กรุงเทพ--16 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยกระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน ว่า ในการจัดงานประกวด World of Wearable Arts Awards หรือ WOW 2004 ณ เมืองเนลสัน ประเทศนิวซีแลนด์ มีดีไซน์เนอร์ไทยที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สถาบันตักส์ศิลาแฟชั่น และการท่องเที่ยวนิวซีแลนด์ (New Zealand Tourism) ส่งผลงานเข้าประกวดและได้เดินทางไปร่วมงานดังกล่าว จำนวน 9 คน โดยมีผลงานที่ได้รับ การคัดเลือกเข้ารอบสุดท้าย 13 ผลงานจากทั่วโลกที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้งสิ้น 170 ผลงาน ซึ่งในจำนวนนี้มีผลงานของดีไซน์เนอร์ไทยที่ได้รับรางวัลถึง 3 คน ใน 4 รางวัล ดังนี้
1. นายกฤษดา ทองปาน รางวัลที่ 1 สาขาเด็ก (Children’s Section) จากผลงาน ที่ใช้ชื่อว่า “Mascot of the Child’s Dream”
2. นายศรีภูมิ ศรีโสภา รางวัลที่ 1 สาขาบราประหลาด (Bizarre Bra Section) จากผลงานที่ใช้ชื่อว่า “Hot Speaker”
3. นางสาววสุภา อัศวสุปรีชา ได้รางวัลชนะเลิศด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creative Excellence Award) จากผลงานชื่อว่า “Fly of Memory” และได้รางวัลชมเชย (รางวัลที่ 2) อีก 1 รางวัลในสาขาวัสดุสะท้อนแสง (Reflective Surfaces Section) งาน WOW หรือที่เคยมีคนไทยแปลว่า "งานอาภรณ์แห่งศิลป์" นี้เป็นงานประกวดศิลปะที่สามารถสวมใส่ได้มากกว่าการประกวดเสื้อผ้า จัดมาแล้ว 16 ครั้ง ในรอบ 18 ปี โดยเป็นความคิดริเริ่มของศิลปินสาว 2 พี่น้อง คือ นาง Susie Moncrieff และนาง Heather Palmer จากเมืองเนลสันบนเกาะใต้ของนิวซีแลนด์ โดยงานได้เจริญพัฒนามาจากงานเล็กๆ เมื่อ 18 ปีก่อน จนเป็นงานใหญ่มีดีไซน์เนอร์และผู้ชมเข้าร่วมจากทั่วโลก จัดขึ้นทุกเดือนกันยายนเป็นเวลา 7 คืน แต่ในปีหน้า 2548 จะย้ายไปจัดที่กรุงเวลลิงตัน เพื่อให้สามารถรองรับผู้ชมที่สนใจได้เพิ่มขึ้น โดยในแต่ละปีคาดว่านำเงินรายได้เข้าสู่เมืองเนลสัน ซึ่งเป็นเมืองตากอากาศเล็กๆ ประมาณปีละกว่า 6.5 ล้านดอลลาร์ นิวซีแลนด์ (180 ล้านบาท)
สำหรับผลสำเร็จของดีไซน์เนอร์ไทย อาจกล่าวได้ว่างาน WOW 2004 ครั้งนี้เป็น "คืนของไทย" โดยดีไซน์เนอร์และรางวัลที่ได้รับสร้างความประหลาดใจและความทึ่งในหมู่ผู้ชมถึงความสามารถและความสำเร็จของคนไทย เนื่องจากไม่มีประเทศอื่นใด (ยกเว้นนิวซีแลนด์) ที่ได้รับรางวัลมากเท่าไทย โดยมีออสเตรเลีย เดนมาร์ก และอังกฤษ ได้รับประเทศละ 1-2 รางวัล ซึ่งบางรางวัลก็เป็นรางวัลชมเชย มีเฉพาะประเทศไทยที่ได้รับรางวัลที่ 1 ถึง 3 รางวัล และรางวัลชมเชย (รางวัลที่ 2) อีก 1 รางวัลนอกจากนั้น นาง Helen Clark นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ได้กล่าวถึงประเทศไทยและดีไซน์เนอร์ไทยในระหว่างพิธีมอบรางวัลถึง 3 ครั้ง โดยในครั้งแรกกล่าวว่า นาง Clark ยินดีที่มีดีไซน์เนอร์จากทั่วโลก โดยเฉพาะจากประเทศไทยส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ ในครั้งที่ 2 กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีในความสำเร็จอย่างท่วมท้นของดีไซน์เนอร์จากประเทศไทย และในครั้งสุดท้ายกล่าวว่า นางยินดีที่ได้รับทราบว่ามีการหารือที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมมือกันระหว่าง WOW กับโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2547 ทางผู้จัดงาน WOW ยังได้เชิญนายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ อาจารย์ชาคริต เชาวนะโรจนารุจิ ผู้อำนวยการ สถาบันตักส์ศิลาแฟชั่น ซึ่งนำคณะดีไซน์เนอร์ไทยดังกล่าวมาในครั้งนี้ และนายนรชิต สิงหเสนี เอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน ไปประชุมเพื่อหารือถึงลู่ทางความร่วมมือกันระหว่าง WOW กับฝ่ายไทย โดยเฉพาะโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น ต่อเนื่องจากที่ได้มีการหารือเมื่อครั้งที่นาง Susie Mancrieff เคยเดินทางไปประเทศไทย เมื่อเดือนเมษายน - พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยทางผู้จัด WOW ได้จัดทำข้อเสนอ (Project Proposal) ที่จะร่วมมือกับฝ่ายไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยในระยะสั้นเสนอจะจัดงาน Mini WOW ที่กรุงเทพฯ โดยอาจเป็นส่วนหนึ่งของงาน Bangkok Fashion Week ใน ปีหน้า
อนึ่ง ในโอกาสที่ดีไซน์เนอร์ทั้ง 9 คน พร้อมด้วยตัวแทนจากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรม สิ่งทอ และสถาบันตักส์ศิลาเดินทางผ่านกรุงเวลลิงตันระหว่างเดินทางไปเมืองเนลสัน เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2547 เอกอัครราชทูตฯ และภริยา ยังได้เชิญคณะจำนวน 15 คน ร่วมรับประทานอาหารค่ำที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตฯ เพื่อเป็นการต้อนรับและให้กำลังใจก่อนเดินทางไปร่วมการประกวดด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ด้วยกระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน ว่า ในการจัดงานประกวด World of Wearable Arts Awards หรือ WOW 2004 ณ เมืองเนลสัน ประเทศนิวซีแลนด์ มีดีไซน์เนอร์ไทยที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สถาบันตักส์ศิลาแฟชั่น และการท่องเที่ยวนิวซีแลนด์ (New Zealand Tourism) ส่งผลงานเข้าประกวดและได้เดินทางไปร่วมงานดังกล่าว จำนวน 9 คน โดยมีผลงานที่ได้รับ การคัดเลือกเข้ารอบสุดท้าย 13 ผลงานจากทั่วโลกที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้งสิ้น 170 ผลงาน ซึ่งในจำนวนนี้มีผลงานของดีไซน์เนอร์ไทยที่ได้รับรางวัลถึง 3 คน ใน 4 รางวัล ดังนี้
1. นายกฤษดา ทองปาน รางวัลที่ 1 สาขาเด็ก (Children’s Section) จากผลงาน ที่ใช้ชื่อว่า “Mascot of the Child’s Dream”
2. นายศรีภูมิ ศรีโสภา รางวัลที่ 1 สาขาบราประหลาด (Bizarre Bra Section) จากผลงานที่ใช้ชื่อว่า “Hot Speaker”
3. นางสาววสุภา อัศวสุปรีชา ได้รางวัลชนะเลิศด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creative Excellence Award) จากผลงานชื่อว่า “Fly of Memory” และได้รางวัลชมเชย (รางวัลที่ 2) อีก 1 รางวัลในสาขาวัสดุสะท้อนแสง (Reflective Surfaces Section) งาน WOW หรือที่เคยมีคนไทยแปลว่า "งานอาภรณ์แห่งศิลป์" นี้เป็นงานประกวดศิลปะที่สามารถสวมใส่ได้มากกว่าการประกวดเสื้อผ้า จัดมาแล้ว 16 ครั้ง ในรอบ 18 ปี โดยเป็นความคิดริเริ่มของศิลปินสาว 2 พี่น้อง คือ นาง Susie Moncrieff และนาง Heather Palmer จากเมืองเนลสันบนเกาะใต้ของนิวซีแลนด์ โดยงานได้เจริญพัฒนามาจากงานเล็กๆ เมื่อ 18 ปีก่อน จนเป็นงานใหญ่มีดีไซน์เนอร์และผู้ชมเข้าร่วมจากทั่วโลก จัดขึ้นทุกเดือนกันยายนเป็นเวลา 7 คืน แต่ในปีหน้า 2548 จะย้ายไปจัดที่กรุงเวลลิงตัน เพื่อให้สามารถรองรับผู้ชมที่สนใจได้เพิ่มขึ้น โดยในแต่ละปีคาดว่านำเงินรายได้เข้าสู่เมืองเนลสัน ซึ่งเป็นเมืองตากอากาศเล็กๆ ประมาณปีละกว่า 6.5 ล้านดอลลาร์ นิวซีแลนด์ (180 ล้านบาท)
สำหรับผลสำเร็จของดีไซน์เนอร์ไทย อาจกล่าวได้ว่างาน WOW 2004 ครั้งนี้เป็น "คืนของไทย" โดยดีไซน์เนอร์และรางวัลที่ได้รับสร้างความประหลาดใจและความทึ่งในหมู่ผู้ชมถึงความสามารถและความสำเร็จของคนไทย เนื่องจากไม่มีประเทศอื่นใด (ยกเว้นนิวซีแลนด์) ที่ได้รับรางวัลมากเท่าไทย โดยมีออสเตรเลีย เดนมาร์ก และอังกฤษ ได้รับประเทศละ 1-2 รางวัล ซึ่งบางรางวัลก็เป็นรางวัลชมเชย มีเฉพาะประเทศไทยที่ได้รับรางวัลที่ 1 ถึง 3 รางวัล และรางวัลชมเชย (รางวัลที่ 2) อีก 1 รางวัลนอกจากนั้น นาง Helen Clark นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ได้กล่าวถึงประเทศไทยและดีไซน์เนอร์ไทยในระหว่างพิธีมอบรางวัลถึง 3 ครั้ง โดยในครั้งแรกกล่าวว่า นาง Clark ยินดีที่มีดีไซน์เนอร์จากทั่วโลก โดยเฉพาะจากประเทศไทยส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ ในครั้งที่ 2 กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีในความสำเร็จอย่างท่วมท้นของดีไซน์เนอร์จากประเทศไทย และในครั้งสุดท้ายกล่าวว่า นางยินดีที่ได้รับทราบว่ามีการหารือที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมมือกันระหว่าง WOW กับโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2547 ทางผู้จัดงาน WOW ยังได้เชิญนายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ อาจารย์ชาคริต เชาวนะโรจนารุจิ ผู้อำนวยการ สถาบันตักส์ศิลาแฟชั่น ซึ่งนำคณะดีไซน์เนอร์ไทยดังกล่าวมาในครั้งนี้ และนายนรชิต สิงหเสนี เอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน ไปประชุมเพื่อหารือถึงลู่ทางความร่วมมือกันระหว่าง WOW กับฝ่ายไทย โดยเฉพาะโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น ต่อเนื่องจากที่ได้มีการหารือเมื่อครั้งที่นาง Susie Mancrieff เคยเดินทางไปประเทศไทย เมื่อเดือนเมษายน - พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยทางผู้จัด WOW ได้จัดทำข้อเสนอ (Project Proposal) ที่จะร่วมมือกับฝ่ายไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยในระยะสั้นเสนอจะจัดงาน Mini WOW ที่กรุงเทพฯ โดยอาจเป็นส่วนหนึ่งของงาน Bangkok Fashion Week ใน ปีหน้า
อนึ่ง ในโอกาสที่ดีไซน์เนอร์ทั้ง 9 คน พร้อมด้วยตัวแทนจากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรม สิ่งทอ และสถาบันตักส์ศิลาเดินทางผ่านกรุงเวลลิงตันระหว่างเดินทางไปเมืองเนลสัน เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2547 เอกอัครราชทูตฯ และภริยา ยังได้เชิญคณะจำนวน 15 คน ร่วมรับประทานอาหารค่ำที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตฯ เพื่อเป็นการต้อนรับและให้กำลังใจก่อนเดินทางไปร่วมการประกวดด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-