ที่รัฐสภา เวลา ๑๔.๑๕ นาฬิกา วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๔๗ ภายหลังจากการประชุม
เรื่องการติดตามมติที่ประชุมใหญ่รัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ ๒๔ นายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ ประธานคณะกรรมาธิการ
การแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ได้แถลงถึงผลการประชุมดังกล่าวว่าที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะกรรมาธิการการ
แรงงานติดตามการทำงานทั้งในระดับนโยบายและการปฏิบัติงานโดยสรุปมติที่ประชุมได้ดังนี้
๑. กำหนดจำนวนแรงงานต่างด้าวระหว่างปี ๒๕๔๗ -๒๕๕๐ ไม่เกินปีละ ๕ แสนคน
เพื่อให้การคุ้มครองแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองเป็นไปตามอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศและกฎหมาย
คุ้มครองแรงงานของไทย ซึ่งปัจจุบันมีการจดทะเบียนอยู่ ๒.๘ แสนคน ดังนั้น
จะเพิ่มได้ไม่เกิน ๒ แสนคน
๒. ให้กระทรวงแรงงานเสนอคณะรัฐมนตรีจัดทำแผนคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าว
โดยมอบให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงานเป็นเจ้าภาพในการดูแล เพื่อไม่ให้ประเทศไทยถูกกล่าวหา
และประณาม ตลอดจนการกีดกันการค้าทางด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิด้านแรงงาน
๓. เนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาแรงงานต่างด้าวและหนีเข้าเมืองในปลายประเทศ อาทิ
บังคลาเทศ อินเดีย แอฟริกาบางประเทศ และยุโรปตะวันออกบางประเทศ คณะกรรมาธิการจึงได้มีมติ
ให้กระทรวงแรงงานสภาความมั่นคงแห่งชาติและตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจัดเตรียมข้อมูล เพื่อมาชี้แจงต่อ
คณะกรรมาธิการในคราวหน้า
ทั้งนี้ ผลสรุปของการศึกษาและแนวทางการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย
เป็นอย่างไรนั้น คณะกรรมาธิการจะนำเสนอประธานรัฐสภาเพื่อรายงานต่อที่ประชุมรัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ ๒๕
ในกลางปี ๒๕๔๗ ต่อไป
------------------------------------
สุวรรณา โฉมฉิน / ผู้สรุป
กรรณิการ์ ผ่านไกร / พิมพ์
เรื่องการติดตามมติที่ประชุมใหญ่รัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ ๒๔ นายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ ประธานคณะกรรมาธิการ
การแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ได้แถลงถึงผลการประชุมดังกล่าวว่าที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะกรรมาธิการการ
แรงงานติดตามการทำงานทั้งในระดับนโยบายและการปฏิบัติงานโดยสรุปมติที่ประชุมได้ดังนี้
๑. กำหนดจำนวนแรงงานต่างด้าวระหว่างปี ๒๕๔๗ -๒๕๕๐ ไม่เกินปีละ ๕ แสนคน
เพื่อให้การคุ้มครองแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองเป็นไปตามอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศและกฎหมาย
คุ้มครองแรงงานของไทย ซึ่งปัจจุบันมีการจดทะเบียนอยู่ ๒.๘ แสนคน ดังนั้น
จะเพิ่มได้ไม่เกิน ๒ แสนคน
๒. ให้กระทรวงแรงงานเสนอคณะรัฐมนตรีจัดทำแผนคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าว
โดยมอบให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงานเป็นเจ้าภาพในการดูแล เพื่อไม่ให้ประเทศไทยถูกกล่าวหา
และประณาม ตลอดจนการกีดกันการค้าทางด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิด้านแรงงาน
๓. เนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาแรงงานต่างด้าวและหนีเข้าเมืองในปลายประเทศ อาทิ
บังคลาเทศ อินเดีย แอฟริกาบางประเทศ และยุโรปตะวันออกบางประเทศ คณะกรรมาธิการจึงได้มีมติ
ให้กระทรวงแรงงานสภาความมั่นคงแห่งชาติและตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจัดเตรียมข้อมูล เพื่อมาชี้แจงต่อ
คณะกรรมาธิการในคราวหน้า
ทั้งนี้ ผลสรุปของการศึกษาและแนวทางการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย
เป็นอย่างไรนั้น คณะกรรมาธิการจะนำเสนอประธานรัฐสภาเพื่อรายงานต่อที่ประชุมรัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ ๒๕
ในกลางปี ๒๕๔๗ ต่อไป
------------------------------------
สุวรรณา โฉมฉิน / ผู้สรุป
กรรณิการ์ ผ่านไกร / พิมพ์