นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เรื่องการปรับปรุงการคำนวณเส้นความยากจน จากเดิมที่ระดับ 922 บาท/คน/เดือน เป็น 1,163 บาท/คน/เดือน ซึ่งทำให้ดูเหมือนว่ามีจำนวนคนจนที่มีระดับรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนมากขึ้นว่า หลักการของเส้นความยากจนก็คือการดูว่าประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่าระดับรายได้ขั้นต่ำที่จำเป็นต่อการดำรงชีพมีจำนวนเท่าไร การปรับวิธีคิดเส้นความยากจนทำให้ระดับรายได้ขั้นต่ำดังกล่าวสูงขึ้นย่อมทำให้มีประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนสูงขึ้น
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาข้อมูลความยากจนโดยใช้เส้นความยากจนแบบวิธีเดิมพบว่า จำนวนคนจน และสัดส่วนของคนยากจนต่อประชากร ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2543-2545 (จำนวนคนจนปี 2543 = 9.9 ล้านคน ปี 44 = 8.2 ล้านคน ปี 45 = 6.2 ล้านคน สัดส่วนคนจนปี 43 = 14.2% ปี 44 = 13.1% ปี 45 = 9.8%)
ดังนั้นหากนำวิธีคิดเส้นความยากจนตามวิธีใหม่มาใช้ย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2543 เชื่อว่าจำนวนคนจน และสัดส่วนคนจนคงไม่สูงอย่างที่เป็นข่าว นอกจากนี้ ควรมีการวิเคราะห์เครื่องชี้วัดอื่นๆ ด้วย เช่นการกระจายรายได้ โดยดูที่ดัชนี Gini (เครื่องชี้วัดการกระจายรายได้) ซึ่งเท่าที่ดูผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติตั้งแต่หลังวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว ดัชนี Gini มีแน้วโน้มดีขึ้น
นายวราเทพยังกล่าวอีกว่านโยบายรัฐบาลที่ ดร. อัมมาร สยามวาลากล่าวถึงนั้น ได้สร้างประโยชน์และเป็นผลดีต่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็น กองทุนหมู่บ้าน หรือการพักนี้เกษตรกร ที่ว่าการพักหนี้เป็นการช่วยเหลือคนมีรายได้สูง เป็นการมองเพียงบางราย แต่ผู้ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นเกษตรกรยากจน
"โดยสรุปแล้วยังยืนยันว่านโยบายต่างๆ ของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจน รัฐบาลจะทำให้เป็นจริงอย่างแน่นอนในอนาคต" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังกล่าวในท้ายที่สุด
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 73/2547 17 กันยายน 2547--
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาข้อมูลความยากจนโดยใช้เส้นความยากจนแบบวิธีเดิมพบว่า จำนวนคนจน และสัดส่วนของคนยากจนต่อประชากร ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2543-2545 (จำนวนคนจนปี 2543 = 9.9 ล้านคน ปี 44 = 8.2 ล้านคน ปี 45 = 6.2 ล้านคน สัดส่วนคนจนปี 43 = 14.2% ปี 44 = 13.1% ปี 45 = 9.8%)
ดังนั้นหากนำวิธีคิดเส้นความยากจนตามวิธีใหม่มาใช้ย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2543 เชื่อว่าจำนวนคนจน และสัดส่วนคนจนคงไม่สูงอย่างที่เป็นข่าว นอกจากนี้ ควรมีการวิเคราะห์เครื่องชี้วัดอื่นๆ ด้วย เช่นการกระจายรายได้ โดยดูที่ดัชนี Gini (เครื่องชี้วัดการกระจายรายได้) ซึ่งเท่าที่ดูผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติตั้งแต่หลังวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว ดัชนี Gini มีแน้วโน้มดีขึ้น
นายวราเทพยังกล่าวอีกว่านโยบายรัฐบาลที่ ดร. อัมมาร สยามวาลากล่าวถึงนั้น ได้สร้างประโยชน์และเป็นผลดีต่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็น กองทุนหมู่บ้าน หรือการพักนี้เกษตรกร ที่ว่าการพักหนี้เป็นการช่วยเหลือคนมีรายได้สูง เป็นการมองเพียงบางราย แต่ผู้ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นเกษตรกรยากจน
"โดยสรุปแล้วยังยืนยันว่านโยบายต่างๆ ของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจน รัฐบาลจะทำให้เป็นจริงอย่างแน่นอนในอนาคต" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังกล่าวในท้ายที่สุด
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 73/2547 17 กันยายน 2547--