นายบัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ในรายการข่าวยามเช้า สถานีวิทยุเอฟเอ็ม 101.0 เมกะเฮิร์ต ถึงกระแสข่าวการเสนอให้ ส.ส.ระดับแกนนำของพรรคประชาธิปัตย์ลงสมัครในเขต กทม.ว่า กระแสข่าวที่เกิดขึ้นเป็นเพียงขั้นตอนของการเสนอแนวคิด คือพรรคประชาธิปัตย์มีโครงสร้างที่เป็นประชาธิปไตยเต็มที่ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาของการระดมความคิดเห็น ส่วนข้อยุติจะเป็นอย่างไร ก็ต้องเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง
เมื่อถามว่าเรื่องนี้ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สอดรับกับความต้องการของคนกรุงเทพฯ บวกกับกระแสของนายอภิรักษ์ โกษะโยธินที่ได้รับคะแนนกว่า 900,000 คะแนน นายบัญญัติมองว่า แนวความคิดดังกล่าวอาจจะเป็นไปได้ แต่อย่างไรก็ตามตนอยากเรียนให้ทราบว่าพรรคยังมีคนรุ่นใหม่ที่มีทั้งคุณวุฒิ ความรู้และประสบการณ์ที่ต้องการจะลงสมัครรับเลือกตั้งในกทม.มีมากมาย ส่วนการที่แกนนำจะมาลงสมัครในระบบเขต เมื่อได้รับเลือกเป็นรัฐบาลก็ต้องเป็นรัฐมนตรี ทำให้ต้องเลือกตั้งใหม่คนกรุงเทพฯอาจมีข้อสงสัยในเรื่องนี้ นายบัญญัติกล่าวว่า ตนคิดว่าอาจเป็นเพราะพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นรัฐบาล เพียงแต่ยินดีทำเพื่อให้คนกรุงเทพฯยอมรับพรรคมากที่สุด เมื่อถามว่าจะเป็นการเช็คกระแสหรือไม่ นายบัญญัติกล่าวว่า พรรคไม่ต้องการจะโยนหินถามทางหรือเช็คกระแสอะไรทั้งสิ้น เพียงแต่เมื่อมีการปรึกษาหารือกันถึงยุทธศาสตร์ทางการเลือกตั้ง ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุด พรรคสามารถปฏิบัติได้ และเป็นที่ยอมรับของประชาชน จึงมีการเสนอแนวคิดที่หลากหลายกันออกไป
เมื่อถามถึงกรณีเสนอให้นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคฯลงสมัครด้วย หัวหน้าพรรค ปชป.กล่าวว่า ปกตินายชวนเป็น ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อพรรค ไม่ได้ลงพื้นที่อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าวยังไม่ได้มีการพูดคุยสอบถามกับนายชวนแต่อย่างใด เพราะเป็นแค่การเสนอแนวคิดกันอย่างกว้างๆ โดยนั่งคุยหารือกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ทำเป็นประจำ ‘เป็นเรื่องที่ประชาธิปัตย์ชอบทำกัน บางทีนั่งดื่มน้ำชากาแฟก็ถกกันเรื่องนั้นเรื่องนี้ และบางทีก็ถกกันดังๆ อาจมีคนได้ยิน ก็เลยกลายเป็นประเด็นขึ้นมา’ หัวหน้าพรรค ปชป.กล่าว
ต่อข้อถามที่ว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว ซึ่งเป็นความคิดเห็นที่ต่างจากนายบัญญัติ นายบัญญัติกล่าวว่า ขณะนี้เราไม่ได้มีฝั่งมีฝ่ายอะไร แต่ในเวลาที่มีการแสดงความคิดเห็น ก็อาจจะเห็นตรงกันบ้าง ไม่ตรงกันบ้าง ส่วนการเลือกตั้งครั้งหน้าพรรคประชาธิปัตย์มีแนวทางจะขอเป็นฝ่ายค้านเพื่อตรวจสอบรัฐบาลอีก นายบัญญัติกล่าวว่า เป็นเรื่องที่พรรคพูดถึงกันมานานแล้ว ตนมีความรู้สึกว่าขณะนี้สังคมในประเทศ โดยเฉพาะสังคมการเมือง สิ่งที่น่าหวั่นเกรงเป็นพิเศษคืออำนาจการตรวจสอบ ซึ่งนับวันจะอ่อนแอลง ทั้งการเปิดช่องให้มีการควบรวมพรรคการเมืองได้ง่ายๆ การเปิดโอกาสให้มีการจัดตั้งรัฐบาลด้วยคะแนนเสียงเท่าไรก็ได้ รวมถึงการทำให้อำนาจการตรวจสอบของฝ่ายค้านน้อยลง ‘ครั้งที่แล้วยังดีที่ประชาธิปัตย์สามารถเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ รมต.ได้ แม้ว่าจะอภิปรายนายกฯไม่ได้ และถ้าเรามีเสียงไม่ถึง 100 เค้าก็อาจจะตั้งรัฐบาล 400 เสียงก็ได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น อำนาจการถ่วงดุลในระบบรัฐสภา ซึ่งมีความสำคัญมาก ก็จะกลายเป็นเรื่องที่น่ากังวล ซึ่งเท่าที่รับฟังมาคนในบ้านเมืองกลัวเรื่องนี้กันมาก คือกลัวรัฐบาลที่มีอำนาจเด็ดขาด และเรารู้สึกว่าสังคมกำลังว้าเหว่ในสิ่งนี้ ในฐานะพรรคการเมืองที่รับใช้พี่น้องมายาวนานพอสมควร เมื่อสังคมว้าเหว่ สังคมต้องการ อย่างน้อยพรรคประชาธิปัตย์ก็อยากจะทำหน้าที่ตรงนี้’ นายบัญญัติกล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์เสนอตัวเป็นฝ่ายค้านเพื่อตรวจสอบรัฐบาลนั้น ต้องขึ้นอยู่กับความรู้สึกของประชาชนในสังคมแต่ละสมัย ภาวะการณ์ที่เป็นอยู่ และต้องดูว่าประชาชนกังวลเรื่องอะไร ส่วนข่าวที่มีการประเมินว่าประชาธิปัตย์จะได้ 220 เสียง นายบัญญัติกล่าวว่า ความจริงเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่พูดกันบนเวทีปราศรัยเท่านั้น คือเราพูดกันถึงภาวะความเป็นขาลงของรัฐบาลที่เป็นอยู่เวลานี้ ว่าดูเหมือนจะเห็นได้ชัดว่าทำท่าจะลงเร็วมากๆ เพราะฉะนั้นโอกาสที่พรรคประชาธิปัตย์จะได้ที่นั่งเกิน 200 จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ‘ที่พูดบนเวทีปราศรัยบางคนก็บอกว่า 220 น่าจะถึง บางคนก็บอก 250 ก็น่าจะถึง ก็เลยกลายเป็นประเด็นขึ้นมาทันทีว่า ประชาธิปัตย์กำลงจะชูธงที่จะประกาศตัวเป็นรัฐบาลตั้งแต่เวลานี้เลย’ นายบัญญัติกล่าว
เมื่อถามว่าการที่ประชาชนกลัวรัฐบาลที่มีอำนาจเด็ดขาดกับภาวะไทยรักไทยขาลงให้น้ำหนักเรื่องใดมากกว่ากัน นายบัญญัติกล่าวว่า ก็ต้องดูต่อว่าไทยรักไทยจะลงไปถึงขนาดไหน เพราะยังมีเวลา เนื่องจากนายกฯประกาศแล้วว่าจะไม่มีการยุบสภาฯก่อนครบกำหนดแน่นอน ตนคิดว่าเวลาสำหรับการเมืองไทยในช่วง 4-5 เดือนทุกอย่างเปลี่ยนไปมาก เพราะฉะนั้นพรรคการเมืองจะกำหนดยุทธศาสตร์อย่างไร ก็ต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่เวลานั้นด้วย ส่วนตัวแปรที่ทำให้การเมืองไทยเปลี่ยนนั้นมาจากหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นความผิดพลาดหรือความล้มเหลวในนโยบายหลายๆเรื่องของรัฐบาล ที่เห็นชัดเจนที่สุดคือนโยบายปราบคอร์รัปชั่น ซึ่งสังคมเริ่มจะมองเห็นมากขึ้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-
เมื่อถามว่าเรื่องนี้ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สอดรับกับความต้องการของคนกรุงเทพฯ บวกกับกระแสของนายอภิรักษ์ โกษะโยธินที่ได้รับคะแนนกว่า 900,000 คะแนน นายบัญญัติมองว่า แนวความคิดดังกล่าวอาจจะเป็นไปได้ แต่อย่างไรก็ตามตนอยากเรียนให้ทราบว่าพรรคยังมีคนรุ่นใหม่ที่มีทั้งคุณวุฒิ ความรู้และประสบการณ์ที่ต้องการจะลงสมัครรับเลือกตั้งในกทม.มีมากมาย ส่วนการที่แกนนำจะมาลงสมัครในระบบเขต เมื่อได้รับเลือกเป็นรัฐบาลก็ต้องเป็นรัฐมนตรี ทำให้ต้องเลือกตั้งใหม่คนกรุงเทพฯอาจมีข้อสงสัยในเรื่องนี้ นายบัญญัติกล่าวว่า ตนคิดว่าอาจเป็นเพราะพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นรัฐบาล เพียงแต่ยินดีทำเพื่อให้คนกรุงเทพฯยอมรับพรรคมากที่สุด เมื่อถามว่าจะเป็นการเช็คกระแสหรือไม่ นายบัญญัติกล่าวว่า พรรคไม่ต้องการจะโยนหินถามทางหรือเช็คกระแสอะไรทั้งสิ้น เพียงแต่เมื่อมีการปรึกษาหารือกันถึงยุทธศาสตร์ทางการเลือกตั้ง ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุด พรรคสามารถปฏิบัติได้ และเป็นที่ยอมรับของประชาชน จึงมีการเสนอแนวคิดที่หลากหลายกันออกไป
เมื่อถามถึงกรณีเสนอให้นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคฯลงสมัครด้วย หัวหน้าพรรค ปชป.กล่าวว่า ปกตินายชวนเป็น ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อพรรค ไม่ได้ลงพื้นที่อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าวยังไม่ได้มีการพูดคุยสอบถามกับนายชวนแต่อย่างใด เพราะเป็นแค่การเสนอแนวคิดกันอย่างกว้างๆ โดยนั่งคุยหารือกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ทำเป็นประจำ ‘เป็นเรื่องที่ประชาธิปัตย์ชอบทำกัน บางทีนั่งดื่มน้ำชากาแฟก็ถกกันเรื่องนั้นเรื่องนี้ และบางทีก็ถกกันดังๆ อาจมีคนได้ยิน ก็เลยกลายเป็นประเด็นขึ้นมา’ หัวหน้าพรรค ปชป.กล่าว
ต่อข้อถามที่ว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว ซึ่งเป็นความคิดเห็นที่ต่างจากนายบัญญัติ นายบัญญัติกล่าวว่า ขณะนี้เราไม่ได้มีฝั่งมีฝ่ายอะไร แต่ในเวลาที่มีการแสดงความคิดเห็น ก็อาจจะเห็นตรงกันบ้าง ไม่ตรงกันบ้าง ส่วนการเลือกตั้งครั้งหน้าพรรคประชาธิปัตย์มีแนวทางจะขอเป็นฝ่ายค้านเพื่อตรวจสอบรัฐบาลอีก นายบัญญัติกล่าวว่า เป็นเรื่องที่พรรคพูดถึงกันมานานแล้ว ตนมีความรู้สึกว่าขณะนี้สังคมในประเทศ โดยเฉพาะสังคมการเมือง สิ่งที่น่าหวั่นเกรงเป็นพิเศษคืออำนาจการตรวจสอบ ซึ่งนับวันจะอ่อนแอลง ทั้งการเปิดช่องให้มีการควบรวมพรรคการเมืองได้ง่ายๆ การเปิดโอกาสให้มีการจัดตั้งรัฐบาลด้วยคะแนนเสียงเท่าไรก็ได้ รวมถึงการทำให้อำนาจการตรวจสอบของฝ่ายค้านน้อยลง ‘ครั้งที่แล้วยังดีที่ประชาธิปัตย์สามารถเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ รมต.ได้ แม้ว่าจะอภิปรายนายกฯไม่ได้ และถ้าเรามีเสียงไม่ถึง 100 เค้าก็อาจจะตั้งรัฐบาล 400 เสียงก็ได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น อำนาจการถ่วงดุลในระบบรัฐสภา ซึ่งมีความสำคัญมาก ก็จะกลายเป็นเรื่องที่น่ากังวล ซึ่งเท่าที่รับฟังมาคนในบ้านเมืองกลัวเรื่องนี้กันมาก คือกลัวรัฐบาลที่มีอำนาจเด็ดขาด และเรารู้สึกว่าสังคมกำลังว้าเหว่ในสิ่งนี้ ในฐานะพรรคการเมืองที่รับใช้พี่น้องมายาวนานพอสมควร เมื่อสังคมว้าเหว่ สังคมต้องการ อย่างน้อยพรรคประชาธิปัตย์ก็อยากจะทำหน้าที่ตรงนี้’ นายบัญญัติกล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์เสนอตัวเป็นฝ่ายค้านเพื่อตรวจสอบรัฐบาลนั้น ต้องขึ้นอยู่กับความรู้สึกของประชาชนในสังคมแต่ละสมัย ภาวะการณ์ที่เป็นอยู่ และต้องดูว่าประชาชนกังวลเรื่องอะไร ส่วนข่าวที่มีการประเมินว่าประชาธิปัตย์จะได้ 220 เสียง นายบัญญัติกล่าวว่า ความจริงเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่พูดกันบนเวทีปราศรัยเท่านั้น คือเราพูดกันถึงภาวะความเป็นขาลงของรัฐบาลที่เป็นอยู่เวลานี้ ว่าดูเหมือนจะเห็นได้ชัดว่าทำท่าจะลงเร็วมากๆ เพราะฉะนั้นโอกาสที่พรรคประชาธิปัตย์จะได้ที่นั่งเกิน 200 จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ‘ที่พูดบนเวทีปราศรัยบางคนก็บอกว่า 220 น่าจะถึง บางคนก็บอก 250 ก็น่าจะถึง ก็เลยกลายเป็นประเด็นขึ้นมาทันทีว่า ประชาธิปัตย์กำลงจะชูธงที่จะประกาศตัวเป็นรัฐบาลตั้งแต่เวลานี้เลย’ นายบัญญัติกล่าว
เมื่อถามว่าการที่ประชาชนกลัวรัฐบาลที่มีอำนาจเด็ดขาดกับภาวะไทยรักไทยขาลงให้น้ำหนักเรื่องใดมากกว่ากัน นายบัญญัติกล่าวว่า ก็ต้องดูต่อว่าไทยรักไทยจะลงไปถึงขนาดไหน เพราะยังมีเวลา เนื่องจากนายกฯประกาศแล้วว่าจะไม่มีการยุบสภาฯก่อนครบกำหนดแน่นอน ตนคิดว่าเวลาสำหรับการเมืองไทยในช่วง 4-5 เดือนทุกอย่างเปลี่ยนไปมาก เพราะฉะนั้นพรรคการเมืองจะกำหนดยุทธศาสตร์อย่างไร ก็ต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่เวลานั้นด้วย ส่วนตัวแปรที่ทำให้การเมืองไทยเปลี่ยนนั้นมาจากหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นความผิดพลาดหรือความล้มเหลวในนโยบายหลายๆเรื่องของรัฐบาล ที่เห็นชัดเจนที่สุดคือนโยบายปราบคอร์รัปชั่น ซึ่งสังคมเริ่มจะมองเห็นมากขึ้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 ก.ย. 2547--จบ--
-ดท-