นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยภาวะส่งออกข้าวในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ว่า สามารถส่งออกข้าวได้ 0.56 ล้านตันมูลค่า 173 ล้านเหรียญสหรัฐฯ( 6,622 ล้านบาท) ต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19 และ 6 โดยตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ แคเมอรูน ฮ่องกง โมซัมบิก อิรัก แอฟริกาใต้ มาเลเซีย ไนจีเรีย เซเนกัล อิหร่าน เบนิน ตามลำดับ
สำหรับการส่งออกในช่วง มกราคม- กุมภาพันธ์ 2548 ได้ส่งออกข้าวแล้วประมาณ 1.33 ล้านตัน มูลค่า 393 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(15,175 ล้านบาท) ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6 และ 15 ตามลำดับ โดยข้าวที่ส่งออกดังกล่าวเป็นข้าวหอมมะลิไทย 0.33 ล้านตัน มูลค่า 123 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ( 4,677 ล้านบาท) หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 และ 32 ของปริมาณและ มูลค่าการส่งออกทั้งหมดตามลำดับ
จากสถานการณ์ข้าวโลกปี 2547/48 ที่คาดว่าผลผลิตข้าวมีประมาณ 402.1 ล้านตันต่ำกว่าความต้องการบริโภคซึ่งมีประมาณ 411.2 ล้านตันหรือต่ำกว่าถึง 9 ล้านตัน ในขณะที่ปริมาณการค้าข้าวโลกยังอยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับปีก่อน ส่งผลให้สต็อกข้าวโลกมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนความต้องการซื้อข้าวของตลาดโลกซึ่งยังมีสูง ในขณะที่ปริมาณข้าวที่มีจำหน่ายลดลง
ภาวะอากาศที่แห้งแล้ง และผลผลิตข้าวได้รับความเสียหายในหลายพื้นที่ ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการค้าข้าวคาดว่าราคาข้าวจะมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก จึงชะลอการขายข้าวออกสู่ตลาด ประกอบกับการแข็งตัวของค่าเงินบาท ส่งผลให้ราคาข้าวส่งออกของไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับสูง รวมทั้งราคาข้าวโดยรวมในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้ปริมาณการค้าข้าวโลกในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน โดยตลาดส่งออกข้าวไทยที่สำคัญได้แก่ ตะวันออกกลาง และ แอฟริกา ซึ่งเป็นตลาดข้าวขาว ข้าวนึ่งและปลายข้าว ขณะที่ข้าวหอมมะลิไทยตลาดยังมีคำสั่งซื้อเพิ่มเติมเข้ามากขึ้นแต่ส่วนใหญ่จะเป็นปลายข้าวหอมมะลิ ส่งผลให้ราคาข้าวส่งออกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมาเป็นลำดับ โดยข้าวหอมมะลิไทย 100 % ชั้น 2 มีราคาเฉลี่ยส่งออกตันละ 456 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนข้าวขาว 100 % ชั้น 2 มีราคาเฉลี่ยส่งออกตันละ 297 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับราคาข้าวเปลือกหอมมะลิมีราคาเฉลี่ย ตันละ 7,893 บาท ส่วนข้าวเปลือกเจ้านาปี 5 % มีราคาเฉลี่ยตันละ 6,450 บาท
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าการส่งออกข้าวในเดือนมีนาคม 2548 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการที่มีเรือเข้ามารับมอบข้าวมากขึ้น รวมทั้งนโยบายการระบายสต็อกข้าวของรัฐบาลที่มีความชัดเจน ประกอบกับราคาข้าวในตลาดโลกคาดว่ายังคงไม่ปรับตัวลดลง ทำให้ประเทศผู้ซื้อจะหันกลับมาซื้อข้าวเพิ่มเติม เนื่องจากยังมีความต้องการเป็นจำนวนมาก และไทยเป็นแหล่งหนึ่งที่มีข้าวพร้อม ส่งมอบ
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
สำหรับการส่งออกในช่วง มกราคม- กุมภาพันธ์ 2548 ได้ส่งออกข้าวแล้วประมาณ 1.33 ล้านตัน มูลค่า 393 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(15,175 ล้านบาท) ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6 และ 15 ตามลำดับ โดยข้าวที่ส่งออกดังกล่าวเป็นข้าวหอมมะลิไทย 0.33 ล้านตัน มูลค่า 123 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ( 4,677 ล้านบาท) หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 และ 32 ของปริมาณและ มูลค่าการส่งออกทั้งหมดตามลำดับ
จากสถานการณ์ข้าวโลกปี 2547/48 ที่คาดว่าผลผลิตข้าวมีประมาณ 402.1 ล้านตันต่ำกว่าความต้องการบริโภคซึ่งมีประมาณ 411.2 ล้านตันหรือต่ำกว่าถึง 9 ล้านตัน ในขณะที่ปริมาณการค้าข้าวโลกยังอยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับปีก่อน ส่งผลให้สต็อกข้าวโลกมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนความต้องการซื้อข้าวของตลาดโลกซึ่งยังมีสูง ในขณะที่ปริมาณข้าวที่มีจำหน่ายลดลง
ภาวะอากาศที่แห้งแล้ง และผลผลิตข้าวได้รับความเสียหายในหลายพื้นที่ ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการค้าข้าวคาดว่าราคาข้าวจะมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก จึงชะลอการขายข้าวออกสู่ตลาด ประกอบกับการแข็งตัวของค่าเงินบาท ส่งผลให้ราคาข้าวส่งออกของไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับสูง รวมทั้งราคาข้าวโดยรวมในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้ปริมาณการค้าข้าวโลกในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน โดยตลาดส่งออกข้าวไทยที่สำคัญได้แก่ ตะวันออกกลาง และ แอฟริกา ซึ่งเป็นตลาดข้าวขาว ข้าวนึ่งและปลายข้าว ขณะที่ข้าวหอมมะลิไทยตลาดยังมีคำสั่งซื้อเพิ่มเติมเข้ามากขึ้นแต่ส่วนใหญ่จะเป็นปลายข้าวหอมมะลิ ส่งผลให้ราคาข้าวส่งออกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมาเป็นลำดับ โดยข้าวหอมมะลิไทย 100 % ชั้น 2 มีราคาเฉลี่ยส่งออกตันละ 456 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนข้าวขาว 100 % ชั้น 2 มีราคาเฉลี่ยส่งออกตันละ 297 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับราคาข้าวเปลือกหอมมะลิมีราคาเฉลี่ย ตันละ 7,893 บาท ส่วนข้าวเปลือกเจ้านาปี 5 % มีราคาเฉลี่ยตันละ 6,450 บาท
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าการส่งออกข้าวในเดือนมีนาคม 2548 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการที่มีเรือเข้ามารับมอบข้าวมากขึ้น รวมทั้งนโยบายการระบายสต็อกข้าวของรัฐบาลที่มีความชัดเจน ประกอบกับราคาข้าวในตลาดโลกคาดว่ายังคงไม่ปรับตัวลดลง ทำให้ประเทศผู้ซื้อจะหันกลับมาซื้อข้าวเพิ่มเติม เนื่องจากยังมีความต้องการเป็นจำนวนมาก และไทยเป็นแหล่งหนึ่งที่มีข้าวพร้อม ส่งมอบ
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-