สศอ.เร่งจัดทำยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของลอจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มุ่งพัฒนาระบบการเชื่อมโยงตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ด้วยการนำธุรกิจบริการเครือข่ายเชื่อมโยงการซื้อขายในโซ่อุปทาน[Service Provider
]มาใช้ เพิ่มขีดแข่งขันผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในกลุ่ม SMEs สนองนโยบายรัฐดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางลอจิสติกส์[Logistic Hub
]แห่งภูมิภาคอินโดจีน
นางสาวสุชาดา วราภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้สศอ.ได้เร่งจัดทำยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของลอจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของรัฐบาล ที่มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางลอจิสติกส์[Logistic Hub
] ของภูมิภาคอินโดจีน
ทั้งนี้ สศอ. ได้วางแนวทางยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งฯ ประกอบด้วย 2 ยุทธศาสตร์หลักด้วยกัน คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง (ผู้ผลิตชิ้นส่วน-ผู้ผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูป-ผู้บริโภค) ได้มีโครงการสนับสนุนให้เกิดธุรกิจบริการเครือข่ายเชื่อมโยงการซื้อขายในโซ่อุปทาน [Service Provider
] ขึ้นในประเทศ ซึ่งธุรกิจนี้เป็นหน่วยงานกลางที่จะเชื่อมโยงประสานกันระหว่างผู้ผลิตวัตถุดิบและชิ้นส่วน[Supplier
] และผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูป [Manufactuerer
] ซึ่งธุรกิจบริการเครือข่ายเชื่อมโยงการซื้อขายในโซ่อุปทาน [Service Provider
] จะให้การสนับสนุนโดยการทำหน้าที่หาตลาดให้แก่ผู้ผลิตสินค้าประเภทไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และประสานงานระหว่างบริษัท โดยบริหารการจัดซื้อและจัดส่งสินค้าให้เป็นระบบยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้มุ่งเน้นการสนับสนุนโครงการพัฒนาระบบซอฟแวร์พื้นฐานด้านลอจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทาน เพื่อใช้สนับสนุนผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม [SMEs
] โดยจะเริ่มจากผู้ประกอบการกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ก่อน ทั้งนี้ คาดว่า จะมีผู้ประกอบการนำระบบซอฟแวร์ไปใช้ในการเชื่อมโยงระหว่างองค์กรเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี ในระยะ 5 ปีแรก และร้อยละ 20 ต่อปีในปีถัดไป
และยุทธศาสตร์การยกระดับขีดความสามารถผู้ประกอบการ โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจ[Awareness
] แก่ผู้ประกอบการ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ดำเนินธุรกิจ รวมทั้ง จัดทำโครงการคัดเลือกอุตสาหกรรมดีเด่นด้านลอจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานประจำปี อันเป็นการกระตุ้นผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ดังกล่าวมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนเป็นจำนวนมากในการผลิต ทำให้ต้องมีการเชื่อมโยงกับผู้ผลิตชิ้นส่วนจำนวนมาก รวมทั้ง ขณะนี้ยังเผชิญกับภาวะการแข่งขันสูงขึ้นทำให้ต้องเร่งลดต้นทุนทุกด้านในการกำหนดราคาให้ต่ำกว่าคู่แข่ง ความรวดเร็ว และความถูกต้องในการส่งมอบสินค้า ดังนั้น อุตสาหกรรมดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมทางด้านลอจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานมาใช้
" การลดต้นทุนลงจะต้องลดลงตั้งแต่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่เชื่อมโยงกับวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(SMEs) หรือต้องมองให้ครบทั้งห่วงโซ่อุปทานหรือ Supply ซึ่งในบางครั้งที่วัตถุดิบมีมากเกินความจำเป็น หรือ บางครั้งมีวัตถุดิบไม่เพียงพอในการผลิต เป็นการเพิ่มภาระด้านต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ"นางสาวสุชาดากล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
]มาใช้ เพิ่มขีดแข่งขันผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในกลุ่ม SMEs สนองนโยบายรัฐดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางลอจิสติกส์[Logistic Hub
]แห่งภูมิภาคอินโดจีน
นางสาวสุชาดา วราภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้สศอ.ได้เร่งจัดทำยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของลอจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของรัฐบาล ที่มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางลอจิสติกส์[Logistic Hub
] ของภูมิภาคอินโดจีน
ทั้งนี้ สศอ. ได้วางแนวทางยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งฯ ประกอบด้วย 2 ยุทธศาสตร์หลักด้วยกัน คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง (ผู้ผลิตชิ้นส่วน-ผู้ผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูป-ผู้บริโภค) ได้มีโครงการสนับสนุนให้เกิดธุรกิจบริการเครือข่ายเชื่อมโยงการซื้อขายในโซ่อุปทาน [Service Provider
] ขึ้นในประเทศ ซึ่งธุรกิจนี้เป็นหน่วยงานกลางที่จะเชื่อมโยงประสานกันระหว่างผู้ผลิตวัตถุดิบและชิ้นส่วน[Supplier
] และผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูป [Manufactuerer
] ซึ่งธุรกิจบริการเครือข่ายเชื่อมโยงการซื้อขายในโซ่อุปทาน [Service Provider
] จะให้การสนับสนุนโดยการทำหน้าที่หาตลาดให้แก่ผู้ผลิตสินค้าประเภทไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และประสานงานระหว่างบริษัท โดยบริหารการจัดซื้อและจัดส่งสินค้าให้เป็นระบบยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้มุ่งเน้นการสนับสนุนโครงการพัฒนาระบบซอฟแวร์พื้นฐานด้านลอจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทาน เพื่อใช้สนับสนุนผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม [SMEs
] โดยจะเริ่มจากผู้ประกอบการกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ก่อน ทั้งนี้ คาดว่า จะมีผู้ประกอบการนำระบบซอฟแวร์ไปใช้ในการเชื่อมโยงระหว่างองค์กรเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี ในระยะ 5 ปีแรก และร้อยละ 20 ต่อปีในปีถัดไป
และยุทธศาสตร์การยกระดับขีดความสามารถผู้ประกอบการ โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจ[Awareness
] แก่ผู้ประกอบการ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ดำเนินธุรกิจ รวมทั้ง จัดทำโครงการคัดเลือกอุตสาหกรรมดีเด่นด้านลอจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานประจำปี อันเป็นการกระตุ้นผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ดังกล่าวมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนเป็นจำนวนมากในการผลิต ทำให้ต้องมีการเชื่อมโยงกับผู้ผลิตชิ้นส่วนจำนวนมาก รวมทั้ง ขณะนี้ยังเผชิญกับภาวะการแข่งขันสูงขึ้นทำให้ต้องเร่งลดต้นทุนทุกด้านในการกำหนดราคาให้ต่ำกว่าคู่แข่ง ความรวดเร็ว และความถูกต้องในการส่งมอบสินค้า ดังนั้น อุตสาหกรรมดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมทางด้านลอจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานมาใช้
" การลดต้นทุนลงจะต้องลดลงตั้งแต่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่เชื่อมโยงกับวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(SMEs) หรือต้องมองให้ครบทั้งห่วงโซ่อุปทานหรือ Supply ซึ่งในบางครั้งที่วัตถุดิบมีมากเกินความจำเป็น หรือ บางครั้งมีวัตถุดิบไม่เพียงพอในการผลิต เป็นการเพิ่มภาระด้านต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ"นางสาวสุชาดากล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-