สศก.ภายใต้กระทรวงเกษตรฯ มุ่งมั่นดันเทคโนโลยีด้านภูมิสารสนเทศ GI โดยมีระบบพิกัดอ้างอิงตำแหน่งที่เที่ยงตรงแน่นอน สามารถวิเคราะห์แสดงผล เชิงภาพสู่แบบมาตรฐานสากล หวังพัฒนานโยบายและข้อมูลการเกษตรของไทยก้าวไกล
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สังกัดสำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติการเกษตรทุกชนิด ทั้งในด้านการผลิตของพืชและสัตว์ รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ทางเศรษฐกิจการเกษตรที่จำเป็น เพื่อใช้ในการวิเคราะห์นโยบายการเกษตร และแผนพัฒนาการเกษตรรวมทั้งจัดทำเอกสารและข้อมูลสถิติการเกษตร โดยจากการสำรวจ และจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ใช้วิธีการสำรวจโดยการสุ่มตัวอย่าง (Sampling Survey) จากบัญชีรายชื่อและสัมภาษณ์ข้อมูลจากเกษตรกรผู้ผลิตโดยตรง จึงทำให้ได้ข้อมูลเฉพาะ ที่เป็นตัวเลขสถิติเท่านั้น ไม่สามารถบอกแหล่งพื้นที่เพาะปลูกที่แท้จริงได้ แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics: GI) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศที่จัดเก็บอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ ที่มีระบบพิกัด อ้างอิงตำแหน่งที่แน่นอน และเป็นมาตรฐานสากล มีความแตกต่างจากระบบสารสนเทศอื่นๆ ที่สามารถวิเคราะห์ จำลอง เหตุการณ์ และแสดงผลเชิงภาพได้ (Visualization)
สำหรับปีเพาะปลูก 2548/49 นี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีเขต พื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัด คือ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี จะได้ดำเนินการสำรวจรูปแบบใหม่สำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ถั่วลิสง ปอ ยางพารา มะพร้าว ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน เงาะ ฝรั่ง ส้มเขียวหวาน มะนาว กระเทียม หอมแดง ส่วนพืชผัก ได้แก่ กะหล่ำปลี คะน้า แตงกวา ถั่วฝักยาว และมะเขือเทศ โดยจะเริ่มดำเนินการสำรวจตั้งแต่วันที่ 26 กันยายนนี้ เป็นต้นไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สังกัดสำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติการเกษตรทุกชนิด ทั้งในด้านการผลิตของพืชและสัตว์ รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ทางเศรษฐกิจการเกษตรที่จำเป็น เพื่อใช้ในการวิเคราะห์นโยบายการเกษตร และแผนพัฒนาการเกษตรรวมทั้งจัดทำเอกสารและข้อมูลสถิติการเกษตร โดยจากการสำรวจ และจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ใช้วิธีการสำรวจโดยการสุ่มตัวอย่าง (Sampling Survey) จากบัญชีรายชื่อและสัมภาษณ์ข้อมูลจากเกษตรกรผู้ผลิตโดยตรง จึงทำให้ได้ข้อมูลเฉพาะ ที่เป็นตัวเลขสถิติเท่านั้น ไม่สามารถบอกแหล่งพื้นที่เพาะปลูกที่แท้จริงได้ แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics: GI) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศที่จัดเก็บอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ ที่มีระบบพิกัด อ้างอิงตำแหน่งที่แน่นอน และเป็นมาตรฐานสากล มีความแตกต่างจากระบบสารสนเทศอื่นๆ ที่สามารถวิเคราะห์ จำลอง เหตุการณ์ และแสดงผลเชิงภาพได้ (Visualization)
สำหรับปีเพาะปลูก 2548/49 นี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีเขต พื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัด คือ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี จะได้ดำเนินการสำรวจรูปแบบใหม่สำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ถั่วลิสง ปอ ยางพารา มะพร้าว ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน เงาะ ฝรั่ง ส้มเขียวหวาน มะนาว กระเทียม หอมแดง ส่วนพืชผัก ได้แก่ กะหล่ำปลี คะน้า แตงกวา ถั่วฝักยาว และมะเขือเทศ โดยจะเริ่มดำเนินการสำรวจตั้งแต่วันที่ 26 กันยายนนี้ เป็นต้นไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-