นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดทำฐานข้อมูลอุตสาหกรรมให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม โดยจัดทำเป็นดัชนีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม [SMEs
] รายเดือน เพื่อเผยแพร่ต่อผู้ประการกลุ่ม SMEs เป็นประจำทุกเดือน ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการกลุ่ม SMEs มากขึ้น เนื่องจาก จะทำให้ผู้ประกอบการทราบถึงโครงสร้างการผลิตและสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม SMEs ในปัจจุบันได้อย่างชัดเจน อันจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ประเมิน เพื่อประกอบการตัดสินใจดำเนินธุรกิจ พร้อมทั้ง วางแผนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสภาพทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคาดว่าดัชนีดังกล่าวจะแล้วเสร็จในช่วงสิ้นเดือนกันยายน และพร้อมที่จะนำข้อมูลเผยแพร่สู่ผู้ประกอบการได้ทันที
สำหรับขั้นตอนการจัดทำดัชนี SMEs จะใช้ฐานข้อมูลของสศอ.ที่ได้จัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรมทุกเดือน มาเป็นข้อมูลชี้วัดโดยแยกเฉพาะข้อมูลที่เป็นส่วนของโรงงาน SMEs มารวมฐานข้อมูลการประกอบการ SMEs ของสสว. โดยการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในส่วนของสศอ. มีฐานข้อมูลจากโรงงานที่เป็น SMEs ประมาณ 630 โรงงาน ครอบคลุมอุตสาหกรรมประมาณ 39 กลุ่มอุตสาหกรรม 113 ผลิตภัณฑ์ หรือคิดเป็นร้อยละ 47.64 ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ภาคอุตสาหกรรม เพื่อจัดทำดัชนี SMEs 8 ชนิดด้วยกัน คือ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าผลผลิต) ดัชนีการส่งสินค้า ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม และอัตราการใช้กำลังการผลิต
อุตสาหกรรมรายสาขาและรายผลิตภัณฑ์ที่นำมาวิเคราะห์ เพื่อจัดทำดัชนี SMEs นั้น ครอบคลุมหลายกลุ่มอุตสาหกรรมด้วยกัน อาทิเช่น อุตสาหกรรมอาหาร ประเภทอาหารสัตว์ การผลิตน้ำตาล และการผลิตน้ำมันจากพืช อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ประเภทการผลิตสิ่งทอสำเร็จรูป การฟอกและตกแต่งหนัง และการผลิตกระเป๋าเดินทาง เป็นต้น
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2547 จากผลการสำรวจทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่ม อุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งในกลุ่มที่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม พบว่า มี5 ดัชนีหลักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 136.43 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.71 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 137.40 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.56 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 131.92 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 2.91 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 107.94 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.51 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม 144.46 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.44 สำหรับ ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 136.47 ทรงตัวจากเดือนก่อน (136.94) และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.08 ส่วน ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) ปรับตัวลดลงเล็กน้อย อยู่ที่ระดับ 128.78 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 2.49 แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.94 ส่วน อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 63.37 ทรงตัวจากเดือนก่อน (63.79) และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.64 ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีภาวะผลิตและจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ โลหะ และยาง นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า สศอ.ยังได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม โดยคาดการณ์ว่า ภาวะอุตสาหกรรมในเดือนนี้ มีหลายกลุ่มอุตสาหกรรมที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ในอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศในมูลค่าสูง เช่น อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาต้นทุนด้านเชื้อเพลิงทั้งน้ำมัน และก๊าซที่ปรับสูงขึ้น แต่ในภาพรวมยังคงมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ข้อมูลเกี่ยวกับดัชนีอุตสาหกรรมสามารถเข้าไปค้นหาได้ที่ www.oie.go.th /โทร.0-2202-4359, 0-2202-4355)
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ถ.พระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0-2202-4274 โทรสาร. 0-2644-7136 www.oie.go.th
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
] รายเดือน เพื่อเผยแพร่ต่อผู้ประการกลุ่ม SMEs เป็นประจำทุกเดือน ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการกลุ่ม SMEs มากขึ้น เนื่องจาก จะทำให้ผู้ประกอบการทราบถึงโครงสร้างการผลิตและสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม SMEs ในปัจจุบันได้อย่างชัดเจน อันจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ประเมิน เพื่อประกอบการตัดสินใจดำเนินธุรกิจ พร้อมทั้ง วางแผนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสภาพทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคาดว่าดัชนีดังกล่าวจะแล้วเสร็จในช่วงสิ้นเดือนกันยายน และพร้อมที่จะนำข้อมูลเผยแพร่สู่ผู้ประกอบการได้ทันที
สำหรับขั้นตอนการจัดทำดัชนี SMEs จะใช้ฐานข้อมูลของสศอ.ที่ได้จัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรมทุกเดือน มาเป็นข้อมูลชี้วัดโดยแยกเฉพาะข้อมูลที่เป็นส่วนของโรงงาน SMEs มารวมฐานข้อมูลการประกอบการ SMEs ของสสว. โดยการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในส่วนของสศอ. มีฐานข้อมูลจากโรงงานที่เป็น SMEs ประมาณ 630 โรงงาน ครอบคลุมอุตสาหกรรมประมาณ 39 กลุ่มอุตสาหกรรม 113 ผลิตภัณฑ์ หรือคิดเป็นร้อยละ 47.64 ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ภาคอุตสาหกรรม เพื่อจัดทำดัชนี SMEs 8 ชนิดด้วยกัน คือ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าผลผลิต) ดัชนีการส่งสินค้า ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม และอัตราการใช้กำลังการผลิต
อุตสาหกรรมรายสาขาและรายผลิตภัณฑ์ที่นำมาวิเคราะห์ เพื่อจัดทำดัชนี SMEs นั้น ครอบคลุมหลายกลุ่มอุตสาหกรรมด้วยกัน อาทิเช่น อุตสาหกรรมอาหาร ประเภทอาหารสัตว์ การผลิตน้ำตาล และการผลิตน้ำมันจากพืช อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ประเภทการผลิตสิ่งทอสำเร็จรูป การฟอกและตกแต่งหนัง และการผลิตกระเป๋าเดินทาง เป็นต้น
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2547 จากผลการสำรวจทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่ม อุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งในกลุ่มที่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม พบว่า มี5 ดัชนีหลักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 136.43 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.71 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 137.40 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.56 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 131.92 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 2.91 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 107.94 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.51 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม 144.46 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.44 สำหรับ ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 136.47 ทรงตัวจากเดือนก่อน (136.94) และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.08 ส่วน ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) ปรับตัวลดลงเล็กน้อย อยู่ที่ระดับ 128.78 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 2.49 แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.94 ส่วน อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 63.37 ทรงตัวจากเดือนก่อน (63.79) และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.64 ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีภาวะผลิตและจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ โลหะ และยาง นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า สศอ.ยังได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม โดยคาดการณ์ว่า ภาวะอุตสาหกรรมในเดือนนี้ มีหลายกลุ่มอุตสาหกรรมที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ในอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศในมูลค่าสูง เช่น อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาต้นทุนด้านเชื้อเพลิงทั้งน้ำมัน และก๊าซที่ปรับสูงขึ้น แต่ในภาพรวมยังคงมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ข้อมูลเกี่ยวกับดัชนีอุตสาหกรรมสามารถเข้าไปค้นหาได้ที่ www.oie.go.th /โทร.0-2202-4359, 0-2202-4355)
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ถ.พระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0-2202-4274 โทรสาร. 0-2644-7136 www.oie.go.th
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-