ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดการแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการ ธ.กรุงไทย ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดเรื่องการแต่งตั้ง
นายวิโรจน์ นวลแข เป็นกรรมการผู้จัดการ ธ.กรุงไทย ตามที่คณะกรรมการธนาคารเสนอให้พิจารณา ซึ่ง จาก
การที่มีกระแสข่าวว่า ผู้ว่าการ ธปท.ไม่เห็นด้วยกับการแต่งตั้งนายวิโรจน์ เพราะส่อที่จะขัดเกณฑ์ คุณสมบัติผู้
บริหาร ธพ.ฉบับใหม่ที่ประกาศเมื่อ 29 ก.ค.47 โดยเฉพาะข้อ 8 ที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับความรอบคอบในการ
ปฏิบัติหน้าที่อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจสถาบันการเงิน จากกรณีการปล่อยกู้ของ ธ.กรุงไทย โดยผู้
ว่าการ ธปท.กล่าวว่า การพิจารณาแต่งตั้งนายวิโรจน์ เป็นคนละส่วนกับการตรวจสอบการปล่อยกู้ของ ธ.กรุง
ไทย พร้อมทั้งยืนยันว่า ส่วนตัวแล้วไม่เคยมีปัญหากับนายวิโรจน์แต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือเรื่อง
การทำงาน (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธปท.จับตาสถานการณ์สินเชื่อผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) กล่าวเปิดการสัมมนาประจำปีของฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ว่า วัฒนธรรมการใช้จ่ายผู้บริโภค
ระหว่าง เอเชียและยุโรปมีความแตกต่างกัน โดยยุโรปจะมีการใช้จ่ายก่อนการออม ขณะที่เอเชียจะออมเงิน
ก่อนเป็นลำดับแรกจากนั้นจึงจะนำไปใช้จ่าย แต่ขณะนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปใกล้เคียงกับพฤติกรรมของชาว
ยุโรปมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดช่องว่างของการใช้จ่ายได้ อย่างไรก็ตาม คนไทยไม่ควรใช้จ่ายเกินตัวและสร้าง
หนี้ แม้ว่าจะยังไม่เห็นสัญญาณอันตรายจากสินเชื่อผู้บริโภคก็ตาม สำหรับ ธปท.ในฐานะที่มีหน้าที่กำกับดูแล ก็จะจับ
ตาสินเชื่อผู้บริโภคต่อไป โดยจะใช้มาตรการออกมาควบคุมด้วยความระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทาง
สังคม ในส่วนของผู้ให้บริการก็ต้องช่วยดูแลสินเชื่อด้วยเช่นกัน (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า)
3. ธ.ไทยธนาคารประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 0.25-0.50% รายงานข่าว
จาก ธ.ไทยธนาคาร เปิดเผยว่า ธนาคารได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภท 0.25-
0.50% มีผลตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย.47 เป็นต้นไป โดยเงินฝากประจำประเภท 3 เดือนจาก 1.00% เป็น
1.25%, ประเภท 6 เดือนจาก 1.00% เป็น 1.50%, ประเภท 12 เดือนจาก 1.00% เป็น 1.50%,
ประเภท 18 เดือนจาก 1.25% เป็น 1.75%, ประเภท 24 เดือนจาก 1.50% เป็น 2% และประเภท 36
เดือนจาก 2% เป็น 2.5% โดยมีเงื่อนไขว่าในทุกบัญชีจะต้องมีเงินฝากคงค้างไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท ส่วน
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังไม่เปลี่ยนแปลง อนึ่ง การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มอัตรา
ดอกเบี้ยในตลาดที่อยู่ในช่วงขาขึ้น และเพื่อรองรับการขยายสินเชื่อของธนาคาร (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และ 2.3
เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปี ตามลำดับ รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ 16 ก.ย.47 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป
เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบต่อปี อันสอดคล้องกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากราคา
น้ำมันดิบที่ตลาด สรอ. เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ก็ยังอยู่ระดับต่ำกว่า 50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนรวมทั้งยังไม่ได้มีการทบทวนตัวเลข
จากที่ประมาณการไว้ในครั้งก่อน แต่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่นับรวมถึงราคาอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้นถึง
ร้อยละ 2.2 จากร้อยละ 2.1 ในเดือนก่อน สำหรับต้นทุนราคาพลังงานในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5
เมื่อเทียบจากเดือนก่อน และเมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.5 ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดตั้งแต่เดือน พ.ค.47 ส่วน
ราคาอาหารลดลงร้อยละ 0.7 ซึ่งสามารถชดเชยได้บางส่วนจากผลกระทบของการเพิ่มขึ้นของต้นทุนพลังงาน
อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อของประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรปอยู่ระหว่างร้อยละ 0.3 (ฟินแลนด์) — 3.6
(ลักเซมเบอร์ก) ส่วน 9 ใน 12 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรมีอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าร้อยละ 2.0 (รอยเตอร์)
2. คาดว่ายอดการขายปลีกของเยอรมนีในปี 47 จะลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 3 รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อ 16 ก.ย.47 The HDE retail association คาดว่า ยอดการขายปลีกของเยอรมนีในปี
47 จะลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 3 โดยคาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีการทบทวน
แล้ว จากที่ก่อนหน้านี้ประมาณการไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ทั้งนี้ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้ได้
รับพลังขับเคลื่อนจากการกระตุ้นของภาคการส่งออก ขณะที่ความต้องการภายในประเทศยังคงอ่อนแอ และเป็น
อุปสรรคต่อการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของเยอรมนี โดยการปรับเพิ่มของยอดขายในครึ่งหลังของปีนี้เพียงเล็ก
น้อย คือประมาณร้อยละ 0.33 อาจจะทำให้ยอดขายปลีกโดยรวมของทั้งปี 47 ลดลงถึงร้อยละ 0.5 ขณะที่สำนัก
งานสถิติแห่งชาติเยอรมนีได้เปิดเผยตัวเลขยอดขายปลีกสำหรับครึ่งแรกของปี 47 ลดลงร้อยละ 1.4 (real)
และลดลงร้อยละ 1.5 (nominal) อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ส่วนของ
ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ชะลอตัวลง เนื่องจากอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น และความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบ
ของแผนการปรับลดผลประโยชน์ของพนักงานของธุรกิจในเยอรมนี ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. เยอรมนีจัดเก็บภาษีในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เทียบต่อปี รายงานกรุงเบอร์ลิน
ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 15 ก.ย.47 ก.คลังของเยอรมนีเปิดเผยว่า รายได้ของรัฐจากการจัดเก็บภาษีใน
เดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เทียบต่อปี แต่แนวโน้มการจัดเก็บภาษีในปีนี้ยังคงไม่ชัดเจนนักจนกว่าจะสิ้น
สุดเดือน ก.ย.47 ซึ่งที่ผ่านมาจะเป็นเดือนที่มีการจัดเก็บภาษีได้สูงมาก อย่างไรก็ตาม รายได้จากภาษีการขาย
ที่เพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค.47 ร้อยละ 1.4 เทียบต่อปี แสดงให้เห็นว่าการบริโภคภายในประเทศที่อ่อนตัวมานานน่า
จะปรับตัวดีขึ้นในช่วงหลายเดือนข้างหน้านี้ ทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ได้ส่งผลให้รัฐมีราย
ได้เพิ่มขึ้นในการจัดเก็บภาษีจากบริษัทและเงินลงทุน ในขณะที่ การจัดเก็บภาษีเงินได้ลดลงร้อยละ 7.9 เทียบ
ต่อปี เป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่าการที่เศรษฐกิจฟื้นตัวไม่ได้ส่งผลในเชิงบวกต่อตลาดแรงงานมากนัก (รอยเตอร์)
4. ทุนสำรองระหว่างประเทศของเกาหลีใต้ ณ วันที่ 15 ก.ย. อยู่ที่ระดับ 172.4 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 47 ธ.กลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ทุนสำรองระหว่าง
ประเทศของเกาหลีใต้ในช่วง 2 สัปดาห์ถึงกลางเดือนก.ย. 47 เพิ่มขึ้นเนื่องจากการอ่อนตัวของค่าเงินดอลลาร์
สรอ. ทำให้มูลค่าสินทรัพย์สกุลเงินอื่นสูงขึ้น โดยทุนสำรองฯ ณ 15 ก.ย. 47 อยู่ที่ระดับ 172.4 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 170.5 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนส.ค. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เนื่องจาก
กำไรจากการถึอครองเงินตราต่างประเทศ และจากการที่สถาบันการเงินชำระเงินฝากให้ธ.กลาง ผู้ค้าเงิน
สงสัยว่าผู้ดำเนินนโยบายการเงินของทางการเกาหลีใต้ได้เข้าแทรกแซงค่าเงินโดยการซื้อดอลลาร์ สรอ. และ
ดูแลค่าเงินวอนเพื่อช่วยผู้ส่งออกของเกาหลีใต้ให้สามารถแข่งขันได้ แต่ทางการเกาหลีใต้ปฎิเสธข้อสงสัยการเข้า
แทรกแซงค่าเงินดังกล่าว และให้รายละเอียดทุนสำรองทางการเพียงเล็กน้อย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 ก.ย. 47 16 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.259 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.0730/41.3666 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 5625-1.6250 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 662.39/26.70 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.09 33.78 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดการแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการ ธ.กรุงไทย ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดเรื่องการแต่งตั้ง
นายวิโรจน์ นวลแข เป็นกรรมการผู้จัดการ ธ.กรุงไทย ตามที่คณะกรรมการธนาคารเสนอให้พิจารณา ซึ่ง จาก
การที่มีกระแสข่าวว่า ผู้ว่าการ ธปท.ไม่เห็นด้วยกับการแต่งตั้งนายวิโรจน์ เพราะส่อที่จะขัดเกณฑ์ คุณสมบัติผู้
บริหาร ธพ.ฉบับใหม่ที่ประกาศเมื่อ 29 ก.ค.47 โดยเฉพาะข้อ 8 ที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับความรอบคอบในการ
ปฏิบัติหน้าที่อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจสถาบันการเงิน จากกรณีการปล่อยกู้ของ ธ.กรุงไทย โดยผู้
ว่าการ ธปท.กล่าวว่า การพิจารณาแต่งตั้งนายวิโรจน์ เป็นคนละส่วนกับการตรวจสอบการปล่อยกู้ของ ธ.กรุง
ไทย พร้อมทั้งยืนยันว่า ส่วนตัวแล้วไม่เคยมีปัญหากับนายวิโรจน์แต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือเรื่อง
การทำงาน (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธปท.จับตาสถานการณ์สินเชื่อผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) กล่าวเปิดการสัมมนาประจำปีของฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ว่า วัฒนธรรมการใช้จ่ายผู้บริโภค
ระหว่าง เอเชียและยุโรปมีความแตกต่างกัน โดยยุโรปจะมีการใช้จ่ายก่อนการออม ขณะที่เอเชียจะออมเงิน
ก่อนเป็นลำดับแรกจากนั้นจึงจะนำไปใช้จ่าย แต่ขณะนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปใกล้เคียงกับพฤติกรรมของชาว
ยุโรปมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดช่องว่างของการใช้จ่ายได้ อย่างไรก็ตาม คนไทยไม่ควรใช้จ่ายเกินตัวและสร้าง
หนี้ แม้ว่าจะยังไม่เห็นสัญญาณอันตรายจากสินเชื่อผู้บริโภคก็ตาม สำหรับ ธปท.ในฐานะที่มีหน้าที่กำกับดูแล ก็จะจับ
ตาสินเชื่อผู้บริโภคต่อไป โดยจะใช้มาตรการออกมาควบคุมด้วยความระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทาง
สังคม ในส่วนของผู้ให้บริการก็ต้องช่วยดูแลสินเชื่อด้วยเช่นกัน (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า)
3. ธ.ไทยธนาคารประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 0.25-0.50% รายงานข่าว
จาก ธ.ไทยธนาคาร เปิดเผยว่า ธนาคารได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภท 0.25-
0.50% มีผลตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย.47 เป็นต้นไป โดยเงินฝากประจำประเภท 3 เดือนจาก 1.00% เป็น
1.25%, ประเภท 6 เดือนจาก 1.00% เป็น 1.50%, ประเภท 12 เดือนจาก 1.00% เป็น 1.50%,
ประเภท 18 เดือนจาก 1.25% เป็น 1.75%, ประเภท 24 เดือนจาก 1.50% เป็น 2% และประเภท 36
เดือนจาก 2% เป็น 2.5% โดยมีเงื่อนไขว่าในทุกบัญชีจะต้องมีเงินฝากคงค้างไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท ส่วน
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังไม่เปลี่ยนแปลง อนึ่ง การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มอัตรา
ดอกเบี้ยในตลาดที่อยู่ในช่วงขาขึ้น และเพื่อรองรับการขยายสินเชื่อของธนาคาร (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และ 2.3
เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปี ตามลำดับ รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ 16 ก.ย.47 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป
เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบต่อปี อันสอดคล้องกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากราคา
น้ำมันดิบที่ตลาด สรอ. เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ก็ยังอยู่ระดับต่ำกว่า 50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนรวมทั้งยังไม่ได้มีการทบทวนตัวเลข
จากที่ประมาณการไว้ในครั้งก่อน แต่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่นับรวมถึงราคาอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้นถึง
ร้อยละ 2.2 จากร้อยละ 2.1 ในเดือนก่อน สำหรับต้นทุนราคาพลังงานในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5
เมื่อเทียบจากเดือนก่อน และเมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.5 ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดตั้งแต่เดือน พ.ค.47 ส่วน
ราคาอาหารลดลงร้อยละ 0.7 ซึ่งสามารถชดเชยได้บางส่วนจากผลกระทบของการเพิ่มขึ้นของต้นทุนพลังงาน
อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อของประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรปอยู่ระหว่างร้อยละ 0.3 (ฟินแลนด์) — 3.6
(ลักเซมเบอร์ก) ส่วน 9 ใน 12 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรมีอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าร้อยละ 2.0 (รอยเตอร์)
2. คาดว่ายอดการขายปลีกของเยอรมนีในปี 47 จะลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 3 รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อ 16 ก.ย.47 The HDE retail association คาดว่า ยอดการขายปลีกของเยอรมนีในปี
47 จะลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 3 โดยคาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีการทบทวน
แล้ว จากที่ก่อนหน้านี้ประมาณการไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ทั้งนี้ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้ได้
รับพลังขับเคลื่อนจากการกระตุ้นของภาคการส่งออก ขณะที่ความต้องการภายในประเทศยังคงอ่อนแอ และเป็น
อุปสรรคต่อการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของเยอรมนี โดยการปรับเพิ่มของยอดขายในครึ่งหลังของปีนี้เพียงเล็ก
น้อย คือประมาณร้อยละ 0.33 อาจจะทำให้ยอดขายปลีกโดยรวมของทั้งปี 47 ลดลงถึงร้อยละ 0.5 ขณะที่สำนัก
งานสถิติแห่งชาติเยอรมนีได้เปิดเผยตัวเลขยอดขายปลีกสำหรับครึ่งแรกของปี 47 ลดลงร้อยละ 1.4 (real)
และลดลงร้อยละ 1.5 (nominal) อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ส่วนของ
ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ชะลอตัวลง เนื่องจากอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น และความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบ
ของแผนการปรับลดผลประโยชน์ของพนักงานของธุรกิจในเยอรมนี ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. เยอรมนีจัดเก็บภาษีในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เทียบต่อปี รายงานกรุงเบอร์ลิน
ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 15 ก.ย.47 ก.คลังของเยอรมนีเปิดเผยว่า รายได้ของรัฐจากการจัดเก็บภาษีใน
เดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เทียบต่อปี แต่แนวโน้มการจัดเก็บภาษีในปีนี้ยังคงไม่ชัดเจนนักจนกว่าจะสิ้น
สุดเดือน ก.ย.47 ซึ่งที่ผ่านมาจะเป็นเดือนที่มีการจัดเก็บภาษีได้สูงมาก อย่างไรก็ตาม รายได้จากภาษีการขาย
ที่เพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค.47 ร้อยละ 1.4 เทียบต่อปี แสดงให้เห็นว่าการบริโภคภายในประเทศที่อ่อนตัวมานานน่า
จะปรับตัวดีขึ้นในช่วงหลายเดือนข้างหน้านี้ ทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ได้ส่งผลให้รัฐมีราย
ได้เพิ่มขึ้นในการจัดเก็บภาษีจากบริษัทและเงินลงทุน ในขณะที่ การจัดเก็บภาษีเงินได้ลดลงร้อยละ 7.9 เทียบ
ต่อปี เป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่าการที่เศรษฐกิจฟื้นตัวไม่ได้ส่งผลในเชิงบวกต่อตลาดแรงงานมากนัก (รอยเตอร์)
4. ทุนสำรองระหว่างประเทศของเกาหลีใต้ ณ วันที่ 15 ก.ย. อยู่ที่ระดับ 172.4 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 47 ธ.กลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ทุนสำรองระหว่าง
ประเทศของเกาหลีใต้ในช่วง 2 สัปดาห์ถึงกลางเดือนก.ย. 47 เพิ่มขึ้นเนื่องจากการอ่อนตัวของค่าเงินดอลลาร์
สรอ. ทำให้มูลค่าสินทรัพย์สกุลเงินอื่นสูงขึ้น โดยทุนสำรองฯ ณ 15 ก.ย. 47 อยู่ที่ระดับ 172.4 พัน ล.
ดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 170.5 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนส.ค. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เนื่องจาก
กำไรจากการถึอครองเงินตราต่างประเทศ และจากการที่สถาบันการเงินชำระเงินฝากให้ธ.กลาง ผู้ค้าเงิน
สงสัยว่าผู้ดำเนินนโยบายการเงินของทางการเกาหลีใต้ได้เข้าแทรกแซงค่าเงินโดยการซื้อดอลลาร์ สรอ. และ
ดูแลค่าเงินวอนเพื่อช่วยผู้ส่งออกของเกาหลีใต้ให้สามารถแข่งขันได้ แต่ทางการเกาหลีใต้ปฎิเสธข้อสงสัยการเข้า
แทรกแซงค่าเงินดังกล่าว และให้รายละเอียดทุนสำรองทางการเพียงเล็กน้อย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 ก.ย. 47 16 ก.ย. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.259 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.0730/41.3666 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 5625-1.6250 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 662.39/26.70 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.09 33.78 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-