“นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ”ระบุพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่พรรคการเมืองที่อยู่เบื้องหลัง’เอกยุทธ’ ย้ำหากมีเหตุการณ์อะไรที่สะเทือนขวัญรัฐบาล ก็เหมาว่าพรรคประชาธิปัตย์อยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น ปลุก’วิชิต’ให้รับรู้ การล้มล้างรัฐบาล คือ การลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาล
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส. พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า สังคมรู้ว่านายเอกยุทธและพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันในการเคลื่อนไหวทางการเมือง แม้ว่าครั้งหนึ่งนายเอกยุทธได้เสนอที่จะสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ในทางการเมืองก็ตาม ซึ่งพรรคได้ปฏิเสธไปแล้ว แต่ความเห็นในบางเรื่องอาจจะสอดคล้องกันได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีความสัมพันธ์และสนับสนุนซึ่งกันและกันในทางการเมือง
ส่วนการที่พรรคไทยรักไทยพยายามที่จะให้ความเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้อยู่เบื้องหลังนั้น ตนมองว่าพรรคไทยรักไทยกลัวพรรคประชาธิปัตย์ เพราะเวลาที่มีเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนถึงรัฐบาลในทุกครั้ง ไม่ว่านักวิชาการ เอ็นจีโอ. หรือใครก็ตามออกมาเขย่าหรือวิพากษ์รัฐบาล พรรคไทยรักไทยจะเหมาว่าพรรคประชาธิปัตย์อยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น ‘เวลามีอะไรกระโตกกระตากขึ้นมา ทำให้รัฐบาลเสื่อมเสียเค้าก็จะมองว่าพรรคประชาธิปัตย์อยู่เบื้องหลัง อยากให้พรรคไทยรักไทยแยกการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนในสังคม ออกจากกันเป็นส่วนๆ อย่าเหมาว่าเราอยู่เบื้องหลัง’ นายนิพิฏฐ์ กล่าว
ส่วนกรณีที่นายวิชิต ปลั่งศรีสกุลกล่าวว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการล้มล้างรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า นายวิชิตหลับก็ฝันถึงรัฐธรรมนูญ ตื่นขึ้นมาก็คิดถึงรัฐธรรมนูญ และนายวิชิตเคยให้ความเห็นหลายครั้งแล้วว่า พรรคประชาธิปัตย์จะทำการขัดรัฐธรรมนูญ และจะส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ซึ่งตนคิดว่านายวิชิตทำเช่นนี้ไม่ต่ำกว่า 100 ครั้งแล้ว ‘คุณวิชิตก็พูดอย่างนี้ไปเรื่อยเปื่อย ขอให้ทำจริงๆสักครั้งเถอะ การเคลื่อนไหวเพื่อกดดัน เพื่อล้มล้างรัฐบาลนั้น เป็นสิทธิ ประชาชนนอกสภาก็สามารถกดดันล้มล้างรัฐบาลได้’ นายนิพิฏฐ์ กล่าว และว่าการล้มล้างรัฐบาลนั้นหมายความว่าลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาล และทำให้รัฐบาลได้รับเสียงสนับสนุนน้อยลงจนไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งในระบอบประชาธิปไตยสามารถที่จะทำได้ การที่สมาชิกของพรรคประชาธิปัตย์ให้ความเห็นอยู่ในขณะนี้ เพราะต้องการให้การต่อสู้ระหว่างนายกฯและนายเอกยุทธเป็นการต่อสู้ที่มีความเท่าเทียมกัน ‘นายกฯอยู่ในฐานะผู้บริหารประเทศสูงสุด แต่นายเอกยุทธเป็นคนๆหนึ่งซึ่งไม่มีอำนาจอะไรเลย ในขณะเดียวกันรัฐบาลพยายามใช้กลไกของรัฐไปกดดันคุณเอกยุทธ เราเลยพยายามบอกว่าถ้าคุณจะต่อสู้กันในทางความเห็นทางการเมือง ต้องต่อสู้กันด้วยความเป็นอิสระ ด้วยความเท่าเทียมกัน คนทุกคนต้องแสดงความเห็นได้อย่างอิสระโดยไม่มีกลไกของรัฐเข้ามาบีบคั้นเท่านั้นเอง’ นายนิพิฏฐ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส. พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า สังคมรู้ว่านายเอกยุทธและพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันในการเคลื่อนไหวทางการเมือง แม้ว่าครั้งหนึ่งนายเอกยุทธได้เสนอที่จะสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ในทางการเมืองก็ตาม ซึ่งพรรคได้ปฏิเสธไปแล้ว แต่ความเห็นในบางเรื่องอาจจะสอดคล้องกันได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีความสัมพันธ์และสนับสนุนซึ่งกันและกันในทางการเมือง
ส่วนการที่พรรคไทยรักไทยพยายามที่จะให้ความเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้อยู่เบื้องหลังนั้น ตนมองว่าพรรคไทยรักไทยกลัวพรรคประชาธิปัตย์ เพราะเวลาที่มีเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนถึงรัฐบาลในทุกครั้ง ไม่ว่านักวิชาการ เอ็นจีโอ. หรือใครก็ตามออกมาเขย่าหรือวิพากษ์รัฐบาล พรรคไทยรักไทยจะเหมาว่าพรรคประชาธิปัตย์อยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น ‘เวลามีอะไรกระโตกกระตากขึ้นมา ทำให้รัฐบาลเสื่อมเสียเค้าก็จะมองว่าพรรคประชาธิปัตย์อยู่เบื้องหลัง อยากให้พรรคไทยรักไทยแยกการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนในสังคม ออกจากกันเป็นส่วนๆ อย่าเหมาว่าเราอยู่เบื้องหลัง’ นายนิพิฏฐ์ กล่าว
ส่วนกรณีที่นายวิชิต ปลั่งศรีสกุลกล่าวว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการล้มล้างรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า นายวิชิตหลับก็ฝันถึงรัฐธรรมนูญ ตื่นขึ้นมาก็คิดถึงรัฐธรรมนูญ และนายวิชิตเคยให้ความเห็นหลายครั้งแล้วว่า พรรคประชาธิปัตย์จะทำการขัดรัฐธรรมนูญ และจะส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ซึ่งตนคิดว่านายวิชิตทำเช่นนี้ไม่ต่ำกว่า 100 ครั้งแล้ว ‘คุณวิชิตก็พูดอย่างนี้ไปเรื่อยเปื่อย ขอให้ทำจริงๆสักครั้งเถอะ การเคลื่อนไหวเพื่อกดดัน เพื่อล้มล้างรัฐบาลนั้น เป็นสิทธิ ประชาชนนอกสภาก็สามารถกดดันล้มล้างรัฐบาลได้’ นายนิพิฏฐ์ กล่าว และว่าการล้มล้างรัฐบาลนั้นหมายความว่าลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาล และทำให้รัฐบาลได้รับเสียงสนับสนุนน้อยลงจนไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งในระบอบประชาธิปไตยสามารถที่จะทำได้ การที่สมาชิกของพรรคประชาธิปัตย์ให้ความเห็นอยู่ในขณะนี้ เพราะต้องการให้การต่อสู้ระหว่างนายกฯและนายเอกยุทธเป็นการต่อสู้ที่มีความเท่าเทียมกัน ‘นายกฯอยู่ในฐานะผู้บริหารประเทศสูงสุด แต่นายเอกยุทธเป็นคนๆหนึ่งซึ่งไม่มีอำนาจอะไรเลย ในขณะเดียวกันรัฐบาลพยายามใช้กลไกของรัฐไปกดดันคุณเอกยุทธ เราเลยพยายามบอกว่าถ้าคุณจะต่อสู้กันในทางความเห็นทางการเมือง ต้องต่อสู้กันด้วยความเป็นอิสระ ด้วยความเท่าเทียมกัน คนทุกคนต้องแสดงความเห็นได้อย่างอิสระโดยไม่มีกลไกของรัฐเข้ามาบีบคั้นเท่านั้นเอง’ นายนิพิฏฐ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-