กรุงเทพ--16 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 26-29 สิงหาคม 2547 ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง การต่างประเทศ ได้นำคณะกงสุลสัญจรบูรณาการไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำอย่างครบวงจรแก่คนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น โดยในการเดินทางครั้งนี้ นอกจากจะมีผู้แทนระดับสูงจากกระทรวง การต่างประเทศแล้วยังมีผู้แทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด และกรมสุขภาพจิต ที่จะไปให้ข้อมูลและคำปรึกษาในการแก้ปัญหาให้คนไทยด้วย
ในวันที่ 28 สิงหาคม 2547 ดร.สรจักรฯ ได้เป็นประธานในการสัมมนากับผู้แทนกลุ่มอาสาสมัคร ช่วยเหลือคนไทยจากทั่วประเทศญี่ปุ่น เพื่อระดมความคิดในการหาแนวทางร่วมกันที่จะช่วยบรรเทาหรือแก้ไขปัญหา ที่คนไทยประสบอยู่ โดยในการเปิดการสัมมนา ดร.สรจักรฯ ได้กล่าวย้ำกับผู้เข้าร่วมถึงนโยบายของรัฐบาลและ กระทรวงการต่างประเทศที่จะให้การดูแลช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ โดยให้ทุกคนถือว่าสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่เป็นเสมือนที่ซึ่งทุกคนจะสามารถพึ่งพา รับบริการและช่วยเหลือได้ตลอดเวลา นอกจากนั้น ยังได้แจ้งให้ทราบถึงนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาลที่จะขจัดการค้ามนุษย์ข้ามชาติให้หมดไป โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ประกาศให้การปราบปรามการค้ามนุษย์เป็นวาระแห่งชาติ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2547 ซึ่งเจตนารมณ์ดังกล่าว จะมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาของคนไทยในต่างประเทศที่ต้นตอ ทั้งนี้ อาสาสมัครที่เข้าร่วมการสัมมนาต่างแสดงความชื่นชมที่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาการช่วยเหลือดูแลคนไทยได้มีการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ดร.สรจักรฯ ยังได้นำคณะกงสุลสัญจรไปพบคนไทยและเปิดคลีนิกให้คำปรึกษาด้านงานกงสุล ด้านกฎหมาย และด้านสุขภาพจิตแก่คนไทยที่วัดปากน้ำญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2547 โดยมีคนไทยไปร่วมใช้ บริการเป็นจำนวนมาก
ในโอกาสเดียวกันนี้ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2547 ดร.สรจักรฯ ได้พบกับมารดา บุญธรรมของ ด.ญ.เมวิษา โยชิดะ ซึ่งกำลังดำเนินเรื่องเพื่อให้ ด.ญ.เมวิษาฯ สามารถอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นได้ ด้วยเหตุผล ด้านมนุษยธรรม โดย ดร.สรจักรฯ ได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ดำเนินการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ในเรื่องนี้ตามขอบเขตอำนาจที่จะทำได้ต่อไป
ในการเยือนครั้งนี้ ดร.สรจักรฯ ในฐานะที่เป็นผู้อำนวยการสถาบันสราญรมย์เพื่อการต่างประเทศ (SIFA) ได้พบและหารือกับผู้อำนวยการสถาบันการต่างประเทศของญี่ปุ่น เพื่อหารือในเรื่องความร่วมมือในการจัด กิจกรรมร่วมกัน ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นได้แสดงความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 26-29 สิงหาคม 2547 ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง การต่างประเทศ ได้นำคณะกงสุลสัญจรบูรณาการไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำอย่างครบวงจรแก่คนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น โดยในการเดินทางครั้งนี้ นอกจากจะมีผู้แทนระดับสูงจากกระทรวง การต่างประเทศแล้วยังมีผู้แทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด และกรมสุขภาพจิต ที่จะไปให้ข้อมูลและคำปรึกษาในการแก้ปัญหาให้คนไทยด้วย
ในวันที่ 28 สิงหาคม 2547 ดร.สรจักรฯ ได้เป็นประธานในการสัมมนากับผู้แทนกลุ่มอาสาสมัคร ช่วยเหลือคนไทยจากทั่วประเทศญี่ปุ่น เพื่อระดมความคิดในการหาแนวทางร่วมกันที่จะช่วยบรรเทาหรือแก้ไขปัญหา ที่คนไทยประสบอยู่ โดยในการเปิดการสัมมนา ดร.สรจักรฯ ได้กล่าวย้ำกับผู้เข้าร่วมถึงนโยบายของรัฐบาลและ กระทรวงการต่างประเทศที่จะให้การดูแลช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ โดยให้ทุกคนถือว่าสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่เป็นเสมือนที่ซึ่งทุกคนจะสามารถพึ่งพา รับบริการและช่วยเหลือได้ตลอดเวลา นอกจากนั้น ยังได้แจ้งให้ทราบถึงนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาลที่จะขจัดการค้ามนุษย์ข้ามชาติให้หมดไป โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ประกาศให้การปราบปรามการค้ามนุษย์เป็นวาระแห่งชาติ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2547 ซึ่งเจตนารมณ์ดังกล่าว จะมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาของคนไทยในต่างประเทศที่ต้นตอ ทั้งนี้ อาสาสมัครที่เข้าร่วมการสัมมนาต่างแสดงความชื่นชมที่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาการช่วยเหลือดูแลคนไทยได้มีการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ดร.สรจักรฯ ยังได้นำคณะกงสุลสัญจรไปพบคนไทยและเปิดคลีนิกให้คำปรึกษาด้านงานกงสุล ด้านกฎหมาย และด้านสุขภาพจิตแก่คนไทยที่วัดปากน้ำญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2547 โดยมีคนไทยไปร่วมใช้ บริการเป็นจำนวนมาก
ในโอกาสเดียวกันนี้ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2547 ดร.สรจักรฯ ได้พบกับมารดา บุญธรรมของ ด.ญ.เมวิษา โยชิดะ ซึ่งกำลังดำเนินเรื่องเพื่อให้ ด.ญ.เมวิษาฯ สามารถอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นได้ ด้วยเหตุผล ด้านมนุษยธรรม โดย ดร.สรจักรฯ ได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ดำเนินการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ในเรื่องนี้ตามขอบเขตอำนาจที่จะทำได้ต่อไป
ในการเยือนครั้งนี้ ดร.สรจักรฯ ในฐานะที่เป็นผู้อำนวยการสถาบันสราญรมย์เพื่อการต่างประเทศ (SIFA) ได้พบและหารือกับผู้อำนวยการสถาบันการต่างประเทศของญี่ปุ่น เพื่อหารือในเรื่องความร่วมมือในการจัด กิจกรรมร่วมกัน ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นได้แสดงความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-