บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๕ นาฬิกา
เนื่องจากนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎรไปราชการ
ต่างประเทศ เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภา
ผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์และ
กล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๓
จำนวน ๑ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๓๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
และรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ (สมัยสามัญทั่วไป) จำนวน ๑๕ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑ วันพุธที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒ วันพฤหัสบดีที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓ เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๔ วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๕ วันพุธที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๖ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๗ วันพุธที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๘ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๙ วันพุธที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๐ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๔ มีนาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๑ วันพุธที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๒ วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๓ วันพุธที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๔ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๕ วันพุธที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๑๖ ครั้งดังกล่าว
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำเรื่อง พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติคุ้มครอง
การประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่า
ที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๓ ในประเทศไทย พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๔) ขึ้นมาพิจารณาก่อน
ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้รับความ
เห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓)
ต่อมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้
ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามมติ
ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๗ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อน
ขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๑)
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อน
ขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๓)
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อน
ขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๒)
๔. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อน
ขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา
จนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๔ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติ
เห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม
การพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระตามลำดับดังต่อไปนี้ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การงดบังคับคดีและ
การขายทอดตลาด) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕)
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติรถยนต์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗)
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบ
วาระที่ ๔.๑๓)
๔. ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางแพ่งและค่าเสียหายจากเรือโดนกัน พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
๕. ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๕)
๖. ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๖)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
ตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การงดบังคับคดีและ
การขายทอดตลาด) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับ
การแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบ
เป็นกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน
และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายปกิต พัฒนกุล ๒. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์
๓. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๔. นายเจริญ จรรย์โกมล
๕. นายวิทยา ภูมิเหล่าแจ้ง ๖. นายสุรชัย เบ้าจรรยา
๗. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ ๘. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์
๙. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๑๐. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
๑๑. นายเกษม สรศักดิ์เกษม ๑๒. นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติรถยนต์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้รับความ
เห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓)
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระ
ที่ ๔.๑๓)
ที่ประชุมได้พิจารณารายงานฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับ
ร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา
๔. ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางแพ่งและค่าเสียหายจากเรือโดนกัน พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
๕. ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๕)
๖. ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๖)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา
จนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๓ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบ
ด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่อง
หลายรูปแบบ พ.ศ. …. เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
ก่อนเลิกประชุม ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษา
ที่ประชุมเพื่อขอนำระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุม
เห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุม
พิจารณาระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ ตามลำดับ คือ
๑. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการแรงงาน
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๒)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายเชน เทือกสุบรรณ เป็นกรรมาธิการแทน
นายไพศาล จันทวารา
๒. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการตรวจ
รายงานการประชุม แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๒ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๓)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายประวิช นิลวัชรมณี เป็นกรรมาธิการแทน
นายฉลาด ขามช่วง และนายมาโนชญ์ วิชัยกุล เป็นกรรมาธิการแทน นายสุชาติ
แก้วนาโพธิ์
๓. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๔)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายสุวิทย์ เสงี่ยมกุล เป็นกรรมาธิการแทน
นางคมคาย พลบุตร
๔. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการพลังงาน
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๖)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายวิชัย ตันศิริ เป็นกรรมาธิการแทน
นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์
๕. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการศึกษา
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๗)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายเจริญ คันธวงศ์ เป็นกรรมาธิการแทน
นายสมมารถ เจ๊ะนา
๖. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการศาสนา
ศิลปะและวัฒนธรรม แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๒ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๘)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก พลตำรวจโท สรรเพชญ ธรรมาธิกุล
เป็นกรรมาธิการแทน นายอรรถพล มามะ และนายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย
เป็นกรรมาธิการแทน พันตำรวจโท เจ๊ะอิสมาแอ เจ๊ะโมง
๗. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการสื่อสาร
และโทรคมนาคม แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๙)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายวิฑูรย์ นามบุตร เป็นกรรมาธิการแทน
นายทวี สุระบาล
๘. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการ
สาธารณสุข แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๓ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑๐)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายอุทัย สุดสุข เป็นกรรมาธิการแทน
นายพิทักษ์ สันติวงศ์เดชา นายวิลาศ จันทรพิทักษ์ เป็นกรรมาธิการแทน นางคมคาย
พลบุตร และนายสุพัฒน์ ธรรมเพชร เป็นกรรมาธิการแทน นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช
พัฒนกุลเลิศ
๙. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการเกษตร
และสหกรณ์ แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑๑)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายประกอบ รัตนพันธ์ เป็นกรรมาธิการแทน
นายฉลาด ขามช่วง
๑๐. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการทหาร
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๒ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑๒)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ เป็นกรรมาธิการแทน
นายปัญญา จีนาคำ และนายมนตรี ปาน้อยนนท์ เป็นกรรมาธิการแทน นายวัยโรจน์ พิพิธภักดี
๑๑. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการกิจการ
สภาผู้แทนราษฎร แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๒ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑๓)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายสมพงษ์ หิริกุล เป็นกรรมาธิการแทน
นายการุญ จันทรางศุ และนายสมชาย โล่สถาพรพิพิธ เป็นกรรมาธิการแทน
นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช พัฒนกุลเลิศ
๑๒. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการ
การตำรวจ แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑๔)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายบุญส่ง ไข่เกษ เป็นกรรมาธิการแทน
นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์
๑๓. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการ
ยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑๖)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นางผุสดี ตามไท เป็นกรรมาธิการแทน
พันตำรวจโท เจ๊ะอิสมาแอ เจ๊ะโมง
๑๔. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการติดตาม
การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑๗)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายเจือ ราชสีห์ เป็นกรรมาธิการแทน
นายเกษม ปานอุดมลักษณ์
๑๕. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบ
วาระที่ ๗.๑๘)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน เป็นกรรมาธิการแทน
นายจินดา วงศ์สวัสดิ์
๑๖. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการ
พัฒนาการเมือง แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑๙)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นกรรมาธิการแทน
นายชูศักดิ์ แอกทอง
๑๗. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง
(ในระเบียบวาระที่ ๗.๒๐)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เป็นกรรมาธิการแทน
นายพิทักษ์ สันติวงศ์เดชา
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๐๕ นาฬิกา
(นางอุมาสีว์ สอาดเอี่ยม)
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รักษาราชการแทน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๓ ในประเทศไทย พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๗ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ….
๔. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๕. ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางแพ่งและค่าเสียหายจากเรือโดนกัน พ.ศ. ….
๖. ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ….
๗. ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (การงดบังคับคดีและการขายทอดตลาด)
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
**************************************
ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๕ นาฬิกา
เนื่องจากนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎรไปราชการ
ต่างประเทศ เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภา
ผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์และ
กล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๓
จำนวน ๑ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๓๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
และรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ (สมัยสามัญทั่วไป) จำนวน ๑๕ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑ วันพุธที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๒ วันพฤหัสบดีที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๓ เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๔ วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๕ วันพุธที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๖ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๗ วันพุธที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๘ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๙ วันพุธที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๐ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๔ มีนาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๑ วันพุธที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๒ วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๓ วันพุธที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๔ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๗
ครั้งที่ ๑๕ วันพุธที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๑๖ ครั้งดังกล่าว
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำเรื่อง พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติคุ้มครอง
การประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่า
ที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๓ ในประเทศไทย พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๔) ขึ้นมาพิจารณาก่อน
ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้รับความ
เห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓)
ต่อมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้
ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามมติ
ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๗ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อน
ขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๑)
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อน
ขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๓)
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อน
ขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๒)
๔. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อน
ขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา
จนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๔ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติ
เห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม
การพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระตามลำดับดังต่อไปนี้ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การงดบังคับคดีและ
การขายทอดตลาด) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕)
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติรถยนต์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗)
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบ
วาระที่ ๔.๑๓)
๔. ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางแพ่งและค่าเสียหายจากเรือโดนกัน พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
๕. ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๕)
๖. ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๖)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
ตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การงดบังคับคดีและ
การขายทอดตลาด) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับ
การแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบ
เป็นกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน
และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายปกิต พัฒนกุล ๒. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์
๓. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๔. นายเจริญ จรรย์โกมล
๕. นายวิทยา ภูมิเหล่าแจ้ง ๖. นายสุรชัย เบ้าจรรยา
๗. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ ๘. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์
๙. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๑๐. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
๑๑. นายเกษม สรศักดิ์เกษม ๑๒. นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติรถยนต์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้รับความ
เห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓)
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระ
ที่ ๔.๑๓)
ที่ประชุมได้พิจารณารายงานฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับ
ร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา
๔. ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางแพ่งและค่าเสียหายจากเรือโดนกัน พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
๕. ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๕)
๖. ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๖)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา
จนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๓ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบ
ด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่อง
หลายรูปแบบ พ.ศ. …. เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
ก่อนเลิกประชุม ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษา
ที่ประชุมเพื่อขอนำระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุม
เห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุม
พิจารณาระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ ตามลำดับ คือ
๑. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการแรงงาน
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๒)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายเชน เทือกสุบรรณ เป็นกรรมาธิการแทน
นายไพศาล จันทวารา
๒. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการตรวจ
รายงานการประชุม แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๒ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๓)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายประวิช นิลวัชรมณี เป็นกรรมาธิการแทน
นายฉลาด ขามช่วง และนายมาโนชญ์ วิชัยกุล เป็นกรรมาธิการแทน นายสุชาติ
แก้วนาโพธิ์
๓. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๔)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายสุวิทย์ เสงี่ยมกุล เป็นกรรมาธิการแทน
นางคมคาย พลบุตร
๔. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการพลังงาน
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๖)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายวิชัย ตันศิริ เป็นกรรมาธิการแทน
นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์
๕. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการศึกษา
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๗)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายเจริญ คันธวงศ์ เป็นกรรมาธิการแทน
นายสมมารถ เจ๊ะนา
๖. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการศาสนา
ศิลปะและวัฒนธรรม แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๒ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๘)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก พลตำรวจโท สรรเพชญ ธรรมาธิกุล
เป็นกรรมาธิการแทน นายอรรถพล มามะ และนายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย
เป็นกรรมาธิการแทน พันตำรวจโท เจ๊ะอิสมาแอ เจ๊ะโมง
๗. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการสื่อสาร
และโทรคมนาคม แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๙)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายวิฑูรย์ นามบุตร เป็นกรรมาธิการแทน
นายทวี สุระบาล
๘. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการ
สาธารณสุข แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๓ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑๐)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายอุทัย สุดสุข เป็นกรรมาธิการแทน
นายพิทักษ์ สันติวงศ์เดชา นายวิลาศ จันทรพิทักษ์ เป็นกรรมาธิการแทน นางคมคาย
พลบุตร และนายสุพัฒน์ ธรรมเพชร เป็นกรรมาธิการแทน นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช
พัฒนกุลเลิศ
๙. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการเกษตร
และสหกรณ์ แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑๑)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายประกอบ รัตนพันธ์ เป็นกรรมาธิการแทน
นายฉลาด ขามช่วง
๑๐. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการทหาร
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๒ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑๒)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ เป็นกรรมาธิการแทน
นายปัญญา จีนาคำ และนายมนตรี ปาน้อยนนท์ เป็นกรรมาธิการแทน นายวัยโรจน์ พิพิธภักดี
๑๑. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการกิจการ
สภาผู้แทนราษฎร แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๒ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑๓)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายสมพงษ์ หิริกุล เป็นกรรมาธิการแทน
นายการุญ จันทรางศุ และนายสมชาย โล่สถาพรพิพิธ เป็นกรรมาธิการแทน
นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช พัฒนกุลเลิศ
๑๒. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการ
การตำรวจ แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑๔)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายบุญส่ง ไข่เกษ เป็นกรรมาธิการแทน
นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์
๑๓. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการ
ยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑๖)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นางผุสดี ตามไท เป็นกรรมาธิการแทน
พันตำรวจโท เจ๊ะอิสมาแอ เจ๊ะโมง
๑๔. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการติดตาม
การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑๗)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายเจือ ราชสีห์ เป็นกรรมาธิการแทน
นายเกษม ปานอุดมลักษณ์
๑๕. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบ
วาระที่ ๗.๑๘)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน เป็นกรรมาธิการแทน
นายจินดา วงศ์สวัสดิ์
๑๖. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการ
พัฒนาการเมือง แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑๙)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นกรรมาธิการแทน
นายชูศักดิ์ แอกทอง
๑๗. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง
(ในระเบียบวาระที่ ๗.๒๐)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เป็นกรรมาธิการแทน
นายพิทักษ์ สันติวงศ์เดชา
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๐๕ นาฬิกา
(นางอุมาสีว์ สอาดเอี่ยม)
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รักษาราชการแทน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๓ ในประเทศไทย พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๗ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ….
๔. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๕. ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางแพ่งและค่าเสียหายจากเรือโดนกัน พ.ศ. ….
๖. ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ….
๗. ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (การงดบังคับคดีและการขายทอดตลาด)
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
**************************************