นางพิชญ์สินี มุ่งฝากกลาง กิตติรักษกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา พรรคไทยรักไทย ได้อภิปรายถึง โครงการน้ำแก้จน ซึ่งเป็นโครงการที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชน แต่การปฏิบัติโดยการวางท่อน้ำไปยังเกษตรกรนั้น ประชาชนยังไม่ได้รับประโยชน์โดยตรงควรมีการปรับแผน และใช้เงินงบประมาณน้อยลง อีกเรื่องหนึ่งได้แก่ พระราชบัญญัติกองทุนวิสาหกิจชุมชน เช่น เรื่องของการทำโรงปุ๋ย เพื่อเกษตรกร และเรื่องของการเปลี่ยนแปลงผลประโยชน์ ในโครงการหม่อนเลี้ยงไหมที่ต้องการเห็นการบูรณาการโดยรวมของการจัดสรรงบประมาณลงไปในโครงการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น
นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายกล่าวถึงเรื่อง ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดของข้อมูล โดยได้ยกตัวอย่างโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการมานั้น มีการเตรียมความพร้อมหรือไม่ และมีหลายโครงการที่ค้างคาอยู่เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ เช่น กรณีการจ่ายเงินให้กับผู้ประสบอุทกภัย มีหลายโครงการที่ไม่มีการสำรวจก่อนล่วงหน้า ทำให้เกิดผลกระทบกับพี่น้องประชาชนดังนั้นจะต้องมีการปรับลดงบประมาณลง
ต่อจากนั้นนายสุวโรช พะลัง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยขอแปรญัตติปรับลดงบประมาณลงทั้งสิ้นโดยประมาณ ๑๑,๕๓๐,๑๗๑,๓๗๘ บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันห้าร้อยสามสิบล้านหนึ่งแสนเจ็ดหมื่นหนึ่งพันสามร้อยเจ็ดสิบแปดบาท) ใน ๑๒ หน่วยงาน โดยเฉพาะกรมปศุสัตว์และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติกรมวิชาการเกษตร และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
๑. กรมปศุสัตว์และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ค่าใช้จ่ายการศึกษาวิจัยในการทำการค้าเสรี (FTA) เบื้องต้นตั้งงบประมาณไว้ ๔ ล้านบาท และกรรมาธิการได้ตัดลดงบลง ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาท) โดยเฉพาะการจัดทำ FTA ซึ่งการจัดทำ FTA ดังกล่าว ได้มีการสอบถามจากเจ้าหน้าที่การเกษตรแล้ว ได้รับคำตอบว่าไม่มีความประสงค์ที่จะนำโคเนื้อและโคนมเข้าไปร่วมในการทำบันทึก ข้อตกลง FTA ระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย เนื่องจาก ต้นทุนในการผลิตสูงมาก ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงควรให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมโดยแจ้งให้รัฐบาลทราบว่า ถ้ามีการลงนามในเรื่องดังกล่าวจะมีผลกระทบอะไรบ้าง และถ้ามีผลกระทบเกิดขึ้น รัฐบาลมีมาตรการอะไรบ้างที่จะปรับโครงสร้างและสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรในกลุ่มผู้เลี้ยงโคนมและโคเนื้อ เรื่องดังกล่าวนี้จึงเป็นปัญหาในการลงนาม พันธสัญญา FTA โดยนำเกษตรกรไปผูกไว้กับต่างประเทศในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีความเข้มแข็งพอ รวมทั้งขณะนี้ คณะกรรมาธิการได้มี
- การจัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการขึ้นมาเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการทำ FTA หรือไม่ อย่างไร และถ้ามีการศึกษาจะมีวิธีการอย่างไร
- ถ้าเกิดปัญหาขึ้นกรรมาธิการจะมีการซักถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจะแก้ปัญหาได้ทัน
หรือไม่ อย่างไร
๒. กรมวิชาการเกษตร ขณะนี้ปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำให้เกษตรกรชาวสวนปาล์ม มีรายได้บ้างพอสมควร แม้ว่าต้นทุนและปัจจัยต่าง ๆ มีราคาสูงมาก สำหรับต้นกล้าปาล์มนั้นขณะนี้กรมวิชาการเกษตรได้ทำหนังสือรับรองคุณภาพ เพื่อเป็นหลักประกันในการจัดซื้อพันธุ์กล้าปาล์มแล้ว แต่รัฐบาลก็ได้ประกาศไม่อนุญาตให้นำพันธุ์กล้าปาล์มเข้ามาในประเทศ และถ้าได้พันธุ์กล้าปาล์มที่ไม่มีคุณภาพแล้ว ผลผลิตออกมาจะไม่คุ้มทุนในแต่ละรอบการเก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มในเรื่องดังกล่าวนี้กรรมาธิการ
- ให้ความสำคัญกับพืชเศรษฐกิจชนิดนี้มากน้อยเพียงใด
- มาตรการที่จะให้เกษตกรที่สนใจขยายพื้นที่ปลูกพันธุ์กล้าปาล์มทดแทนพันธุ์กล้าปาล์มที่มีอยู่แล้วหรือขยายพื้นที่ใหม่คุ้มค่าแก่การลงทุนมากน้อยเพียงใด
๓. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการวิเคราะห์ปริมาณงานต่าง ๆ แต่ ในการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อส่งต่อไปยังหน่วยงานอื่นนั้น โดยมีผู้ว่า CEO เป็นผู้รายงานปัญหา แก้ไขปัญหา และ รู้ปัญหาต่าง ๆ ในจังหวัด และรายงานไปยังนายกรัฐมนตรี แต่ฐานข้อมูลที่ผ่านมาผิดไปจากเดิมและแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด ในเรื่องดังกล่าวนี้คณะกรรมาธิการ
- ให้ความสำคัญในการหาฐานข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรหรือไม่
- การประเมินผลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรแห่งชาติในปีงบประมาณที่ผ่านมาเป็นอย่างไร และจะมีวิธีการประเมินอย่างไร
- ในปี ๒๕๔๘ นี้ มีอะไรเป็นฐานข้อมูลในการจัดสรรงบประมาณ
จากนั้นนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายในส่วนของการปรับลดงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร้อยละ ๑๐ เพราะยุทธศาสตร์ของกระทรวงเกษตรฯ รวมถึงการแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรีเห็นว่า กรรมาธิการไม่ได้ ปรับปรุงงบประมาณให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตามยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งยุทธศาสตร์ที่สำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มี ๓ ประการ คือ
๑. ยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน อันได้แก่ การสร้างความเป็นเลิศให้แก่สินค้าและบริการทั้งในประเทศและตลาดโลก
๒. ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ คือ การฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจฐานล่าง โดยเฉพาะให้กลุ่มเกษตรกรให้มีคุณภาพและฐานะที่ดีขึ้น
๓. ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาทุนทางสังคม การแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับ
คุณภาพชีวิต โดยเฉพาะการให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน
จากยุทธศาสตร์ กรอบ และทิศทาง ทั้ง ๓ ข้อนี้ จะให้ความสำคัญแก่เกษตรกรซึ่งเป็นกลุ่มฐานล่างและเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากในประเทศไทยร้อยละ ๖๐ ของเกษตรกร เป็นผู้มีรายได้น้อย ดังนั้นการจะพัฒนาประเทศให้เข้มแข็งและยั่งยืน รัฐบาลจะต้องกำหนดงบประมาณ เพื่อให้เกิดผลในการปฏิบัติอย่างแท้จริง แต่ในภาพรวมของงบประมาณในทุกกรมจะเห็นว่าเป้าหมายอย่างแท้จริงของรัฐบาลจะไม่อยู่ที่เกษตรกร โครงการหลัก ที่จะทำให้เกษตรเข้มแข็งและยั่งยืนไม่มี แต่รัฐบาลกลับมุ่งเน้นงบประมาณไปสู่การพัฒนาในส่วนอื่นมากกว่า โดยเฉพาะงบกลาง ดังนั้นจึงขอถามว่า
- รัฐบาลมีการช่วยเหลือต้นทุนในปัจจัยการผลิตของเกษตรมากน้อยเพียงใด
- การนำประเทศไทยไปสู่ความเข้มแข็ง จะเข้มแข็งอย่างไร เพราะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ได้รับงบประมาณลดลง
- นโยบายหลักที่จะนำไปสู่การพัฒนาและฟื้นฟูตามยุทธศาสตร์ที่ยั่งยืนของชีวิต ซึ่งโครงการหลักที่จะนำไปสู่การพัฒนาวิถีชีวิตของเกษตรกรไม่ได้รับการดูแล เอาใจใส่ เช่น งบประมาณในส่วนของกรมวิชาการเกษตรที่จะต้องดูแลในการจัดโซนนิ่ง และการวิจัยพัฒนาไม่ได้รับ
- งบประมาณเพิ่มขึ้น
- กองทุนฟื้นฟูพัฒนาเกษตรกรอยู่ที่ใด เพราะโครงการดังกล่าวนี้ผ่านเป็นกฎหมายเรียบร้อยแล้ว พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูเกษตรกรเป็นกลไกสำคัญที่จะนำไปสู่การฟื้นฟูวิถีชีวิตของเกษตรกรอย่างแท้จริง คือ ให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการกำหนดการใช้งบประมาณและ
วิถีชีวิตในการปรับปรุง ในความเป็นจริงศักยภาพของท้องถิ่น โซนนิ่งในการแบ่งพื้นเศรษฐกิจ
หลักว่าสมควรปลูกพื้นที่ใด และจำนวนเท่าใด ถ้ารัฐบาลไม่มีทิศทางในการกำหนดโครงสร้าง
การพัฒนากลุ่มเกษตรกร จะเป็นการพัฒนาที่สูญเปล่า เพราะความชัดเจนในเชิงนโยบาย
ไม่มี ถ้าต้องการฟื้นฟูวิถีชีวิตเกษตรกรต้องให้เกษตรกรเกิดกระบวนเรียนรู้และพัฒนาจาก
ภูมิปัญญาของเกษตรกรเอง จึงเป็นการกำหนดกรอบได้อย่างถูกต้อง
กรมชลประทาน เป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องน้ำในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่งบประมาณ
ลงทุนของกรมชลประทานร้อยละ ๖๐ เป็นงบผูกพัน ไม่ได้สร้างและต่องานใหม่ ส่วนที่ได้มีการลงทุนและ
ดำเนินการมาแล้ว
กรมวิชาการเกษตร ได้จัดตั้งงบประมาณไว้ ๒,๘๔๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองพันแปดร้อยสี่สิบสองล้านบาท) ขอปรับลดลงร้อยละ ๑๐ เพราะ
- สอดคล้องกับภาพรวมของกระทรวงเกษตรฯ การตัดต่อพันธุกรรม (พืช GMO) กำลังเข้ามา กรรมาธิการมีความตระหนักหรือไม่ว่า จะต้องมีการพัฒนาพันธุ์พืชท้องถิ่นให้มีความสำคัญในการแข่งขันกับ GMO ในอนาคต หรือป้องกันไม่ให้พืช GMO มาปนกับพืชและผลไม้ของไทยอย่างไร
- ได้รับการร้องเรียนจากเกษตรกรที่เข้าโครงการปลูกยางขยายพื้นที่ใหม่ ๑ ล้านไร่ ในภาคเหนือและอีสานว่า ไม่ได้รับพันธุ์กล้ายาง และผู้ที่ประมูลการเพาะพันธุ์กล้ายางไม่มีพื้นที่ ประสบการณ์ และคุณลักษณะของผู้ประมูลได้ และการเพาะพันธุ์กล้ายางไม่ตรงสเปกที่ได้กำหนดไว้ในเรื่องดังกล่าวนี้ ผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบกับความเสียหายดังกล่าว
นายพินิจ จันทรสุรินทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง พรรคไทยรักไทย ในฐานะกรรมาธิการ ได้อภิปรายชี้แจง ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
- เรื่องของพืช GMO นั้น ขณะนี้ตอนนี้นายกรัฐมนตรีได้ ให้ชะลอออกไปก่อนโดยให้ไปทำการวิจัยวิเคราะห์ความเสี่ยงของอาหาร ทำการประเมินความปลอดภัยของพืชอาหารที่ได้มาจากจุลินทรีย์ และที่ได้ดัดแปลงพันธุกรรมต่าง ๆ
- เรื่องการไม่มีการสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้า ได้มีการถ่ายโอนไปตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ แต่ไม่มีการ
ดำเนินการ จึงได้กลับมาที่กรมชลประทานอีกครั้ง ซึ่งปีนี้ตั้งเป้าไว้ ๑๕๐ สถานี แต่ทำได้เพียง
๒๐ สถานี ฉะนั้นจึงต้องนำเอาในส่วนของปี ๒๕๔๗ มาดำเนินการในปี ๒๕๔๘
- เรื่องการป้องกันน้ำท่วมใน ๖ เมือง ได้แก่ พะเยา ร้อยเอ็ด อุดรธานี มหาสารคาม แพร่ และสุโขทัยนั้น กรมชลประทานได้ดำเนินการโดยใช้เงินงบประมาณทั้งหมด ๘๙๗ ล้านบาทเศษ ซึ่งจะได้ดำเนินการในปีนี้
- เรื่องคันกั้นน้ำเค็มที่ก่อสร้างที่อัมพวา ซึ่งมีแผนจัดสร้างในปี ๒๕๔๘ บางส่วนได้ดำเนินการแล้ว เช่น ที่บางน้ำเค็ม ส่วนที่แพรกหนามแดงซึ่งใช้งบ ๓.๙ ล้านบาท และที่สายอัมพวาใช้
งบ ๙.๙ ล้านบาทนั้น ได้ดำเนินการไปเรียบร้อยแล้ว
- เรื่องการตัดงบประมาณจำนวน ๑๙๐,๓๖๗,๔๐๐ บาท (หนึ่งร้อยเก้าสิบล้านสามแสนหกหมื่นเจ็ดพันสี่ร้อยบาท)ในส่วนของการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรนั้น ความจริงแล้วไม่มีการตัดงบประมาณออกแต่อย่างใด
- ประเด็นที่ถามว่ากรรมาธิการได้มีการซักถามรายละเอียดในเรื่องฐานข้อมูลหรือไม่ และเรื่องความพร้อมในการดำเนินการในประเด็นนี้ทางกรรมาธิการได้ทำการซักถามอยู่เสมอ
- สำหรับโครงการขุดลอกคลอง เมื่อมีทัวร์นกขมิ้นลงไปนั้น ความจริงแล้วจังหวัดต่าง ๆ มีความต้องการให้นายกรัฐมนตรีลงไป ซึ่งโครงการต่าง ๆ เป็นโครงการที่มีอยู่แล้ว และได้นำมาเสนอ ไม่ใช่ว่านายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้ทำ ซึ่งเป็นเรื่องของพื้นที่นำเสนอไม่ใช่มีใครสั่งลงไป
- เรื่องของกล้าปาล์มที่ถามว่าจะมีการอนุญาตหรือไม่อนุญาตนั้น ได้ให้กรมวิชาการเกษตรไปดำเนินการและดูแลในเรื่องนี้แล้ว และได้มีการซักถามว่ามีการห้ามจริงหรือเปล่า ได้รับคำตอบว่าไม่มีการห้าม จึงให้กรมวิชาการเกษตรไปวิเคราะห์ดูว่า ปาล์มพันธุ์ดีที่ประสงค์นำเข้ามามีประโยชน์อย่างไรบ้าง อีกทั้งยังให้มีการสนับสนุน เพราะว่าปาล์มเป็นพืชที่ให้ประโยชน์
หลาย ๆ อย่าง
- เรื่องราคาผลไม้ตกต่ำ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนปัจจุบันได้มีการประชุมเรื่องราคาผลผลิต เช่น ลำไย เงาะ ลางสาด เพื่อหาทางแก้ไข นอกจากนี้ยังให้ความสนใจในเรื่องการแบ่งโซนนิ่ง โดยจะมีการหารือกันในเรื่องนี้ต่อไป
- เรื่องเงินกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร เนื่องจากมีกองทุนหลายกองทุนเกิดขึ้น แต่ในปีนี้
คณะกรรมการไม่ได้เสนอเข้ามา จึงไม่มีการพิจารณาในเรื่องนี้แต่กรรมาธิการก็มีความสนใจ
ในความเป็นจริงแล้ว กรรมาธิการจะพิจารณาในเรื่องของตัวเม็ดเงินที่นำเสนอเข้ามาเท่านั้น
ไม่มีโอกาสที่จะไปพิจารณาถึงเม็ดเงินอื่น ๆ
นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะกรรมาธิการ ตอบข้อซักถามในประเด็นเรื่องของการสร้างถนนและอ่างเก็บน้ำว่า เป็นเรื่องที่ได้สั่งการในช่วงที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายหลังจากที่พ้นตำแหน่งแล้วก็ไม่ได้ติดตาม ในเรื่องนี้อีก และในชั้นของกรรมาธิการก็ไม่ได้มีการซักถามในประเด็นนี้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเป็นข้อห่วงใย ทางคณะกรรมาธิการก็จะแจ้งเรื่องนี้ให้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปติดตามและให้เสนอรายงานให้ท่านสมาชิกทราบต่อไป อีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่อง กล้ายาง จำนวน ๙๐ ล้านต้น เป็นประเด็นที่ทางคณะกรรมาธิการให้ความสำคัญมาก ได้มีการซักถามในรายละเอียด โดยเฉพาะในเรื่องของคุณภาพ และได้รับคำชี้แจงจากอธิบดี กรมวิชาการเกษตรว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการส่งมอบกล้ายาง ซึ่งมีคณะกรรมการในการตรวจรับ และมีขั้นตอนในการดำเนินการที่เข้มงวด อีกทั้งการส่งมอบกล้ายาง ในแต่ละงวดกล้ายางที่สามารถผ่านขบวนการของการ ตรวจรับมีค่อนข้างน้อยมาก จึงทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้ว่า จะได้ครบจำนวน ๙๐ ล้านต้น อาจจะล่าช้าไปกว่ากำหนดเดิม เพราะมุ่งเน้นในเรื่องคุณภาพ ไม่เช่นนั้นจะทำให้เกษตรกรที่รับกล้ายางไปเพาะปลูกเกิดปัญหาขึ้นได้
เมื่อสมาชิกได้อภิปรายและกรรมาธิการได้ตอบชี้แจงใน มาตรา ๑๑ พอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้
ลงมติเห็นชอบกับกรรมาธิการเสียงข้างมากด้วยคะแนน ๒๙๒ เสียง
ต่อมาเป็นการพิจารณาในมาตรา ๑๒ ซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางดังนี้
นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม พรรค
ประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายสงวนคำแปรญัตติให้ปรับลดงบประมาณของกรมทางหลวง ๕,๓๐๐ กว่าล้านบาท โดยกล่าวว่าการบริหารงานของกรมทางหลวงยังมีข้อบกพร่องในหลายประการ ขาดประสิทธิภาพ และไม่โปร่งใส และได้กล่าวถึงโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ของกรมทางหลวงที่มีผู้รับเหมาเข้ามาประมูลจำนวนมาก แต่งานมีน้อย ดังนั้น อาจก่อให้เกิดการสมยอมราคาหรือฮั้วราคาขึ้น อีกทั้งยังมีการใช้งบประมาณอย่าง สิ้นเปลืองในการก่อสร้างถนนสายสมุทรสาคร-แหลมผักเบี้ย (ชะอำ) ซึ่งควรจะนำงบประมาณนั้นมาบำรุงรักษาถนนที่มีอยู่แล้วให้อยู่ในสภาพดีและใช้งานได้ นอกจากนี้ยังขอให้จัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างด่านชั่งน้ำหนักในเส้นทางสายหลักทั่วประเทศ เพื่อป้องกันรถบรรทุกที่บรรทุกน้ำหนักเกิน ซึ่งจะสร้างความเสียหายแก่ถนนและทำให้ต้องมีงบประมาณในการซ่อม ปะ ถนน ตามมา
นายนริศ ขำนุรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายสงวนคำแปรญัตติลดงบประมาณลงร้อยละ ๑๐ โดยได้กล่าวถึงโครงการก่อสร้างถนนสายนวมินทร์ที่มีงบประมาณสูงถึง ๗๖๐ ล้านบาท ซึ่งได้รับงบประมาณ ๑ ปี และไม่เป็นงบประมาณผูกพัน ซึ่งโครงการสร้างถนนสายนี้ ได้ถูกนำมาเปรียบเทียบกับโครงการอื่น ๆ เช่น
- โครงการสร้างถนนตลาดแค อำเภอพิมาย ยาว ๙ กิโลเมตร ใช้งบฯ ๑๘๐ ล้านบาท
- โครงการสร้างถนนเชียงใหม่ - เชียงราย ยาว ๑๕ กิโลเมตร ใช้งบฯ ๓๐๐ ล้านบาท
- โครงการสร้างถนนสายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตอน ๑ ยาว ๑๕ กิโลเมตร ใช้งบฯ ๓๐๐ ล้านบาท
- โครงการสร้างถนนจังหวัดสุรินทร์ ตอน ๑ ใช้งบฯ ๓๐๐ ล้านบาท
ซึ่ง ทั้ง ๔ โครงการนี้ เป็นงบประมาณผูกพันต่อเนื่อง ๓ ปี ในขณะที่โครงการสร้างถนนสาย นวมินทร์ที่ตัดผ่านหมู่บ้านบางกอกบลูเลอวาร์ด ได้รับงบประมาณ ๗๖๐ ล้านบาท และเป็นงบประมาณเสร็จสิ้น ๑ ปี แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมาธิการไม่รอบคอบในการพิจารณางบประมาณทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการอนุมัติงบประมาณให้กับโครงการต่าง ๆ ของกรมทางหลวงทำให้บางพื้นที่เสียโอกาสในการพัฒนา ในขณะที่บางกลุ่มคนกลับได้รับผลประโยชน์จากงบประมาณดังกล่าว จึงต้องขอตัดงบประมาณลงร้อยละ ๑๐
นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายถึงการบริหารงานของกรมทางหลวงที่ขาดประสิทธิภาพและไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ โดยกล่าวถึงกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีที่ต้องใช้งบประมาณในการขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำในประเทศเป็นประจำทุกปีประมาณ ๓๘ ล้านบาท และเมื่อมีการจัดจ้างให้บริษัทอื่นดำเนินการจะต้องใช้เงินประมาณ ๑๓๘ ล้านบาท ซึ่งเกิดค่าความต่างที่แตกต่างกันเป็นเงินจำนวนมาก นอกจากนี้ การก่อสร้างถนนสายต่าง ๆ เมื่องานเสร็จไม่ทันไรก็เกิดการเสียหายทันที อีกทั้งยังมีปัญหาที่มักเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำที่กรมทางหลวงยังไม่มีมาตรการ ในการแก้ไขปัญหาให้หมดสิ้นไปได้ เช่น ปัญหารถเถื่อน การปลอมแปลงคู่มือรถ เลขทะเบียนรถ รุ่นรถ เป็นต้น
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายสงวนคำแปรญัตติปรับลดงบประมาณทั้งหมดของกรมทางหลวงโดยให้เหตุผลว่า วิธีการจัดงบประมาณของรัฐบาลนั้นไม่รักษาวินัยทางการคลัง โครงการที่ได้รับงบประมาณนั้นมีความไม่เหมาะสม และรัฐบาลไม่มีความสามารถในการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้กล่าวถึงโครงการสร้างถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก เส้นทางจากจังหวัดสมุทรสาคร - แหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้งบประมาณสูงถึง ๓๓,๐๐๐ ล้านบาท โดยเป็นงบประมาณผูกพัน ๔ ปี และในปีแรกใช้งบประมาณมากถึง ๖,๔๐๐ ล้านบาท
ในขณะที่การใช้จ่ายงบประมาณการสร้างถนนดังกล่าวนี้ได้มีการใช้งบประมาณกลางของปี ๒๕๔๗ เพื่ออนุมัติว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการ และว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อควบคุมที่ปรึกษาอีก
รวมแล้ว ๔๒๐ ล้านบาท ก่อนที่จะมีการเซ็นสัญญาในรัฐบาลสมัยหน้านี้
ตนได้ถามคณะกรรมาธิการงบประมาณว่า สมควรหรือไม่ ในการพิจารณางบประมาณ ดังกล่าวนี้ นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงการเซ็นสัญญาโครงการนี้ ซึ่งจะมีขึ้นในรัฐบาลสมัยหน้านี้ว่า จะต้องได้รับส่วนแบ่งร้อยละ ๑๐ -๑๕ ทันที่ที่ได้เซ็นสัญญาเสร็จสิ้น ซึ่งเงินจำนวนนี้ไม่ควรจะมีในรัฐบาลสมัยหน้านี้
นายบุญส่ง ไข่เกษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อย อภิปรายขอตัดงบจำนวน ๖,๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หกพันสี่ร้อยล้านบาท) ใน มาตรา ๑๒ ของโครงการก่อสร้างถนนเลียบชายทะเล เส้นทางสมุทรสาคร - แหลมผักเบี้ย - ชะอำ ออกไปทั้งหมดด้วยเหตุผล ดังนี้
๑. ความเหมาะสมและความจำเป็นไม่เพียงพอ เพราะต้องใช้เงินภาษีราษฎร จำนวนมากสำหรับ
การก่อสร้างถนนเส้นนี้ และควรจะก่อสร้างบนบกตลอดเส้นทางจะดีกว่า เพราะสามารถประหยัดงบประมาณการก่อสร้างลงได้ถึง ๓ เท่า
๒. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะเสาตอหม้อถนนจะขวางทางน้ำไหล
ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา
๓. ความไม่สอดคล้องกับการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมาย
การเวนคืนที่ดิน การประมูลการก่อสร้างที่อาจต้องล่าช้าออกไป เพราะกระบวนการออกกฎหมายที่ไม่สอดรับกัน ปัจจุบันยังไม่มีการออกแบบการก่อสร้างเลย หากได้รับอนุมัติงบประมาณจากสภาฯ ก่อน แต่การก่อสร้าง ดำเนินการไม่ได้ จะทำให้สูญเสียงบประมาณส่วนนี้ไปโดยปริยาย
นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายการตัดลดงบประมาณลงร้อยละ ๑๐ ในโครงการก่อสร้างถนนเลียบชายทะเลเส้นทางสมุทรสาคร - แหลมผักเบี้ย - ชะอำ เพราะใช้งบประมาณมากเกินไป ไม่คุ้มประโยชน์กับการก่อสร้าง และยังมีผลกระทบใน หลายด้าน อันเกิดจากการเปลี่ยนเส้นทางไหลของน้ำ คือ
๑. ด้านเศรษฐกิจ จะส่งผลต่อรายได้จากการท่องเที่ยวของชะอำ หัวหิน
๒. สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง เพราะจำนวนสัตว์น้ำจะลดลง
เนื่องจากระบบนิเวศน์วิทยาเสียไป
๓. สร้างผลกระทบต่อสัตว์น้ำในทะเลน้ำลึกหลายชนิดอาจถูกทำลายได้
นอกจากนี้ขอให้ประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชนตามข้อเท็จจริงด้วยว่า โครงการนี้มิใช่โครงการพระราชดำริ และควรก่อสร้างถนนเส้นทางนี้บนบก โดยขยายเส้นทางเส้น พระราม ๒ - วังมะนาว ให้มีช่องทางจราจรมากขึ้น จากนั้นขยายเส้นทางคลองโคน - ชะอำ ให้มาเชื่อมกับส่วนแรก จะก่อประโยชน์ต่อประชาชน และประหยัดงบประมาณได้มากกว่า นอกจากนี้ได้ถามกรรมาธิการฯ ว่า ได้มีการตั้งงบประมาณการบำรุงรักษาถนนที่กรมทางหลวงชนบทได้ถ่ายโอนมาให้องค์การบริหารส่วนตำบลหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดดูแลไว้บ้างหรือไม่
นางสาวรังสิมา รอดรัศมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายขอตัดลดงบประม.าณลงร้อยละ ๑๐ ของโครงการก่อสร้างถนนเลียบ ชายทะเลเส้นทาง สมุทรสาคร - แหลมผักเบี้ย - ชะอำ และขอให้ปรับเป็นการก่อสร้างเป็นทางมอร์เตอร์เวย์ จากถนนพระราม ๒ ถึง ๑๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีความเหมาะกว่า เพราะสามารถ