ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.รายงานยอดสินเชื่อของระบบ ธพ. ณ สิ้นเดือน มิ.ย.47 ว่า ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้น
ของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคและสินเชื่อส่วนบุคคล ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) ว่า ธปท.ได้รายงานตัวเลขยอดสินเชื่อของระบบ ธพ.ตามประเภทธุรกิจ ล่าสุด ณ สิ้นเดือน มิ.ย.47
โดยมีสินเชื่อรวมทุกประเภททั้งสิ้น 4,989,464 ล.บาท เทียบกับไตรมาสแรกที่มีสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 4,910,990
ล.บาท เพิ่มขึ้น 78,474 ล.บาท โดยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นมากส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคและสินเชื่อ
บุคคล รวมทั้งสินเชื่อที่เกี่ยวข้อง ส่วนสินเชื่อที่ลดลงมากที่สุดคือสินเชื่อประเภทการเป็นตัวกลางทางการเงิน (โลกวันนี้)
2. สศช.ทำการศึกษาเพื่อปรับปรุงเส้นความยากจนใหม่ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยในงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “การปรับปรุงเส้นความยากจน
ทางการ” ว่า สศช.จะทำการปรับเปลี่ยนให้มีการทบทวนและปรับปรุงเส้นความยากจน เพื่อให้มีความทันสมัย
เป็นที่ยอมรับ และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งได้มอบหมายให้สถาบัน
วิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยทำการศึกษาและนำเสนอผลงานเบื้องต้น โดยได้รับความช่วยเหลือการสนับสนุน
การวิจัยจาก United Nations Development Programes (UNDP) ทั้งนี้ การปรับปรุงเส้นความยากจนมี
ผลให้สัดส่วนความยากจนในประเทศเพิ่มขึ้นตามคำนิยามเส้นแบ่งความยากจนใหม่ จากเดิมใช้เส้นแบ่งรายได้
ความยากจนเฉลี่ย 922 บาทต่อคนต่อเดือนในปี 2545 ทำให้มีคนยากจนประมาณ 6 ล.คน คิดเป็น 9.8% ของ
ประชากรทั้งหมด ขณะที่การปรับปรุงใหม่คิดจากฐานรายได้เฉลี่ยจำนวน 1,163 บาทต่อคนต่อเดือน ส่งผลให้มีคน
ยากจนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 8.8 ล.คน คิดเป็น 14.4% ของประชากรทั้งหมด (กรุงเทพธุรกิจ, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
3. ทิศทางการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยส่งผลต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์เพียงเล็กน้อย นายก
สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย เปิดเผยว่า จากทิศทางอัตราดอกเบี้ยของ ธพ.ที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นทั้งดอกเบี้ยเงิน
ฝาก ดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งรวมถึงดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นอีก 0.25% นั้น จะไม่กระทบต่อภาระการผ่อน
ชำระของผู้บริโภค เพราะเป็นการปรับดอกเบี้ยระยะสั้นไม่ใช่การปรับดอกเบี้ยระยะยาว และถือเป็นการปรับขึ้นที่
น้อยมาก อย่างไรก็ตาม ตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวมคาดว่าจะชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากผู้บริโภคชะลอการ
ตัดสินใจซื้อ (ไทยโพสต์)
4. ผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในช่วง 11 เดือนแรกของปี งปม.47 สูงกว่าประมาณการ
และช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.9 และ 18.4% ตามลำดับ โฆษก ก.คลัง เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้สุทธิ
ของรัฐบาลในช่วง 11 เดือนแรกของปี งปม.47 (ต.ค.46-ส.ค.47) ว่า สามารถจัดเก็บได้ 1,065,838 ล.
บาท สูงกว่าประมาณการ 69,018 ล.บาท หรือ 6.9% สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 18.4% และสูงกว่า
ประมาณการทั้งปีทั้งตั้งไว้ที่ 1,063,600 ล.บาท หรือ 0.2% โดยกรมสรรพากรจัดเก็บได้รวม 720,243 ล.
บาท สูงกว่าประมาณการ 67,262 ล.บาท คิดเป็น 10.3% เนื่องจากภาษีทุกประเภทจัดเก็บได้สูงกว่าที่คาดไว้
ที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล เก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 22,844 ล.บาท หรือคิดเป็น 10.0% และภาษี
มูลค่าเพิ่มสูงกว่าประมาณการ 20,971 ล.บาท หรือ 7.9% (ไทยโพสต์, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ต้นทุนค่าจ้างแรงงานของยูโรโซนในไตรมาสที่ 2 ปีนี้สูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ
2.2 รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 47 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ต้นทุนค่าจ้างแรง
งานรายชั่วโมงของยูโรโซนในไตรมาสที่ 2 ปี47 สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.2 นอกจากนี้ยังได้ปรับ
ตัวเลขของไตรมาสที่ 1 ปีนี้โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 จากเดิมที่รายงานว่าอยู่ที่ร้อยละ 2.5 โดยประเทศ
สมาชิกยูโรโซน 12 ประเทศและสหภาพยุโรป 25 ประเทศนั้น ประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานปรับเพิ่มขึ้นสูงสุด
ได้แก่ ประเทศ Latvia Hungary และ Estonia ที่ระดับร้อยละ 10.4 ร้อยละ 8.4 และร้อยละ 5.8 ตาม
ลำดับ ทั้งนี้ค่าจ้างแรงงานดังกล่าวนับรวมถึงค่าใช้จ่ายประกันสังคม และค่าใช้จ่ายที่มิใช่ค่าจ้างอื่นๆ (รอยเตอร์)
2. นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 ปี 47 จะขยาย
ตัวร้อยละ 2.8 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 15 ก.ย.47 The Economic Planning
Association เปิดเผยผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ภาคเอกชน 38 แห่งคาดว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 ปี 47 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.8 และคาดว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศที่แท้จริง (จีดีพี)
สำหรับปีงบประมาณนี้ ซึ่งสิ้นสุดเดือน มี.ค.48 จะขยายตัวร้อยละ 3.6 ซึ่งลดลงจากผลสำรวจครั้งแรกเมื่อ
เดือน ส.ค.ที่ผ่านมาว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การสำรวจเมื่อเดือน พ.ค.47 ที่ตัว
เลขการคาดคะเนลดลงหลังจากมีการทบทวนแล้ว ทั้งนี้ ผลสำรวจดังกล่าวจัดทำหลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยตัว
เลขจีดีพีที่ทบทวนแล้วของไตรมาสที่ 2 ปี 47 ว่าขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบต่อปี ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้
ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.7 ซึ่งจากตัวเลขจีดีพีที่ทบทวนแล้วลดลงดังกล่าวสร้างความกังวลเกี่ยวกับความ
แข็งแกร่งของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสถัดไป นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังได้ประมาณการเติบโต
ทางเศรษฐกิจสำหรับปีงบประมาณนี้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5 ส่วนปีงบประมาณ 48 ที่สิ้นสุดเดือน มี.ค.49 นัก
เศรษฐศาสตร์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.8 ลดลงจากที่ประมาณการไว้เมื่อเดือน ส.ค.47 ว่าจะขยายตัวร้อย
ละ 1.9 (รอยเตอร์)
3. ยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของจีนในเดือน ส.ค.47 มีจำนวนเกือบ 5.2 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 15 ก.ย.47 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือ FDI ของจีนใน
เดือน ส.ค.47 มียอดเกือบ 5.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าที่คาดไว้จากผลสำรวจของรอยเตอร์ว่าจะมี
จำนวน 5.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หลังจากลดลงเกินกว่าที่คาดไว้เหลือ 4.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือน
ก.ค.47 และมียอดถึง 8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือน มิ.ย.47 โดยคาดว่ายอด FDI ในปีนี้จะมีจำนวน
ถึง 60 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนซึ่งมีจำนวน 53.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้จีนแซงหน้า
สรอ. ขึ้นเป็นประเทศที่ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศมากเป็นอันดับ 1 ของโลก แม้ว่าทางการจีนจะมี
มาตรการลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจลงก็ตาม แต่นักลงทุนต่างประเทศยังให้ความสนใจลงทุนในจีนจาก
ศักยภาพของตลาดในจีนซึ่งมีจำนวนประชากรมากกว่าพันล้านคนและใช้เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งไปขายยังประเทศ
อื่น ๆ ทั่วโลกเนื่องจากค่าแรงยังต่ำกว่าประเทศอื่น ในช่วงเดือน ม.ค. ถึง ส.ค.47 จีนสามารถดึง FDI
จำนวน 43.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 จากปีก่อน (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียในเดือนส.ค.47 สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ
1.4 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 47 สำนักงานสถิติมาเลเซียเปิดเผยว่า ในเดือนส.ค.
47 ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียซึ่งใช้วัดภาวะเงินเฟ้ออย่างเป็นทางการเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อย
ละ 1.4 (ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล) และยังคงที่เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นการปรับเพิ่มขึ้นในราคา
สินค้าเกษตร ยาสูบ และอาหาร (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 ก.ย. 47 15 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.26 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.0553/41.3479 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 5625-1.6250 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 662.28/36.10 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 33.78 34.7 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.รายงานยอดสินเชื่อของระบบ ธพ. ณ สิ้นเดือน มิ.ย.47 ว่า ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้น
ของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคและสินเชื่อส่วนบุคคล ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) ว่า ธปท.ได้รายงานตัวเลขยอดสินเชื่อของระบบ ธพ.ตามประเภทธุรกิจ ล่าสุด ณ สิ้นเดือน มิ.ย.47
โดยมีสินเชื่อรวมทุกประเภททั้งสิ้น 4,989,464 ล.บาท เทียบกับไตรมาสแรกที่มีสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 4,910,990
ล.บาท เพิ่มขึ้น 78,474 ล.บาท โดยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นมากส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคและสินเชื่อ
บุคคล รวมทั้งสินเชื่อที่เกี่ยวข้อง ส่วนสินเชื่อที่ลดลงมากที่สุดคือสินเชื่อประเภทการเป็นตัวกลางทางการเงิน (โลกวันนี้)
2. สศช.ทำการศึกษาเพื่อปรับปรุงเส้นความยากจนใหม่ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยในงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “การปรับปรุงเส้นความยากจน
ทางการ” ว่า สศช.จะทำการปรับเปลี่ยนให้มีการทบทวนและปรับปรุงเส้นความยากจน เพื่อให้มีความทันสมัย
เป็นที่ยอมรับ และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งได้มอบหมายให้สถาบัน
วิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยทำการศึกษาและนำเสนอผลงานเบื้องต้น โดยได้รับความช่วยเหลือการสนับสนุน
การวิจัยจาก United Nations Development Programes (UNDP) ทั้งนี้ การปรับปรุงเส้นความยากจนมี
ผลให้สัดส่วนความยากจนในประเทศเพิ่มขึ้นตามคำนิยามเส้นแบ่งความยากจนใหม่ จากเดิมใช้เส้นแบ่งรายได้
ความยากจนเฉลี่ย 922 บาทต่อคนต่อเดือนในปี 2545 ทำให้มีคนยากจนประมาณ 6 ล.คน คิดเป็น 9.8% ของ
ประชากรทั้งหมด ขณะที่การปรับปรุงใหม่คิดจากฐานรายได้เฉลี่ยจำนวน 1,163 บาทต่อคนต่อเดือน ส่งผลให้มีคน
ยากจนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 8.8 ล.คน คิดเป็น 14.4% ของประชากรทั้งหมด (กรุงเทพธุรกิจ, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
3. ทิศทางการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยส่งผลต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์เพียงเล็กน้อย นายก
สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย เปิดเผยว่า จากทิศทางอัตราดอกเบี้ยของ ธพ.ที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นทั้งดอกเบี้ยเงิน
ฝาก ดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งรวมถึงดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นอีก 0.25% นั้น จะไม่กระทบต่อภาระการผ่อน
ชำระของผู้บริโภค เพราะเป็นการปรับดอกเบี้ยระยะสั้นไม่ใช่การปรับดอกเบี้ยระยะยาว และถือเป็นการปรับขึ้นที่
น้อยมาก อย่างไรก็ตาม ตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวมคาดว่าจะชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากผู้บริโภคชะลอการ
ตัดสินใจซื้อ (ไทยโพสต์)
4. ผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในช่วง 11 เดือนแรกของปี งปม.47 สูงกว่าประมาณการ
และช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.9 และ 18.4% ตามลำดับ โฆษก ก.คลัง เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้สุทธิ
ของรัฐบาลในช่วง 11 เดือนแรกของปี งปม.47 (ต.ค.46-ส.ค.47) ว่า สามารถจัดเก็บได้ 1,065,838 ล.
บาท สูงกว่าประมาณการ 69,018 ล.บาท หรือ 6.9% สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 18.4% และสูงกว่า
ประมาณการทั้งปีทั้งตั้งไว้ที่ 1,063,600 ล.บาท หรือ 0.2% โดยกรมสรรพากรจัดเก็บได้รวม 720,243 ล.
บาท สูงกว่าประมาณการ 67,262 ล.บาท คิดเป็น 10.3% เนื่องจากภาษีทุกประเภทจัดเก็บได้สูงกว่าที่คาดไว้
ที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล เก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 22,844 ล.บาท หรือคิดเป็น 10.0% และภาษี
มูลค่าเพิ่มสูงกว่าประมาณการ 20,971 ล.บาท หรือ 7.9% (ไทยโพสต์, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ต้นทุนค่าจ้างแรงงานของยูโรโซนในไตรมาสที่ 2 ปีนี้สูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ
2.2 รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 47 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ต้นทุนค่าจ้างแรง
งานรายชั่วโมงของยูโรโซนในไตรมาสที่ 2 ปี47 สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.2 นอกจากนี้ยังได้ปรับ
ตัวเลขของไตรมาสที่ 1 ปีนี้โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 จากเดิมที่รายงานว่าอยู่ที่ร้อยละ 2.5 โดยประเทศ
สมาชิกยูโรโซน 12 ประเทศและสหภาพยุโรป 25 ประเทศนั้น ประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานปรับเพิ่มขึ้นสูงสุด
ได้แก่ ประเทศ Latvia Hungary และ Estonia ที่ระดับร้อยละ 10.4 ร้อยละ 8.4 และร้อยละ 5.8 ตาม
ลำดับ ทั้งนี้ค่าจ้างแรงงานดังกล่าวนับรวมถึงค่าใช้จ่ายประกันสังคม และค่าใช้จ่ายที่มิใช่ค่าจ้างอื่นๆ (รอยเตอร์)
2. นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 ปี 47 จะขยาย
ตัวร้อยละ 2.8 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 15 ก.ย.47 The Economic Planning
Association เปิดเผยผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ภาคเอกชน 38 แห่งคาดว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 ปี 47 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.8 และคาดว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศที่แท้จริง (จีดีพี)
สำหรับปีงบประมาณนี้ ซึ่งสิ้นสุดเดือน มี.ค.48 จะขยายตัวร้อยละ 3.6 ซึ่งลดลงจากผลสำรวจครั้งแรกเมื่อ
เดือน ส.ค.ที่ผ่านมาว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การสำรวจเมื่อเดือน พ.ค.47 ที่ตัว
เลขการคาดคะเนลดลงหลังจากมีการทบทวนแล้ว ทั้งนี้ ผลสำรวจดังกล่าวจัดทำหลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยตัว
เลขจีดีพีที่ทบทวนแล้วของไตรมาสที่ 2 ปี 47 ว่าขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบต่อปี ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้
ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.7 ซึ่งจากตัวเลขจีดีพีที่ทบทวนแล้วลดลงดังกล่าวสร้างความกังวลเกี่ยวกับความ
แข็งแกร่งของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสถัดไป นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังได้ประมาณการเติบโต
ทางเศรษฐกิจสำหรับปีงบประมาณนี้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5 ส่วนปีงบประมาณ 48 ที่สิ้นสุดเดือน มี.ค.49 นัก
เศรษฐศาสตร์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.8 ลดลงจากที่ประมาณการไว้เมื่อเดือน ส.ค.47 ว่าจะขยายตัวร้อย
ละ 1.9 (รอยเตอร์)
3. ยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของจีนในเดือน ส.ค.47 มีจำนวนเกือบ 5.2 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 15 ก.ย.47 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือ FDI ของจีนใน
เดือน ส.ค.47 มียอดเกือบ 5.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าที่คาดไว้จากผลสำรวจของรอยเตอร์ว่าจะมี
จำนวน 5.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หลังจากลดลงเกินกว่าที่คาดไว้เหลือ 4.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือน
ก.ค.47 และมียอดถึง 8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือน มิ.ย.47 โดยคาดว่ายอด FDI ในปีนี้จะมีจำนวน
ถึง 60 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนซึ่งมีจำนวน 53.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้จีนแซงหน้า
สรอ. ขึ้นเป็นประเทศที่ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศมากเป็นอันดับ 1 ของโลก แม้ว่าทางการจีนจะมี
มาตรการลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจลงก็ตาม แต่นักลงทุนต่างประเทศยังให้ความสนใจลงทุนในจีนจาก
ศักยภาพของตลาดในจีนซึ่งมีจำนวนประชากรมากกว่าพันล้านคนและใช้เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งไปขายยังประเทศ
อื่น ๆ ทั่วโลกเนื่องจากค่าแรงยังต่ำกว่าประเทศอื่น ในช่วงเดือน ม.ค. ถึง ส.ค.47 จีนสามารถดึง FDI
จำนวน 43.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 จากปีก่อน (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียในเดือนส.ค.47 สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ
1.4 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 47 สำนักงานสถิติมาเลเซียเปิดเผยว่า ในเดือนส.ค.
47 ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียซึ่งใช้วัดภาวะเงินเฟ้ออย่างเป็นทางการเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อย
ละ 1.4 (ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล) และยังคงที่เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นการปรับเพิ่มขึ้นในราคา
สินค้าเกษตร ยาสูบ และอาหาร (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 ก.ย. 47 15 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.26 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.0553/41.3479 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 5625-1.6250 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 662.28/36.10 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 33.78 34.7 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-