สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ไต้หวันใช้ภูเก็ตเป็นฐานผลิตปลาทูน่า
นายธีรศักดิ์ ตันพันธ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ตเปิดเผยถึงการลงทุนด้านอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตว่า การลงทุนด้านอุตสาหกรรมในภูเก็ต เป็นการลงทุนขนาดเล็ก ขนาดกลางเท่านั้น ส่วนการลงทุนขนาดใหญ่ไม่มี เพราะภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามภายหลังจากที่มีเรือทูน่าของจีนและไต้หวัน นำปลาทูน่าที่จับได้ในมหาสมุทรอินเดียมาขึ้นที่ภูเก็ต เพื่อส่งต่อไปยังตลาดหลักญี่ปุ่น ทำให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ เพื่อการส่งออกเกิดขึ้นในภูเก็ต ในขณะนี้เกิดขึ้นแล้ว 5 — 6 ราย บริเวณใกล้กับท่าเทียบเรือประมง เกาะสิเหร่ และป่าคลอก ซึ่งการลงทุนที่เกิดขึ้นเป็นการลงทุนของนักลงทุนชาวไต้หวัน เพื่อแปรรูปปลาทูน่า และปลาทูน่าแช่แข็ง ส่งไปจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น
นายธีรศักดิ์ กล่าวอีกว่า การที่นักลงทุนจากไต้หวันใช้ภูเก็ตเป็นฐานในการแปรรูปปลาทูน่าและเป็นฐานในการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีความเหมาะสมหลายด้าน เช่น อยู่ใกล้แหล่งจับปลาทูน่าในมหาสมุทรอินเดีย และมีเที่ยวบินตรงไปยังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลักของปลาทูน่า ที่ผ่านมากรมประมงเคยมีโครงการที่จะพัฒนาให้บริเวณท่าเทียบเรือประมงจังหวัดภูเก็ตเป็นพิชเชอรี่คอมเพล็กซ์ ในการดึงนักลงทุนเข้ามาลงทุนแปรรูปสัตว์น้ำแบบครบวงจร โดยเฉพาะการแปรรูปปลาทูน่า เพื่อส่งไปตลาดญี่ปุ่นและตลาดในประเทศที่มีความต้องการสูงมาก แต่โครงการดังกล่าวรัฐบาลต้องใช้งบประมาณในการลงทุนสูง จึงไม่คืบหน้าจนทุกวันนี้
อย่างไรก็ตามรัฐบาลก็มีโครงการที่จะขยายและปรับปรุงท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต ให้สามารถรองรับเรือประมงและกองเรือทูน่าของต่างชาติให้เพิ่มมากขึ้นซึ่งอยู่ในขั้นการของบประมาณมาดำเนินการ สำหรับกองเรือทูน่าของต่างชาติที่นำเรือเป็ดราวทูน่ามาขึ้นปลาที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตมี 2 ชาติ คือ กองเรือเป็ดราวของไต้หวัน และจีน เป็นต้น
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 1 — 7 ก.ย. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,296.24 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 710.74 ตัน สัตว์น้ำจืด 585.51 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.16 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.16 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 100.06 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 101.76 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 35.74 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.69 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.54 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.85 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 65.77 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.38 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 94.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 97.14 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.85 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 225.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 222.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 207.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 215.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.81 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.38 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.71 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.71 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.15 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.74 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.15 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 13 — 17 ก.ย. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.30 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.30 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 36 ประจำวันที่ 13-19 กันยายน 2547--
-พห-
การผลิต
ไต้หวันใช้ภูเก็ตเป็นฐานผลิตปลาทูน่า
นายธีรศักดิ์ ตันพันธ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ตเปิดเผยถึงการลงทุนด้านอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตว่า การลงทุนด้านอุตสาหกรรมในภูเก็ต เป็นการลงทุนขนาดเล็ก ขนาดกลางเท่านั้น ส่วนการลงทุนขนาดใหญ่ไม่มี เพราะภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามภายหลังจากที่มีเรือทูน่าของจีนและไต้หวัน นำปลาทูน่าที่จับได้ในมหาสมุทรอินเดียมาขึ้นที่ภูเก็ต เพื่อส่งต่อไปยังตลาดหลักญี่ปุ่น ทำให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ เพื่อการส่งออกเกิดขึ้นในภูเก็ต ในขณะนี้เกิดขึ้นแล้ว 5 — 6 ราย บริเวณใกล้กับท่าเทียบเรือประมง เกาะสิเหร่ และป่าคลอก ซึ่งการลงทุนที่เกิดขึ้นเป็นการลงทุนของนักลงทุนชาวไต้หวัน เพื่อแปรรูปปลาทูน่า และปลาทูน่าแช่แข็ง ส่งไปจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น
นายธีรศักดิ์ กล่าวอีกว่า การที่นักลงทุนจากไต้หวันใช้ภูเก็ตเป็นฐานในการแปรรูปปลาทูน่าและเป็นฐานในการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีความเหมาะสมหลายด้าน เช่น อยู่ใกล้แหล่งจับปลาทูน่าในมหาสมุทรอินเดีย และมีเที่ยวบินตรงไปยังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลักของปลาทูน่า ที่ผ่านมากรมประมงเคยมีโครงการที่จะพัฒนาให้บริเวณท่าเทียบเรือประมงจังหวัดภูเก็ตเป็นพิชเชอรี่คอมเพล็กซ์ ในการดึงนักลงทุนเข้ามาลงทุนแปรรูปสัตว์น้ำแบบครบวงจร โดยเฉพาะการแปรรูปปลาทูน่า เพื่อส่งไปตลาดญี่ปุ่นและตลาดในประเทศที่มีความต้องการสูงมาก แต่โครงการดังกล่าวรัฐบาลต้องใช้งบประมาณในการลงทุนสูง จึงไม่คืบหน้าจนทุกวันนี้
อย่างไรก็ตามรัฐบาลก็มีโครงการที่จะขยายและปรับปรุงท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต ให้สามารถรองรับเรือประมงและกองเรือทูน่าของต่างชาติให้เพิ่มมากขึ้นซึ่งอยู่ในขั้นการของบประมาณมาดำเนินการ สำหรับกองเรือทูน่าของต่างชาติที่นำเรือเป็ดราวทูน่ามาขึ้นปลาที่ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตมี 2 ชาติ คือ กองเรือเป็ดราวของไต้หวัน และจีน เป็นต้น
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 1 — 7 ก.ย. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,296.24 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 710.74 ตัน สัตว์น้ำจืด 585.51 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.16 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.16 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 100.06 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 101.76 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 35.74 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.69 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.54 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.85 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 65.77 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.38 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 94.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 97.14 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.85 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 225.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 222.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 207.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 215.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.81 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.38 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.71 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.71 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.15 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.74 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.15 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 13 — 17 ก.ย. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.30 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.30 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 36 ประจำวันที่ 13-19 กันยายน 2547--
-พห-