ธุรกิจเอสเอ็มอีไทยได้ประโยชน์อย่างไร
เนื่องจากในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจของจีนมีการขยายตัวในอัตราที่เร็วขึ้นมาก มีการนำเข้าสินค้าเครื่องไฟฟ้า เหล็กเพื่อการก่อสร้าง และแผ่นเหล็กสำหรับผลิตตัวถังรถยนต์ เป็นจำนวนมาก จีนจึงกลายเป็นผู้ซื้อรายใหญ่สำหรับหลายๆ ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และอาเซียน รวมทั้งไทยด้วย ซึ่งในขณะนั้นตลาดส่งออกหลักๆ ของไทย อันได้แก่ สหรัฐอเมริกา ยุโรป และตลาดอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในภาวะเศรษฐกิจหดตัวกัน
ดังนั้นไทยจึงหันมาสนใจตลาดในประเทศจีนมากขึ้น โดยการส่งออกของไทยไปยังจีนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 60% โดยในปี 2546 มีมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศกว่า 487,129 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 236,057.9 ล้านบาท และมูลค่าการนำเข้า 251,071.5 ล้านบาท จีนจึงกลายเป็นประเทศที่มีความสำคัญกับไทยเป็นอย่างมาก จึงได้มีการหารือระหว่างไทยกับจีน ในการทำความตกลงเขตการค้าเสรีไทยจีน (FTA) โดยความตกลงฯ ในเบื้องต้นทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้มีการเร่งลดภาษีผักและผลไม้ระหว่างกันภายใต้กรอบ Early Harvest Programme ของกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน และได้ร่วมลงนามในความตกลงฯ ไปแล้วเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2546 โดยมีสาระสำคัญของความตกลงฯ ดังนี้
1. การลดภาษีสินค้าผักและผลไม้เหลือ 0% ทันที ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546
2. สินค้าที่จะมีการลดภาษี ครอบคลุมสินค้าผักและผลไม้ทุกรายการตามพิกัดศุลกากรตอนที่ 07-08 พิกัด 6 หลัก รวมทั้งหมด 116 รายการ ซึ่งมีสินค้าที่สำคัญได้แก่ พืชผักสดแช่เย็นทุกชนิด มันเส้น มันอัดเม็ด หอม กระเทียม มันสำปะหลัง มันฝรั่ง ถั่วต่างๆ ผลไม้สดหรือแห้ง เช่น ลำไย ทุเรียน เงาะ กล้วย และแอปเปิ้ล สำหรับผักและผลไม้ที่ไทยมีการส่งออกไปยังประเทศจีน ได้แก่ มันสำปะหลัง ลำใยแห้ง ลำใยสด ทุเรียนสด และส้มโอ ส่วนสินค้าผักและผลไม้ที่ไทยนำเข้าจากจีนที่สำคัญ ได้แก่ แอปเปิ้ล ลูกแพร์ ควินซ์ แคร์รอต เห็ด และมันฝรั่ง
3. กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้ากำหนดให้ใช้หลัก Wholly obtained โดยต้องเป็นสินค้าที่เพาะปลูก และเก็บเกี่ยวในประเทศเท่านั้นหลังการเปิดเสรีสินค้าผักและผลไม้ระหว่างไทย-จีน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 เป็นต้นมา ส่งผลให้การค้าในสินค้ากลุ่มดังกล่าวระหว่างไทยและจีนขยายตัวในระดับสูง โดยการค้าระหว่างไทย-จีนในสินค้าผักและผลไม้ ในช่วงเดือนตุลาคม 2546-เมษายน 2547 มีมูลค่า 8,789 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.73 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่า 6,621 ล้านบาท โดยการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.9 และ 128.23 ตามลำดับ ทั้งนี้ ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับจีนคิดเป็นมูลค่า 2,506.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.95% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 สินค้าที่ไทยส่งออกเป็นมูลค่าสูง ได้แก่ ลำไยแห้ง ลำไยสด ทุเรียน สับปะรด และมันสำปะหลัง (อัดเม็ด/มันเส้น) ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้ามูลค่าสูง ได้แก่ แอปเปิ้ล แพร์และควินซ์ โดยในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2546-เมษายน 2547 ไทยมีการนำเข้าสินค้าผักผลไม้จากจีนเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นของการเปิด FTA และไม่ใช่ฤดูกาลผลไม้ของไทย อย่างไรก็ตาม คาดว่าในเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปปริมาณการส่งออกผักและผลไม้ไทยจะเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากผลไม้หลายชนิด เช่น ทุเรียน ลำไยและมังคุด จะออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก และการเปิดเสรีการค้าไทย-จีนเป็นช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ทำให้ผู้บริโภคไทยมีความต้องการนำเข้าผักและผลไม้เมืองหนาวในปริมาณมาก โดยเฉพาะแอปเปิ้ล มีมูลค่าการนำเข้าถึงร้อยละ 34 ของมูลค่าการนำเข้าผักและผลไม้จากจีนทั้งหมด
สำหรับการส่งออกผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้งของไทยไปยังจีนในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 มีมูลค่า 1,382 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 121.26 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546 ส่วนการนำเข้าผักผลไม้จากจีนก็มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงเช่นเดียวกัน คือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.3 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546 หรือมีมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 2,040.40 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ามูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งสองจะมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น หลังจากการเปิดการค้าเสรีไปแล้ว การค้าผักและผลไม้ระหว่างไทยกับจีนยังประสบปัญหาและอุปสรรคอยู่ ซึ่งทางไทยและจีนก็ได้หาทางเจรจาและร่วมมือกันในการแก้ปัญหาดังกล่าว อันได้แก่
1) ปัญหาการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้านำเข้าจากไทยของจีนมีการเก็บในอัตรา 13% ซึ่งสูงกว่าที่เก็บจากสินค้าที่ผลิตในประเทศ แต่ไม่ได้เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกับผักผลไม้ที่ปลูกในประเทศ ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผลไม้ส่งออกของไทย
2) ปัญหาการขอใบอนุญาตนำเข้าจีนกำหนดมาตรฐานบริษัท(Trading firm) ที่จะได้รับอนุญาตให้นำเข้าไว้สูง ในขณะนี้จีนได้แก้ไขกฎหมายการค้าฉบับใหม่ ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออก/นำเข้าขนาดกลางและเล็กของจีนสามารถดำเนินธุรกิจส่งออก/นำเข้ากับต่างประเทศได้โดยตรงและสะดวกมากขึ้นโดยไม่ต้องผ่าน Trading Firm โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2547 เป็นต้นไป
3) ปัญหาด้านมาตรฐานสุขอนามัย ซึ่งการตรวจสอบด้านสุขอนามัยของจีนมีความเข้มงวดมาก และการปฏิบัติมีความแตกต่างกันแต่ละมณฑล ทำให้ขาดมาตรฐาน โดยทั้งนี้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยและกระทรวงควบคุมและกักกันโรคของจีน ได้ทำ MRA ด้านความร่วมมือด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช เพื่อให้มีระบบการตรวจสอบที่เท่าเทียมกัน และลดขั้นตอนและระยะเวลาในการตรวจสอบให้เร็วขึ้น
4) ปัญหาด้านการคมนาคม การขนส่งสินค้าทางเรือของไทยไปจีนหลายครั้งต้องประสบปัญหาแม่น้ำตื้นเขิน ในส่วนของการขนส่งทางอากาศยังมีจำนวนอากาศยานพาณิชย์ของไทยที่ขนส่งสินค้าเข้าจีนมีจำนวนไม่มากพอ ซึ่งการขนส่งทางบกยังอยู่ในระหว่างเร่งการก่อสร้าง คาดว่าจะเสร็จภายในปี 2550 ทำให้การขนส่งภายในจีนยังไม่ดีพอเท่าที่ควร
การทำ FTA ระหว่างไทยจีนนั้น เป็นการทำเฉพาะในสินค้าผักผลไม้เท่านั้น ซึ่งผู้ผลิตในภาคเกษตรทั้งสองประเทศจะได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย โดยไทยน่าจะได้ประโยชน์มากกว่า เพราะตลาดจีนเป็นตลาดที่ใหญ่กว่าไทยมาก และสินค้ามีความแตกต่างกันในเรื่องของอากาศ ซึ่งจีนอยู่ในเขตอบอุ่น ส่วนไทยอยู่ในเขตร้อน สินค้าอะไรที่จีนถูกของไทยจะแพง ถ้าของจีนแพง ของไทยก็จะถูกกว่า และสินค้าที่จีนมีความต้องการเป็นอย่างมากและไม่จำกัด ได้แก่ ลำใยแห้ง ข้าวหอมมะลิ การทำ FTA ผักผลไม้ไทยจีนถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับธุรกิจภาคเกษตรของไทยให้มีโอกาสได้พัฒนาตนเองให้สามารถแข่งขันกับจีนได้ โดยภาครัฐให้การสนับสนุนช่วยเหลือในเรื่องของเงินทุน เพื่อนำไปสู่การเปิดการค้าเสรีของสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมทั้งการบริการ และการลงทุน ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ (ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
เนื่องจากในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจของจีนมีการขยายตัวในอัตราที่เร็วขึ้นมาก มีการนำเข้าสินค้าเครื่องไฟฟ้า เหล็กเพื่อการก่อสร้าง และแผ่นเหล็กสำหรับผลิตตัวถังรถยนต์ เป็นจำนวนมาก จีนจึงกลายเป็นผู้ซื้อรายใหญ่สำหรับหลายๆ ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และอาเซียน รวมทั้งไทยด้วย ซึ่งในขณะนั้นตลาดส่งออกหลักๆ ของไทย อันได้แก่ สหรัฐอเมริกา ยุโรป และตลาดอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในภาวะเศรษฐกิจหดตัวกัน
ดังนั้นไทยจึงหันมาสนใจตลาดในประเทศจีนมากขึ้น โดยการส่งออกของไทยไปยังจีนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 60% โดยในปี 2546 มีมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศกว่า 487,129 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 236,057.9 ล้านบาท และมูลค่าการนำเข้า 251,071.5 ล้านบาท จีนจึงกลายเป็นประเทศที่มีความสำคัญกับไทยเป็นอย่างมาก จึงได้มีการหารือระหว่างไทยกับจีน ในการทำความตกลงเขตการค้าเสรีไทยจีน (FTA) โดยความตกลงฯ ในเบื้องต้นทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้มีการเร่งลดภาษีผักและผลไม้ระหว่างกันภายใต้กรอบ Early Harvest Programme ของกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน และได้ร่วมลงนามในความตกลงฯ ไปแล้วเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2546 โดยมีสาระสำคัญของความตกลงฯ ดังนี้
1. การลดภาษีสินค้าผักและผลไม้เหลือ 0% ทันที ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546
2. สินค้าที่จะมีการลดภาษี ครอบคลุมสินค้าผักและผลไม้ทุกรายการตามพิกัดศุลกากรตอนที่ 07-08 พิกัด 6 หลัก รวมทั้งหมด 116 รายการ ซึ่งมีสินค้าที่สำคัญได้แก่ พืชผักสดแช่เย็นทุกชนิด มันเส้น มันอัดเม็ด หอม กระเทียม มันสำปะหลัง มันฝรั่ง ถั่วต่างๆ ผลไม้สดหรือแห้ง เช่น ลำไย ทุเรียน เงาะ กล้วย และแอปเปิ้ล สำหรับผักและผลไม้ที่ไทยมีการส่งออกไปยังประเทศจีน ได้แก่ มันสำปะหลัง ลำใยแห้ง ลำใยสด ทุเรียนสด และส้มโอ ส่วนสินค้าผักและผลไม้ที่ไทยนำเข้าจากจีนที่สำคัญ ได้แก่ แอปเปิ้ล ลูกแพร์ ควินซ์ แคร์รอต เห็ด และมันฝรั่ง
3. กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้ากำหนดให้ใช้หลัก Wholly obtained โดยต้องเป็นสินค้าที่เพาะปลูก และเก็บเกี่ยวในประเทศเท่านั้นหลังการเปิดเสรีสินค้าผักและผลไม้ระหว่างไทย-จีน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 เป็นต้นมา ส่งผลให้การค้าในสินค้ากลุ่มดังกล่าวระหว่างไทยและจีนขยายตัวในระดับสูง โดยการค้าระหว่างไทย-จีนในสินค้าผักและผลไม้ ในช่วงเดือนตุลาคม 2546-เมษายน 2547 มีมูลค่า 8,789 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.73 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่า 6,621 ล้านบาท โดยการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.9 และ 128.23 ตามลำดับ ทั้งนี้ ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับจีนคิดเป็นมูลค่า 2,506.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.95% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 สินค้าที่ไทยส่งออกเป็นมูลค่าสูง ได้แก่ ลำไยแห้ง ลำไยสด ทุเรียน สับปะรด และมันสำปะหลัง (อัดเม็ด/มันเส้น) ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้ามูลค่าสูง ได้แก่ แอปเปิ้ล แพร์และควินซ์ โดยในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2546-เมษายน 2547 ไทยมีการนำเข้าสินค้าผักผลไม้จากจีนเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นของการเปิด FTA และไม่ใช่ฤดูกาลผลไม้ของไทย อย่างไรก็ตาม คาดว่าในเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปปริมาณการส่งออกผักและผลไม้ไทยจะเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากผลไม้หลายชนิด เช่น ทุเรียน ลำไยและมังคุด จะออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก และการเปิดเสรีการค้าไทย-จีนเป็นช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ทำให้ผู้บริโภคไทยมีความต้องการนำเข้าผักและผลไม้เมืองหนาวในปริมาณมาก โดยเฉพาะแอปเปิ้ล มีมูลค่าการนำเข้าถึงร้อยละ 34 ของมูลค่าการนำเข้าผักและผลไม้จากจีนทั้งหมด
สำหรับการส่งออกผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้งของไทยไปยังจีนในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 มีมูลค่า 1,382 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 121.26 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546 ส่วนการนำเข้าผักผลไม้จากจีนก็มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงเช่นเดียวกัน คือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.3 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2546 หรือมีมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 2,040.40 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ามูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งสองจะมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น หลังจากการเปิดการค้าเสรีไปแล้ว การค้าผักและผลไม้ระหว่างไทยกับจีนยังประสบปัญหาและอุปสรรคอยู่ ซึ่งทางไทยและจีนก็ได้หาทางเจรจาและร่วมมือกันในการแก้ปัญหาดังกล่าว อันได้แก่
1) ปัญหาการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้านำเข้าจากไทยของจีนมีการเก็บในอัตรา 13% ซึ่งสูงกว่าที่เก็บจากสินค้าที่ผลิตในประเทศ แต่ไม่ได้เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกับผักผลไม้ที่ปลูกในประเทศ ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผลไม้ส่งออกของไทย
2) ปัญหาการขอใบอนุญาตนำเข้าจีนกำหนดมาตรฐานบริษัท(Trading firm) ที่จะได้รับอนุญาตให้นำเข้าไว้สูง ในขณะนี้จีนได้แก้ไขกฎหมายการค้าฉบับใหม่ ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออก/นำเข้าขนาดกลางและเล็กของจีนสามารถดำเนินธุรกิจส่งออก/นำเข้ากับต่างประเทศได้โดยตรงและสะดวกมากขึ้นโดยไม่ต้องผ่าน Trading Firm โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2547 เป็นต้นไป
3) ปัญหาด้านมาตรฐานสุขอนามัย ซึ่งการตรวจสอบด้านสุขอนามัยของจีนมีความเข้มงวดมาก และการปฏิบัติมีความแตกต่างกันแต่ละมณฑล ทำให้ขาดมาตรฐาน โดยทั้งนี้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยและกระทรวงควบคุมและกักกันโรคของจีน ได้ทำ MRA ด้านความร่วมมือด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช เพื่อให้มีระบบการตรวจสอบที่เท่าเทียมกัน และลดขั้นตอนและระยะเวลาในการตรวจสอบให้เร็วขึ้น
4) ปัญหาด้านการคมนาคม การขนส่งสินค้าทางเรือของไทยไปจีนหลายครั้งต้องประสบปัญหาแม่น้ำตื้นเขิน ในส่วนของการขนส่งทางอากาศยังมีจำนวนอากาศยานพาณิชย์ของไทยที่ขนส่งสินค้าเข้าจีนมีจำนวนไม่มากพอ ซึ่งการขนส่งทางบกยังอยู่ในระหว่างเร่งการก่อสร้าง คาดว่าจะเสร็จภายในปี 2550 ทำให้การขนส่งภายในจีนยังไม่ดีพอเท่าที่ควร
การทำ FTA ระหว่างไทยจีนนั้น เป็นการทำเฉพาะในสินค้าผักผลไม้เท่านั้น ซึ่งผู้ผลิตในภาคเกษตรทั้งสองประเทศจะได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย โดยไทยน่าจะได้ประโยชน์มากกว่า เพราะตลาดจีนเป็นตลาดที่ใหญ่กว่าไทยมาก และสินค้ามีความแตกต่างกันในเรื่องของอากาศ ซึ่งจีนอยู่ในเขตอบอุ่น ส่วนไทยอยู่ในเขตร้อน สินค้าอะไรที่จีนถูกของไทยจะแพง ถ้าของจีนแพง ของไทยก็จะถูกกว่า และสินค้าที่จีนมีความต้องการเป็นอย่างมากและไม่จำกัด ได้แก่ ลำใยแห้ง ข้าวหอมมะลิ การทำ FTA ผักผลไม้ไทยจีนถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับธุรกิจภาคเกษตรของไทยให้มีโอกาสได้พัฒนาตนเองให้สามารถแข่งขันกับจีนได้ โดยภาครัฐให้การสนับสนุนช่วยเหลือในเรื่องของเงินทุน เพื่อนำไปสู่การเปิดการค้าเสรีของสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมทั้งการบริการ และการลงทุน ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ (ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-