ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. สถาบันการเงินเฉพาะกิจปล่อยสินเชื่อช่วง 6 เดือนแรก ปี 47 รวมกว่า 2.7 แสนล้านบาท
นายกฤษฎา อุทยานิน ผอ.สำนักนโยบายระบบการเงิน สนง.เศรษฐกิจการคลัง ก.คลัง เปิดเผยผลการดำเนิน
งานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 47 ทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ ธกส. ธ.ออมสิน ธอส.
ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าฯ (ธสน.) ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฯ (ธพว.) ธ.อิสลาม
แห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
(บตท.) มีการปล่อยสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 275,232.12 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 46 ร้อยละ 21.12
โดยในส่วนการส่งเสริมภาคเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาลที่สำคัญ เช่น การดำเนินการกองทุนหมู่บ้านผ่าน ธกส.
และ ธ.ออมสิน ณ สิ้นเดือน มิ.ย.47 มีสมาชิกที่ได้รับเงินกู้ 14,1449,139 ราย โครงการธนาคารประชาชน
ณ สิ้นเดือน มิ.ย.47 มียอดสินเชื่อคงค้าง 6,009.26 ล้านบาท โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนดำเนินการโดย
ธกส. ธพว. ธอส. และ ธ.ออมสิน (ม.ค. — มิ.ย.47) มีการอนุมัติสินเชื่อรวม 1,031.49 ล้านบาท มีผู้ที่
ได้รับอนุมัติสินเชื่อ 8,676 ราย ส่วนโครงการบ้าน ธอส. เพื่อคนไทย (เม.ย.46 — มิ.ย.47) มีการอนุมัติ
สินเชื่อ 17,553 ราย คิดเป็นวงเงิน 10,587 ล้านบาท และโครงการบ้านเอื้ออาทรอนุมัติสินเชื่อสำหรับลูกค้า
กู้ซื้อบ้าน 1,173 ราย วงเงิน 382 ล้านบาท เมื่อพิจารณาภาพรวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เป็นผู้อนุมัติ
สินเชื่อพบว่าแนวโน้มของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ในระดับคงที่ ดังนั้น ในภาพรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ใน
โครงการนโยบายของรัฐจึงไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่อย่างใด (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
2. ครม. เห็นชอบในหลักการร่างแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.ส่งเสริมการลงทุน นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม. เมื่อวันที่ 14 ก.ย.47 ว่า ครม. มีมติเห็นชอบ
ในหลักการร่างแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.ส่งเสริมการลงทุนตามที่ ก.อุตสาหกรรมเสนอ โดยจะมีการให้สิทธิและ
ประโยชน์ในรูปแบบของภาษีอากรและที่ไม่ใช่ภาษีอากร เช่น ในรูปของเงินช่วยเหลือ เงินอุดหนุน และการ
อำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อจูงใจนักลงทุนและสอดคล้องกับภาวะการคลังของประเทศ ซึ่งสาระสำคัญของ
ร่าง พรบ.ดังกล่าว ได้แก่ ปรับเพิ่มสิทธิในการลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรจากเดิมกึ่งหนึ่งของอัตราปกติ
เป็นไม่เกินร้อยละ 90 พร้อมทั้งยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 8 ปี เป็น 10 ยกเลิกการจำกัดวงเงินที่ได้รับ
การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามจำนวนเงินลงทุน เป็นให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิทั้งจำนวน
โดยไม่จำกัดจำนวนตามเงินลงทุน และให้หักค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา การฝึกอบรม การตั้งกองทุน
วิจัยเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้เพิ่มเป็น 2 เท่า จากค่าใช้จ่ายปกติ และยกเว้นภาษีสำหรับสินค้าที่นำเข้าเพื่อ
การทดสอบวิจัย นอกจากนี้ ให้ยกเลิกการอนุญาตหักเงินได้ในการเสียภาษีนิติบุคคลร้อยละ 5 ของรายได้ที่เพิ่ม
ขึ้นจากปีก่อน จากการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริม (มติชน)
3. ไทยเกินดุลการค้าจีน 4.5 พันล้านบาท หลังการทำเอฟทีเอกับจีน นายจักรภพ เพ็ญแข
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. ได้รับทราบรายงานการส่งออกและนำเข้าสินค้า
ระหว่างไทยกับจีนตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.46 — 31 ก.ค.47 โดยไทยเกินดุลการค้าจีน 4,500 ล้านบาท สูงกว่า
ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14 แสดงให้เห็นว่าการทำเอฟทีเอโดยการลดภาษีหมวดผักและผลไม้เหลือ 0%
ไทยไม่เสียเปรียบจีนเช่นที่หลายฝ่ายเป็นห่วง นอกจากนี้ ครม. ยังมีมติอนุมัติให้มีการเปิดเขตการค้าเสรีระหว่าง
ไทยกับนิวซีแลนด์ตามที่ ก.พาณิชย์เสนอ โดยมีเป้าหมายที่จะสรุปผลการเจรจาในเดือน พ.ย.47 โดยในวันที่
27-29 ก.ย.47 จะมีการเจรจาแลกเปลี่ยนข้อเสนอในการลดภาษีสินค้าและเปิดตลาดบริการและการลงทุน
ระหว่างกัน ซึ่งในการจัดทำเอฟทีเอในครั้งนี้ได้ขอความเห็นจากภาคเอกชนด้วย โดยสินค้านมและผลิตภัณฑ์จะให้
เป็นสินค้าอ่อนไหวที่ไม่อยู่ในการเจรจาครั้งนี้ หรือให้มีระยะเวลาการเปิดตลาดนานกว่า 20 ปี (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
4. นักวิเคราะห์มองมาตรฐานบาเซิล 2 ช่วยให้สถาบันการเงินไทยแข็งแกร่งขึ้น จากการที่
ธปท. ประกาศจะใช้มาตรฐานเงินกองทุนใหม่หรือบาเซิล 2 กับสถาบันการเงินไทยนั้น นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่
มองว่ามีผลต่อฐานะทางการเงินและการปล่อยสินเชื่อของ ธ.พาณิชย์แน่นอน โดยเฉพาะความต้องการเงินกอง
ทุนเพิ่มขึ้น รวมถึงความเสี่ยงด้าน Operational และ Market Risk ส่วนการปล่อยสินเชื่อธนาคารจะมี
การพัฒนาการปล่อยสินเชื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและเข้าใจในการบริหารจัดการความเสี่ยงให้สอดคล้อง
กับกลยุทธ์ทางธุรกิจ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากสถาบันการเงินจะมีความแข็งแกร่งมากขึ้นและรัดกุม
ในการขยายสินเชื่อทำให้หนี้เสียน้อยลง ด้าน บล.กิมเอ็ง มีความเห็นว่า มาตรฐานบาเซิล 2 ที่จะเพิ่มน้ำหนัก
ของสินทรัพย์เสี่ยงของเอ็นพีแอลจาก 100% เป็น 150% จะทำให้แก้ไขหนี้ได้เร็วขึ้น รวมถึงการที่รัฐจะแก้กฎหมาย
ให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) เข้ามาซื้อเอ็นพีแอลและสินทรัพย์ออกไปจากระบบเป็นเรื่องดี
แต่อาจมีปัญหาเรื่องราคาที่รับโอนจาก ธ.พาณิชย์ (โพสทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดการขายปลีก สรอ.ในเดือน ส.ค.47 ลดลงร้อยละ 0.3 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงาน
จากวอชิงตัน เมื่อ 14 ก.ย.47 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ยอดการขายปลีกของ สรอ.ในเดือน ส.ค.47
ลดลงร้อยละ 0.3 ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์จากวอลล์สตรีทคาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.1
ขณะที่ยอดขายปลีกยกเว้นรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 อันสอดคล้องกับที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ ส่วนยอดการ
ขายปลีกโดยรวมของเดือน ก.ค.47 ที่มีการทบทวนตัวเลขแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และยอดขายปลีกที่ไม่นับ
รวมรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากที่รายงานก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และ 0.2 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
2. สรอ. ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสที่ 2 ปี 47 จำนวน 166.18 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 14 ก.ย.47 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยตัวเลขขาดดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งเป็นตัวชี้
วัดการไหลเวียนด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ สรอ.กับประเทศอื่น ๆ ในโลก โดยในไตรมาสที่ 2
ปี 47 สรอ.ขาดดุลจำนวน 166.18 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. อันเป็นตัวเลขที่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
ว่าจะขาดดุลจำนวน 159.35 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดใน 3 เดือนแรกของปี 47
หลังจากที่ทบทวนตัวเลขแล้วอยู่ที่จำนวน 147.16 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.จากที่รายงานก่อนหน้านี้ว่าขาดดุลจำนวน
144.88 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดนั้น เนื่องจากการขาดดุลจาก
ดุลการค้าและบริการ โดยขาดดุลการค้าจำนวน 163.58 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. แต่ได้รับการชดเชยจากการ
เกินดุลบริการเพียง 13.29 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลบัญชีเงินทุนมียอดเกินดุลจากการลงทุนระหว่าง
ประเทศแต่ก็เกินดุลลดลงอยู่ที่จำนวน 2.64 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในไตรมาสที่ 2 ปี 47 จากจำนวน 12.16
พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในไตรมาสก่อน นอกจากนี้ดุลเงินโอน ซึ่งเป็นดุลบัญชีที่มีสัดส่วนการให้ความช่วยเหลือต่าง
ประเทศของ สรอ.ค่อนข้างมาก ลดลงอยู่ที่จำนวน 18.53 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากจำนวน 20.73 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ.ในไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์มีความกังวลอย่างยาวนานเกี่ยวกับขนาดของ
ความไม่สมดุลในบัญชีดุลสะพัดของ สรอ. และยังกล่าวถึงบ่อยครั้งว่าอาจจะเป็นปัจจัยนำไปสู่การอ่อนค่าลงของ
เงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ปัจจุบัน สรอ.ยังคงสามารถดึงดูดเงินลงทุนระหว่าง
ประเทศได้อย่างต่อเนื่อง โดย ก.คลังรายงานตัวเลขในเดือน มิ.ย.47 ว่า สรอ.มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิจำนวน
71.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน ส.ค.47 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ
14 ก.ย.47 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.47
และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะคงที่ที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี นอกจากนี้ยังต่ำกว่าอัตราร้อยละ 2.0 ต่อปีที่รัฐบาล
ตั้งเป้าหมายไว้ อันเป็นผลจากการที่ผู้ค้าปลีกเสื้อผ้าและรองเท้าไม่ได้ปรับขึ้นราคาสินค้าหลังจากเทศกาลลดราคา
ในช่วงฤดูร้อนได้สิ้นสุดลงแล้ว ส่งผลให้ราคาเสื้อผ้าและรองเท้าในปีนี้ต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.7
ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.45 เช่นเดียวกับราคาของเล่นเด็กในปีนี้ที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
4 .เกาหลีใต้คาดว่าจะขาดดุลงบประมาณจนถึงปี 50 รายงานจากโซล เมื่อ 14 ก.ย.47 รัฐบาล
เกาหลีใต้คาดว่าจะขาดดุลงบประมาณในปีนี้ประมาณร้อยละ 0.9 ของ GDP และคาดว่าการขาดดุลงบประมาณ
จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.0 ของ GDP ในช่วงปี 48 - 50 อันเป็นผลจากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มงบ
ประมาณด้านสวัสดิการสังคมเพื่อยกมาตรฐานการครองชีพของคนยากจนและด้านการป้องกันประเทศจากเกาหลี
เหนือหลังจาก สรอ.ถอนฐานทัพออกจากคาบสมุทรเกาหลี โดยคาดว่าค่าใช้จ่ายในการป้องกันประเทศจะเพิ่มขึ้น
เป็นร้อยละ 10.5 ของรายจ่ายทั้งหมดของประเทศในปี 51 จากร้อยละ 9.2 ในปีนี้ เช่นเดียวกับค่าใช้จ่าย
ด้านสวัสดิการสังคมและแรงงานที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20.4 ของรายจ่ายทั้งหมดของประเทศในปี 51
จากร้อยละ 16.5 ในปีนี้ ขณะเดียวกันคาดว่าค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลืออุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดเล็กจะลดลง
เหลือร้อยละ 5.1 ในปี 51 จากร้อยละ 5.8 ในปีนี้ เช่นเดียวกับรายจ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมที่
คาดว่าจะลดลงเหลือร้อยละ 12.2 ในปี 51 จากร้อยละ 13.8 ในปีนี้ โดยคาดว่ารายจ่ายทั้งหมดของประเทศ
จะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 6.3 ต่อปีจนถึงปี 50 ในขณะที่คาดว่ารายรับจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 7.4 ต่อปี
รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวระหว่างร้อยละ 5.0 ถึง 5.9 ในช่วงปี 48 — 50 โดยคาดว่าเศรษฐกิจใน
ปีนี้จะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 5.0 หลังจากเติบโตร้อยละ 3.1 ในปี 46 (รอยเตอร์)
5. สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวในปี 48 รายงาน
จากลอนดอน เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 47 สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ — Fitch ratings เปิดเผยว่าได้
ทบทวนคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ว่าจะขยายตัวมากขึ้นถึงระดับร้อยละ 3.9 จากที่เคยคาด
การณ์ไว้ก่อนหน้านั้นที่ระดับร้อยละ 3.6 และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.7 เมื่อปีที่แล้ว แต่จะชะลอตัวอีกครั้งในปี 48
เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของสรอ. และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
โลก ทั้งนี้ประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างโดดเด่นได้แก่ญี่ปุ่นซึ่งในปีนี้เศรษฐกิจอาจจะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 4.2
อย่างไรก็ตามอังกฤษและยูโรโซนเศรษฐกิจต่างก็เติบโตมากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น ส่วนแนวโน้มการ
เติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 48 และปี 49 นั้นอาจจะชะลอตัวลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.3 และร้อยละ 3.0
ตามลำดับ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Fitch ratings กล่าวว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออาจจะเพิ่มขึ้น ขณะ
เดียวกันธ.กลางสรอ.อาจจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงถึงระดับร้อยละ 4.0 ในปี 48 เร็วขึ้นกว่าที่ได้
มีการคาดการณ์กันไว้ ส่วนราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอาจจะช่วยชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้เศรษฐกิจ
โลกขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ นอกจากนั้นนโยบายการเงินและการคลังของสรอ.ยังคงกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยาย
ตัวได้และจะเพิ่มแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ นอกจากนั้นยังคาดว่าระดับราคาน้ำมันในช่วง 2 ปีหน้าจะยังคงอยู่ใน
ระดับสูงกว่าบาร์เรลละ 30 ดอลลาร์ สรอ.รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 15 ก.ย. 47 14 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.391 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2197/41.5003 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 5000-1.5625 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 651.89/28.49 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.7 34.62 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. สถาบันการเงินเฉพาะกิจปล่อยสินเชื่อช่วง 6 เดือนแรก ปี 47 รวมกว่า 2.7 แสนล้านบาท
นายกฤษฎา อุทยานิน ผอ.สำนักนโยบายระบบการเงิน สนง.เศรษฐกิจการคลัง ก.คลัง เปิดเผยผลการดำเนิน
งานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 47 ทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ ธกส. ธ.ออมสิน ธอส.
ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าฯ (ธสน.) ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฯ (ธพว.) ธ.อิสลาม
แห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
(บตท.) มีการปล่อยสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 275,232.12 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 46 ร้อยละ 21.12
โดยในส่วนการส่งเสริมภาคเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาลที่สำคัญ เช่น การดำเนินการกองทุนหมู่บ้านผ่าน ธกส.
และ ธ.ออมสิน ณ สิ้นเดือน มิ.ย.47 มีสมาชิกที่ได้รับเงินกู้ 14,1449,139 ราย โครงการธนาคารประชาชน
ณ สิ้นเดือน มิ.ย.47 มียอดสินเชื่อคงค้าง 6,009.26 ล้านบาท โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนดำเนินการโดย
ธกส. ธพว. ธอส. และ ธ.ออมสิน (ม.ค. — มิ.ย.47) มีการอนุมัติสินเชื่อรวม 1,031.49 ล้านบาท มีผู้ที่
ได้รับอนุมัติสินเชื่อ 8,676 ราย ส่วนโครงการบ้าน ธอส. เพื่อคนไทย (เม.ย.46 — มิ.ย.47) มีการอนุมัติ
สินเชื่อ 17,553 ราย คิดเป็นวงเงิน 10,587 ล้านบาท และโครงการบ้านเอื้ออาทรอนุมัติสินเชื่อสำหรับลูกค้า
กู้ซื้อบ้าน 1,173 ราย วงเงิน 382 ล้านบาท เมื่อพิจารณาภาพรวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เป็นผู้อนุมัติ
สินเชื่อพบว่าแนวโน้มของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ในระดับคงที่ ดังนั้น ในภาพรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ใน
โครงการนโยบายของรัฐจึงไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่อย่างใด (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
2. ครม. เห็นชอบในหลักการร่างแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.ส่งเสริมการลงทุน นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม. เมื่อวันที่ 14 ก.ย.47 ว่า ครม. มีมติเห็นชอบ
ในหลักการร่างแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.ส่งเสริมการลงทุนตามที่ ก.อุตสาหกรรมเสนอ โดยจะมีการให้สิทธิและ
ประโยชน์ในรูปแบบของภาษีอากรและที่ไม่ใช่ภาษีอากร เช่น ในรูปของเงินช่วยเหลือ เงินอุดหนุน และการ
อำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อจูงใจนักลงทุนและสอดคล้องกับภาวะการคลังของประเทศ ซึ่งสาระสำคัญของ
ร่าง พรบ.ดังกล่าว ได้แก่ ปรับเพิ่มสิทธิในการลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรจากเดิมกึ่งหนึ่งของอัตราปกติ
เป็นไม่เกินร้อยละ 90 พร้อมทั้งยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 8 ปี เป็น 10 ยกเลิกการจำกัดวงเงินที่ได้รับ
การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามจำนวนเงินลงทุน เป็นให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิทั้งจำนวน
โดยไม่จำกัดจำนวนตามเงินลงทุน และให้หักค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา การฝึกอบรม การตั้งกองทุน
วิจัยเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้เพิ่มเป็น 2 เท่า จากค่าใช้จ่ายปกติ และยกเว้นภาษีสำหรับสินค้าที่นำเข้าเพื่อ
การทดสอบวิจัย นอกจากนี้ ให้ยกเลิกการอนุญาตหักเงินได้ในการเสียภาษีนิติบุคคลร้อยละ 5 ของรายได้ที่เพิ่ม
ขึ้นจากปีก่อน จากการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริม (มติชน)
3. ไทยเกินดุลการค้าจีน 4.5 พันล้านบาท หลังการทำเอฟทีเอกับจีน นายจักรภพ เพ็ญแข
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. ได้รับทราบรายงานการส่งออกและนำเข้าสินค้า
ระหว่างไทยกับจีนตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.46 — 31 ก.ค.47 โดยไทยเกินดุลการค้าจีน 4,500 ล้านบาท สูงกว่า
ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14 แสดงให้เห็นว่าการทำเอฟทีเอโดยการลดภาษีหมวดผักและผลไม้เหลือ 0%
ไทยไม่เสียเปรียบจีนเช่นที่หลายฝ่ายเป็นห่วง นอกจากนี้ ครม. ยังมีมติอนุมัติให้มีการเปิดเขตการค้าเสรีระหว่าง
ไทยกับนิวซีแลนด์ตามที่ ก.พาณิชย์เสนอ โดยมีเป้าหมายที่จะสรุปผลการเจรจาในเดือน พ.ย.47 โดยในวันที่
27-29 ก.ย.47 จะมีการเจรจาแลกเปลี่ยนข้อเสนอในการลดภาษีสินค้าและเปิดตลาดบริการและการลงทุน
ระหว่างกัน ซึ่งในการจัดทำเอฟทีเอในครั้งนี้ได้ขอความเห็นจากภาคเอกชนด้วย โดยสินค้านมและผลิตภัณฑ์จะให้
เป็นสินค้าอ่อนไหวที่ไม่อยู่ในการเจรจาครั้งนี้ หรือให้มีระยะเวลาการเปิดตลาดนานกว่า 20 ปี (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
4. นักวิเคราะห์มองมาตรฐานบาเซิล 2 ช่วยให้สถาบันการเงินไทยแข็งแกร่งขึ้น จากการที่
ธปท. ประกาศจะใช้มาตรฐานเงินกองทุนใหม่หรือบาเซิล 2 กับสถาบันการเงินไทยนั้น นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่
มองว่ามีผลต่อฐานะทางการเงินและการปล่อยสินเชื่อของ ธ.พาณิชย์แน่นอน โดยเฉพาะความต้องการเงินกอง
ทุนเพิ่มขึ้น รวมถึงความเสี่ยงด้าน Operational และ Market Risk ส่วนการปล่อยสินเชื่อธนาคารจะมี
การพัฒนาการปล่อยสินเชื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและเข้าใจในการบริหารจัดการความเสี่ยงให้สอดคล้อง
กับกลยุทธ์ทางธุรกิจ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากสถาบันการเงินจะมีความแข็งแกร่งมากขึ้นและรัดกุม
ในการขยายสินเชื่อทำให้หนี้เสียน้อยลง ด้าน บล.กิมเอ็ง มีความเห็นว่า มาตรฐานบาเซิล 2 ที่จะเพิ่มน้ำหนัก
ของสินทรัพย์เสี่ยงของเอ็นพีแอลจาก 100% เป็น 150% จะทำให้แก้ไขหนี้ได้เร็วขึ้น รวมถึงการที่รัฐจะแก้กฎหมาย
ให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) เข้ามาซื้อเอ็นพีแอลและสินทรัพย์ออกไปจากระบบเป็นเรื่องดี
แต่อาจมีปัญหาเรื่องราคาที่รับโอนจาก ธ.พาณิชย์ (โพสทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดการขายปลีก สรอ.ในเดือน ส.ค.47 ลดลงร้อยละ 0.3 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงาน
จากวอชิงตัน เมื่อ 14 ก.ย.47 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ยอดการขายปลีกของ สรอ.ในเดือน ส.ค.47
ลดลงร้อยละ 0.3 ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์จากวอลล์สตรีทคาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.1
ขณะที่ยอดขายปลีกยกเว้นรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 อันสอดคล้องกับที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ ส่วนยอดการ
ขายปลีกโดยรวมของเดือน ก.ค.47 ที่มีการทบทวนตัวเลขแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และยอดขายปลีกที่ไม่นับ
รวมรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากที่รายงานก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และ 0.2 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
2. สรอ. ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสที่ 2 ปี 47 จำนวน 166.18 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 14 ก.ย.47 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยตัวเลขขาดดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งเป็นตัวชี้
วัดการไหลเวียนด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ สรอ.กับประเทศอื่น ๆ ในโลก โดยในไตรมาสที่ 2
ปี 47 สรอ.ขาดดุลจำนวน 166.18 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. อันเป็นตัวเลขที่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
ว่าจะขาดดุลจำนวน 159.35 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดใน 3 เดือนแรกของปี 47
หลังจากที่ทบทวนตัวเลขแล้วอยู่ที่จำนวน 147.16 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.จากที่รายงานก่อนหน้านี้ว่าขาดดุลจำนวน
144.88 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดนั้น เนื่องจากการขาดดุลจาก
ดุลการค้าและบริการ โดยขาดดุลการค้าจำนวน 163.58 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. แต่ได้รับการชดเชยจากการ
เกินดุลบริการเพียง 13.29 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลบัญชีเงินทุนมียอดเกินดุลจากการลงทุนระหว่าง
ประเทศแต่ก็เกินดุลลดลงอยู่ที่จำนวน 2.64 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในไตรมาสที่ 2 ปี 47 จากจำนวน 12.16
พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในไตรมาสก่อน นอกจากนี้ดุลเงินโอน ซึ่งเป็นดุลบัญชีที่มีสัดส่วนการให้ความช่วยเหลือต่าง
ประเทศของ สรอ.ค่อนข้างมาก ลดลงอยู่ที่จำนวน 18.53 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากจำนวน 20.73 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ.ในไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์มีความกังวลอย่างยาวนานเกี่ยวกับขนาดของ
ความไม่สมดุลในบัญชีดุลสะพัดของ สรอ. และยังกล่าวถึงบ่อยครั้งว่าอาจจะเป็นปัจจัยนำไปสู่การอ่อนค่าลงของ
เงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ปัจจุบัน สรอ.ยังคงสามารถดึงดูดเงินลงทุนระหว่าง
ประเทศได้อย่างต่อเนื่อง โดย ก.คลังรายงานตัวเลขในเดือน มิ.ย.47 ว่า สรอ.มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิจำนวน
71.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน ส.ค.47 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ
14 ก.ย.47 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.47
และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะคงที่ที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี นอกจากนี้ยังต่ำกว่าอัตราร้อยละ 2.0 ต่อปีที่รัฐบาล
ตั้งเป้าหมายไว้ อันเป็นผลจากการที่ผู้ค้าปลีกเสื้อผ้าและรองเท้าไม่ได้ปรับขึ้นราคาสินค้าหลังจากเทศกาลลดราคา
ในช่วงฤดูร้อนได้สิ้นสุดลงแล้ว ส่งผลให้ราคาเสื้อผ้าและรองเท้าในปีนี้ต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.7
ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.45 เช่นเดียวกับราคาของเล่นเด็กในปีนี้ที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
4 .เกาหลีใต้คาดว่าจะขาดดุลงบประมาณจนถึงปี 50 รายงานจากโซล เมื่อ 14 ก.ย.47 รัฐบาล
เกาหลีใต้คาดว่าจะขาดดุลงบประมาณในปีนี้ประมาณร้อยละ 0.9 ของ GDP และคาดว่าการขาดดุลงบประมาณ
จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.0 ของ GDP ในช่วงปี 48 - 50 อันเป็นผลจากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มงบ
ประมาณด้านสวัสดิการสังคมเพื่อยกมาตรฐานการครองชีพของคนยากจนและด้านการป้องกันประเทศจากเกาหลี
เหนือหลังจาก สรอ.ถอนฐานทัพออกจากคาบสมุทรเกาหลี โดยคาดว่าค่าใช้จ่ายในการป้องกันประเทศจะเพิ่มขึ้น
เป็นร้อยละ 10.5 ของรายจ่ายทั้งหมดของประเทศในปี 51 จากร้อยละ 9.2 ในปีนี้ เช่นเดียวกับค่าใช้จ่าย
ด้านสวัสดิการสังคมและแรงงานที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20.4 ของรายจ่ายทั้งหมดของประเทศในปี 51
จากร้อยละ 16.5 ในปีนี้ ขณะเดียวกันคาดว่าค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลืออุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดเล็กจะลดลง
เหลือร้อยละ 5.1 ในปี 51 จากร้อยละ 5.8 ในปีนี้ เช่นเดียวกับรายจ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมที่
คาดว่าจะลดลงเหลือร้อยละ 12.2 ในปี 51 จากร้อยละ 13.8 ในปีนี้ โดยคาดว่ารายจ่ายทั้งหมดของประเทศ
จะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 6.3 ต่อปีจนถึงปี 50 ในขณะที่คาดว่ารายรับจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 7.4 ต่อปี
รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวระหว่างร้อยละ 5.0 ถึง 5.9 ในช่วงปี 48 — 50 โดยคาดว่าเศรษฐกิจใน
ปีนี้จะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 5.0 หลังจากเติบโตร้อยละ 3.1 ในปี 46 (รอยเตอร์)
5. สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวในปี 48 รายงาน
จากลอนดอน เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 47 สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ — Fitch ratings เปิดเผยว่าได้
ทบทวนคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ว่าจะขยายตัวมากขึ้นถึงระดับร้อยละ 3.9 จากที่เคยคาด
การณ์ไว้ก่อนหน้านั้นที่ระดับร้อยละ 3.6 และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.7 เมื่อปีที่แล้ว แต่จะชะลอตัวอีกครั้งในปี 48
เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของสรอ. และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
โลก ทั้งนี้ประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างโดดเด่นได้แก่ญี่ปุ่นซึ่งในปีนี้เศรษฐกิจอาจจะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 4.2
อย่างไรก็ตามอังกฤษและยูโรโซนเศรษฐกิจต่างก็เติบโตมากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น ส่วนแนวโน้มการ
เติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 48 และปี 49 นั้นอาจจะชะลอตัวลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.3 และร้อยละ 3.0
ตามลำดับ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Fitch ratings กล่าวว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออาจจะเพิ่มขึ้น ขณะ
เดียวกันธ.กลางสรอ.อาจจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงถึงระดับร้อยละ 4.0 ในปี 48 เร็วขึ้นกว่าที่ได้
มีการคาดการณ์กันไว้ ส่วนราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอาจจะช่วยชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้เศรษฐกิจ
โลกขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ นอกจากนั้นนโยบายการเงินและการคลังของสรอ.ยังคงกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยาย
ตัวได้และจะเพิ่มแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ นอกจากนั้นยังคาดว่าระดับราคาน้ำมันในช่วง 2 ปีหน้าจะยังคงอยู่ใน
ระดับสูงกว่าบาร์เรลละ 30 ดอลลาร์ สรอ.รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 15 ก.ย. 47 14 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.391 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2197/41.5003 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 5000-1.5625 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 651.89/28.49 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.7 34.62 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-