จุรินทร์ ระบุคนรู้ทันทักษิณ เริ่มแสดงพลังมากขึ้น แม้ถูกใช้อำนาจรัฐข่มขู่
วันนี้ (14 ก.ย.47) ที่อาคารรัฐสภา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) แถลงภายหลังการประชุมวิปฝ่ายค้าน ว่า ที่ประชุมได้วิเคราะห์ถึงกรณีที่นายเอกยุทธ อัญชันบุตร ออกมาเปิดโปงเรื่องการปั่นหุ้นของนักการเมือง ทำให้เรื่องดังกล่าวได้อยู่ในความสนใจของประชาชน นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งยังก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจและการเมือง จึงละเลยไม่ได้ โดยวิปฝ่ายค้านได้ข้อสรุปว่ากรณีนี้มีผลกระทบที่ทำให้รัฐบาลออกอาการในทางการเมืองมากเป็นพิเศษ อย่างน้อยที่สุดก็ 3 ประเด็น คือ 1. ประชาชนและองค์กรต่างๆ ที่รู้ทันรัฐบาลนั้น กล้าที่จะแสดงออกต่อความไม่เห็นด้วยกับการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลมากขึ้น แม้จะถูกข่มขู่ด้วยถ้อยคำที่ค่อนข้างรุนแรงจากหัวหน้ารัฐบาล หรือ ตัวแทนรัฐบาลก็ตาม
2.ชี้ให้เห็นชัดเจนว่ายังมีการใช้อำนาจรัฐ โดยอาศัยกลไกของรัฐเล่นงานและคุกคามผู้ที่ออกมาให้ความข้อมูลและเบาะแสที่ไม่ถูกใจรัฐบาลเหมือนเดิม เช่นที่เคยปฏิบัติมาตั้งแต่ที่ตั้งรัฐบาล โดยเฉพาะกรณีของนายเอกยุทธนั้นแทนที่รัฐจะให้ความสนใจในการตรวจสอบเนื้อหาที่มีการออกมาให้ข้อมูลและชี้เบาะแส แต่รัฐบาลกับเริ่มต้นทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม โดยการออกมาปกป้องทันทีทันควัน และใช้กลไกเล่นงานผู้ที่ออกมาให้เบาะแสทันที
“ฝ่ายค้านไม่ได้มีหน้าที่ที่จะไปปกป้อง และมีความประสงค์ที่จะไปปกป้องใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นการชี้ให้เห็นพฤติกรรมของรัฐบาลในความเป็นจริง การใช้กลไกออกมาเล่นงานคนที่ให้ข้อมูล เริ่มตั้งแต่การใช้ตำรวจ สรรพกร ปปง. และผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่ในรัฐบาล โดยเฉพาะปปง.นั้น ทางวิปเห็นว่า ปปง.ต้องใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ และไม่ออกหน้ามารับลูกจนกลายเป็นการทำร้ายความอิสระทางสถาบัน ถือเป็นเรื่องที่ปปง.ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ” ประธานวิปฝ่ายค้านกล่าว
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า 3.กรณีที่นายกฯ ให้คำมั่นสัญญาไว้ในงานรวมพลคนข่าว ว่าจะให้อิสระกับสื่อนั้นเป็นเรื่องไม่จริง สื่อเองก็ทราบว่ามีการแทรกแซงทั้งในเรื่องของการรายงานข่าว และการเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาออกรายการ ซึ่งเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า คำว่าให้อิสระกับสื่อนั้นยังเป็นเพียงแค่คำพูด และเป็นการพูดอย่างทำอย่างเหมือนกับหลายกรณีที่ได้ปฏิบัติมา
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ กลต.ออกมาระบุว่า ข้อมูลของนายเอกยุทธไม่มีมูลนั้น นายจุรินทร์ กล่าวว่า พรรคไม่ทราบข้อมูลของนายเอกยุทธว่ามีข้อมูลมากน้อยเพียงใด ส่วนการพิจารณาวินิจฉัยของกลต.หรือตลาดทรัพย์ ก็จะต้องมีการแถลงที่ชัดเจน ซึ่งตนเชื่อว่าขณะนี้ประชาชนยังคาใจอยู่ เพราะกรณีข่าวคราวเรื่องมีการปั่นหุ้น หรือมีการหาประโยชน์จากตลาดหุ้น ตลาดหลักทรัพย์มาเป็นลำดับ และมีทั้งในลักษณะที่เป็นข้อมูลเชิงลึก ไม่ควรทิ้งประเด็นนี้ไปเฉย ๆ
ปธ.วิปฝ่ายค้าน ยังได้กล่าวถึงสถานการณ์ไข้หวัดที่เกิดขึ้นในขณะนี้ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นการสะท้อนให้เห็นชัดเจนถึงความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นซ้ำๆ นายกฯ ก็บอกว่าหากรัฐบาลรู้อะไรประชาชนต้องรู้ แต่กลับปกปิดอยู่เสมอ ครั้งแรกของการแพร่ระบาดก็มีความพยายามที่จะปกปิด ครั้งนี้ถ้าไม่มีการเสียชีวิตคงจะไม่มีใครทราบว่ามีการกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งหนึ่ง และสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลพยายามที่จะปัดความรับผิดชอบ โดยการโยนความผิดไปให้ส่วนราชการ ทั้งที่เรื่องนี้รัฐบาลได้มีบทเรียนมาแล้ว
“การแพร่ระบาดของไข้หวัดนกเป็นเรื่องที่กระทบต่อชีวิตของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศด้วย ซึ่งรัฐบาลควรจะมีมาตรการป้องกัน และดูแลอย่างทั่วถึง สำหรับในส่วนของการใช้วัคซีน รัฐบาลจะต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบในการกำหนดนโยบาย โดยรัฐบาลจะต้องคำนึงถึงชีวิตของประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลละเลยมาตั้งแต่ครั้งแรกแล้วก็นำมาซึ่งความสูญเสีย” นายจุรินทร์ กล่าว
ทั้งนี้ที่ประชุมวิปฝ่ายค้านมีมติให้ความเห็นชอบกฎหมายมหาวิทยาลัย 10 ฉบับ คือ 1.ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชราชนครินทร์ 2.พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 3.พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยนครพนม 4.พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยบูรพา 5. พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยทักษิณ 6.พ.ร.บ.สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน 7.พ.ร.บ.สถาบันพระบรมราชนก 8.พรบ.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 9. พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น 10.พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำหรับพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชนก เป็นเรื่องของการร่วมวิทยาลัยพยาบาล และวิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข รวม 40 กว่าแห่งเข้าด้วยกัน โดยเปิดโอกาสให้สามารถอนุมัติปริญญาตรีได้ และให้สถาบันเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้จะมีการขอเลื่อนระเบียบวาระขึ้นมาพิจารณาก่อน คือพระราชบัญญัติทั้ง 7 ฉบับ ตั้งแต่ฉบับที่ 4-10 ที่ได้กล่าวไปข้างต้นขึ้นมาพิจารณา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-
วันนี้ (14 ก.ย.47) ที่อาคารรัฐสภา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) แถลงภายหลังการประชุมวิปฝ่ายค้าน ว่า ที่ประชุมได้วิเคราะห์ถึงกรณีที่นายเอกยุทธ อัญชันบุตร ออกมาเปิดโปงเรื่องการปั่นหุ้นของนักการเมือง ทำให้เรื่องดังกล่าวได้อยู่ในความสนใจของประชาชน นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งยังก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจและการเมือง จึงละเลยไม่ได้ โดยวิปฝ่ายค้านได้ข้อสรุปว่ากรณีนี้มีผลกระทบที่ทำให้รัฐบาลออกอาการในทางการเมืองมากเป็นพิเศษ อย่างน้อยที่สุดก็ 3 ประเด็น คือ 1. ประชาชนและองค์กรต่างๆ ที่รู้ทันรัฐบาลนั้น กล้าที่จะแสดงออกต่อความไม่เห็นด้วยกับการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลมากขึ้น แม้จะถูกข่มขู่ด้วยถ้อยคำที่ค่อนข้างรุนแรงจากหัวหน้ารัฐบาล หรือ ตัวแทนรัฐบาลก็ตาม
2.ชี้ให้เห็นชัดเจนว่ายังมีการใช้อำนาจรัฐ โดยอาศัยกลไกของรัฐเล่นงานและคุกคามผู้ที่ออกมาให้ความข้อมูลและเบาะแสที่ไม่ถูกใจรัฐบาลเหมือนเดิม เช่นที่เคยปฏิบัติมาตั้งแต่ที่ตั้งรัฐบาล โดยเฉพาะกรณีของนายเอกยุทธนั้นแทนที่รัฐจะให้ความสนใจในการตรวจสอบเนื้อหาที่มีการออกมาให้ข้อมูลและชี้เบาะแส แต่รัฐบาลกับเริ่มต้นทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม โดยการออกมาปกป้องทันทีทันควัน และใช้กลไกเล่นงานผู้ที่ออกมาให้เบาะแสทันที
“ฝ่ายค้านไม่ได้มีหน้าที่ที่จะไปปกป้อง และมีความประสงค์ที่จะไปปกป้องใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นการชี้ให้เห็นพฤติกรรมของรัฐบาลในความเป็นจริง การใช้กลไกออกมาเล่นงานคนที่ให้ข้อมูล เริ่มตั้งแต่การใช้ตำรวจ สรรพกร ปปง. และผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่ในรัฐบาล โดยเฉพาะปปง.นั้น ทางวิปเห็นว่า ปปง.ต้องใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ และไม่ออกหน้ามารับลูกจนกลายเป็นการทำร้ายความอิสระทางสถาบัน ถือเป็นเรื่องที่ปปง.ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ” ประธานวิปฝ่ายค้านกล่าว
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า 3.กรณีที่นายกฯ ให้คำมั่นสัญญาไว้ในงานรวมพลคนข่าว ว่าจะให้อิสระกับสื่อนั้นเป็นเรื่องไม่จริง สื่อเองก็ทราบว่ามีการแทรกแซงทั้งในเรื่องของการรายงานข่าว และการเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาออกรายการ ซึ่งเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า คำว่าให้อิสระกับสื่อนั้นยังเป็นเพียงแค่คำพูด และเป็นการพูดอย่างทำอย่างเหมือนกับหลายกรณีที่ได้ปฏิบัติมา
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ กลต.ออกมาระบุว่า ข้อมูลของนายเอกยุทธไม่มีมูลนั้น นายจุรินทร์ กล่าวว่า พรรคไม่ทราบข้อมูลของนายเอกยุทธว่ามีข้อมูลมากน้อยเพียงใด ส่วนการพิจารณาวินิจฉัยของกลต.หรือตลาดทรัพย์ ก็จะต้องมีการแถลงที่ชัดเจน ซึ่งตนเชื่อว่าขณะนี้ประชาชนยังคาใจอยู่ เพราะกรณีข่าวคราวเรื่องมีการปั่นหุ้น หรือมีการหาประโยชน์จากตลาดหุ้น ตลาดหลักทรัพย์มาเป็นลำดับ และมีทั้งในลักษณะที่เป็นข้อมูลเชิงลึก ไม่ควรทิ้งประเด็นนี้ไปเฉย ๆ
ปธ.วิปฝ่ายค้าน ยังได้กล่าวถึงสถานการณ์ไข้หวัดที่เกิดขึ้นในขณะนี้ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นการสะท้อนให้เห็นชัดเจนถึงความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นซ้ำๆ นายกฯ ก็บอกว่าหากรัฐบาลรู้อะไรประชาชนต้องรู้ แต่กลับปกปิดอยู่เสมอ ครั้งแรกของการแพร่ระบาดก็มีความพยายามที่จะปกปิด ครั้งนี้ถ้าไม่มีการเสียชีวิตคงจะไม่มีใครทราบว่ามีการกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งหนึ่ง และสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลพยายามที่จะปัดความรับผิดชอบ โดยการโยนความผิดไปให้ส่วนราชการ ทั้งที่เรื่องนี้รัฐบาลได้มีบทเรียนมาแล้ว
“การแพร่ระบาดของไข้หวัดนกเป็นเรื่องที่กระทบต่อชีวิตของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศด้วย ซึ่งรัฐบาลควรจะมีมาตรการป้องกัน และดูแลอย่างทั่วถึง สำหรับในส่วนของการใช้วัคซีน รัฐบาลจะต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบในการกำหนดนโยบาย โดยรัฐบาลจะต้องคำนึงถึงชีวิตของประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลละเลยมาตั้งแต่ครั้งแรกแล้วก็นำมาซึ่งความสูญเสีย” นายจุรินทร์ กล่าว
ทั้งนี้ที่ประชุมวิปฝ่ายค้านมีมติให้ความเห็นชอบกฎหมายมหาวิทยาลัย 10 ฉบับ คือ 1.ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชราชนครินทร์ 2.พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 3.พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยนครพนม 4.พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยบูรพา 5. พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยทักษิณ 6.พ.ร.บ.สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน 7.พ.ร.บ.สถาบันพระบรมราชนก 8.พรบ.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 9. พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น 10.พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำหรับพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชนก เป็นเรื่องของการร่วมวิทยาลัยพยาบาล และวิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข รวม 40 กว่าแห่งเข้าด้วยกัน โดยเปิดโอกาสให้สามารถอนุมัติปริญญาตรีได้ และให้สถาบันเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้จะมีการขอเลื่อนระเบียบวาระขึ้นมาพิจารณาก่อน คือพระราชบัญญัติทั้ง 7 ฉบับ ตั้งแต่ฉบับที่ 4-10 ที่ได้กล่าวไปข้างต้นขึ้นมาพิจารณา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-