สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากขณะนี้ผลผลิตมีปริมาณไม่มากเช่นเดียวกับความต้องการบริโภค และจากการที่ฝนตกในช่วงนี้ทำให้อากาศเย็นลงส่งผลให้สุกรเติบโตดีคาดว่าผลผลิตจะมีปริมาณมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 42.12 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 40.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 38.72 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 42.10 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 49.18 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 800 บาท (บวกลบ 40 บาท) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.47 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินมาตรการเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนกโดยจะสุ่มตรวจโรคในสัตว์ปีกทุก 2 เดือน เริ่มดำเนินการในเดือน ตค. 47 นี้ เป็นต้นไป และหากเกิดมีการตายของสัตว์ปีกที่เกิดขึ้นอย่างผิดปกติในท้องที่ใดเกษตรกรผู้เลี้ยงต้องรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทราบภายใน 24 ชม. ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ ส่วนการใช้วัคซีนไข้หวัดนกในสัตว์ปีกนั้น รัฐบาลไม่อนุมัติให้มีการใช้วัคซีนในประเทศ โดยพิจารณาจากผลกระทบต่อประชาชน การส่งออก และความปลอดภัยของผู้บริโภค เป็นสำคัญ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 30.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.94 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.54 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 33.90 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 27.43 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 30.47 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 34.13 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 10.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 40.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้โดยรวมปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะภาคกลางราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นมากเพราะยังเป็นพื้นที่อยู่ในระหว่างควบคุมยังไม่สามารถเลี้ยงไก่ได้ทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง ความต้องการบริโภคยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 254 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 248 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.42 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 246 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 263 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 255 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 250 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 247 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 269 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 271 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.74 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 244 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 285 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 267 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 260 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 356 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 50.94 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.73 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.41 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.88 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 57.98 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 47.30 บาท ส่วนภาคกลางไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.68 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.53 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.41 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.21 บาท ส่วนภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 36 ประจำวันที่ 13-19 กันยายน 2547--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากขณะนี้ผลผลิตมีปริมาณไม่มากเช่นเดียวกับความต้องการบริโภค และจากการที่ฝนตกในช่วงนี้ทำให้อากาศเย็นลงส่งผลให้สุกรเติบโตดีคาดว่าผลผลิตจะมีปริมาณมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 42.12 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 40.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 38.72 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 42.10 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 49.18 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 800 บาท (บวกลบ 40 บาท) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.47 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินมาตรการเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนกโดยจะสุ่มตรวจโรคในสัตว์ปีกทุก 2 เดือน เริ่มดำเนินการในเดือน ตค. 47 นี้ เป็นต้นไป และหากเกิดมีการตายของสัตว์ปีกที่เกิดขึ้นอย่างผิดปกติในท้องที่ใดเกษตรกรผู้เลี้ยงต้องรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทราบภายใน 24 ชม. ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ ส่วนการใช้วัคซีนไข้หวัดนกในสัตว์ปีกนั้น รัฐบาลไม่อนุมัติให้มีการใช้วัคซีนในประเทศ โดยพิจารณาจากผลกระทบต่อประชาชน การส่งออก และความปลอดภัยของผู้บริโภค เป็นสำคัญ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 30.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.94 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.54 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 33.90 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 27.43 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 30.47 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 34.13 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 10.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 40.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้โดยรวมปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะภาคกลางราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นมากเพราะยังเป็นพื้นที่อยู่ในระหว่างควบคุมยังไม่สามารถเลี้ยงไก่ได้ทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง ความต้องการบริโภคยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 254 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 248 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.42 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 246 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 263 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 255 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 250 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 247 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 269 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 271 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.74 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 244 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 285 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 267 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 260 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 356 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 50.94 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.73 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.41 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.88 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 57.98 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 47.30 บาท ส่วนภาคกลางไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.68 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.53 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.41 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.21 บาท ส่วนภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 36 ประจำวันที่ 13-19 กันยายน 2547--
-พห-