่วนในปี 2547 ได้ตั้งยอดประมาณการรายได้ไว้จำนวน 40,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 2 เท่าของปีงบประมาณ 2546 และจากผลสรุปการจำหน่ายสินค้า OTOP ณ ต.ค. 46 - พ.ค. 47 (8 เดือน) มียอดขายจำนวน 28,810 ล้านบาท จะเห็นได้ว่ามีความเป็นไปได้ที่ยอดจำหน่ายสินค้า OTOP จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 40,000 ล้านบาท ซึ่งโดยเฉลี่ยจะต้องได้ยอดขายประมาณ 3,300 ล้านบาท ต่อเดือน และจากยอดจำหน่าย 8 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค. 46 - พ.ค. 47) มียอดขายเฉลี่ย 3,600 ล้านบาท ต่อเดือน
ผลการจำหน่ายสินค้า OTOP ทั่วประเทศประจำเดือนพฤษภาคม 2547 มียอดขาย 4,743 ล้านบาท ซึ่งจังหวัดที่มียอดจำหน่ายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ราชบุรี ฉะเชิงเทรา นครปฐม และเชียงราย ตามลำดับ (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 แสดงจังหวัดที่มียอดจำหน่ายสินค้า OTOP สูงสุด 5 อันดับ ประจำเดือนพฤษภาคม 2547
ลำดับ จังหวัด จำหน่ายในประเทศไทย จำหน่ายต่างประเทศ รวม
1 จันทบุรี 249,566,000 448,437,300 698,003,300
2 ราชบุรี 346,592,000 307,040,000 653,632,000
3 ฉะเชิงเทรา 382,476,900 1,419,400 383,896,300
4 นครปฐม 104,455,613 23,051,400 127,507,013
5 เชียงราย 109,832,065 7,162,750 116,994,815
ที่มา : กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย หน่วย : บาท
ข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2547
จากตารางข้างต้นมีความสอดคล้องกับรายงานผลการส่งเสริมการตลาดสินค้าตามโครงการ OTOP ของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน(ศพช.) กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จำนวน 12 เขตในประเทศไทย โดยข้อมูลรวม ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2547 มีผู้ประกอบการสินค้า OTOP ที่ได้รับการช่วยเหลือด้านการส่งเสริมการตลาดจำนวน 70,212 ราย และเขตที่มีจำนวนผู้ประกอบการสินค้า OTOP ที่ได้รับการช่วยเหลือด้านการส่งเสริมการตลาดสูงสุด คือ เขตที่ 7 ได้แก่ จังหวัดกาญจบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
สำหรับผลของการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP ทั่วประเทศ โดยแบ่งตามหมวดสินค้า OTOP จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ อาหาร, ผ้า/เครื่องแต่งกาย, ศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก, เครื่องดื่ม, เครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่ง, สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารและยา มีดังนี้
ตารางที่ 2 แสดงผลการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ อย. มอก. มผช. ฮาลาล มาตรฐานอื่นๆ รวม
จำนวนราย 6,002 188 1,303 258 13,731 21,482
ที่มา : กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
ข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2547
การได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้า นับว่าจำเป็นอย่างยิ่งต่อการคัดสรรเพื่อการจัดอันดับสินค้า OTOP โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มจะต้องได้การรับรองมาตรฐานจาก อย. และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนก่อน
สำนักประสานงานโครงการ OTOP มีการวางแผนการตลาดในปี 2547 (นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม) โดยจัดโครงการ "SMART OTOP" เป็นการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาทำให้มีเรื่องราวหรือทำให้ทักษะของชาวบ้านมาผนวกกัน ซึ่งหมายถึง การผสมผสานระหว่าง 1)เรื่องราวของภูมิปัญญาท้องถิ่น 2)สถานที่ 3)แหล่งวัตถุดิบ/แหล่งท่องเที่ยว/แหล่งของคนที่มีทักษะ ซึ่งทั้งหมดนี้จะผสมผสานเป็นหนึ่งเดียวคือผลิตภัณฑ์ และเป็นลักษณะของการทำตลาดที่มีส่วนผสมทางการตลาด (3P) เรียกว่า "การตลาดเชิงประสบการณ์" เพราะผู้ซื้อได้เห็นกระบวนการผลิตทั้งกระบวนการ ซึ่งจะทำให้เห็นคุณค่าของสินค้ามากขึ้น โดยจะต้องนำความเป็นท้องถิ่นมาเชื่อมกับความเป็นสากล ไม่จำเป็นต้องเป็นไทยอย่างเดียว อีกทั้งต้องมีการจัดระดับชั้นคุณภาพ 1 - 5 ดาว ซึ่งแต่ละดาวมีความแตกต่างกัน และความแตกต่างก็มีหลายมิติ เพราะสินค้าบางชนิดสามารถที่จะเบ็ดเสร็จอยู่ในตัว
วิธีการทำตลาด 1)ต้องแยกระดับของสินค้า OTOP โดยใช้หลักการคัดสรรที่ชัดเจน เพื่อสร้างความเข้าใจด้านราคาแก่ผู้ซื้ออย่างถูกต้อง 2)ทำให้ผู้ประกอบการ OTOP รู้สถานภาพปัจจุบันของตน เพื่อเพิ่มการพัฒนาศักยภาพหรือเพื่อรักษาสถานภาพของตนให้อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุด 3)การรักษาความสมดุลระหว่างผู้ประกอบการ OTOP กับผู้เข้าไปช่วยเหลือ (ภาครัฐ) โดยการอบรมหลักสูตร "SMART OTOP" แก่ผู้เข้าไปช่วยหลือ ซึ่งได้แก่ พัฒนาชุมชน อุตสาหกรรมจังหวัด พาณิชย์จังหวัด สถาบันการเงิน เป็นต้น ในโปรแกรม "Training The Trainer" เพื่อปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์การมอง OTOP ให้ถูกต้อง คือ การมองแบบไทยสากล
ในปี 2548 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีแผนการพัฒนาสินค้า OTOP ด้านการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ตรงต่อความต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยร่วมมือกับองค์กรส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แห่งประเทศญี่ปุ่น หรือเจโทร โดยประเทศญี่ปุ่นจะพิจารณาคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาสินค้ามาเสนอต่อประเทศไทยเพื่อนำมาพัฒนาสินค้า OTOP และจัดส่งเจ้าหน้าที่มาให้การอบรมทั้งผู้ประกอบการ OTOP และเจ้าหน้าที่ เพื่อให้สินค้าเหมาะสมกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ เพราะสินค้า OTOP ของประเทศไทยในปัจจุบันประสบปัญหาด้านมาตรฐานสุขอนามัยสากล ทำให้ยากต่อการนำสินค้าส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ
OTOP ในอนาคตจะต้องจัดระเบียบใหม่อย่างเข้มงวด โดยให้มีมาตรฐานอยู่ในทิศทางเดียวกันที่ต้องมากกว่าการเป็นโปรดักส์ เพื่อเข้าสู่การเป็นเอ็นเตอร์ไพรส์ หรือวิสาหกิจ กล่าวคือ จะต้องพัฒนาสิ่งต่างๆ ประกอบด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด ต้นทุน บัญชี วัตถุดิบ ระบบขนส่ง บรรจุภัณฑ์ และการสร้างแบรนด์ เพื่อให้สินค้า OTOP ก้าวสู่การเป็น "Citizen Brand"
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ส่วนในปี 2547 ได้ตั้งยอดประมาณการรายได้ไว้จำนวน 40,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 2 เท่าของปีงบประมาณ 2546 และจากผลสรุปการจำหน่ายสินค้า OTOP ณ ต.ค. 46 - พ.ค. 47 (8 เดือน) มียอดขายจำนวน 28,810 ล้านบาท จะเห็นได้ว่ามีความเป็นไปได้ที่ยอดจำหน่ายสินค้า OTOP จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 40,000 ล้านบาท ซึ่งโดยเฉลี่ยจะต้องได้ยอดขายประมาณ 3,300 ล้านบาท ต่อเดือน และจากยอดจำหน่าย 8 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค. 46 - พ.ค. 47) มียอดขายเฉลี่ย 3,600 ล้านบาท ต่อเดือน
ผลการจำหน่ายสินค้า OTOP ทั่วประเทศประจำเดือนพฤษภาคม 2547 มียอดขาย 4,743 ล้านบาท ซึ่งจังหวัดที่มียอดจำหน่ายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ราชบุรี ฉะเชิงเทรา นครปฐม และเชียงราย ตามลำดับ (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 แสดงจังหวัดที่มียอดจำหน่ายสินค้า OTOP สูงสุด 5 อันดับ ประจำเดือนพฤษภาคม 2547
ลำดับ จังหวัด จำหน่ายในประเทศไทย จำหน่ายต่างประเทศ รวม
1 จันทบุรี 249,566,000 448,437,300 698,003,300
2 ราชบุรี 346,592,000 307,040,000 653,632,000
3 ฉะเชิงเทรา 382,476,900 1,419,400 383,896,300
4 นครปฐม 104,455,613 23,051,400 127,507,013
5 เชียงราย 109,832,065 7,162,750 116,994,815
ที่มา : กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย หน่วย : บาท
ข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2547
จากตารางข้างต้นมีความสอดคล้องกับรายงานผลการส่งเสริมการตลาดสินค้าตามโครงการ OTOP ของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน(ศพช.) กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จำนวน 12 เขตในประเทศไทย โดยข้อมูลรวม ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2547 มีผู้ประกอบการสินค้า OTOP ที่ได้รับการช่วยเหลือด้านการส่งเสริมการตลาดจำนวน 70,212 ราย และเขตที่มีจำนวนผู้ประกอบการสินค้า OTOP ที่ได้รับการช่วยเหลือด้านการส่งเสริมการตลาดสูงสุด คือ เขตที่ 7 ได้แก่ จังหวัดกาญจบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
สำหรับผลของการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP ทั่วประเทศ โดยแบ่งตามหมวดสินค้า OTOP จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ อาหาร, ผ้า/เครื่องแต่งกาย, ศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก, เครื่องดื่ม, เครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่ง, สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารและยา มีดังนี้
ตารางที่ 2 แสดงผลการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ อย. มอก. มผช. ฮาลาล มาตรฐานอื่นๆ รวม
จำนวนราย 6,002 188 1,303 258 13,731 21,482
ที่มา : กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
ข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2547
การได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้า นับว่าจำเป็นอย่างยิ่งต่อการคัดสรรเพื่อการจัดอันดับสินค้า OTOP โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มจะต้องได้การรับรองมาตรฐานจาก อย. และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนก่อน
สำนักประสานงานโครงการ OTOP มีการวางแผนการตลาดในปี 2547 (นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม) โดยจัดโครงการ "SMART OTOP" เป็นการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาทำให้มีเรื่องราวหรือทำให้ทักษะของชาวบ้านมาผนวกกัน ซึ่งหมายถึง การผสมผสานระหว่าง 1)เรื่องราวของภูมิปัญญาท้องถิ่น 2)สถานที่ 3)แหล่งวัตถุดิบ/แหล่งท่องเที่ยว/แหล่งของคนที่มีทักษะ ซึ่งทั้งหมดนี้จะผสมผสานเป็นหนึ่งเดียวคือผลิตภัณฑ์ และเป็นลักษณะของการทำตลาดที่มีส่วนผสมทางการตลาด (3P) เรียกว่า "การตลาดเชิงประสบการณ์" เพราะผู้ซื้อได้เห็นกระบวนการผลิตทั้งกระบวนการ ซึ่งจะทำให้เห็นคุณค่าของสินค้ามากขึ้น โดยจะต้องนำความเป็นท้องถิ่นมาเชื่อมกับความเป็นสากล ไม่จำเป็นต้องเป็นไทยอย่างเดียว อีกทั้งต้องมีการจัดระดับชั้นคุณภาพ 1 - 5 ดาว ซึ่งแต่ละดาวมีความแตกต่างกัน และความแตกต่างก็มีหลายมิติ เพราะสินค้าบางชนิดสามารถที่จะเบ็ดเสร็จอยู่ในตัว
วิธีการทำตลาด 1)ต้องแยกระดับของสินค้า OTOP โดยใช้หลักการคัดสรรที่ชัดเจน เพื่อสร้างความเข้าใจด้านราคาแก่ผู้ซื้ออย่างถูกต้อง 2)ทำให้ผู้ประกอบการ OTOP รู้สถานภาพปัจจุบันของตน เพื่อเพิ่มการพัฒนาศักยภาพหรือเพื่อรักษาสถานภาพของตนให้อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุด 3)การรักษาความสมดุลระหว่างผู้ประกอบการ OTOP กับผู้เข้าไปช่วยเหลือ (ภาครัฐ) โดยการอบรมหลักสูตร "SMART OTOP" แก่ผู้เข้าไปช่วยหลือ ซึ่งได้แก่ พัฒนาชุมชน อุตสาหกรรมจังหวัด พาณิชย์จังหวัด สถาบันการเงิน เป็นต้น ในโปรแกรม "Training The Trainer" เพื่อปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์การมอง OTOP ให้ถูกต้อง คือ การมองแบบไทยสากล
ในปี 2548 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีแผนการพัฒนาสินค้า OTOP ด้านการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ตรงต่อความต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยร่วมมือกับองค์กรส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แห่งประเทศญี่ปุ่น หรือเจโทร โดยประเทศญี่ปุ่นจะพิจารณาคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาสินค้ามาเสนอต่อประเทศไทยเพื่อนำมาพัฒนาสินค้า OTOP และจัดส่งเจ้าหน้าที่มาให้การอบรมทั้งผู้ประกอบการ OTOP และเจ้าหน้าที่ เพื่อให้สินค้าเหมาะสมกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ เพราะสินค้า OTOP ของประเทศไทยในปัจจุบันประสบปัญหาด้านมาตรฐานสุขอนามัยสากล ทำให้ยากต่อการนำสินค้าส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ
OTOP ในอนาคตจะต้องจัดระเบียบใหม่อย่างเข้มงวด โดยให้มีมาตรฐานอยู่ในทิศทางเดียวกันที่ต้องมากกว่าการเป็นโปรดักส์ เพื่อเข้าสู่การเป็นเอ็นเตอร์ไพรส์ หรือวิสาหกิจ กล่าวคือ จะต้องพัฒนาสิ่งต่างๆ ประกอบด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด ต้นทุน บัญชี วัตถุดิบ ระบบขนส่ง บรรจุภัณฑ์ และการสร้างแบรนด์ เพื่อให้สินค้า OTOP ก้าวสู่การเป็น "Citizen Brand"
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-