นโยบายการเจรจาเขตการค้าเสรีระดับทวิภาคี (Free Trade Agreement: FTA) ของไทยถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการเพิ่มปริมาณการค้าให้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่งและเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในระหว่างการจัดตั้งเขตการค้าเสรีกับหลายประเทศ เช่นสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เปรู และบาห์เรน เป็นต้น การเจรจาเขตการค้าเสรีระดับทวิภาคี (FTA) ระหว่างไทย กับสหรัฐ ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นตลาดเดิมของไทย และมีการค้าระหว่างกันค่อนข้างมากอยู่แล้วให้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอีก และนอกจากนี้สหรัฐยังเป็นตลาดที่ใหญ่กว่าไทย 4-5 เท่า ในปัจจุบันสินค้าของไทยหลายรายการมีปัญหาในการเข้าสู่ตลาดสหรัฐ เช่น สินค้าเกษตรประมาณ 40% เข้าไปไม่ได้เพราะติดปัญหามาตรการกีดกันการค้าต่างๆ เช่น มาตรการสุขอนามัย (SPS) ดังนั้นการทำ FTA ไทย กับสหรัฐจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการลดกำแพงของปัญหาต่างๆ ให้ลดลง
การทำ FTA ไทย กับสหรัฐ มีนายนิตย์ พิบูลสงคราม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะเจรจา โดยการเจรจารอบแรกเริ่มเจรจาวันที่ 28 มิถุนายน 2547 - 2 กรกฎาคม 2547 โดยการทำ FTA จะเป็นลักษณะ Comprehensive และ Commercially ครอบคลุมด้านต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ สินค้า บริการ การลงทุน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โทรคมนาคม การเงินการธนาคาร แรงงาน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งกรอบในการดำเนินการเจรจาจะทำภายใต้ความเสมอภาค ไม่กำหนดเวลา และสัญญาต้องมีความเสมอภาคและมีความยุติธรรมเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยมากที่สุด ถ้ายังไม่พร้อมไทยก็จะไม่เซ็นสัญญาข้อตกลงใดๆ ทั้งสิ้น
รายละเอียดข้อเสนอในเบื้องต้นสำหรับการลดภาษีของฝ่ายไทยจะแบ่งสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) สินค้าทั่วไป เสนอที่จะลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ภายในระยะเวลา 0-5 ปี กับสินค้าอ่อนไหวเสนอที่จะลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ภายในระยะเวลา 6-20 ปี ซึ่งขึ้นอยู่กับความอ่อนไหวของสินค้ารายการนั้นๆ 2) Request List สินค้าที่มีอัตราภาษีระหว่างร้อยละ 0-5 ให้ลดเหลือร้อยละ 0 ทันที สินค้าอื่นๆ ทั้งที่ไม่ใช่รายการอ่อนไหวเสนอที่จะลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ภายในระยะเวลา 5 ปี และสินค้าอ่อนไหวให้ลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ภายในระยะเวลา 5- 15 ปี และ 3) Specific Request หรือรายการสินค้าที่ไทยเร่งรัดให้สหรัฐลดภาษีลงเป็นพิเศษ มีจำนวนทั้งหมด 150 รายการ รวมทั้งน้ำตาลทรายด้วย
สำหรับหัวข้อที่ฝ่ายไทยเตรียมที่จะขอเจรจากับฝ่ายสหรัฐในรอบแรกนี้ ประกอบด้วย เรื่องของ การเยียวยาทางการค้า (Trade Remidies) ในประเด็นที่กุ้งจากไทยถูกใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) มาตรการสุขภาพอนามัย (SPS) ทั้งหมด และเรื่องอุปสรรคทางเทคนิคที่มีต่อการค้า (TBT) ทั้งหมดส่วนฝ่ายสหรัฐอเมริกาได้เสนอหัวข้อต่างๆ ให้ไทยพิจารณาเป็นจำนวน 24 หัวข้อ ได้แก่ 1) การเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม 2) แหล่งกำเนิดสินค้า 3) การเปิดตลาดสินค้าเกษตร 4) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 5) ศุลกากร 6) มาตรฐานสุขอนามัย หรือ SPS 7) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า หรือ TBT 8) การเยียวยาทางการค้า รวมทั้งมาตรการปกป้อง กับการโต้ตอบการทุ่มตลาด และการอุดหนุนการส่งออก 9) นโยบายการแข่งขัน 10) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ 11) การบริการข้ามพรมแดน 12) โทรคมนาคม 13) การเงิน 14) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 15) การลงทุน 16) ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า 17) การเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ เป็นการชั่วคราว 18) การปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่างแก่ SMEs 19) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 20) ความโปร่งใส 21) แรงงาน 22) สิ่งแวดล้อม 23) กลไกในการระงับข้อพิพาท และ 24) อื่นๆ โดยการเจรจาในรอบแรกนี้สหรัฐฯ ได้ยื่นข้อเสนอเฉพาะหัวข้อที่สำคัญ 11 หัวข้อก่อนได้แก่ 1) สิ่งแวดล้อม 2) แรงงาน3) ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า 4) การลงทุน 5) นโยบายการแข่งขัน 6) สิ่งทอ 7) การเปิดตลาดสินค้าเกษตร 8) มาตรฐานสุขอนามัย (SPS) 9) บริการด้านการเงิน 10) ศุลกากร และ 11) การเยียวยาทางการค้าผลกระทบจากการเปิดเสรีต่อสินค้าอุตสาหกรรมของไทยเมื่อมีการทำ FTA ไทย กับสหรัฐฯ ซึ่งภาคเอกชนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องของไทยได้กำหนดท่าทีของตนเองต่อการเจรจาในครั้งนี้ โดยสินค้าอุตสาหกรรม รายการสินค้าที่ลดภาษีได้ทันที เช่น เครื่องหนัง รองเท้า และส่วนประกอบรองเท้า เนื่องจากผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมนี้มีศักยภาพ รายการสินค้าปกติ ได้แก่ อัญมณี สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า และของเล่น โดยสินค้าอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นอุตสาหกรรมที่มีระดับความสามารถในการแข่งขันได้ และส่งออกไปยังต่างประเทศได้มากขึ้น
ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมที่มีความสามารถในการแข่งขันทัดเทียมกัน เป็นอุตสาหกรรมที่มีความได้เปรียบด้านราคาเป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขันมากกว่าคุณภาพ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา และสินค้าอุตสาหกรรมที่ยังไม่สามารถแข่งขันได้ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาการนำเข้า ได้แก่ น้ำมันปาล์ม เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสินค้าอุตสาหกรรมที่มีอัตราภาษีอากรต่ำอยู่แล้ว เช่น กระดาษ และเยื่อกระดาษ ซึ่งการทำ FTA ในการลดภาษีต้องอาศัยระยะเวลา การลดภาษีจะทำในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป
ด้านสินค้าเกษตร ซึ่งมีมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ถือเป็นประเด็นที่สำคัญสำหรับภาคเอกชนที่ต้องพิจารณาว่าตรงจุดไหนที่สินค้ายังไม่ได้มาตรฐาน และขอความร่วมมือจากสหรัฐในเรื่องของการทำ MRA และออกใบรับรอง (Certificate) ให้กับสินค้า ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวได้ และผู้ส่งออกอาหารที่ต้องการพัฒนาตัวเองให้ส่งสินค้าไปได้ ก็จะได้รับการช่วยเหลือจากสหรัฐ สำหรับรายการสินค้าเกษตรที่ลดภาษีได้ทันที เช่น ผักและผลไม้ กล้วยไม้ และข้าว สินค้าปกติ เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ส่วนกุ้งพร้อมที่จะลดภาษีได้ทันที หากสหรัฐยอมยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ
อย่างไรก็ตามผลการเจรจาจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างไทย กับสหรัฐในรอบแรกนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยเฉพาะหัวข้อการปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่างแก่ SMEs ซึ่งประเทศไทยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ให้เตรียมความพร้อมและปรับตัว ในการพัฒนาการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ให้สามารถแข่งขันได้กับประเทศอื่นๆ ซึ่งก็มุ่งที่จะขยายตลาดในสหรัฐให้ได้มากขึ้นเช่นกัน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
การทำ FTA ไทย กับสหรัฐ มีนายนิตย์ พิบูลสงคราม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะเจรจา โดยการเจรจารอบแรกเริ่มเจรจาวันที่ 28 มิถุนายน 2547 - 2 กรกฎาคม 2547 โดยการทำ FTA จะเป็นลักษณะ Comprehensive และ Commercially ครอบคลุมด้านต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ สินค้า บริการ การลงทุน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โทรคมนาคม การเงินการธนาคาร แรงงาน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งกรอบในการดำเนินการเจรจาจะทำภายใต้ความเสมอภาค ไม่กำหนดเวลา และสัญญาต้องมีความเสมอภาคและมีความยุติธรรมเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยมากที่สุด ถ้ายังไม่พร้อมไทยก็จะไม่เซ็นสัญญาข้อตกลงใดๆ ทั้งสิ้น
รายละเอียดข้อเสนอในเบื้องต้นสำหรับการลดภาษีของฝ่ายไทยจะแบ่งสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) สินค้าทั่วไป เสนอที่จะลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ภายในระยะเวลา 0-5 ปี กับสินค้าอ่อนไหวเสนอที่จะลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ภายในระยะเวลา 6-20 ปี ซึ่งขึ้นอยู่กับความอ่อนไหวของสินค้ารายการนั้นๆ 2) Request List สินค้าที่มีอัตราภาษีระหว่างร้อยละ 0-5 ให้ลดเหลือร้อยละ 0 ทันที สินค้าอื่นๆ ทั้งที่ไม่ใช่รายการอ่อนไหวเสนอที่จะลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ภายในระยะเวลา 5 ปี และสินค้าอ่อนไหวให้ลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ภายในระยะเวลา 5- 15 ปี และ 3) Specific Request หรือรายการสินค้าที่ไทยเร่งรัดให้สหรัฐลดภาษีลงเป็นพิเศษ มีจำนวนทั้งหมด 150 รายการ รวมทั้งน้ำตาลทรายด้วย
สำหรับหัวข้อที่ฝ่ายไทยเตรียมที่จะขอเจรจากับฝ่ายสหรัฐในรอบแรกนี้ ประกอบด้วย เรื่องของ การเยียวยาทางการค้า (Trade Remidies) ในประเด็นที่กุ้งจากไทยถูกใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) มาตรการสุขภาพอนามัย (SPS) ทั้งหมด และเรื่องอุปสรรคทางเทคนิคที่มีต่อการค้า (TBT) ทั้งหมดส่วนฝ่ายสหรัฐอเมริกาได้เสนอหัวข้อต่างๆ ให้ไทยพิจารณาเป็นจำนวน 24 หัวข้อ ได้แก่ 1) การเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม 2) แหล่งกำเนิดสินค้า 3) การเปิดตลาดสินค้าเกษตร 4) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 5) ศุลกากร 6) มาตรฐานสุขอนามัย หรือ SPS 7) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า หรือ TBT 8) การเยียวยาทางการค้า รวมทั้งมาตรการปกป้อง กับการโต้ตอบการทุ่มตลาด และการอุดหนุนการส่งออก 9) นโยบายการแข่งขัน 10) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ 11) การบริการข้ามพรมแดน 12) โทรคมนาคม 13) การเงิน 14) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 15) การลงทุน 16) ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า 17) การเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ เป็นการชั่วคราว 18) การปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่างแก่ SMEs 19) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 20) ความโปร่งใส 21) แรงงาน 22) สิ่งแวดล้อม 23) กลไกในการระงับข้อพิพาท และ 24) อื่นๆ โดยการเจรจาในรอบแรกนี้สหรัฐฯ ได้ยื่นข้อเสนอเฉพาะหัวข้อที่สำคัญ 11 หัวข้อก่อนได้แก่ 1) สิ่งแวดล้อม 2) แรงงาน3) ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า 4) การลงทุน 5) นโยบายการแข่งขัน 6) สิ่งทอ 7) การเปิดตลาดสินค้าเกษตร 8) มาตรฐานสุขอนามัย (SPS) 9) บริการด้านการเงิน 10) ศุลกากร และ 11) การเยียวยาทางการค้าผลกระทบจากการเปิดเสรีต่อสินค้าอุตสาหกรรมของไทยเมื่อมีการทำ FTA ไทย กับสหรัฐฯ ซึ่งภาคเอกชนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องของไทยได้กำหนดท่าทีของตนเองต่อการเจรจาในครั้งนี้ โดยสินค้าอุตสาหกรรม รายการสินค้าที่ลดภาษีได้ทันที เช่น เครื่องหนัง รองเท้า และส่วนประกอบรองเท้า เนื่องจากผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมนี้มีศักยภาพ รายการสินค้าปกติ ได้แก่ อัญมณี สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า และของเล่น โดยสินค้าอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นอุตสาหกรรมที่มีระดับความสามารถในการแข่งขันได้ และส่งออกไปยังต่างประเทศได้มากขึ้น
ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมที่มีความสามารถในการแข่งขันทัดเทียมกัน เป็นอุตสาหกรรมที่มีความได้เปรียบด้านราคาเป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขันมากกว่าคุณภาพ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา และสินค้าอุตสาหกรรมที่ยังไม่สามารถแข่งขันได้ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาการนำเข้า ได้แก่ น้ำมันปาล์ม เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสินค้าอุตสาหกรรมที่มีอัตราภาษีอากรต่ำอยู่แล้ว เช่น กระดาษ และเยื่อกระดาษ ซึ่งการทำ FTA ในการลดภาษีต้องอาศัยระยะเวลา การลดภาษีจะทำในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป
ด้านสินค้าเกษตร ซึ่งมีมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ถือเป็นประเด็นที่สำคัญสำหรับภาคเอกชนที่ต้องพิจารณาว่าตรงจุดไหนที่สินค้ายังไม่ได้มาตรฐาน และขอความร่วมมือจากสหรัฐในเรื่องของการทำ MRA และออกใบรับรอง (Certificate) ให้กับสินค้า ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวได้ และผู้ส่งออกอาหารที่ต้องการพัฒนาตัวเองให้ส่งสินค้าไปได้ ก็จะได้รับการช่วยเหลือจากสหรัฐ สำหรับรายการสินค้าเกษตรที่ลดภาษีได้ทันที เช่น ผักและผลไม้ กล้วยไม้ และข้าว สินค้าปกติ เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ส่วนกุ้งพร้อมที่จะลดภาษีได้ทันที หากสหรัฐยอมยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ
อย่างไรก็ตามผลการเจรจาจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างไทย กับสหรัฐในรอบแรกนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยเฉพาะหัวข้อการปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่างแก่ SMEs ซึ่งประเทศไทยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ให้เตรียมความพร้อมและปรับตัว ในการพัฒนาการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ให้สามารถแข่งขันได้กับประเทศอื่นๆ ซึ่งก็มุ่งที่จะขยายตลาดในสหรัฐให้ได้มากขึ้นเช่นกัน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-