ที่รัฐสภา วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๔.๔๕ นาฬิกา นายแพทย์เปรมศักดิ์
เพียยุระ ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ได้แถลงผลการประชุมการพิจารณา
เรื่องการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวว่า มติที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การรัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ ๒๔ ที่มีขึ้นใน
ระหว่างวันที่ ๗-๑๒ กันยายน ๒๕๔๖ ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยประธานรัฐสภาเป็น
ผู้เข้าร่วมประชุม และได้แจ้งมติของที่ประชุมฯให้คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ไปดำเนินงาน
ติดตามมาตรการและนโยบายของรัฐบาล เพื่อรายงานต่อการประชุมครั้งที่ ๒๕ ในปี ๒๕๔๗ ต่อไปนั้น
คณะกรรมาธิการได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสรุปผลการพิจารณาได้ดังนี้
ในรอบปี ๒๕๔๖ มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว พม่า กัมพูชา และลาว
ใน ๖ ประเภทกิจการ จำนวน ๒๘๘,๗๘๐ คน โดยมีแรงงานต่างด้าวที่เคยจดทะเบียนไว้เมื่อปีที่แล้วหายไป
จำนวน ๑๒๐,๐๐๐ คน ซึ่งเกิดจากปัญหาและขั้นตอนที่ยุ่งยาก และไม่มีความแตกต่างในการจดทะเบียน
โดยเฉพาะความไม่ชัดเจนจากนโยบาย
ดังนั้นการที่กระทรวงแรงงานเตรียมจะจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวอีกครั้งใน
เดือนมีนาคม ๒๕๔๗ ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวใหม่
โดยจะนำร่องใน ๓ จังหวัด คือ ปทุมธานี ระนอง และสมุทรสาคร และเพิ่มจังหวัดตากเข้าไปด้วย
เพราะเป็นจังหวัดที่ติดชายแดนและมีการใช้แรงงานต่างด้าวมาก แต่คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตว่า
การเพิ่มแรงงานต่างด้าวปีละ ๕ แสนกว่าคน ตามงานวิจัยของสถาบันเอเซีย ควรมีการทบทวนและ
รับฟังความคิดเห็นใหม่เพราะข้อเท็จจริงตามความจำเป็นจริง ๆ นั้นจะต้องควบคุมการใช้
แรงงานต่างด้าวที่ไม่มีตัวเลขชัดเจน ซึ่งมีแต่ตัวเลขตามความต้องการที่ประเมินจากผู้ประกอบการเท่านั้น
-------------------------------------------
วิไลลักษณ์ กล่อมเมฆ / ผู้สรุป
กรรณิการ์ ผ่านไกร / พิมพ์
เพียยุระ ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ได้แถลงผลการประชุมการพิจารณา
เรื่องการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวว่า มติที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การรัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ ๒๔ ที่มีขึ้นใน
ระหว่างวันที่ ๗-๑๒ กันยายน ๒๕๔๖ ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยประธานรัฐสภาเป็น
ผู้เข้าร่วมประชุม และได้แจ้งมติของที่ประชุมฯให้คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ไปดำเนินงาน
ติดตามมาตรการและนโยบายของรัฐบาล เพื่อรายงานต่อการประชุมครั้งที่ ๒๕ ในปี ๒๕๔๗ ต่อไปนั้น
คณะกรรมาธิการได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสรุปผลการพิจารณาได้ดังนี้
ในรอบปี ๒๕๔๖ มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว พม่า กัมพูชา และลาว
ใน ๖ ประเภทกิจการ จำนวน ๒๘๘,๗๘๐ คน โดยมีแรงงานต่างด้าวที่เคยจดทะเบียนไว้เมื่อปีที่แล้วหายไป
จำนวน ๑๒๐,๐๐๐ คน ซึ่งเกิดจากปัญหาและขั้นตอนที่ยุ่งยาก และไม่มีความแตกต่างในการจดทะเบียน
โดยเฉพาะความไม่ชัดเจนจากนโยบาย
ดังนั้นการที่กระทรวงแรงงานเตรียมจะจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวอีกครั้งใน
เดือนมีนาคม ๒๕๔๗ ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวใหม่
โดยจะนำร่องใน ๓ จังหวัด คือ ปทุมธานี ระนอง และสมุทรสาคร และเพิ่มจังหวัดตากเข้าไปด้วย
เพราะเป็นจังหวัดที่ติดชายแดนและมีการใช้แรงงานต่างด้าวมาก แต่คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตว่า
การเพิ่มแรงงานต่างด้าวปีละ ๕ แสนกว่าคน ตามงานวิจัยของสถาบันเอเซีย ควรมีการทบทวนและ
รับฟังความคิดเห็นใหม่เพราะข้อเท็จจริงตามความจำเป็นจริง ๆ นั้นจะต้องควบคุมการใช้
แรงงานต่างด้าวที่ไม่มีตัวเลขชัดเจน ซึ่งมีแต่ตัวเลขตามความต้องการที่ประเมินจากผู้ประกอบการเท่านั้น
-------------------------------------------
วิไลลักษณ์ กล่อมเมฆ / ผู้สรุป
กรรณิการ์ ผ่านไกร / พิมพ์