ในกระบวนการผลิตสินค้าอาจจะต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก อาทิ การพ่นสีรถยนต์ 1 คัน ต้องใช้น้ำถึง 7,940 ลิตร สารเคมี 23.3 ลิตร และถ่านหิน 400 กิโลกรัม นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดน้ำเสีย สารเคมี และขยะต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดการที่ถูกต้องเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น สิ่งแวดล้อมจึงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสนใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วได้กำหนดให้ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการพิจารณาสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ สหภาพยุโรป มีกฎระเบียบว่าด้วยการจัดการเศษเหลือทิ้งของเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (WEEE) กฎระเบียบว่าด้วยการกำจัดการใช้สารเคมีบางชนิดในเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (RoHs) นโยบายสินค้าครบวงจร (IPP) ร่างระเบียบ EuP เครื่องหมาย CE Mark และการติดฉลาก Eco-label ขณะที่ญี่ปุ่นมีกฎหมายรีไซเคิลเครื่องใช้ในครัวเรือน (HARL) เป็นต้น
แนวทางหนึ่งที่จะรับมือกับความเข้มงวดจากมาตรการปกป้องและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดังกล่าวข้างต้นและยังทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าถูกลง คือ การดำเนินการตามแนวคิด Eco-design หรือการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ
Eco-design คืออะไร
Eco-design คือ กระบวนการที่ผนวกแนวคิดด้านเศรษฐกิจและด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปในขั้นตอนการออกแบบและกระบวนการผลิตสินค้า โดยพิจารณาตลอดวงจรชีวิตของสินค้าเริ่มตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การบรรจุหีบห่อ การใช้งาน จนถึงขั้นตอนสุดท้ายซึ่งเป็นการกำจัดกากเหลือใช้ หรือการนำสินค้าที่ไม่สามารถใช้งานได้แล้วหรือชิ้นส่วนบางอย่างในสินค้านั้นกลับมาใช้ใหม่
เป้าหมายของ Eco-design
เพื่อลดต้นทุนในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและพัฒนาสินค้า ป้องกันการสูญเสียที่เกิดจากการผลิต เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน โดยที่คุณภาพของสินค้ายังคงเดิม
ชนิดของสินค้า
ปัจจุบันบริษัทหรือผู้ผลิตที่นำแนวคิด Eco-design มาใช้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ผลิตสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต้องเผชิญกับกฎระเบียบทางการค้าด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด เนื่องจากในการผลิตสินค้าดังกล่าวต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากและก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยแนวคิด Eco-design สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสินค้าและบริการได้เกือบทุกชนิดทั้งเฟอร์นิเจอร์ ของใช้ในครัวเรือน บรรจุภัณฑ์ วัสดุก่อสร้าง การขนส่ง และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว ฯลฯ
กลยุทธ์ในการทำ Eco-design
บริษัทหรือผู้ผลิตจะต้องพิจารณาสินค้าของตนตลอดวงจรชีวิตของสินค้า เพื่อตรวจสอบว่าขั้นตอนการผลิตใดบ้างที่จะสามารถเข้าไปจัดการเพื่อลดต้นทุนพร้อมกับลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ หลังจากนั้นจึงทำการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงด้านการออกแบบและกระบวนการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิด Eco-design โดยมีข้อพิจารณาในแต่ละขั้นตอน อาทิ
1. การใช้วัสดุ ลดการใช้วัสดุหรือส่วนประกอบโดยใช้วัสดุเท่าที่จำเป็นเท่านั้น หลีกเลี่ยงวัสดุที่มีส่วนทำลายทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งต้องเลือกใช้วัสดุที่ใช้พลังงานต่ำ วัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ และวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่หรือรีไซเคิลได้
2. เทคนิคการผลิต เลือกใช้เทคนิคการผลิตที่เหมาะสมและลดขั้นตอนของกระบวนการผลิตสินค้าให้น้อยลง รวมทั้งเลือกใช้เทคนิคการผลิตที่ใช้พลังงานต่ำและก่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด
3. การกระจายสินค้า เลือกใช้ช่องทางการกระจายสินค้าและวิธีการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนลดการใช้บรรจุภัณฑ์และเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่สะอาดและออกแบบให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ อาทิ บรรจุภัณฑ์สำหรับผลไม้ซึ่งเดิมใช้กระดาษแข็ง 2 ชิ้นทำเป็นฝาและกล่อง แต่เมื่อออกแบบใหม่ตามแนวคิดของ Eco-design จะใช้กระดาษแข็งเพียง 1 แผ่น ซึ่งสามารถพับและประกอบเป็นกล่องได้ในขั้นตอนเดียว ทำให้บรรจุภัณฑ์เบาลงและทำให้ค่าขนส่งทางอากาศถูกลงไปด้วย
4. ระหว่างการใช้งาน สินค้าที่ผลิตขึ้นตามแนวคิด Eco-design จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและไม่สิ้นเปลืองพลังงาน
5. อายุการใช้งาน ในระยะเริ่มแรก (Initial Life-time) สินค้าต้องมีความคงทนและเชื่อถือได้ การบำรุงรักษาและซ่อมแซมสามารถทำได้ด้วยวิธีการที่ง่าย และเมื่อสินค้าหมดอายุหรือเสื่อมสภาพ (End of Life-time) จะต้องสามารถนำวัสดุหรือส่วนประกอบของสินค้านั้นๆ กลับมาใช้ใหม่ได้ หรือผลิตใหม่ได้ หรือสามารถกำจัดได้โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
สำหรับผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตที่นำแนวคิด Eco-design มาใช้ในการออกแบบและขั้นตอนการผลิตสินค้า นอกจากจะช่วยให้การส่งออกสินค้าไปยังประเทศที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นไปได้โดยราบรื่นแล้ว ยังจะช่วยลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งยังช่วยลดมลพิษที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศได้อีกด้วย ทั้งนี้ ผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตรายใดต้องการนำแนวคิด Eco-design มาใช้ในธุรกิจของตนสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด (Cleaner Technology Advancement Program: CTAP) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (National Metal and Materials Technology Center: MTEC)
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2547--
-พห-
แนวทางหนึ่งที่จะรับมือกับความเข้มงวดจากมาตรการปกป้องและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดังกล่าวข้างต้นและยังทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าถูกลง คือ การดำเนินการตามแนวคิด Eco-design หรือการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ
Eco-design คืออะไร
Eco-design คือ กระบวนการที่ผนวกแนวคิดด้านเศรษฐกิจและด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปในขั้นตอนการออกแบบและกระบวนการผลิตสินค้า โดยพิจารณาตลอดวงจรชีวิตของสินค้าเริ่มตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การบรรจุหีบห่อ การใช้งาน จนถึงขั้นตอนสุดท้ายซึ่งเป็นการกำจัดกากเหลือใช้ หรือการนำสินค้าที่ไม่สามารถใช้งานได้แล้วหรือชิ้นส่วนบางอย่างในสินค้านั้นกลับมาใช้ใหม่
เป้าหมายของ Eco-design
เพื่อลดต้นทุนในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและพัฒนาสินค้า ป้องกันการสูญเสียที่เกิดจากการผลิต เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน โดยที่คุณภาพของสินค้ายังคงเดิม
ชนิดของสินค้า
ปัจจุบันบริษัทหรือผู้ผลิตที่นำแนวคิด Eco-design มาใช้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ผลิตสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต้องเผชิญกับกฎระเบียบทางการค้าด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด เนื่องจากในการผลิตสินค้าดังกล่าวต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากและก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยแนวคิด Eco-design สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสินค้าและบริการได้เกือบทุกชนิดทั้งเฟอร์นิเจอร์ ของใช้ในครัวเรือน บรรจุภัณฑ์ วัสดุก่อสร้าง การขนส่ง และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว ฯลฯ
กลยุทธ์ในการทำ Eco-design
บริษัทหรือผู้ผลิตจะต้องพิจารณาสินค้าของตนตลอดวงจรชีวิตของสินค้า เพื่อตรวจสอบว่าขั้นตอนการผลิตใดบ้างที่จะสามารถเข้าไปจัดการเพื่อลดต้นทุนพร้อมกับลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ หลังจากนั้นจึงทำการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงด้านการออกแบบและกระบวนการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิด Eco-design โดยมีข้อพิจารณาในแต่ละขั้นตอน อาทิ
1. การใช้วัสดุ ลดการใช้วัสดุหรือส่วนประกอบโดยใช้วัสดุเท่าที่จำเป็นเท่านั้น หลีกเลี่ยงวัสดุที่มีส่วนทำลายทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งต้องเลือกใช้วัสดุที่ใช้พลังงานต่ำ วัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ และวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่หรือรีไซเคิลได้
2. เทคนิคการผลิต เลือกใช้เทคนิคการผลิตที่เหมาะสมและลดขั้นตอนของกระบวนการผลิตสินค้าให้น้อยลง รวมทั้งเลือกใช้เทคนิคการผลิตที่ใช้พลังงานต่ำและก่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด
3. การกระจายสินค้า เลือกใช้ช่องทางการกระจายสินค้าและวิธีการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนลดการใช้บรรจุภัณฑ์และเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่สะอาดและออกแบบให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ อาทิ บรรจุภัณฑ์สำหรับผลไม้ซึ่งเดิมใช้กระดาษแข็ง 2 ชิ้นทำเป็นฝาและกล่อง แต่เมื่อออกแบบใหม่ตามแนวคิดของ Eco-design จะใช้กระดาษแข็งเพียง 1 แผ่น ซึ่งสามารถพับและประกอบเป็นกล่องได้ในขั้นตอนเดียว ทำให้บรรจุภัณฑ์เบาลงและทำให้ค่าขนส่งทางอากาศถูกลงไปด้วย
4. ระหว่างการใช้งาน สินค้าที่ผลิตขึ้นตามแนวคิด Eco-design จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและไม่สิ้นเปลืองพลังงาน
5. อายุการใช้งาน ในระยะเริ่มแรก (Initial Life-time) สินค้าต้องมีความคงทนและเชื่อถือได้ การบำรุงรักษาและซ่อมแซมสามารถทำได้ด้วยวิธีการที่ง่าย และเมื่อสินค้าหมดอายุหรือเสื่อมสภาพ (End of Life-time) จะต้องสามารถนำวัสดุหรือส่วนประกอบของสินค้านั้นๆ กลับมาใช้ใหม่ได้ หรือผลิตใหม่ได้ หรือสามารถกำจัดได้โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
สำหรับผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตที่นำแนวคิด Eco-design มาใช้ในการออกแบบและขั้นตอนการผลิตสินค้า นอกจากจะช่วยให้การส่งออกสินค้าไปยังประเทศที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นไปได้โดยราบรื่นแล้ว ยังจะช่วยลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งยังช่วยลดมลพิษที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศได้อีกด้วย ทั้งนี้ ผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตรายใดต้องการนำแนวคิด Eco-design มาใช้ในธุรกิจของตนสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด (Cleaner Technology Advancement Program: CTAP) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (National Metal and Materials Technology Center: MTEC)
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2547--
-พห-