‘อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ’ ระบุมติครม.แต่งตั้ง’อำพน’ ถือเป็นการโยกย้ายข้ามหน่วยงานที่ทำได้ แต่ไม่ควรมองข้ามคนในหน่วยงาน ‘เตือน’ศก.ปัจจุบันอยู่ในภาวะแห่งความเสี่ยง หากยิ่งทำนโยบายทางการเมืองก็ยิ่งตอกย้ำมากขึ้น สะท้อนมุมมองสังคม’ปปง.’ยิ่งอันตรายตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง พร้อมตั้งข้อสังเกตจับตาคนในรัฐบาล
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง การที่ ครม.มีมติแต่งตั้งนายอำพน กิตติอำพน รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ มาดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)ว่า ตนไม่ได้คัดค้านการโยกย้ายข้ามหน่วยงาน เพราะคิดว่าระบบที่เปิดและมีการไหลเวียนคงเป็นทางเลือกที่เพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่ละเลยหรือมองข้ามคนในหน่วยงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้คือ การโยกย้ายต่างๆ ไม่มีเหตุผลหรือคำตอบที่ชัดเจน และยิ่งตอกย้ำสภาพปัญหาของระบบราชการ ที่สังคมกำลังมองว่าขาดความเป็นอิสระ ‘ขณะนี้กลายเป็นว่าทุกอย่างต้องมารับใช้ฝ่ายการเมือง จนไร้ขอบเขต นี่คือสิ่งที่จะต้องลบข้อครหาให้ได้ และคำอธิบายของท่านรองนายกฯก็ดูแปลก การที่บอกว่าแต่งตั้งเพราะภาษาดี และเคยเป็นโฆษกทางเศรษฐกิจ ตรงนี้คงไม่ใช่หน้าที่หลัก’ นายอภิสิทธิ์ กล่าว และว่าส่วนของเศรษฐกิจหน่วยงานที่ทำหน้าที่ทางด้านเทคนิค ไม่ว่าจะเป็นสภาพัฒน์ กระทรวงคลัง และสำนักงบประมาณ จำเป็นต้องยืนยันความเข้มแข็งทางวิชาการในการให้คำแนะนำ หรือเตือนรัฐบาล เพราะเศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ในภาวะปัจจัยเสี่ยง ถ้าเกิดทำนโยบายโดยคำนึงถึงปัจจัยทางการเมืองก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยง ‘ดังนั้นสิ่งที่เราต้องการก็คือคนที่มาดูแลหน่วยงานนี้ และต้องมีความแข็งแกร่งพอสมควร เตือนรัฐบาลได้ ไม่ใช่คนที่จะมาสนองความต้องการของคนในรัฐบาลอย่างเดียว ตรงนี้คือความห่วงใยและอยากให้รัฐบาลเข้าใจความห่วงใยตรงนี้ ผมหวังว่าจะมีการปรับเปลี่ยนท่าที เพราะตอนนี้ดูจะหนักข้อขึ้นในเรื่องของปัญหาการโยกย้าย แต่งตั้ง’ นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ส่วนกรณีของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) ซึ่งตอนนี้ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากนั้น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า การที่ผู้มีอำนาจเอ่ยชื่อคนคนหนึ่งขึ้นมาว่าจะต้องไปดำเนินการ ปปง.ก็สามารถทำได้รวดเร็วทันควัน ซึ่งไม่ใช่วิสัยปกติของหน่วยงานที่ทำงานอย่างนี้ จึงทำให้สังคมมองว่าปปง. กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองไปแล้ว ซึ่งจะเป็นอันตรายมาก และถือว่าไปไกลเกินเจตนารมย์ของกฎหมาย ทั้งนี้ตนได้ตั้งข้อสังเกตคือ 1. การรับลูกของกระบวนการนี้เป็นเรื่องที่ผิดธรรมชาติแน่นอน 2. การให้ข่าวต่อสื่อก็เสี่ยงต่อการผิดกฎหมาย เพราะการทำงานของปปง.ต้องทำงานในทางลับ 3.การบอกว่าจะตามไปยึดทรัพย์ถึงต่างประเทศนั้นจะทำได้หรือไม่
‘จำได้ว่าคนที่มีอำนาจในรัฐบาลมากที่สุดก็เคยถูกร้องว่าน่าจะสอบเขาบาง เพราะมีบริษัทที่ตั้งอยู่ มีการถ่ายโอนหุ้น โดยมีการเสนอข้อมูลในสภาฯแล้ว แต่ตอนนั้น ปปง.ไม่สามารถตามได้ ตอนนี้เลยต้องดูว่ามาตรฐานอยู่ตรงไหน และยิ่งไปไกลจนถึงขั้นไม่ต้องมีอายุความ ไม่ต้องมีอะไร ผมคิดว่าตรงนี้คือจะเอาชนะคะคานกันทางการเมืองหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่กำลังกระทบกับความมั่นใจของคนธรรมดา คนสุจริต และคนที่เขาประกอบธุรกิจ เพราะกลายเป็นว่าใครที่ออกมาแสดงความคิดเห็นท้าทายคนที่มีอำนาจจะต้องถูกขู่อย่างนี้หมด’ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว และกล่าวว่าจากนี้คนสุจริตก็จะหวั่นไหว เพราะไม่รู้ว่าจะถูกกลั่นแกล้งหรือเปล่า และคนที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองต่อไปนี้ก็เหมือนกับจะถูกปิดปากไปโดยคำขู่ทำนองนี้ ซึ่งตนคิดว่าเรื่องดังกล่าวไม่เอื้ออำนวยต่อระบบเศรษฐกิจ หรือระบบการเมืองที่ดี ดังนั้น ปปง.ต้องหยุดเป็นเครื่องมือทางการเมือง และรัฐบาลก็ต้องเลิกคิดที่จะใช้องค์กรต่างๆเป็นเครื่องมือ ‘มีการพูดเรื่องนี้มานานมากแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 2ปีที่แล้ว ตอนที่ปปง.ไปตรวจสื่อ เรานึกว่าจะมีการปรับท่าที เพราะว่ามีการพูดกันแรงมาก ทั้งในสังคมทั้งในสภาและหลายเวที เท่ากับว่าตรงนี้ยิ่งไปตอกย้ำ ในความเห็นผมถ้าทำอย่างนี้อยู่ก็คงจะต้องช่วยกันรณรงค์ให้มีการแก้ไขกฎหมาย ปปง.’ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
เมื่อถามว่ามีการให้สัมภาษณ์ในระดับผู้ใหญ่ บอกว่าถ้าจะย้อนได้ต้องย้อนไปตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ถ้าจะทำเช่นนั้นก็ต้องเปลี่ยนระบบกฎหมาย ตนไม่แน่ใจว่า คนในรัฐบาลมั่นใจในอดีตหรือประวัติตัวเองหรือไม่ ‘ถ้าวันข้างหน้ามีการเปลี่ยนรัฐบาลขึ้นมา ปปง.เกิดอยากมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองไปตรวจสอบท่านบ้าง ผมคิดว่าท่านก็คงเดือดร้อนไม่น้อยไปกว่าคนอื่น’ นายอภิสิทธิ์กล่าว และว่าตนคิดว่าไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย ใครทำอะไรผิด กฎหมายก็ต้องดำเนินการตามนั้น ไม่ว่าจะมีอำนาจหรือไม่มีอำนาจ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล โดยอย่าเลือกปฏิบัติ อย่ากลั่นแกล้ง และอย่าละเว้น ดังนั้น ปปง. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระจะต้องสร้างความมั่นใจแก่สังคมให้ได้ ‘เวลานี้มีข้อครหาเกิดขึ้นคือ ใครวิจารณ์รัฐบาลอาจจะถูกกลั่นแกล้ง และใครที่อยู่ในรัฐบาลไม่ผิดซักเรื่องนี้คือปัญหาที่เกิดขึ้น’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
ส่วนกรณีที่นายกฯให้กระทรวงคลังเรียกประชุมแบงค์ชาติ และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเอาข้อมูลนักธุรกิจฉ้อโกงทรัพย์ หรือล้มบนฟูกมาจัดการ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เรื่องนี้ตีความเป็นอื่นไม่ได้ การเจาะจงบุคคล เพราะว่าคนในรัฐบาลถูกคนๆนั้นกล่าวหา และส่วนที่ถูกกล่าวหาก็ไม่มีความชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไร ยกเว้นในกรณีของ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย (กลต.) หรือตลาดหลักทรัพย์ ออกมาพูดทำนองว่า ไม่มีการปั่นหุ่น แต่ก็ยอมรับในความผิดปกติของการซื้อขาย ทั้งจำนวน หรือ ปริมาณที่มีการซื้อขายกัน ซึ่งตนเคยพูดแล้วว่า การที่คนมีอำนาจให้ข้อมูลที่ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ผันผวน กลต. ก็น่าจะตักเตือนเล่นงานบ้าง
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า การที่รัฐบาลจะประกาศปราบทุจริตคอรัปชั่น ในวันที่ 3 ต.ค. 2547 เพราะครบรอบ 2 ปี ของ 20 กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตนไม่คาดหวังในเรื่องดังกล่าวมากนัก เนื่องจากเกือบ 4 ปีที่ผ่านมารัฐบาลล้มเหลวในเรื่องนี้อย่างมาก และยังปล่อยให้เกิดการทุจริตในรูปแบบใหม่ คือทุจริตเชิงนโยบาย ซึ่งขยายตัวอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน จนกระทั่งผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองต้องออกมาวิจารณ์ค่อนข้างแรงอย่างที่เราไม่เคยได้ยินมาก่อน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง การที่ ครม.มีมติแต่งตั้งนายอำพน กิตติอำพน รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ มาดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)ว่า ตนไม่ได้คัดค้านการโยกย้ายข้ามหน่วยงาน เพราะคิดว่าระบบที่เปิดและมีการไหลเวียนคงเป็นทางเลือกที่เพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่ละเลยหรือมองข้ามคนในหน่วยงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้คือ การโยกย้ายต่างๆ ไม่มีเหตุผลหรือคำตอบที่ชัดเจน และยิ่งตอกย้ำสภาพปัญหาของระบบราชการ ที่สังคมกำลังมองว่าขาดความเป็นอิสระ ‘ขณะนี้กลายเป็นว่าทุกอย่างต้องมารับใช้ฝ่ายการเมือง จนไร้ขอบเขต นี่คือสิ่งที่จะต้องลบข้อครหาให้ได้ และคำอธิบายของท่านรองนายกฯก็ดูแปลก การที่บอกว่าแต่งตั้งเพราะภาษาดี และเคยเป็นโฆษกทางเศรษฐกิจ ตรงนี้คงไม่ใช่หน้าที่หลัก’ นายอภิสิทธิ์ กล่าว และว่าส่วนของเศรษฐกิจหน่วยงานที่ทำหน้าที่ทางด้านเทคนิค ไม่ว่าจะเป็นสภาพัฒน์ กระทรวงคลัง และสำนักงบประมาณ จำเป็นต้องยืนยันความเข้มแข็งทางวิชาการในการให้คำแนะนำ หรือเตือนรัฐบาล เพราะเศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ในภาวะปัจจัยเสี่ยง ถ้าเกิดทำนโยบายโดยคำนึงถึงปัจจัยทางการเมืองก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยง ‘ดังนั้นสิ่งที่เราต้องการก็คือคนที่มาดูแลหน่วยงานนี้ และต้องมีความแข็งแกร่งพอสมควร เตือนรัฐบาลได้ ไม่ใช่คนที่จะมาสนองความต้องการของคนในรัฐบาลอย่างเดียว ตรงนี้คือความห่วงใยและอยากให้รัฐบาลเข้าใจความห่วงใยตรงนี้ ผมหวังว่าจะมีการปรับเปลี่ยนท่าที เพราะตอนนี้ดูจะหนักข้อขึ้นในเรื่องของปัญหาการโยกย้าย แต่งตั้ง’ นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ส่วนกรณีของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) ซึ่งตอนนี้ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากนั้น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า การที่ผู้มีอำนาจเอ่ยชื่อคนคนหนึ่งขึ้นมาว่าจะต้องไปดำเนินการ ปปง.ก็สามารถทำได้รวดเร็วทันควัน ซึ่งไม่ใช่วิสัยปกติของหน่วยงานที่ทำงานอย่างนี้ จึงทำให้สังคมมองว่าปปง. กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองไปแล้ว ซึ่งจะเป็นอันตรายมาก และถือว่าไปไกลเกินเจตนารมย์ของกฎหมาย ทั้งนี้ตนได้ตั้งข้อสังเกตคือ 1. การรับลูกของกระบวนการนี้เป็นเรื่องที่ผิดธรรมชาติแน่นอน 2. การให้ข่าวต่อสื่อก็เสี่ยงต่อการผิดกฎหมาย เพราะการทำงานของปปง.ต้องทำงานในทางลับ 3.การบอกว่าจะตามไปยึดทรัพย์ถึงต่างประเทศนั้นจะทำได้หรือไม่
‘จำได้ว่าคนที่มีอำนาจในรัฐบาลมากที่สุดก็เคยถูกร้องว่าน่าจะสอบเขาบาง เพราะมีบริษัทที่ตั้งอยู่ มีการถ่ายโอนหุ้น โดยมีการเสนอข้อมูลในสภาฯแล้ว แต่ตอนนั้น ปปง.ไม่สามารถตามได้ ตอนนี้เลยต้องดูว่ามาตรฐานอยู่ตรงไหน และยิ่งไปไกลจนถึงขั้นไม่ต้องมีอายุความ ไม่ต้องมีอะไร ผมคิดว่าตรงนี้คือจะเอาชนะคะคานกันทางการเมืองหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่กำลังกระทบกับความมั่นใจของคนธรรมดา คนสุจริต และคนที่เขาประกอบธุรกิจ เพราะกลายเป็นว่าใครที่ออกมาแสดงความคิดเห็นท้าทายคนที่มีอำนาจจะต้องถูกขู่อย่างนี้หมด’ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว และกล่าวว่าจากนี้คนสุจริตก็จะหวั่นไหว เพราะไม่รู้ว่าจะถูกกลั่นแกล้งหรือเปล่า และคนที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองต่อไปนี้ก็เหมือนกับจะถูกปิดปากไปโดยคำขู่ทำนองนี้ ซึ่งตนคิดว่าเรื่องดังกล่าวไม่เอื้ออำนวยต่อระบบเศรษฐกิจ หรือระบบการเมืองที่ดี ดังนั้น ปปง.ต้องหยุดเป็นเครื่องมือทางการเมือง และรัฐบาลก็ต้องเลิกคิดที่จะใช้องค์กรต่างๆเป็นเครื่องมือ ‘มีการพูดเรื่องนี้มานานมากแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 2ปีที่แล้ว ตอนที่ปปง.ไปตรวจสื่อ เรานึกว่าจะมีการปรับท่าที เพราะว่ามีการพูดกันแรงมาก ทั้งในสังคมทั้งในสภาและหลายเวที เท่ากับว่าตรงนี้ยิ่งไปตอกย้ำ ในความเห็นผมถ้าทำอย่างนี้อยู่ก็คงจะต้องช่วยกันรณรงค์ให้มีการแก้ไขกฎหมาย ปปง.’ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
เมื่อถามว่ามีการให้สัมภาษณ์ในระดับผู้ใหญ่ บอกว่าถ้าจะย้อนได้ต้องย้อนไปตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ถ้าจะทำเช่นนั้นก็ต้องเปลี่ยนระบบกฎหมาย ตนไม่แน่ใจว่า คนในรัฐบาลมั่นใจในอดีตหรือประวัติตัวเองหรือไม่ ‘ถ้าวันข้างหน้ามีการเปลี่ยนรัฐบาลขึ้นมา ปปง.เกิดอยากมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองไปตรวจสอบท่านบ้าง ผมคิดว่าท่านก็คงเดือดร้อนไม่น้อยไปกว่าคนอื่น’ นายอภิสิทธิ์กล่าว และว่าตนคิดว่าไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย ใครทำอะไรผิด กฎหมายก็ต้องดำเนินการตามนั้น ไม่ว่าจะมีอำนาจหรือไม่มีอำนาจ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล โดยอย่าเลือกปฏิบัติ อย่ากลั่นแกล้ง และอย่าละเว้น ดังนั้น ปปง. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระจะต้องสร้างความมั่นใจแก่สังคมให้ได้ ‘เวลานี้มีข้อครหาเกิดขึ้นคือ ใครวิจารณ์รัฐบาลอาจจะถูกกลั่นแกล้ง และใครที่อยู่ในรัฐบาลไม่ผิดซักเรื่องนี้คือปัญหาที่เกิดขึ้น’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
ส่วนกรณีที่นายกฯให้กระทรวงคลังเรียกประชุมแบงค์ชาติ และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเอาข้อมูลนักธุรกิจฉ้อโกงทรัพย์ หรือล้มบนฟูกมาจัดการ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เรื่องนี้ตีความเป็นอื่นไม่ได้ การเจาะจงบุคคล เพราะว่าคนในรัฐบาลถูกคนๆนั้นกล่าวหา และส่วนที่ถูกกล่าวหาก็ไม่มีความชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไร ยกเว้นในกรณีของ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย (กลต.) หรือตลาดหลักทรัพย์ ออกมาพูดทำนองว่า ไม่มีการปั่นหุ่น แต่ก็ยอมรับในความผิดปกติของการซื้อขาย ทั้งจำนวน หรือ ปริมาณที่มีการซื้อขายกัน ซึ่งตนเคยพูดแล้วว่า การที่คนมีอำนาจให้ข้อมูลที่ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ผันผวน กลต. ก็น่าจะตักเตือนเล่นงานบ้าง
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า การที่รัฐบาลจะประกาศปราบทุจริตคอรัปชั่น ในวันที่ 3 ต.ค. 2547 เพราะครบรอบ 2 ปี ของ 20 กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตนไม่คาดหวังในเรื่องดังกล่าวมากนัก เนื่องจากเกือบ 4 ปีที่ผ่านมารัฐบาลล้มเหลวในเรื่องนี้อย่างมาก และยังปล่อยให้เกิดการทุจริตในรูปแบบใหม่ คือทุจริตเชิงนโยบาย ซึ่งขยายตัวอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน จนกระทั่งผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองต้องออกมาวิจารณ์ค่อนข้างแรงอย่างที่เราไม่เคยได้ยินมาก่อน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-